|
เก็บตกทริปรีวิวเที่ยวประจำเดือนนี้ เพื่อไม่ให้เว็ปไซต์ร้างไป วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอพาไปเที่ยวเมืองลำพูน เมืองเล็กๆเก่าแก่โบราณ มีสถานที่ท่องเที่ยวให้ไปยลตระการแห่ง ต้องปักลายแทงไปเช็กอินกันสักครั้ง |
กลับมาทักทาย ซำบายดี สวีดัด สวัสดีเพื่อนๆคุณผู้อ่าน รวมทั้งเพื่อนๆเหล่าผู้รักการทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจทุกคนค่ะ กลับมาพบปะกันอีกเช่นเดินนะคะ กับบทความบล็อกรีวิวท่องเที่ยวประจำเดือน ที่จะมาจัดสรร แบ่งปันรีวิวภาพแหล่งท่องเที่ยวให้ได้ชมกัน หลังจากที่บทความรีวิวก่อนหน้าได้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ได้พาไปรีวิวเที่ยวเมืองรถม้าลำปางกันไปแล้ว เพื่อนๆคุณผู้อ่าน สามารถเข้าไปรีวิวได้ที่เว็ปไซต์ : https://khunnaiver.blogspot.com/2022/01/rent-motorbike-travel-Lampang-review.html
และหลังจากที่เดินทางไปเที่ยวจังหวัดลำปางแล้ว เดี๊ยนก็ตีตั๋วนั่งรถจากลำปางไปเที่ยวต่ออีกหนึ่งจังหวัดในภาคเหนือ นั้นก็คือ จังหวัดลำพูน เมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็นจังหวัดที่เล็กที่สุดในมณฑลพายัพ หรือในภาคเหนือ แต่ด้วยความเล็กของลำพูน กลับเป็นเมืองที่มีมนต์เสน่ห์ น่าค้นหา ที่ใครต้องไปชื่นอุราเที่ยวชมกันสักครั้ง เพราะในอดีตเคยเป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานที่สุดอีกแห่ง ยกให้เป็นต้นเนิดของอาณาจักรหริภูญชัย อีกทั้งยังเป็นแหล่งปลูกลำไย รสชาติหอมหวานอร่อย เป็นที่ของฝากขึ้นชื่อประจำจังหวัดนี้อีกด้วย อีกทั้งยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงาม ให้แวะไปยลตระการถ่ายรูปเช็กอินอย่างเพลิดเพลินจำเริญใจอีกด้วย เรียกว่าใครขับรถจะมาเชียงใหม่ ก็อย่าได้ขับเลยผ่านไป แวะมาเที่ยวลำพูนก่อนสักครั้ง มีมุมถ่ายรูปสวยปังแน่นอนค่ะ
แต่ก่อนที่เราจะไปรีวิวเที่ยวชมภาพแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจในจังหวัดลำพูน เราก็มาทำความรู้จักประวัติความเป็นมาของเมืองลำพูนกันสักเล็กน้อย พอสังเขปนะคะว่า เมืองเก่าแก่แห่งนี้ มีที่มาอย่างไร นำมาให้ได้อ่านเป็นความรู้กันจ้า
|
สาระน่ารู้พอสังเขปเกี่ยวกับ จังหวัดลำพูน (About Lamphun city) ภาพเก่าบอกเล่าเรื่องราวจากพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน |
สาระน่ารู้พอสังเขปเกี่ยวกับ จังหวัดลำพูน (About Lamphun city)
ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ระยะทาง 689 กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในภาคเหนือ นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ เคยเป็นที่ตั้งของนครหริภุญชัย ในสมัยพระนางจามเทวี เดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณมีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตรหรือชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้นในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง
|
สร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม "จามเทวี" มาเป็นปฐมกษัตริย์ (ภาพเก่าจากพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน) |
เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม "จามเทวี" มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชยสืบราชวงศ์กษัตริย์ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพญายีบาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พญามังราย ผู้รวบรวมแว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา
|
แม้ว่าเมืองลำพูนจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง (ภาพไม่เกี่ยวกับเนื้อหา ภาพเก่าจากพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน) |
ถึงแม้ว่าเมืองลำพูนจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่ และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา
|
ภาพเก่าจากพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน |
จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัย เมืองลำพูนจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครองสืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
|
อกจากจังหวัดลำพูนจะมีชื่อเสียงในฐานะเป็นเมืองประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นแหล่งเพาะปลูกลำไย (ภาพขบวนแห่ครัวทานปอยหลวง ไปยังวัดพระธาตุหริภุญชัย) |
และนอกจากจังหวัดลำพูนจะมีชื่อเสียงในฐานะเป็นเมืองประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นแหล่งเพาะปลูกลำไย พระเครื่อง โบราณสถานที่สำคัญ และผ้าทอฝีมือดี จนมีถูกตั้งมาเป็นคำขวัญประจำจังหวัด คือ พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญไชย
|
ภาพเก่าประตูเมืองลำพูนในอดีต (เครดิตภาพเก่าจากพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน) |
