Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

แบ่งปันทริปเที่ยวฉะเชิงเทรา 2 วัน 1 คืน นั่งรถไฟ ปั่นจักรยาน ยลตระการเมืองเก่าริมน้ำบางคล้า สุขอุราดูที่เที่ยวใหม่ๆ มีที่ใหนบ้าง

เก็บตกทริปวันหยุดเดือนนี้ คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอจัดทริปรีวิวเที่ยวฉะเชิงเทรา 2 วัน 1 คืน นั่งรถไฟ ปั่นจักรยานไปเช็คอินถ่ายรูปดูสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองแปดริ้วในปี 2566 และที่อำเภอบางคล้า  มีที่เที่ยวเปิดใหม่อะไรบ้างตามไปดูกันเลย


เยือนยล ดลฤทัย เที่ยวเมืองไทย ไม่ไปไม่รู้ในเดือนนี้ คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ก็ขอสวัสดีทักทาย ซำบายดี อีหลีอยู่บ่ กับคุณผู้อ่านทุกๆท่านอีกครั้งค่ะ หลังจากที่ทริปเมื่อช่วงต้นปี ได้พาไปจรลีเที่ยวทางภาคเหนือของไทยกันไปแล้ว กลับมาเที่ยวภาคกลางกันต่อกัน ไม่ใกล้ๆ ไม่ไกล วันหยุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เดี๊ยนเลยขอจัดทริปสั้นๆไปเที่ยวฉะเชิงเทรา สัก 2 วัน 1 คืน ไปแบบช้าๆ โดยการเที่ยวทริปนี้ ก็เหมือนกับได้ย้อนวันวาน ครั้นได้เที่ยวในวัยเด็ก หลังจากที่ไม่ได้มาเที่ยวนานเลยค่ะ เพราะส่วนใหญ่มาฉะเชิงเทรา ก็จะพากับกลุ่มเพื่อนๆไปเที่ยวแบบเช้า ไปเย็นกลับได้ เนื่องจากว่าเมืองแปดริ้ว หรือว่าเมืองฉะเชิงเทราอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชัวโมงก็ถึงแล้วล่ะค่ะ แถมในฉะเชิงเทราเอง ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจอยู่มากมายหลายแห่งเลยทีเดียวล่ะค่ะ 


และการเดินทางครั้งนี้ ก็ต้องใช้ยานพาหนะคู่ใจ อย่างรถจักรยานแบบพับใส่รถไฟ นั่งจากกรุงเทพไปลงที่สถานีฉะเชิงเทราค่ะ วางแผนไว้ไปนอนค้างเมืองแปดริ้วสัก 1 คืน จะได้มีเวลาเก็บบรรยากาศแหล่งท่องเที่ยวในตัวเมือง และจุดเช็คอินที่เที่ยวเปิดใหม่แถวคลองเขื่อน และอำเภอบางคล้าด้วยค่ะ ไปดูสิว่ามีสถานที่ท่องเที่ยวเปิดใหม่อะไรบ้าง


เมืองฉะเชิงเทรา มีที่มาอย่างไร (ภาพเก่าบอกเล่าเรืองราวในอดีต อาคารเทศบาลหลังเก่าเมื่อปี พ.ศ.2501 ภาพจากพิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา)


ฉะเชิงเทรา เมืองแห่งนี้ มีที่มาอย่างไร......


ชื่อฉะเชิงเทรามีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ได้รับสถาปนาเป็นจังหวัดเมื่อปี พ.ศ.2459 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 6 โดยฉะเชิงเทรา แปลว่า แม่น้ำลึก,คลองลึก 

ภาพเก่าบอกเล่าเรื่องราวในอดีตเมืองฉะเชิงเทรา การแข่งเรือพาย - คำว่า ฉะเชิงเทรา มาจากคำภาษาเขมร 2 คำ คือ สทึง+เจรา ซึ่ง สทึง แปลว่า แม่น้ำสายย่อย


