|
จัดทริปเที่ยวทั่วไทยเดือนนี้ คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอพาไปชมภาพบรรยากาศงานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลในปี 2565 แวะไปลั๊ลลาเช็คอินถ่ายรูปสถานที่ท่องเที่ยวเปิดใหม่ที่ทางเดินกระจก Skywalk เขื่อนสิรินธร |
ปักหมุดเที่ยวทั่วไทยในเดือนนี้ คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ก็ขอจัดเสื้อผ้าใส่กระเป๋าเดินทางมาเที่ยวอุบลราชธานี เมืองแห่งสุนทรีย์ รับสุรีย์แรกอุรณอีกครั้ง หลังจากที่ไม่ได้เดินทางมานานเหลือเกินค่ะ และเมื่อนึกถึงจังหวัดอุบล คงไม่พลาดงานประเพณีสุดยิ่งใหญ่ประจำปี อย่างงานแห่เทียนพรรษา ที่เป็นต้นตำรับการแกะสลักเทียนอันสวยงามตระการตา ที่ใครมาต่างต้องร้อง ว้าว สุดจะแพรวพราวเริ่ดเว่อร์กันไปเลยทีเดียวค่ะ
การเดินทางมาอุบลทริปนี้ เดี๊ยนเลยไม่พลาด ขอไปยลตระการงานแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานีในปี 2565 อีกครั้ง จำได้ว่าเดี๊ยนเคยเขียนทริปรีวิวเที่ยวงานแห่เทียนอุบลเมื่อปี 2559 ซึ่งเป็นทริปรีวิวแรกๆในการเขียนบล็อกเลยละค่ะ หลังจากมีสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 เข้ามา ก็ทำให้มีการงดการจัดงานแห่เทียนออกไปถึง 2 ปี เดินทางจากกรุงเทพมาถึงอุบลทริปนี้ ก็ไม่ได้ลุยเดี่ยวเหมือนทริปที่ผ่านๆมานะคะ เพราะมีพี่สาวเป็นคนขับรถพามาเที่ยวดูงานแห่เทียนพรรษา ทำให้ทริปนี้ไม่เหงาหงอยอีกต่อไป แถมไม่ต้องเหนื่อยจากการขับรถมอเตอร์ไซต์อีกด้วย
และหลังจากที่ได้ดูขบวนแห่เทียนพรรษาบางส่วนไป ก็พากันเดินทางไปดูสถานที่ท่องเที่ยวเปิดใหม่ล่าสุดในจังหวัดอุบล โดยแวะไปถ่ายรูปเช็คอินที่ ทางเดินกระจก Skywalk ที่อาคารสิรินธารประภากร ภายในเขื่อนสิริธร ซึ่งเป็นจุดเช็คอินถ่ายรูปเปิดใหม่ล่าสุดในช่วงปลายปี 2564 ที่ผ่านมา เดี๊ยนเลยไม่พลาดจะต้องแวะไปเที่ยวชมบรรยากาศและทัศนียภาพภายในเขื่อนสิริธรสักครั้ง ก่อนจะเดินทางไปไหว้พระที่วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว หรือที่หลายๆคนเรียกว่า วัดเรืองแสง จัดเป็นวัดเด่น วัดดังที่มีชื่อเสียงที่สุดอีกแห่งของจังหวัดอุบล หากใครจะเดินทางมาเที่ยวเขื่อนสิรินธร หรือว่าจะไปช่องเม็ก ผ่านไปยังเมืองปากเซลาวใต้ ก็ไม่พลาดต้องแวะมาชมความงามของวัดภูพร้าว โดยไฮไลท์เด็ดๆของวัดคือ จิตรกรรมภาพเขียนต้นกัลปพฤกษ์ที่อยู่บนผนังด้านหลังของอุโบสถ ซึ่งจะเรืองแสงสีเขียวในยามค่ำคืน มีความสวยงาม ถือเป็น Unseen อีกแห่งของจังหวัดอุบลก็ว่าได้
และก่อนจะเข้าสู่ภาพรีวิวเที่ยวงานแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลล่าสุดในปี 2565 เราก็มารู้จักกับประเพณีถวายเทียนพรรษาของไทยสักเล็กน้อย ว่ามีที่มาอย่างไร มาให้ได้อ่านเป็นความรู้กันค่ะ
|
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ประเพณีเนื่องด้วยการเข้าพรรษาในประเทศไทย
|