ปัจจุบันมีประตูเมืองหลักทั้งสี่ทิศคือ ทิศเหนือประตูช้างสี ทิศตะวันออกประตูท่าขาม ทิศใต้ประตูลี้ ทิศตะวันตกประตูมหาวัน มีกำแพงเมืองเก่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือคือ ประตูท่านาง
|
ภาพเก่ามืองลำพูน - จากตำนานในอดีตกล่าวว่าเป็นเมืองที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในแผ่นดินล้านนา มีวัดวาอารามและโบราณสถานมากมาย |
จังหวัดลำพูนได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมและพุทธศาสนา ซึ่งจากตำนานในอดีตกล่าวว่าเป็นเมืองที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในแผ่นดินล้านนา มีวัดวาอารามและโบราณสถานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวัดพระธาตุหริภุญไชย วัดจามเทวี วัดมหาวัน วัดกู่ละมัก และวัดพระยืน ซึ่งแต่ละวัดมีประวัติความเป็นมายาวนาน
|
สาวงามคนแรกของเมืองลำพูนที่ขึ้นเวทีประกวดระดับประเทศและได้รับตำแหน่งรองนางสาวไทยเมื่อปี พ.ศ.2496 - นางสาวนวลสวาท ลังการ์พินธุ์ - ช่างสวยงามสดใส ละมัยอำพันยิ่งนัก- ภาพเก่าย้อนวันวานจากพิพิธภัณฑ์ชุมชมเมืองลำพูน |
|
ทำเนียบสาวงามลำพูนที่ได้รับตำแหน่ง ช่างสวยงามสดใส ละมัยอำพันยิ่งนัก ภาพเก่าย้อนวันวานจากพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านชาวยอง |
|
ทำเนียบสาวงามลำพูนที่ได้รับตำแหน่ง ช่างสวยงามสดใส ละมัยอำพันยิ่งนัก ภาพเก่าย้อนวันวานจากพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านชาวยอง |
|
ทำเนียบสาวงามลำพูนที่ได้รับตำแหน่ง ช่างสวยงามสดใส ละมัยอำพันยิ่งนัก ภาพเก่าย้อนวันวานจากพิพิธภัณฑ์ชุมชนบ้านชาวยอง |
ส่วนของฝากขึ้นชื่อของจังหวัดลำพูนนั้นมีทั้งงานหัตถกรรม และของรับประทานยามว่าง อีกทั้งยังมี งานหัตถกรรมที่มีชื่อได้แก่ ผ้าฝ้ายทอยกดอกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะและสวยงามยิ่ง มีผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้าย ผ้าบาติก ไม้แกะสลัก เป็นต้น ส่วนของกินขึ้นชื่อประจำเมืองลำพูนที่ใครแวะมาก็ต้องซื้อกันก็ ได้แก่ ลำไยสด ลำไยอบแห้ง ไส้อั่ว และกระเทียม ที่ต้องซื้อติดไม้ติดมือกลับไปทุกราย
เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดลำพูน
หลังจากที่ได้อ่านเรื่องน่ารู้เกี่ยวประวัติความเป็นมาของเมืองลำพูนกันไปแล้วนะคะ ต่อไปก็ตามมาดูรีวิวเที่ยวเมืองลำพูนกันต่อเลยค่ะ
|
เริ่มต้นการเดินทางทริปนี้ ขับรถมอเตอร์ไซต์มาคืนที่ร้านเช่ารถใกล้ๆกับสถานีขนส่งเมืองลำปาง จากนั้นก็เดินมาซื้อตั๋วรถเพื่อที่จะเดินทางไปจังหวัดลำพูน |
เริ่มต้นการเดินทางทริปนี้ เขียนต่อจากรีวิวก่อนหน้านี้ที่เว็ปไซต์ : https://khunnaiver.blogspot.com/2022/01/rent-motorbike-travel-Lampang-review.html
หลังจากเช็กเอาท์ออกจากโรงแรมในเมืองลำปาง เดี๊ยนก็ขับรถมอเตอร์ไซต์มาคืนที่ร้านเช่ารถใกล้ๆกับสถานีขนส่งเมืองลำปาง จากนั้นก็เดินมาซื้อตั๋วรถเพื่อที่จะเดินทางไปจังหวัดลำพูน
|
เดี๊ยนเลยต้องซื้อตั๋วรถโดยสารของ Green Bus ไปลงที่สถานีขนส่งอาเขตเชียงใหม่แทนค่ะ |
แต่เนื่องจากในเมืองลำพูนไม่มีร้านเช่ารถมอเตอร์ไซต์ เดี๊ยนเลยต้องซื้อตั๋วรถโดยสารของ Green Bus ไปลงที่สถานีขนส่งอาเขตเชียงใหม่แทนค่ะ เพราะว่าแถวสถานีขนส่งเชียงใหม่ มีร้านเช่ารถมอเตอร์ไซต์ให้เลือกเช่าอยู่หลายร้านเหมือนกัน อีกทั้งจากเมืองเชียงใหม่ไปลำพูน ระยะทางก็ไม่ไกลอีกด้วย
|
ราคาตั๋วโดยสารจากลำปางไปเชียงใหม่ ราคาอยู่ที่ 83 บาทค่ะ |
ส่วนราคาตั๋วโดยสารรถตู้จากลำปางไปเชียงใหม่ ราคาอยู่ที่ 83 บาทค่ะ ส่วนรถโดยสารก็เป็น รถมินิบัสเล็กๆคันตามรูปภาพเลยค่ะ แต่บางครั้งก็ไม่ได้เป็นมินิบัสเสมอไปนะคะ อาจจะเป็นรถตู้ก็ได้
ด้านในรถมินิบัสผู้โดยสารที่จะออกเดินทางจากลำปางไปเชียงใหม่ ก็มาใช้บริการรถ Green Bus นั่งกันจนเต็มคันรถเลยคัน แม้ว่าจะเป็นวันธรรมดาก็ตาม
นั่งรถมินิบัสโดยสารออกจากสถานีขนส่งลำปาง มาถึงจังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 96 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณชั่วโมงกว่าๆก็ถึงค่ะ
จากนั้นก็เปิด GPS เดินเท้าออกจากสถานีขนส่งอาเขตหลังเก่ามาที่ร้านเช่ามอเตอร์ไซต์ SK service motorcycle for rent ซึ่งเป็นร้านมอเตอร์ไซต์อยู่ใกล้กับ บขส.เชียงใหม่
ทำการเช่ารถมอเตอร์ไซต์ในร้าน SK service เลือกรถดีๆหน่อย ราคาไม่แพงมากนัก
ค่าเช่าวันละ 300 บาท เลือกเช่า Honda Click
ใช้บัตรประจำตัวประชาชนในการจอง
ลงทะเบียนผ่านทางระบบของร้านชำระเงิน เรียบร้อย ก็ออกสต๊าทรถเดินทางไปเที่ยวต่อได้เลย
|
ขับรถออกจาก บขส.เชียงใหม่ เดินทางไปยังเมืองลำพูน ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร |
|
ขับรถมาไม่นาน ก็มาถึงเมืองลำพูนแล้วค่ะ |
เมื่อได้รถมอเตอร์ไซต์แล้ว จากนั้นก็ขับรถออกจาก บขส.เชียงใหม่ เดินทางไปยังเมืองลำพูน ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร ก็ถึงเมืองลำพูนแล้วค่ะ