คำว่า ฉะเชิงเทรา มาจากคำภาษาเขมร 2 คำ คือ สทึง+เจรา ซึ่ง สทึง แปลว่า แม่น้ำสายย่อย และ เจรา แปลว่า ลึก เมื่อรวมความหมายก็ได้ว่า แม่น้ำลึก ซึ่งหมายถึงแม่น้ำบางปะกงนั่นเอง (มีผู้โต้แย้งข้อสันนิษฐานนี้ เนื่องจากว่าเมืองฉะเชิงเทรานั้นตั้งขึ้นมาในสมัยเดียวกับเมืองสาครบุรี เมืองนครไชยศรี และเมืองนนทบุรี ซึ่งไม่น่าจะมีคำเขมรมาปนอยู่ในชื่อเมืองแล้ว


ทำไมเรียกเมืองฉะเชิงเทรา ว่าเมืองแปดริ้ว มีที่มาอย่างไร (ภาพเก่าบอกเล่าเรื่องราวในวันวานของฉะเชิงเทรา ภาพงานแห่บวชนาคเมื่อช่วงยุค 60)



ทำไมถึงเรียกฉะเชิงเทรา ว่าเมืองแปดริ้ว มีที่มาอย่างไร......


หลังปี พ.ศ.2369 ในแผ่นดินรัชกาลที่ 3 ยกทัพตีได้เมืองเวียงจัน ให้กวาดต้อนครัวลาวพวกหนึ่งมาอยู่ทางลุ่มน้ำบางปะกง แล้วมีบ้านเมืองใหม่ขึ้นทางปากน้ำเจ้าโล้ ให้ชื่อ เมืองฉะเชิงเทรา แต่ชาวบ้านเรียกชื่อเดิมที่มีมาก่อนว่า "เมืองแปดริ้ว" (ปัจจุบันคือ อำเภอบางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา) มีหลักฐานอยู่ในแผนที่เก่าสมัยรัชกาลที่ 3 กับนิราศฉะเชิงเทรา และนิราศปราจีนบุรี 


ภาาพเก่าในอดีตของคลองเจ๊กล้ง หรือคลองบ้านใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2495- โดยคำว่า แปดริ้ว เพี๊ยนจากคำว่า "แปะเหลียว" หมายถึง เสาใบนับร้อย หรือนับไม่ถ้วน  (เครดิตภาพจากพิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา)


โดยคำว่า แปดริ้ว เพี๊ยนจากคำว่า "แปะเหลียว" หมายถึง เสาใบนับร้อย หรือนับไม่ถ้วน

แปะ แปลว่า ร้อย,หนึ่งร้อย

เหลียว แปลว่า เสาใบ,เสาท้าย สายเลียว ในบทพระอัยการตำแหน่งนาพลเรือนมีชื่อตำแหน่งในสำเภาว่า "ตั้วเหลียว" ว่าสายเลียว กับสายท้าย  ซึ่งสอดคล้องกับเมืองแปดริ้วมีโรงเหล้า แล้วตั้งอยู่ปากน้ำเจ้าโล้ เส้นทางเรือเข้าไปลำเลียงแร่ธาตุและของป่า จากชุมชนดอนภายใน จึงมีเรือใบนับไม่ถ้วนเรียงรายเข้าออกที่แปดริ้ว


ภาพเก่าในอดีตของผู้คนในเมืองฉะเชิงเทรา 


ส่วนที่มาอีกชื่อนั้นก็มาจาก ปลาช่อนมีแปดริ้ว โดยในแม่น้ำบางปะกงมีปลาช่อนชุกชุมและขนาดใหญ่ เมื่อแล่เนื้อตากทำปลาแห้ง ต้องแล่เนื้อออกไปถึงแปดริ้ว เมืองนี้จึงได้ชื่อว่าแปดริ้ว ตามขนาดอันใหญ่โตของปลาช่อน 


และเรื่องเล่าขานของคนในท้องถิ่นพนมสารคามเล่าเรื่องพระรถ-เมรี ว่ายักษ์ได้ฆ่านางสิบสองแล้วลากศพไปยังท่าน้ำคลองท่าลาด ชำแหละศพออกเป็นริ้วๆได้จำนวนแปดริ้ว แล้วทิ้งลอยไปตามลำน้ำท่าลาด ริ้วเนื้อ ริ้วหนังนางสิบสองลอยไปตามแม่น้ำบางปะกงถึงฉะเชิงเทรา เมืองนี้จึงได้ชื่อว่า "แปดริ้ว" (เครดิตข้อมูลดีๆจากหนังสือ ฉะเชิงเทรา มาจากใหน โดยสุจิตต์ วงษ์เทศ)