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ประเพณีเนื่องด้วยการเข้าพรรษาในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีประเพณีมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าจำพรรษาของพระสงฆ์ไทยมาช้านาน ดังปรากฏประเพณีมากมายที่เกี่ยวกับการเข้าจำพรรษา เช่น ประเพณีถวายเทียนพรรษา แก่พระสงฆ์เพื่อจุดบูชาตามอารามและเพื่อถวายให้พระสงฆ์สามเณรนำไปจุดเพื่ออ่านคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาในระหว่างเข้าจำพรรษา ประเพณีการถวายผ้าอาบน้ำฝน หรือผ้าวัสสิกสาฏก แก่พระสงฆ์ก่อนเข้าพรรษา เพื่อให้พระสงฆ์นำไปใช้สรงน้ำฝนในพรรษา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่พุทธศาสนิกชนไทยถือว่าเป็นงานบุญใหญ่ประจำปีคือ ประเพณีถวายผ้ากฐิน ที่จัดหลังพระสงฆ์ปวารณาออกพรรษา เพื่อถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์ที่จำครบพรรษาจะได้กรานและได้รับอานิสงส์กฐิน เป็นต้น
|
ประเพณีถวายเทียนพรรษา มีที่มาอย่างไร นำมาให้อ่านกันค่ะ |
ประเพณีถวายเทียนพรรษา มีที่มาอยางไร นำมาให้อ่านกันค่ะ
มีประเพณีหนึ่งที่เนื่องด้วยวันเข้าพรรษาและจัดเป็นประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา สำหรับให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด 3 เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนามาเป็นงานประเพณี "ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ
การถวายเทียนเพื่อจุดตามประทีปเป็นพุทธบูชานั้น มาจากอานิสงส์การถวายเทียนเพื่อจุดเป็นพุทธบูชา ที่ปรากฏความในพระไตรปิฎก และในคัมภีร์อรรถกถา ว่าพระอนุรุทธะเถระ เคยถวายเทียนบูชาทำให้ได้รับอานิสงส์มากมาย รวมถึงได้เป็นผู้มีจักษุทิพย์ (ตาทิพย์) ด้วยการพรรณาอานิสงส์ดังกล่าว อาจทำให้ชาวพุทธนิยมจุดประทีปเป็นพุทธบูชามานานแล้ว แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าการทำเทียนพรรษาในประเทศไทยถวายเริ่มมีมาแต่สมัยใด แต่ปรากฏความในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ที่พรรณาการบำเพ็ญกุศลในช่วงเข้าพรรษาว่ามีการถวายเทียนพรรษาด้วย
|
การถวายเทียนเข้าพรรษาจัดเป็นพิธีใหญ่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยรัตนโกสินทร์การถวายเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญ (ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา)
|
ในประเทศไทย การถวายเทียนเข้าพรรษาจัดเป็นพิธีใหญ่มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยรัตนโกสินทร์การถวายเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญ โดยจะเรียกว่าพุ่มเทียน มีการพระราชทานถวายพุ่มเทียนรวมพึงโคมเพื่อจุดบูชาตามอารามต่าง ๆ ทั้งในพระนครและหัวเมือง ซึ่งพิธีนี้ยังคงมีมาจนปัจจุบัน
การถวายเทียนพรรษาโดยแกะสลักเป็นลวดลายต่าง ๆ นั้น มีมาแต่โบราณ เดิมเป็นประเพณีราชสำนักดังที่ปรากฏในเทียนรุ่งเทียนหลวงตามพระอารามต่าง ๆ
|
เทียนแกะสลักที่ปรากฏว่ามีการจัดทำประกวดกันเป็นเรื่องราวใหญ่โตในปัจจุบันนั้น พึ่งเริ่มมีเมื่อปี พ.ศ. 2483 ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้กลายเป็นงานประเพณีแห่เทียนพรรษาประจำจังหวัดอุบล ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ |
สำหรับเทียนแกะสลักที่ปรากฏว่ามีการจัดทำประกวดกันเป็นเรื่องราวใหญ่โตในปัจจุบันนั้น พึ่งเริ่มมีเมื่อปี พ.ศ. 2483 ในจังหวัดอุบลราชธานี โดยนายโพธิ์ ส่งศรี ได้เริ่มทำแม่พิมพ์ปูนซีเมนต์เพื่อหล่อขี้ผึ้งเป็นทำลวดลายไทยไปประดับติดพิมพ์บนเทียนพรรษา นับเป็นการจัดทำเทียนพรรษาแกะสลักของช่างราษฏร์เป็นครั้งแรก และนายสวน คูณผล ได้ทำลวดลายนูนสลับสีต่าง ๆ เข้าประกวดจนชนะเลิศ