|
ในย่านตัวเมืองลำพูน จุดโดดเด่นเลยก็คือ กำแพงเมืองเก่าแก่ ที่สวยไม่แพ้เมืองเชียงใหม่เลยล่ะ |
ถ้ามาถึงในย่านตัวเมืองลำพูน จุดโดดเด่นเลยก็คือ กำแพงเมืองเก่าแก่ ที่สวยไม่แพ้เมืองเชียงใหม่เลยล่ะค่ะ เนื่องจากมีคูน้ำล้อมรอบเมือง อีกทั้งบรรยากาศการจราจร ก็ไม่ได้ติดขัดอีกด้วย ด้านในก็เต็มไปด้วยวัดวาอารามและสถานที่สำคัญหลายแห่ง
|
มนต์เสน่ห์เย้ายวนใจของเมืองลำไย หรือว่าเมืองลำพูน คือเป็นเมืองเล็กๆ ที่ไม่วุ่นวาย ยังมีรถสามล้อถีบให้บริการอยู่ เป็นเมืองที่ใช้ชีวิตแบบช้าสโลว์ไลฟ์จริงๆ จะเห็นว่าในรูป สโลว์ไลฟ์จนคนปั่นสามล้อถีบหลับไปเลย
|
และมนต์เสน่ห์เย้ายวนใจของเมืองลำไย หรือว่าเมืองลำพูน คือเป็นเมืองเล็กๆ ที่ไม่วุ่นวาย ยังมีรถสามล้อถีบให้บริการอยู่ บ่งบอกถึงความเป็นเมืองสโลว์ไลฟ์ ไปแบบช้าๆอย่างแท้จริงค่ะ จะเห็นว่าในรูป สโลว์ไลฟ์จนคนปั่นสามล้อถีบหลับไปเลย
|
ใครที่มาเที่ยวลำพูน อยากชมบรรยากาศรอบเมือง ชำเลืองมองบ้านม่านชานเรือนเก่าแก่ ก็สามารถมานั่งรถจักรยานสามล้อถีบชมเมืองลำพูนได้นะคะ |
หากใครที่มาเที่ยวลำพูน อยากชมบรรยากาศรอบเมือง ชำเลืองมองบ้านม่านชานเรือนเก่าแก่ ก็สามารถมานั่งรถจักรยานสามล้อถีบชมเมืองลำพูนได้นะคะ
|
ทริปนี้เลือกนอนพักที่โรงแรม สุขสถาน ณ ลำพูน ที่พักราคาถูกอยู่ห่างจากตัวเมืองลำพูนประมาณ 6 กิโลเมตร
|
และก่อนจะไปขับรถไปไหว้พระแวะเที่ยวชมสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจต่างๆในเมืองลำพูน เดี๊ยนก็ขอไปเช็กอิน นำกระเป๋าไปไว้ที่ห้องพักก่อนค่ะ โดยทริปนี้เลือกนอนพักที่โรงแรม สุขสถาน ณ ลำพูน ที่พักราคาถูกอยู่ห่างจากตัวเมืองลำพูนประมาณ 6 กิโลเมตร
|
รอเช็กอินที่โรงแรมก่อนเข้าห้องพักค่ะ มีมุมให้นั่งพักถ่ายรูปสวยๆอยู่หลายมุม |
มาถึงก็นั่งรอเช็กอินที่โรงแรมก่อนเข้าห้องพักค่ะ มีมุมให้นั่งพักถ่ายรูปสวยๆอยู่หลายมุม
|
ในโรงแรม สุขสถาน ณ ลำพูน ก็ร่มรื่นดีมากๆค่ะ แวดล้อมไปด้วยต้นไม้ประดับใหญ่น้อย เติมต้อยดูแล้วสดชื่นดีนัก |
บรรยากาศภายในโรงแรม สุขสถาน ณ ลำพูน ก็ร่มรื่นดีมากๆค่ะ แวดล้อมไปด้วยต้นไม้ประดับใหญ่น้อย เติมต้อยดูแล้วสดชื่นดีนัก
|
นลักษณะของที่พักก็เป็นบ้านพักเป็นหลังๆ บังกะโลส่วนตัว มีที่จอดรถสะดวกกว้างขวาง |
ส่วนลักษณะของที่พักก็เป็นบ้านพักเป็นหลังๆ บังกะโลส่วนตัว สภาพแวดล้อมของที่พักสวยงามค่ะ มีที่จอดรถสะดวกกว้างขวาง น่าจะเหมาะกับคู่รัก หรือว่าครอบครัวหมู่คณะที่ต้องการนอนพักรีสอร์ท ที่มีต้นไม้เยอะๆ
|
บ้านพักที่เดี๊ยนจองไว้ ก็ได้บ้านพักบังกะโลเล็กๆ น่ารักดีค่ะ ราคาคืนละ 630 บาทค่ะ |
โดยบ้านพักที่เดี๊ยนจองไว้ ก็ได้บ้านพักบังกะโลเล็กๆ น่ารักดีค่ะ ราคาคืนละ 630 บาทค่ะ
|
บ้านพักเรือนไม้ ขนาดห้องพักเล็กๆ ไม่กว้างขวางมากนัก |
เป็นบ้านพักเรือนไม้ ขนาดห้องพักเล็กๆ ไม่กว้างขวางมากนัก เหมาะสมกับราคาห้องพักค่ะ แต่ภายในห้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ครบค่ะ ตู้เย็นเล็ก ทีวี ห้องแอร์ มีชั้นวางของ โต๊ะวางของ น้ำดื่มฟรี มีชากาแฟให้อีกด้วย
|
ราคาห้องพักคืนละ 630 บาท เตียงนอนภายในบ้านพักบังกะโลที่รีสอร์ทสุขสถาน ณ ลำพูน |
ส่วนสภาพเตียงก็นอนนุ่มกำลังดี ไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป ตรงหัวเตียงมีปลั๊กให้เสียบ และมีโคมไฟให้ด้วย
|
มาดูห้องน้ำกัน โดยห้องน้ำภายในบังกะโล คือกว้างขวางดีมาก เพราะแบ่งเป็น 2 โซนคือโซนเปียก และโซนแห้งแยกกันเลยค่ะ |
ดูห้องนอนเสร็จ มาดูห้องน้ำกัน โดยห้องน้ำภายในบังกะโล คือกว้างขวางดีมาก เพราะแบ่งเป็น 2 โซนคือโซนเปียก และโซนแห้งแยกกันเลยค่ะ สรุปรีวิวภาพรวมของโรงแรมสุขสถาน ณ ลำพูน ห้องพักถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีค่ะ ราคาถูก ไม่แพง แต่อยู่ไกลจากตัวเมืองลำพูนไปหน่อยค่ะ หากใครที่จะมาพักที่นี่ ต้องมีรถส่วนตัว หรือเช่ารถมาค่ะ จะได้เดินทางได้สะดวก
|
หลังจากทำการเช็กอินนำกระเป๋าไปไว้ที่โรงแรมแล้ว ก็ได้เวลาออกไปหาอะไรทานแล้วค่ะ |
หลังจากทำการเช็กอินนำกระเป๋าไปไว้ที่โรงแรมแล้ว ก็ได้เวลาออกไปหาอะไรทานแล้วค่ะ ขับรถมอเตอร์ไซต์จากรีสอร์ทสุขสถาน ณ ลำพูน เข้ามาหาอะไรอร่อยๆทานในตัวเมือง
|
มาฝากท้องมื้อง่ายๆ ที่ร้านข้าวมันไก่ไทยแลนด์ ข้าวมันไก่อร่อยดีค่ะ ราคาไม่แพงด้วย |
มื้อเที่ยงนี้ มาฝากท้องมื้อง่ายๆ ที่ร้านข้าวมันไก่ไทยแลนด์ ข้าวมันไก่อร่อยดีค่ะ ราคาไม่แพงด้วย อยู่ใกล้ๆกับวัดพระธาตุหริภูญชัยเลย
|
ทานข้าวมันไก่ไม่อิ่ม ไปหาของอร่อยทานต่อ ที่ร้านข้าวซอยบ้านยอง |
และเมื่อทานข้าวมันไก่ไม่อิ่ม ไปหาของอร่อยทานต่อ ที่ร้านข้าวซอยบ้านยอง
|
ทานข้าวซอยไก่ กินไก่อีกแล้วจ้า ข้าวซอยไก่หอมน้ำต้ม กินแนมคู่กับหอมแดง บีบมะนาวลงไปหน่อยนึง อร่อยดีทีเดียวค่ะ |
แวะทานข้าวซอยไก่ กินไก่อีกแล้วจ้า ข้าวซอยไก่หอมน้ำต้ม กินแนมคู่กับหอมแดง บีบมะนาวลงไปหน่อยนึง อร่อยดีทีเดียวค่ะ
|
ไม่อิ่มก็ตามต่อด้วย ขนมจีนน้ำเงี้ยวแบบคนเมืองแต้ๆเจ้า กินให้พุงกางไปเลยจ้า |