ภาพเก่าๆในวันวานของสาวงามเมืองแปดริ้วใส่เสื้อแขนกุดนุ่งผ้าซิ่นถ่ายภาพที่สถานีรถไฟแปดริ้ว หรือตลาดบ่อบัว เมื่อปี พ.ศ.2509 (ช่วงปลายยุค 60)


ในบทความท่องเที่ยวทริปนี้ เดี๊ยนก็เลยขอมาเก็บตก บอกเล่าภาพการเดินทางและสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆมาให้เพื่อนๆที่กำลังจะวางแผนไปเที่ยวฉะเชิงเทราอยู่ และยังไม่รู้ว่าะไปเที่ยวที่ใหนดี สำหรับเพื่อนๆคนใหน ที่จะมาเที่ยวฉะเชิงเทรา แต่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัว หรือว่าหากมาเที่ยวฉะเชิงเทรา แล้วคิดว่าจะเดินทางลำบาก ไม่ต้องกังวลเลยค่ะ เพราะในเมืองฉะเชิงเทรา มีรถ 2 แถวให้บริการจากสถานีรถไฟ ไปยังจุดท่องเที่ยวยอดฮิต ไม่ว่าจะเป็น วัดหลวงพ่อโสธร หรือว่าไปเดินตลาดบ้านใหม่ ก็สามารถเดินทางไปได้อย่างสะดวก เสียค่ารถราก็ไม่ได้แพงเกินไปด้วย 


เพื่อนๆสายเที่ยวกินช็อปคนใหน ที่ทำงานอยู่กรุงเทพ และวันหยุดสั้นๆ สุดสัปดาห์ ก็วางแผนปักหมุดเดินทางด้วยรถไฟมาเที่ยวฉะเชิงเทราได้นะคะ โดยการเดินทางที่ได้รับความนิยมที่สุด ก็เห็นจะเป็น รถไฟ ซึ่งราคาโดยสารก็ถูกมากๆด้วย เพียง 13 บาทเท่านั้น จะถูกอะไรขนาดนั้น เหมาะกับการนั่งรถไฟมาเที่ยวอย่างแท้จริง แต่ถ้าใครที่จะมาทำงาน อย่าดีกว่าค่ะ เพราะรถไฟค่อนข้างล่าช้า ไม่ตรงเวลาเอาซ่ะเลย เอาเป็นว่าถ้านั่งรถไฟมาเที่่ยวก็เป็นอีกทางเลือก ของคนที่ไม่อยากนั่งรถไฟไกลๆ ...เอาเป็นว่า เพื่อไม่ให้เสียเวลา เดี๊ยนขอมาแบ่งปันภาพการเดินทางและสถานที่ท่องเที่ยวในฉะเชิงเทรา และที่เที่ยวบางคล้ามาให้ได้ดูกันเลย 


---วันที่1 (Day 1)--




เริ่มต้นการเดินทางเที่ยวฉะเชิงเทราทริปนี้ 

นำจักรยานพับขึ้นรถไฟมาลงที่สถานีพญาไท จากนั้นก็เดินลงมารถขึ้นรถไฟ รฟท.ที่หยุดรถพญาไท



โดยที่หยุดรถไฟ จะอยู่ด้านล่างสถานีรถไฟฟ้า ฝั่งเดียวใกล้ๆกับอาคารสำนักงานเขตราชเทวีค่ะ 

มีผู้คนมารอขึ้นรถไฟที่สถานีพญาไทอยู่เยอะพอสมควรนะคะ ส่วนใหญ่ทำงานอยู่ย่านชานเมือง เดินทางด้วยรถไฟประหยัดและถูกด้วย 

ส่วน สภาพสถานีรถไฟ รฟท. แตกต่างจากภาพของสถานีรถไฟฟ้าโดยสิ้นเชิงเลยค่ะ เหมือนอยู่อีกเมืองหนึ่งไปเลย 


เดี๊ยนเดินทางมารอขึ้นรถไฟ รฟท.ตามเวลาคือ 7.06 น. แต่กว่ารถไฟจะมาถึงก็ล่าช้าไปเกือบ 30 นาทีเลยเชียว 