|
ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 จึงเริ่มมีการทำเทียนพรรษาติดพิมพ์ประกวดแบบพิสดารโดยนายประดับ ก้อนแก้ว คือทำเป็นรูปพุทธประวัติติดพิมพ์จนได้รับรางวัลชนะเลิศติดต่อกันมาหลายปี (ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา) |
และต่อมาในปี พ.ศ. 2497 จึงเริ่มมีการทำเทียนพรรษาติดพิมพ์ประกวดแบบพิสดารโดยนายประดับ ก้อนแก้ว คือทำเป็นรูปพุทธประวัติติดพิมพ์จนได้รับรางวัลชนะเลิศติดต่อกันมาหลายปี จนปี พ.ศ. 2502 นายคำหมา แสงงาม ช่างแกะสลัก ได้ทำเทียนพรรษาแบบแกะสลักมาประกวดเป็นครั้งแรกจนได้รับรางวัลชนะเลิศ จากนั้นจึงได้มีการแยกประเภทการประกวดต้นเทียนเป็นสองแบบคือ ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก
|
ในช่วงหลังปี พ.ศ. 2511 นายอุตสาห์ และนายสมัย แสงวิจิตร ได้เริ่มมีการจัดทำเทียนพรรษาขนาดใหญ่โต ทำเป็นหุ่นและเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของเทียนพรรษาขนาดใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบัน (ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา) |
จนในช่วงหลังปี พ.ศ. 2511 นายอุตสาห์ และนายสมัย แสงวิจิตร ได้เริ่มมีการจัดทำเทียนพรรษาขนาดใหญ่โต ทำเป็นหุ่นและเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของเทียนพรรษาขนาดใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบัน
|
ในอดีตนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพิธีสำคัญที่ชาวพุทธจะมารวมตัวกันนำขี้ผึ้งมาหลอมรวมเป็นแท่งเทียนเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ (ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา) |
|
ปัจจุบันไม่ได้มีการนำเทียนมาจุดเพื่ออ่านหนังสืออีกแล้ว พระสงฆ์คงนำเทียนไปจุดบูชาตามอุโบสถวิหารเท่านั้น |
โดยในอดีตนั้น การหล่อเทียนเข้าพรรษาถือเป็นพิธีสำคัญที่ชาวพุทธจะมารวมตัวกันนำขี้ผึ้งมาหลอมรวมเป็นแท่งเทียนเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ แต่ในปัจจุบันชาวพุทธส่วนใหญ่จะนิยมการซื้อหาเทียนพรรษาจากร้านสังฆภัณฑ์ โดยบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนไปซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้แสงสว่างถวายแก่พระสงฆ์แทนด้วย ซึ่งนับเป็นการปรับเปลี่ยนที่ได้ประโยชน์แก่พระสงฆ์โดยตรง เพราะปัจจุบันไม่ได้มีการนำเทียนมาจุดเพื่ออ่านหนังสืออีกแล้ว พระสงฆ์คงนำเทียนไปจุดบูชาตามอุโบสถวิหารเท่านั้น (เครดิตข้อมูลดีจาก :
https://th.wikipedia.org/wiki/วันเข้าพรรษา )
หลังจากที่ได้อ่านข้อมูลดีๆเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของงานประเพณีแห่เทียนพรรษาของไทยกันไปแล้ว เราก็มาดูภาพบรรยากาศบางส่วนเกี่ยวกับงานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานีในปี 2565 กันเลยค่ะ หลังจากไม่ได้จัดมานานถึง 2 ปี ไปดูสิว่าจะยิ่งใหญ่อลังการแค่ใหน
พี่สาวเป็นสารถีพาขับรถออกจากบ้านสวนที่ศรีสะเกษแต่เช้าเลยค่ะ เพื่อเดินทางไปชมงานแห่เทียนที่อุบล