หากยังไม่อิ่มก็ตามต่อด้วย ขนมจีนน้ำเงี้ยวแบบคนเมืองแต้ๆเจ้า กินให้พุงกางไปเลยจ้า
|
ทานอาหารจนอิ่มแล้ว ก็ได้เวลาออกไปเช็กอินเดินย่อยอาหาร ด้วยการเดินทางไปถ่ายรูปตามสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดลำพูนต่อค่ะ |
หลังจากที่ทานอาหารจนอิ่มแล้ว ก็ได้เวลาออกไปเช็กอินเดินย่อยอาหาร ด้วยการเดินทางไปถ่ายรูปตามสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดลำพูนต่อค่ะ ซึ่งในเมืองลำพูน แม้จะเป็นเมืองเล็กๆ แต่ก็เต็มไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวที่เก่าแก่ สวยงามและน่าสนใจอยู่หลายเลยค่ะ
สำหรับเพื่อนๆคนใหนที่มาเที่ยวเมืองลำพูน ยังไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวที่ใหนดี วันนี้เดี๊ยนเลยขอมาสรุปสถานที่ท่องเที่ยวดึงดูดตาและตราตรึงในจังหวัดลำพูน มาให้เพื่อนๆได้แวะไปเช็กอินเที่ยวกันดังนี้ค่ะ
|
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย (Hariphunchai National Museum, Lamphun) |
|
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย (Hariphunchai National Museum, Lamphun) |
|
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย (Hariphunchai National Museum, Lamphun) |
|
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย (Hariphunchai National Museum, Lamphun) |
|
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย (Hariphunchai National Museum, Lamphun) |
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย (Hariphunchai National Museum, Lamphun)
ถือเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติแห่งแรกของภาคเหนือก็ว่าได้ ตั้งอยู่เยื้องกับวัดพระธาตุหริภุญไชย เป็นอีกหนึ่งพิพิธภัณฑ์ที่ต้องห้ามพลาด เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่ได้มาจากวัดสำคัญและแหล่งโบราณคดีในจังหวัดลำพูน ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่มีอยู่มากมายในภาคเหนือของประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง
เมื่อแรกตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้มี่ชื่อเรียกพิพิธภัณฑสถานลำพูน อยู่ในความดูแลของวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร และจังหวัดลำพูน ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ก็ยังคงอยู่ในความดูแลของวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศาลากลางจังหวัดเรื่อยมา จนกระทั่งกรมศิลปากรได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ และประกาศเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมศิลปากร ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2504 เป็นต้นมา
ในปัจจุบันมีอาคารพิพิธภัณฑสถาน 2 หลัง คือ อาคารพิพิธภัณฑสถานลำพูนหลังเดิม ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร (อาคารหลังเดิมได้ถูกรื้อลง และสร้างใหม่บนที่เดิมแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2540) อยู่ในความดูแลของวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร และอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ตั้งอยู่ ณ ถนนอินทยงยศ อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมศิลปากร
|
2.วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร (Wat Phrathat Haripunchai Woramahawihan) |
|
2.วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร (Wat Phrathat Haripunchai Woramahawihan) |
|
2.วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร (Wat Phrathat Haripunchai Woramahawihan) |
|
2.วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร (Wat Phrathat Haripunchai Woramahawihan) |
|
2.วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร (Wat Phrathat Haripunchai Woramahawihan) |
2.วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร (Wat Phrathat Haripunchai Woramahawihan)
จัดเป็นหนึ่งในวัดเด่น วัดดังที่สุดในจังหวัดลำพูน ว่ากันว่าหากใครที่มาเที่ยวลำพูน แล้วไม่ได้มากราบวัดพระธาตุหริภุญชัย ถือว่ามาไม่ถึงลำพูนกันเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นวัดเก่าแก่อายุนานนับพันปี เป็นปูชนียสถานสำคัญในภาคเหนือ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1651 มีสิ่งที่น่าสนใจคือ ซุ้มประตูซึ่ง ก่อนที่จะเข้าไปในบริเวณวัด ต้องผ่านซุ้มประตูก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร เป็นฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็น ชั้น ๆ เบื้องหน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่าบนแท่นสูงประมาณ 1 เมตร สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นใน สมัยพระ เจ้าอาทิตยราชเมื่อทรงถวายวังให้เป็นสังฆารามวิหารหลวง เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปแล้วจะเห็นวิหารหลังใหญ่ เรียกว่า วิหารหลวง เป็นวิหารหลัง ใหญ่มีพระระเบียงรอบด้านและมีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ. 2466