กรยานพับที่แบกมาด้วย ทางเจ้าหน้าที่ให้เดี๊ยนนำไปวางไว้ตรงที่ล้างมือค่ะ


สำหรับจักรยานพับที่แบกมาด้วย ทางเจ้าหน้าที่ให้เดี๊ยนนำไปวางไว้ตรงที่ล้างมือค่ะ เพราะว่าไม่สามารถว่างไว้ตรงที่นั้นด้วย เนื่องจากมีผู้โดยสารนั่งกันเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าที่นั่งว่าง ก็สามารถนำไปว่างได้นะคะ 

เนื่องจากวันนี้เป็นวันหยุด ก็เลยต้องหาที่วางจักรยานค่ะ 




ส่วนค่าโดยสารรถไฟก็จ่ายกับเจ้าหน้าที่ขายตั๋วบนรถเลยค่ะ 

ค่าโดยสารรถไฟจากรุงเทพ ไปฉะเชิงเทรา ค่าเสียหายอยู่ที่ 12 บาท คือถูกมากๆ 



ยังไม่ได้ทานอะไรแต่เช้าเลย เพราะรีบมากๆ เห็นคุณลุงเดินหิวตะกร้า ขายอาหารมา เลยสั่งน้ำและขนมเล็กๆน้อยทานรองท้องไปก่อน 


ทานข้าวหลามไปก่อนล่ะกัน ราคา 15 บาท  ถูกๆไม่แพง น้ำดื่มอีกขวด 10 บาท รวมค่าเสียหาย 25 บาท 

ลองดูสิว่าทริปเที่ยวฉะเชิงเทราเดี๊ยนจะหมดเงินไปเท่าไหร่ 


นั่งรถไฟชมวิวทุ่งนาข้าวออกจากสถานีพญาไท มุ่งหน้าไป สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา

ระหว่างทานข้าวหลาม ก็นั่งรับลม ชมวิวบรรยากาศทุ่งนาข้าวนาปรังไปพลางๆ 

นั่งรถไฟหลุดออกจากสถานีลาดกระบังมา เริ่มเป็นหมู่บ้านแบบชนบท ให้ความรู้สึกสไลว์ไลฟไปแบบบ้านทุ่งมากๆค่ะ 

นั่งรถไฟท้ายขบวนคือ ด้านหลังสามารถถ่ายรูปรางรถไฟระหว่างวิ่งได้ด้วย แต่ต้องระมัดระวังด้วยนะคะ 

ข้อดีของการนั่งรถไฟท้ายขบวนคือ ด้านหลังสามารถถ่ายรูปรางรถไฟระหว่างวิ่งได้ด้วย แต่ต้องระมัดระวังด้วยนะคะ 



ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง จากกรุงเทพ ก็มาถึงสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทราแล้วค่ะ



พอมาถึงฉะเชิงเทรา มีผู้โดยสารที่เดินทางมาลงที่เมืองนี้เยอะเป็นพิเศษเลยล่ะค่ะ เพราะว่าวันนี้เป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ 




แปลงร่างจักรยานที่พับไว้ออกให้เรียบร้อย เตรียมตัวออกเดินทางค่ะ


ถ่ายรูปเช็คอินกับป้ายสถานีชุมทางฉะเชิงเทราสักหน่อย 


จูงจักรยานเดินมาที่ด้านหน้าสถานีรถไฟฉะเชิงเทรา ก็มีรถตุ๊กๆ และรถสองแถวให้บริการด้วยนะคะ 

มีรถสองแถวให้บริการจากสถานีรถไฟ ไปสถานีขนส่ง และไปวัดหลวงพ่อโสธรด้วย ค่ารถ ราคาไม่แพง เพราะไม่ได้เป็นแบบเหมา


สำหรับเพื่อนๆคนใหน ที่มาเที่ยวฉะเชิงเทรา แต่ไม่มีรถส่วนตัว อยากจะไปเที่ยวตลาดบ้านใหม่ หรือไปวัดหลวงพ่อโสธร ก็นั่งรถสองแถวไปได้นะคะ เดี๊ยนไม่ได้นังรถสองแถว เลยไม่รู้ว่าราคาเท่าไหร่ แต่คิดว่าราคาไม่แพง เพราะไม่ได้เป็นรถเหมา และระหว่างทางมีผู้โดยสารขึ้นตลอดค่ะ 