ตอนแรกคิดว่ามาถึงรถต้องติดแน่ๆ แต่ผิดคาดค่ะ เพราะว่ามาถึงกันแต่เช้า เลยขับรถข้ามสะพานแม่น้ำมูลจากอำเภอวารินชำราบเข้ามายังบริเวณลานน้ำพุได้ แต่ก็ต้องวนหาที่จอดรถอยู่ดีค่ะ
หาที่จอดรถได้แล้ว ก็เดินเท้าไปยังทุ่งศรีเมือง เพื่อไปดูขบวนแห่บริเวณที่จัดงาน
ตอนแรกกะว่าเดินมาถึงภายในงาน น่าจะพอมีที่นั่งบนอัฒจรรย์เหลือบ้างนะคะ แต่เปล่าเลย เพราะนักท่องเที่ยวมาจองที่นั่งในร่มบนอัฒจรรย์กันตั้งแต่เช้าตรู่เลยล่ะค่ เรียกว่ามากันเยอะมากๆ
เดี๊ยนกับพี่สาวเลยพากันยืนเกาะตามรั้วกั้นแทน แต่ก็โชคดีที่ได้ชมแบบใกล้ๆ แม้จะต้องยืนกลางแจ้งก็ตาม เนื่องจากนักท่องเที่ยวเยอะมากๆ อีกอย่างวันที่ไปเที่ยวตอนเช้าๆก็ดูครึ้มๆ แอบหวั่นๆอยู่ว่า ฝนฟ้าจะตกลงมาไหม๊ แต่ก็ไม่ตกค่ะ ถือว่าโชคดีมากๆ
|
ขบวนแรก เป็นขบวนเทียนพรรษาพระราชทาน |
|
ขบวนแรก เป็นขบวนเทียนพรรษาพระราชทาน |
|
ขบวนแรก เป็นขบวนเทียนพรรษาพระราชทาน |
|
ขบวนถัดมา เป็นขบวนของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี |
|
ขบวนของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี |
|
ขบวนของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี สีสันของขบวนแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบล ขาดไม่ได้ คงเป็นเหล่านางรำ ที่สร้างสีสันความงาม ให้งานขบวนแห่นี้น่าดูมากยิ่งขึ้น ถ้าขาดเหล่านางรำ คงไม่มีสีสัน |
|
ขบวนของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี สีสันของขบวนแห่เทียน ขาดไม่ได้ คงเป็นเหล่านางรำ ที่สร้างสีสันความงาม ให้งานขบวนแห่นี้น่าดูมากยิ่งขึ้น ถ้าขาดเหล่านางรำ คงไม่มีสีสัน |
|
ขบวนของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี สีสันของขบวนแห่เทียน ขาดไม่ได้ คงเป็นเหล่านางรำ ที่สร้างสีสันความงาม ให้งานขบวนแห่นี้น่าดูมากยิ่งขึ้น ถ้าขาดเหล่านางรำ คงไม่มีสีสัน |
|
ขบวนแห่ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
|
ขบวนแห่ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
|
ขบวนแห่ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
|
ขบวนแห่ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
|
ขบวนแห่ของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี |
|
ขบวนแห่ของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี |
|
ขบวนแห่ของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี |
|
ขบวนแห่ของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี เหล่านางรำตัวน้อยๆ น่ารักมากๆค่ะ |
|
ขบวนแห่ของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี เหล่านางรำตัวน้อยๆ น่ารักมากๆค่ะ |
|
ขบวนแห่ของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี เหล่านางรำตัวน้อยๆ น่ารักมากๆค่ะ |
|
ขบวนแห่ของโรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี เหล่านางรำตัวน้อยๆ น่ารักมากๆค่ะ |
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาประเภทแกะสลักของวัดผาสุการาม อำเภอวารินชำราบ |
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาประเภทแกะสลักของวัดผาสุการาม อำเภอวารินชำราบ |
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาประเภทแกะสลักของวัดผาสุการาม อำเภอวารินชำราบ |