|
3.พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (Lamphun community museum- Khum Sampantawong) |
|
3.พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (Lamphun community museum- Khum Sampantawong) |
|
3.พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (Lamphun community museum- Khum Sampantawong) |
|
3.พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (Lamphun community museum- Khum Sampantawong) |
|
3.พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (Lamphun community museum- Khum Sampantawong) |
|
3.พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (Lamphun community museum- Khum Sampantawong) |
|
3.พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (Lamphun community museum- Khum Sampantawong) |
3.พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (Lamphun community museum- Khum Sampantawong)
สำหรับใครที่มาเที่ยวเมืองลำพูนแล้ว ต้องไม่พลาดมาเดินชมและเรียนรู้ความเป็นมาของเมืองลำพูน ที่พิพิภัณฑ์ชุมชมเมืองลำพูน ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญไชย เปิดให้ชมทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. โดยเข้าชมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ดยใช้พื้นที่ของคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ ซึ่งเป็นอาคารเรือนไม้เก่าแก่อายุกว่า 100 ปี เป็นพิพิธภัณฑ์บอกเล่าประวัติความเป็นมาอันยาวนานของเมืองลำพูน เมืองที่มีความศรัทธา ทางพระพุทธศาสนาที่รุ่งเรืองจากอดีต จนถึงปัจจุบัน ร่วมเรียนรู้เมืองลำพูนผ่านภาพถ่าย ทั้ง บุคคล เหตุการณ์ และสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งที่นี่ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยที่มีชีวิตโดยมีการจัดแสดงภาพเก่าแก่ของเมืองลำพูน สิ่งของเครื่องใช้และวิถีชีวิตของ ชาวเมืองลำพูน ในอดีตได้ชมกันอย่างเพลิดเพลินใจ หากใครที่ชอบเที่ยวชมภาพเก่า และอยากย้อนวันวาน หรือชมภาพทำเนียบนางงามลำพูนก็ไม่พลาดมาเดินเที่ยวชมที่พิพิธภัณฑ์เมืองลำพูนแห่งนี้
|
4.อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี (Camadevi Monument -The landmark of Hripunchai's first ruler) |
|
4.อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี (Camadevi Monument -The landmark of Hripunchai's first ruler) |
|
4.อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี (Camadevi Monument -The landmark of Hripunchai's first ruler) |
|
4.อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี (Camadevi Monument -The landmark of Hripunchai's first ruler) |
4.อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี (Camadevi Monument -The landmark of Hripunchai's first ruler)
และหนึ่งในที่เที่ยวต้องห้ามพลาดอีกแห่ง เมื่อมาไหว้พระธาตุหริภุญชัยแล้ว ก็ต้องไม่พลาด มาสักการะอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างอาณาจักรแห่งนี้จนเป็นปึกแผ่น โดยอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองลำพูน ตำบลในเมือง บริเวณด้านหลังตลาดหนองดอก ห่างจากศาลากลางจังหวัดลำพูนประมาณ 1 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางจามเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย พระนางทรงเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม เป็นนักรบที่มีความสามารถและกล้าหาญชาญชัย พระนางคือผู้นำพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมมาเผยแผ่ในดินแดนแถบนี้จนรุ่งเรื่องสืบมาจนถึงปัจจุบัน
|
5.วัดพระนางจามเทวี (Wat Chamthewi) |
|
5.วัดพระนางจามเทวี (Wat Chamthewi) |
|
5.วัดพระนางจามเทวี (Wat Chamthewi) |
|
5.วัดพระนางจามเทวี (Wat Chamthewi) |
|
5.วัดพระนางจามเทวี (Wat Chamthewi) |
|
5.วัดพระนางจามเทวี (Wat Chamthewi) |
5.วัดพระนางจามเทวี (Wat Chamthewi)