ก่อนไปเที่ยว ก็ปั่นจักรยานสะพายเป้ เอากระเป๋าไปไว้ที่โรงแรมก่อนค่ะ แบกเป้ด้วยคงจะไม่ไหวแน่ๆ 

ก่อนจะออกไปเที่ยว ปั่นจักรยานจากสถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา เอากระเป๋ามาไว้ที่โรงแรมก่อนเลยค่ะ ถ้าแบกไปเที่ยวด้วย คงไม่ไหว ปวดหลังแน่ๆ 


 โดยคืนนี้ นอนพักที่โรงแรมวิเศษ โฮเทล เป็นโรงแรมที่อยู่ไม่ไกลจากสถานีรถไฟฉะเชิงเทราค่ะ  มีที่จอดรถสะดวก กว้างขวางดี  แต่ถ้าปั่นจักรยานมาตามทางหลวง ก็ต้องระวังรถคันใหญ่หน่อยนะคะ เพราะเป็นมีแต่รถสิบล้อ วิ่งเร็วๆ รถขนส่งสินค้าจากโรงงานอุตสาหกรรมทั้งนั้นเลย


รีวิวห้องพักที่โรงแรมวิเศษโฮเทล ห้องพักคืนละ 550 บาท สำหรับ 2 คน  สามารถเข้าไปดูรายละเอียดโปรโมชั่นห้องพักที่ Wises Hotel-Chachoengsao>>>


โดยเป็นโรงแรมราคาถูก วันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ห้องพักตกคืนละ 550 บาท แต่ถ้าวันธรรมดา คืนละ 500 บาท นอนได้สองคนค่ะ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดโปรโมชั่นห้องพักที่ Wises Hotel-Chachoengsao>>>




ภายในห้องพักกว้างขวาง สะอาดสะอ้านดีค่ะ มีผ้าขนหนู กาต้มน้ำร้อน ไดร์เป่าผม ตู้เย็น ทีวี ฟรี WiFi  น้ำดื่มฟรี ให้อารมณ์เหมือนนอนหอพัก หรือเซอร์วิชอพาร์ทเม้นต์แบบนั้นเลยค่ะ 

ห้องอาบน้ำไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ตรงฝักบัว มีคราบสนิมเกาะเต็มฝัวบัวไปหมดเลย เดี๊ยนก็เลยได้แจ้งทางพนักงานต้อนรับของทางโรงแรมไปแล้ว

แต่ห้องอาบน้ำไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ตรงฝักบัว มีคราบสนิมเกาะเต็มฝัวบัวไปหมดเลย เดี๊ยนก็เลยได้แจ้งทางพนักงานต้อนรับของทางโรงแรมไปแล้ว โดยรวมถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงดี แต่ไม่ดีมาก  ต้องปรับปรุงเรื่องห้องน้ำ ส่วนห้องนอนถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี เตียงนิ่ม ไม่แข็งเกินไป เหมาะกับราคาห้องพัก ราคาถูก ไม่แพงด้วย 

โรงแรมวิเศษ โฮเต็ลน่าจะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับเพื่อนๆทีมองหาโรงแรมติดถนนทาวหลวงใหญ่ ที่พักใกล้ห้างโรบินสันฉะเชิงเทรา และใกล้ห้างบิ๊กซี และที่พักใกล้สถานีรถไฟฉะเชิงเทรา และสถานีขนส่ง บขส.อีกด้วย




เอากระเป๋าไว้ที่โรงแรมแล้ว ก็ปั่นจักรยานไปเที่ยวกันเลยค่ะ 


1.สถานที่ท่องเที่ยวแรกที่แวะเที่ยวคือ ตลาดบ้านใหม่ 100 ปี  เพื่อไปเดินเลาะหาอะไรกินค่ะ

แรกสถานที่ท่องเที่ยวแรกที่ ตลาดบ้านใหม่ ก่อนเลยค่ะ ปั่นจักรยานเดินทางมาตลาดนี้ เพราะว่าต้องการมาหาอะไรทาน เนื่องจากหิวแล้ว เมื่อเช้าทานข้าวหลามไปถูกใช้พลังงานไปหมดแล้วจ้า 