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาประเภทแกะสลักของวัดผาสุการาม อำเภอวารินชำราบ |
|
ขบวนแห่ของวิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
|
ขบวนแห่ของวิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหล่านางรำใส่เสื้อสีชมพู สีสันสดใส งดงาม |
|
ขบวนแห่ของวิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหล่านางรำใส่เสื้อสีชมพู สีสันสดใส งดงาม
|
|
ขบวนแห่ของวิทยาลัยโปลีเทคนิคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เหล่านางรำใส่เสื้อสีชมพู สีสันสดใส งดงาม
|
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาประเภทแกะสลัก วัดพระธาตุหนองบัว |
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาประเภทแกะสลัก วัดพระธาตุหนองบัว |
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาประเภทแกะสลัก วัดพระธาตุหนองบัว |
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาประเภทแกะสลัก วัดพระธาตุหนองบัว |
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาประเภทแกะสลัก วัดพระธาตุหนองบัว |
|
นางงามบนรถแห่ในงานเทียนพรรษา |
|
นางงามบนรถแห่ในงานเทียนพรรษา |
|
ขบวนเทียนพรรษาประเภทแกะสลักของอำเภอกันทรารมณ์ |
|
ขบวนแห่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
|
ขบวนแห่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
|
ขบวนแห่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เหล่านางรำแสดงศิลปะทางภาคใต้ |
|
ขบวนแห่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เหล่านางรำแสดงศิลปะทางภาคใต้ ระบำพัดสวยงามมากๆ |
|
ขบวนแห่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เหล่านางรำแสดงศิลปะทางภาคใต้ ระบำพัดสวยงามมากๆ |
|
ขบวนแห่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี เหล่านางรำแสดงศิลปะทางภาคใต้ ระบำพัดสวยงามมากๆ |
|
ขบวนแห่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
|
ขบวนแห่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
|
ขบวนแห่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
|
ขบวนแห่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
|
ขบวนแห่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี โดดเด่นด้วยเหล่านางรำฟ้อนอย่างงดงาม |
|
ขบวนแห่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี |
|
โปงลางโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี |
|
ขบวนแห่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี โดดเด่นด้วยเหล่านางรำฟ้อนอย่างงดงาม |
|
ขบวนแห่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี โดดเด่นด้วยเหล่านางรำฟ้อนอย่างงดงาม |
|
ขบวนแห่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี โดดเด่นด้วยเหล่านางรำฟ้อนอย่างงดงาม |
|
ขบวนแห่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี โดดเด่นด้วยเหล่านางรำฟ้อนอย่างงดงาม |
|
ขบวนแห่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี โดดเด่นด้วยเหล่านางรำฟ้อนอย่างงดงาม |
|
ขบวนแห่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี โดดเด่นด้วยเหล่านางรำฟ้อนอย่างงดงาม |