สำหรับวัดจามเทวี หรือเดิมชื่อ วัดกู่กุด ตั้งอยู่บนถนนจามเทวี หมู่ 5 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นวัดเก่าแก่ สมัยล้านนา มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ พระสุวรรณจังโกฏเจดีย์ เชื่อกันว่าเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของพระนางจามเทวี ต่อมาจะเป็นสมัยใดไม่ทราบแน่ชัดยอดพระเจดีย์ได้หักหายไป ชาวบ้านจึงเรียกว่ากู่กุดพระเจดีย์ องค์นี้มีชื่อเป็น ทางการว่า พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏิ พระเจดีย์องค์นี้ ถือเป็นแบบสถาปัตยกรรมที่มีความสําคัญในศิลปกรรมหริภุญชัย นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์แปดเหลี่ยม ลักษณะทางสถาปัตยกรรมมีแผนผังเป็นรูปแปดเหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป มีความสําคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีตามหลักฐานที่ได้พบศิลาจารึกเชื่อว่า พระราชโอรส ของพระนางจามเทวีคือ พระเจดีย์มหันตยศ และพระเจ้าอนันตยศโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อถวายพระเพลิง แล้วโปรดให้สร้าง เจดีย์เหลี่ยมมียอดหุ้มด้วยทอง เรียกชื่อว่า สุวรรณจังโกฏิ โดยวัดจามเทวี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2478
|
6.วัดมหาวันวรวิหาร (Wat Mahawan Woramahawihan) |
|
6.วัดมหาวันวรวิหาร (Wat Mahawan Woramahawihan) |
|
6.วัดมหาวันวรวิหาร (Wat Mahawan Woramahawihan) |
|
6.วัดมหาวันวรวิหาร (Wat Mahawan Woramahawihan) |
|
6.วัดมหาวันวรวิหาร (Wat Mahawan Woramahawihan) |
6.วัดมหาวันวรวิหาร (Wat Mahawan Woramahawihan)
ตั้งอยู่ที่ถนนจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน เป็นวัดที่เก่าแก่ ซึ่งมีอายุกว่า 1,300 ปี สร้างในสมัยพระนางจามเทวี มีพระพุทธรูปปางนาคปรกที่อัญเชิญมาจากเมืองละโว้ กรุพระเครื่องชื่อดัง คือ พระรอดมหาวัน ถือเป็นแบบพิมพ์องค์พระรอดที่มีชื่อเสียง เจดีย์วัดมหาวันเป็นที่บรรจุพระรอดลำพูน 1 ใน 5 พระเครื่องชุดเบญจภาคีที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด เชื่อกันว่า พระรอดมีความศักดิ์สิทธิ์หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตรายและความวิบัติต่างๆ
|
7.วัดพระยืน (Wat Phra Yuen) |
|
7.วัดพระยืน (Wat Phra Yuen) |
|
7.วัดพระยืน (Wat Phra Yuen) |
|
7.วัดพระยืน (Wat Phra Yuen) |
|
7.วัดพระยืน (Wat Phra Yuen) |
7.วัดพระยืน (Wat Phra Yuen)
จัดเป็นวัดสำคัญหนึ่งในสี่ของวัดสี่มุมเมืองที่พระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัยนคร วัดพระยืน แต่เดิมไม่ได้มีชื่อนี้ สันนิษฐานว่าพระนางจามเทวีทรงสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1213 (หลังครองราชย์ได้ 7 ปี) ตามตำนานเรียกชื่อวัดนี้ว่า อรัญญิการาม โดยภายในวัดมีเจดีย์เก่าแก่สำคัญคือ เจดีย์พระยืน เป็นศิลปะพุกาม สร้างบนยกพื้นสูงเป็นชั้นลดหลั่น ลานประทักษิณชั้นบนมีเจดีย์ขนาดเล็กประจำมุม เรือนธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมมีจระนำยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน เหนือเรือนธาตุเป็นหลังคาลาดรองรับชุดฐานซ้อนต่อยอดทรงระฆัง เจดีย์องค์ใหม่ที่สร้างครอบของเดิมนี้ เจ้าหลวงอินทยงยศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ให้หนานปัญญาเมืองชาวบ้านหนองเส้ง ซึ่งเป็นช่างประจำคุ้มหลวง เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง วัดยังมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นทางด้านหลังวัดที่ก่อตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2547 จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้เก่าแก่ต่าง ๆ อาทิ ตู้พระธรรม หีบพระธรรม เครื่องเขิน ถ้วยชาม สัตตภัณฑ์ ขันโตก ผ้าพระบฏ เป็นต้น
|
8.กู่ช้างกู่ม้า (Ku Chang - Ku Ma) |
|
8.กู่ช้างกู่ม้า (Ku Chang - Ku Ma) |
|
8.กู่ช้างกู่ม้า (Ku Chang - Ku Ma) |
|
8.กู่ช้างกู่ม้า (Ku Chang - Ku Ma) |
|
8.กู่ช้างกู่ม้า (Ku Chang - Ku Ma) |
8.กู่ช้างกู่ม้า (Ku Chang - Ku Ma)
เป็นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอีกแห่งหนึ่งที่ชาวลำพูนให้ความเคารพนับถืออย่างมาก ด้วยความเชื่อว่าเป็นสุสานช้างศึก - ม้าศึก คู่บารมีของพระนางจามเทวี กู่ช้าง กู่ม้า เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่คู่กัน กู่ทั้งสองนี้ตั้งอยู่ใกล้ชุมชนวัดไก่แก้ว ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน ห่างจากตัวเมืองลำพูนไปทางเหนือ (ออกจากเมืองลำพูนไปทาง ถนนเชียงใหม่ ลำพูนสายเก่า) ประมาณ 2 กิโลเมตร
ชาวลำพูนให้ความเคารพนับถือกู่ช้างมาก มีการสร้างศาลเจ้าพ่อกู่ช้างไว้ในทางทิศตะวันออกใกล้กับองค์เจดีย์ด้านหน้า ศาลเจ้าพ่อกู่ช้าง มีรูปปั้นจำลองของปู่ก่ำงาเขียว เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มาสักการะ เชื่อกันว่าหากได้ลอดท้องพระยาช้างเชือกนี้ จะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา ในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี จะมีงานรดน้ำดำหัว และบวงสรวงเจ้าพ่อ เพื่อขอขมาลาโทษ และขอพรให้ปกปักษ์รักษาประชาชนจากความทุกข์ทั้งปวงอีกด้วย
|
9.อุโมงค์ขุนตาล (Khun Tan Train Tunnel) |
|
9.อุโมงค์ขุนตาล (Khun Tan Train Tunnel) |
|
9.อุโมงค์ขุนตาล (Khun Tan Train Tunnel) |
|
9.อุโมงค์ขุนตาล (Khun Tan Train Tunnel) |
|
9.อุโมงค์ขุนตาล (Khun Tan Train Tunnel) |
|
9.อุโมงค์ขุนตาล (Khun Tan Train Tunnel) |
9.อุโมงค์ขุนตาล (Khun Tan Train Tunnel)
จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวมีชื่อเสียงทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอีกแห่งในจังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล อำเภอแม่ทา โดยอุโมงค์ดังกล่าว เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวถึง 1,352.10 เมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2540 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2461 เป็นระยะเวลา 11 ปี และช่วงระหว่างการก่อสร้างจึงต้องใช้ความอุตสาหะพากเพียรอย่างยิ่ง เครื่องมือและสัมภาระต่าง ๆ ที่ใช้ก่อสร้างต้องใช้ช้างและเกวียนบรรทุกไป พอถึงบริเวณที่ที่เป็นภูเขาต้องใช้วิธีชักรอกขึ้นเขาลงเขาอย่างทุลักทุเล
นักท่องเที่ยวสามารถแวะไปถ่ายรูปที่อุโมงค์ขุนตาลแห่งนี้ได้โดยการขับรถส่วนตัวไปเอง หรือจะเปลี่ยนบรรยากาศไปนั่งรถไฟก็ได้สัมผัสความเป็นธรรมชาติที่สวยงาม
|
10.สะพานขาวทาชมพู (Tha Chumphu White Bridge ) |
|
10.สะพานขาวทาชมพู (Tha Chumphu White Bridge ) |
|
10.สะพานขาวทาชมพู (Tha Chumphu White Bridge ) |
|
10.สะพานขาวทาชมพู (Tha Chumphu White Bridge ) |
|
10.สะพานขาวทาชมพู (Tha Chumphu White Bridge ) |
|
10.สะพานขาวทาชมพู (Tha Chumphu White Bridge ) |
10.สะพานขาวทาชมพู (Tha Chumphu White Bridge )
และอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวเช็กอินถ่ายรูป มีชื่อเสียงที่สุดอีกแห่งของจังหวัดลำพูน คือ สะพานขาวทาชมภู สะพานสีขาวโดดเด่น สถาปัตยรรมสวยงาม เป็นสะพานโค้งครึ่งวงกลมคู่ทาสีขาวทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก และเป็นทางรถไฟที่ทอดข้ามแม่น้ำทา สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2461 และสร้างเสร็จในปีพ.ศ. 2463 โดยมีรูปทรงเป็นทรงโค้งทาสีขาวในแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก นับเป็นสะพานประวัติศาสตร์ จึงทำให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ
|
11.วัดสันป่ายางหลวง (Wat San Pa Yang Luang) |
|
11.วัดสันป่ายางหลวง (Wat San Pa Yang Luang) |
|
11.วัดสันป่ายางหลวง (Wat San Pa Yang Luang) |
|
11.วัดสันป่ายางหลวง (Wat San Pa Yang Luang) |
|
11.วัดสันป่ายางหลวง (Wat San Pa Yang Luang) |
11.วัดสันป่ายางหลวง (Wat San Pa Yang Luang)
เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม และจัดให้เป็นหนึ่งในวัดที่มีพระวิหารงดงามที่สุดอีกแห่งของเมืองไทย วัดตั้งอยู่ในตัวเมืองลำพูน จุดเด่นของวัดสันป่ายางหลวงคือ ภายในวิหารพระเขียวโขงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธอัญญรัตนมหานาทีศรีหริภุญชัย หรือพระเขียวโขง เป็นพระพุทธรูปแกะสลักจากหินแม่น้ำโขง บ้านดอนมหาวัน ที่ใกล้กับประเทศลาว ซึ่งมีการแกะสลักลายปูนปั้นอย่างวิจิตรงดงาม ตามแบบสถาปัตยกรรมนีโอล้านนา นอกจากนี้แล้ว วัดสันป่ายางหลวงยังเป็นที่ถวายพระเพลิง พระศพพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นกษัตรีองค์แรกที่ปกครองนครหริภุญชัยอีกด้วย
|
12.วัดพระพุทธบาทตากผ้า (Wat phra phutthabat tak pha) |
|
12.วัดพระพุทธบาทตากผ้า (Wat phra phutthabat tak pha) |
|
12.วัดพระพุทธบาทตากผ้า (Wat phra phutthabat tak pha) |
|
12.วัดพระพุทธบาทตากผ้า (Wat phra phutthabat tak pha) |
|
12.วัดพระพุทธบาทตากผ้า (Wat phra phutthabat tak pha) |
|
12.วัดพระพุทธบาทตากผ้า (Wat phra phutthabat tak pha) |
12.วัดพระพุทธบาทตากผ้า (Wat phra phutthabat tak pha)
สำหรับวัดพระพุทธบาทตากผ้า ถือเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ 175 ไร่ ซึ่งเป็นเนินเขาเตี้ยๆ อยู่ใกล้ดอย (เขา) 2 ลูกคือ ดอยช้างและดอยเครือ อยู่ห่างจากเมืองลำพูนประมาณ 19 กิโลเมตร เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน หรือของภาคเหนือ วัดพระพุทธบาทตากผ้า ตั้งอยู่ระหว่างดอยม่อนช้างกับดอยเครือ นับถือกันว่าเป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าที่มาประทับไว้ตรงบริเวณที่นำผ้าจีวรมาตาก มีรอยตารางบนผาหินที่เชื่อว่าคือรอยตากผ้าจีวรพระพุทธเจ้า ปัจจุบัน วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรม และบาลี ของพระภิกษุสามเณรในภาคเหนือ นอกจากนี้แล้ว ทางวัดได้จัดให้มีการปฏิบัติธรรมควบคู่ไปกับการศึกษา ได้จัดตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานขึ้น เพื่อเป็นที่ปฏิบัติธรรมสำหรับพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา และผู้สนใจทั่วไป
|
13.วัดพระคงฤาษี (Wat Wat Pra Kong Ruesi) |
|
13.วัดพระคงฤาษี (Wat Wat Pra Kong Ruesi) |
|
13.วัดพระคงฤาษี (Wat Wat Pra Kong Ruesi) |
|
13.วัดพระคงฤาษี (Wat Wat Pra Kong Ruesi) |