|
ขบวนแห่โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช อุบลราชธานี โดดเด่นด้วยเหล่านางรำฟ้อนอย่างงดงาม |
|
ขบวนแห่เทียนสมาคมฟ้าสีรุ้ง อุบลราชธานี วัดพลแพน |
|
ขบวนแห่เทียนสมาคมฟ้าสีรุ้ง อุบลราชธานี วัดพลแพน |
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาวัดพลแพน |
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาวัดพลแพน |
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาวัดพลแพน |
|
ขบวนแห่เทียนสมาคมฟ้าสีรุ้ง อุบลราชธานี วัดพลแพน |
|
ขบวนแห่เทียนสมาคมฟ้าสีรุ้ง อุบลราชธานี วัดพลแพน |
|
ขบวนแห่เทียนวัดใต้ท่า |
|
ขบวนแห่เทียนวัดใต้ท่า |
|
ขบวนเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์วัดใต้ท่า |
|
ขบวนเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์วัดใต้ท่า |
|
ขบวนเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์วัดใต้ท่า |
|
ขบวนแห่สมาคมหมอลำเมืองดอกบัวอุบลราชธานี |
|
ขบวนแห่สมาคมหมอลำเมืองดอกบัวอุบลราชธานี |
|
ขบวนแห่สมาคมหมอลำเมืองดอกบัวอุบลราชธานี |
|
ขบวนแห่สมาคมหมอลำเมืองดอกบัวอุบลราชธานี |
|
ขบวนแห่สมาคมหมอลำเมืองดอกบัวอุบลราชธานี |
|
ขบวนแห่สมาคมหมอลำเมืองดอกบัวอุบลราชธานี |
|
ขบวนแห่สมาคมหมอลำเมืองดอกบัวอุบลราชธานี |
|
ขบวนแห่นางงามอุบลราชธานี และธิดาเทียนพรรษา |
|
ขบวนแห่นางงามอุบลราชธานี และธิดาเทียนพรรษา |
|
ขบวนแห่นางงามอุบลราชธานี และธิดาเทียนพรรษา |
|
ขบวนแห่นางงามอุบลราชธานี และธิดาเทียนพรรษา |
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาของอำเภอบุณฑริก |
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาของอำเภอบุณฑริก
|
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาของอำเภอบุณฑริก
|
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาของอำเภอบุณฑริก
|
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาประเภทแกะสลักของอำเภอบุณฑริก
|
|
ขบวนแห่เทียนพรรษาประเภทแกะสลักของอำเภอบุณฑริก |
|
ด้วยเวลาจำกัด เดี๊ยนวางแผนจะไปเที่ยวที่อื่นต่อ หากจะดูขบวนแห่เทียนให้ครบจบทุกขบวน คงจะต้องดูถึง่ช่วงบ่ายเลยล่ะค่ะ เดินออกมายังมีขบวนรถต่อคิว แสดงในงานอีกมากมาย |
และด้วยเวลาจำกัด วางแผนจะไปเที่ยวที่อื่นต่อ หากจะดูขบวนแห่เทียนให้ครบจบทุกขบวน คงจะต้องดูถึง่ช่วงบ่ายเลยล่ะค่ะ เพราะว่าเยอะมากๆ เลยเดินออกจากจุดชมที่ทุ่งศรีเมืองมาที่บริเวณจุดจอดรถ ใกล้ๆวงเวียนน้ำพุแทน
|
ด้วยเวลาจำกัด เดี๊ยนวางแผนจะไปเที่ยวที่อื่นต่อ หากจะดูขบวนแห่เทียนให้ครบจบทุกขบวน คงจะต้องดูถึง่ช่วงบ่ายเลยล่ะค่ะ เดินออกมายังมีขบวนรถต่อคิว แสดงในงานอีกมากมาย |
|
เดินออกจากงาน มาเจอขบวนรอต่อคิวที่อำเภอสว่างวีระวงศ์ |
|
เดินออกจากงาน มาเจอขบวนรอต่อคิว |
|
เดินออกจากงาน มาเจอขบวนรอต่อคิว |
|
เดินออกจากงาน มาเจอขบวนรอต่อคิวแสดง เดินมาใกล้วงเวียนน้ำพุ เจอขบวนโปงลางโรงเรียนอาเวมารีอา |
|
ขบวนรอต่อคิวแสดงใกล้วงเวียนน้ำพุ โปงลางโรงเรียนม่วงสามสิบ ร้องเพลงอย่างสนุกสนาน เตรียมพร้อมแสดงโชว์ในงาน |
|
โปงลางโรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี |
หลังจากชมงานแห่เทียนพรรษาที่อุบลได้บางส่วนแล้ว พี่สาวก็พาเดี๊ยนเดินทางออกจากเมืองอุบล มุ่งหน้ามามาเที่ยวต่อที่เขื่อนสิรินธร ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตร ถือว่าไกลจากเมืองอุบลมากทีเดียวค่ะ
เดินทางเที่ยวชมทางเดินกระจก Skywalk ภายในบริเวณเขื่อนสิรินธร ซึ่งอยู่ทางเข้าประตู 3 ค่ะ เข้ามาก็จะมีบริเวณที่จอดรถให้กว้างขวาง เดินเข้าไปยังอาคารสิรินธรประภากร
ออกจากอาคารมาก็จะเป็นเส้นทางเดิน Skywalk เป็นจุดชมวิวเขื่อนสิรินธรที่สวยงามอีกแห่ง
|
จุดเช็คอินถ่ายรูปที่เที่ยวเปิดใหม่ในจังหวัดอุบล ที่ทางเดิน Skywalk เขื่อนสิรินธร |
|
จุดเช็คอินถ่ายรูปที่เที่ยวเปิดใหม่ในจังหวัดอุบล ที่ทางเดิน Skywalk เขื่อนสิรินธร ทัศนียภาพโดยรอบสวยงาม ร่มรื่นไปด้วยแมกไม้
|
|
จุดเช็คอินถ่ายรูปที่เที่ยวเปิดใหม่ในจังหวัดอุบล ที่ทางเดิน Skywalk เขื่อนสิรินธร ทัศนียภาพโดยรอบสวยงาม ร่มรื่นไปด้วยแมกไม้ |
|
จุดเช็คอินถ่ายรูปที่เที่ยวเปิดใหม่ในจังหวัดอุบล ที่ทางเดิน Skywalk เขื่อนสิรินธร ทัศนียภาพโดยรอบสวยงาม ร่มรื่นไปด้วยแมกไม้ |
|
วันหยุดนักท่องเที่ยวก็จะเยอะเป็นพิเศษ |
|
หากจะเดินบน ทางเดินกระจก ต้องถอดรองเท้านะคะ |
|
หากจะเดินบน ทางเดินกระจก ต้องถอดรองเท้านะคะ |
|
จุดเช็คอินถ่ายรูปที่เที่ยวเปิดใหม่ในจังหวัดอุบล ที่ทางเดิน Skywalk เขื่อนสิรินธร ทัศนียภาพโดยรอบสวยงาม ร่มรื่นไปด้วยแมกไม้ |
|
ทัศนียภาพจากจุดชมวิวทางเดิน skywalk สามารถมองเห็นทิวทัศน์แพเรือล่องในเขื่อน และธรรมชาติสวยงาม ลมพัดเย็นสบาย ช่วยคลายร้อนได้ดีทีเดียว |
|
ทัศนียภาพจากจุดชมวิวทางเดิน skywalk สามารถมองเห็นทิวทัศน์แพเรือล่องในเขื่อน และธรรมชาติสวยงาม ลมพัดเย็นสบาย ช่วยคลายร้อนได้ดีทีเดียว |
|
ทัศนียภาพจากจุดชมวิวทางเดิน skywalk สามารถมองเห็นทิวทัศน์แพเรือล่องในเขื่อน และธรรมชาติสวยงาม ลมพัดเย็นสบาย ช่วยคลายร้อนได้ดีทีเดียว |
|
ทางเดิน Skywalk ภายในเขื่อนสิรินธร จัดเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวเปิดใหม่ทีต้องแวะไปถ่ายรูปกันสักครั้งค่ะ |
|
เดินทางมาเที่ยวต่อที่ วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว |
จากนั้นก็เดินทางมาเที่ยวต่อที่ วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว
ซึ่งเป็นหนึ่งในวัดที่อยู่ไม่ไกลจากเขื่อนสิรินธร และไม่ไกลจากชายแดนด่านช่องเม็ก ซึ่งเป็นพรมแดนติดกับเมืองปากเซ ประเทศลาว
|
วัดสิรินธรวรารามภูพร้าวในช่วงเวลากลางวัน |
วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดภูพร้าว บ้างเรียก วัดเรืองแสง ตามลักษณะอุโบสถ เดิมพื้นที่ตั้งวัดเป็นป่า มีหน้าผาสูง ไม่มีแหล่งน้ำ จึงไม่มีชาวบ้านอาศัยอยู่ จนราว พ.ศ. 2495–2498 พระอาจารย์บุญมาก ฐิติปัญโญ เดินทางจากประเทศลาวมาพักปักกลดที่ภูพร้าว และสร้างวัดมีเนื้อที่สร้างวัดประมาณ 500 ไร่ และให้ชื่อว่า "วัดภูพร้าว" ต่อมาราว พ.ศ. 2516–2517 พระอาจารย์บุญมากได้เดินทางกลับไปยังวัดภูมะโรง เมืองจำปาสัก เนื่องจากเกิดความไม่สงบทางการเมืองในประเทศลาว
|
ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระประธานองค์ใหญ่ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบสักการะ |
จากนั้นวัดภูพร้าวจึงถูกปล่อยร้างเรื่อยมา เมื่อ พ.ศ. 2535 อำเภอสิรินธรได้แยกตัวออกจากอำเภอพิบูลมังสาหาร จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดมาเป็น "วัดสิรนธรวราราม" ตามชื่ออำเภอ จน พ.ศ. 2542 พระครูกมลภาวนากร เจ้าอาวาสและผู้บูรณะพัฒนาวัดภูหล่น ตำบลสงยาง อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ได้เข้ามาบูรณะวัดจนได้รับอนุญาตตั้งวัดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ในนาม "วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว" มีเนื้อที่วัดทั้งหมด 15 ไร่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2547
|
ไฮไลท์หรือจุดเด่นของวัดภูพร้าว ในช่วงยามค่ำคืน ด้านหลังของอุโบสถนั้นเป็นจิตรกรรมเรืองแสงสีเขียวของต้นกัลปพฤกษ์ จะเรืองแสงในยามค่ำคืน |
จุดเด่นของวัด คือ อุโบสถที่ผนังภายนอกมีงานพุทธศิลป์รูปต้นกัลปพฤกษ์เรืองแสง ออกแบบโดยคุณากร ปริญญาปุณโณ ตัวอุโบสถมีต้นแบบมาจากวัดเชียงทอง ประเทศลาว เสาแต่ละต้นลงลวดลายด้วยมือ โดยรอบนอกเป็นลายดอกบัวและสัตว์ทั้งหลายตามคติบัว 4 เหล่า ทางเข้าเป็นต้นสาละ ต้นมะขามป้อม ต้นสมอ และด้านในสุดเป็นต้นโพธิ์ เบื้องหลังพระประธานในอุโบสถ แกะสลักไม้เป็นต้นโพธิ์ (เครดิตข้อมูลดีๆจาก :
https://th.wikipedia.org/wiki/วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว)
|
ทัศนียภาพภายในวัดสิรินธรวรารามภูพร้าว |
|
ทัศนียภาพภายในวัดสิรินธรวรารามภูพร้าว |
|
ทัศนียภาพภายในวัดสิรินธรวรารามภูพร้าว |
|
ด้านหลังพระอุโบสถเป็นจิตรกรรมเรืองแสงสีเขียวของต้นกัลปพฤกษ์ |
|
จุดชมวิวทิวทัศน์บริเวณวัดสิรินทธรภูพร้าว |
หลังจากได้ไปชมความงามของวัดภูพร้าว หรือว่าวัดเรืองแสงไปแล้ว ก็ได้เวลาเดินทางกลับค่ะ
ระหว่างผ่านอำเภอพิบูลมังสาหาร ก็ไม่พลาดมาอุดหนุนซาลาเปากันสักหน่อย
|
ซาลาเปาเมืองพิบูล ของฝากขึ้นชื่ออีกอย่างที่นักเดินทางต้องแวะซื้อระหว่างทาง |
ซึ่งขนมจีบ กับ ซาลาเปา ของที่อำเภอพิบูลก็กลายเป็นของฝากและของกินขึ้นชื่อของที่นี เพราะมีขายอยู่ระหว่างทางขากลับไปยังจังหวัดอุบลค่ะ
|
ซาลาเปาเมืองพิบูล ของฝากขึ้นชื่ออีกอย่างที่นักเดินทางต้องแวะซื้อระหว่างทาง ราคากล่องล่ะ 50 บาท ทานเป็นอาหารระหว้างมื้อ อิ่มไปตลอดทางค่ะ |
มีซาลาเปาให้เลือกหลายไส้ ราคากล่องล่ะ 50 บาท ทานเป็นอาหารระหว้างมื้อ อิ่มไปตลอดทางค่ะ
จบทริปเก็บตกบรรยากาศเที่ยวงานแห่เทียนจังหวัดอุบลราชธานีในปี 2565 เป็นทริปเที่ยวอุบลอีกครั้ง ชมความอลังการของงานแห่เทียนสุดยิ่งใหญ่ หลังจากไม่ได้จัดมานานถึง 2 ปี เพราะสถานการณ์โควิด และทริปนี้ ก็ได้เที่ยวแบบสบาๆ ไม่ต้องเช่ามอเตอร์ไซต์ตากแดด ขับรถลุยๆ เหมือนทริปที่ผ่านมาค่ะ
สำหรับเพื่อนๆคนใหนที่วันหยุดนี้ ไม่รู้ไปใหนดี ยังไงลองปักหมุดมาเที่ยวอุบล ให้สุขล้นอิ่มฤทัยดูสักครั้ง เพราะมีที่เที่ยวให้เช็คอินถ่ายภาพสวยปังอีกหลายแห่งเลยล่ะค่ะ มาเที่ยวกันเยอะๆนะคะ เศรษฐกิจได้คึกคัก กระตุ้นการท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น....จากคุณนายเว่อร์ เทอรชอบเที่ยวกินนอน
----------------------------------------------------------------------
บทความบล็อกท่องเที่ยวเมืองอื่นๆ มีดังนี้
0 ความคิดเห็น