13.วัดพระคงฤาษี (Wat Wat Pra Kong Ruesi)
เป็นอีกหนึ่งวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ภายในตัวเมืองลำพูน ที่สร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวีครองเมืองหริภุญชัย ในวัดนี้มี พระคง ซึ่งเป็นพระเครื่องที่มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่นับถืออีกองค์หนึ่งของเมืองลำพูน เป็น 4 วัด 4 มุมเมือง ที่มีการจุดพบพระเครื่องของเมืองลำพูน เชื่อว่าพระเครื่องที่ขุดได้นี้เป็นเป็นพระคง ที่ วาสุเทพฤาษี และสุกกทันตฤาษี สร้างวัด จึงเรียกว่า วัดพระคงฤาษี แต่นั้นเป็นต้นมา
|
14.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง หรือ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว (Wat Ton Kaeo Museum) |
|
14.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง หรือ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว (Wat Ton Kaeo Museum)
|
|
14.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง หรือ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว (Wat Ton Kaeo Museum)
|
|
14.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง หรือ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว (Wat Ton Kaeo Museum)
|
|
14.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง หรือ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว (Wat Ton Kaeo Museum)
|
|
14.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง หรือ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว (Wat Ton Kaeo Museum)
|
|
14.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง หรือ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว (Wat Ton Kaeo Museum) ผ้าลายโบราณอายุ 103 ปี |
14.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง (Wat Ton Kaeo Museum)
จัดเป็นพิพิธภัณฑ์เรียนรู้ที่น่าสนใจอีกแห่ง ตั้งอยู่ภายในวัดต้นแก้ว ย่านชุมชนชาวยอง ในตัวเมืองลำพูน โดยพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง หรือเรียกอีกชื่อคือ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว ก่อตั้งโดยพระครูไพศาลธีรคุณเจ้าอาวาสวัดต้นแก้ว เมื่อปีพ.ศ. 2530 โดยเริ่มจากการเก็บสะสมของโบราณ ที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน ของชาวยองในอดีต จนภายหลังเริ่มมีผู้มีจิตศรัทธา นำสิ่งของเก่ามาบริจาคมากขึ้น จึงได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยอาคารที่ใช้จัดแสดง 2 หลัง อาคารหลังแรกสร้างขึ้นใหม่ และเก็บรวบรวมเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาและสิ่งของต่าง ๆ ส่วนอาคารหลังที่ 2 นั้น ทำจัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องพัดยศ และพระเครื่องรุ่นเก่า พระเครื่องสกุลต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงของลำพูนเอาไว้มากมายให้ผู้ที่สนใจเข้าไปชม โดยเฉพาะหากใครที่ต้องการดูผ้าทอเก่าดั้งเดิม ลายฉบับต้นกำเนิดแท้ ต้องไม่พลาดมาชมที่พิพิธภัณฑ์ผ้าที่วัดต้นแก้ว
|
หลังจากได้เดินทางไปเช็กอินถ่ายรูปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆแล้ว ก็ไปเดินหาอะไรกินแถวกาดหนองดอก หรือตลาดหนองดอก ตลาดยามเย็น มีอาหารให้เลือกทานหลายอย่าง |
หลังจากเที่ยวแล้ว ก็ไปเดินหาอะไรกินแถว กาดหนองดอก อยู่ใกล้ๆกับอนุสาวรีย์พระนางจามเทวีค่ะ
ด้านในตลาดมีของกินขายหลายอย่างเลยค่ะ ให้เลือกซื้อ เลือกหา เลือกทานตามใจชอบ ส่วนเดี๊ยนก็พยายามเดินหาดูของกินพื้นถิ่นของล้านนา ที่หาทานไม่ได้ในกรุงเทพ จะได้ไม่เสียเที่ยวที่แวะมาเที่ยวถึงลำพูนค่ะ
มีข้าวต้มมัดอันเล็กๆ หรือข้าวต้มถั่วดินขายด้วย บอกแม่ค้าว่าไม่ต้องใส่น้ำตาล เน้นทานคู่กับมะพร้าวทึนทึก รสชาติเค็มๆมันๆอร่อยดีค่ะ
เดินไปเดินไป ก็ได้อาหารทานหลายอย่างเลยค่ะ มื้อนี้อิ่มท้องและถูกด้วย
|
จากนั้นก็ขับรถมอเตอร์ไซต์จากลำูนมาคืนที่ร้านเช่ารถแถวสถานีขนส่ง และนั่งแท๊กซี่มาสนามบินเชียงใหม่ เดินทางกลับกรุงเทพโดยสวัสดิภาพ |
เมื่อได้ทานอาหารมื้อค่ำอิ่มแล้ว ก็เดินทางไปเอากระเป๋าที่ฝากไว้ที่โรงแรม จากนั้นก็ขับรถมอเตอร์ไซต์จากลำูนมาคืนที่ร้านเช่ารถแถวสถานีขนส่ง และนั่งแท๊กซี่มาสนามบินเชียงใหม่ เดินทางกลับกรุงเทพโดยสวัสดิภาพ....เป็นอันจบทริปเที่ยวลำปาง-ลำพูนอย่างสุขใจ งามวิไลเริ่ดสะแมนแตนค่ะ
ขอบพระคุณเพื่อนๆคุณผู้อ่านทุกๆคน ทีเสียสละเวลาเข้ามาคลิ๊กเปิดสไลด์เลื่อนอ่านดูกัน หากบทความรีวิท่องเที่ยวดังกล่าวข้างต้น มีข้อผิดพลาดประการใด ดิฉันต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะคะ หวังว่าจะได้พบกันอีกครั้งในบทความถัดไปนะคะ....จากคุณนายเว่อร์ เทอร์ชอบเที่ยวกินนอน
------------------------------------------------------------------------
บทความบล็อกอื่นๆ มีดังนี้ค่ะ
0 ความคิดเห็น