1.สถานที่ท่องเที่ยวแรกที่แวะเที่ยวคือ ตลาดบ้านใหม่ 100 ปี  เพื่อไปเดินเลาะหาอะไรกินค่ะ

1.สถานที่ท่องเที่ยวแรกที่แวะเที่ยวคือ ตลาดบ้านใหม่ 100 ปี  เพื่อไปเดินเลาะหาอะไรกินค่ะ

1.สถานที่ท่องเที่ยวแรกที่แวะเที่ยวคือ ตลาดบ้านใหม่ 100 ปี  บรรยากาศบ้านเรือนและร้านค้าริมแม่น้ำบางปะกงที่ตลาดบ้านใหม่ 

1.สถานที่ท่องเที่ยวแรกที่แวะเที่ยวคือ ตลาดบ้านใหม่ 100 ปี  

1.สถานที่ท่องเที่ยวแรกที่แวะเที่ยวคือ ตลาดบ้านใหม่ 100 ปี  บรรยากาศบ้านเรือนและร้านค้าริมแม่น้ำบางปะกงที่ตลาดบ้านใหม่ 

1.สถานที่ท่องเที่ยวแรกที่แวะเที่ยวคือ ตลาดบ้านใหม่ 100 ปี

1.สถานที่ท่องเที่ยวแรกที่แวะเที่ยวคือ ตลาดบ้านใหม่ 100 ปี



1.ตลาดบ้านใหม่ 100 ปี (Banmai 100-Year Market)

สำหรับตลาดบ้านใหม่ 100 ปี จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวมีชื่อเสียงอยู่คู่เมืองแปดริ้วมานาน ตลาดจะคึกคักมากๆในช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ แต่ถ้าวันธรรมดา ก็เงียบเหงามากๆ แนะนำว่ามาช่วงวันหยุดดีกว่าค่ะ

โดยเป็นตลาดที่มีอายุมากกว่า 100 ปี เป็นชุมชนเก่าแก่ แห่งหนึ่งของจังหวัดที่มีวิถีชีวิตเดิมที่โดดเด่นที่แตกต่างจากชุมชนอื่นๆ นั่นคือ ความมีเสน่ห์ของอายุสถานที่ที่ยาวนาน บ้านเรือนมีเอกลักษณ์เก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์และละครย้อนยุคของชุมชนชาวจีน เช่น อยู่กับก๋ง นางนาค เจ้าสัวสยาม ร้านขายของและร้านอาหารที่มีความหลายหลาย 

มีอาคารบ้านเรือนที่ยังคงสภาพบ้านไม้โบราณปลูกเป็นตึกแถว 2 ชั้นติดต่อกันจนเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยยังรักษาสภาพและความเป็นเอกลักษณ์ไว้ได้เป็นอย่างดี เป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดมาเยือนเลย เพราะภายในตลาดมีร้านขายของกิน และศูนย์รวมของฝากประจำจังหวัดฉะเชิงเทราด้วย  (เครดิต https://thailandtourismdirectory.go.th/en/attraction/1679)

เดินเก็บภาพบรรยากาศช่วงประมาณ 10 โมงเช้า ผู้คนยังไม่เยอะมากนัก 

หรือจะไปเดินรับลมชมวิวแม่น้ำบางปะกง 


ทานก๋วยเตี๋ยวปากหม้อรสเด็ดแห่งเมืองแปดริ้ว วันที่มาคนนั่งกินเต็มร้านเลยค่ะ รสชาติอร่อยทีเดียว ค่าเสียหาย ก๋วยเตี๋ยว 60 น้ำดื่ม 10 บาท รวม 70 บาท 

เดินถ่ายรูปไปเหนื่่อยๆ ก็ไปหาอะไรทานกันค่ะ หิวมากๆแล้ว แวะไปลิ้มลองทานก๋วยเตี๋ยวปากหม้อรสเด็ดประจำตลาดนี้ อยู่ภายในตลาดบ้านใหม่ ติดริมแม่น้ำบางปะกงค่ะ วันที่มาคนนั่งกินเต็มร้านเลยค่ะ รสชาติอร่อยทีเดียว ค่าเสียหาย ก๋วยเตี๋ยว 60 น้ำดื่ม 10 บาท รวม 70 บาท 


2.วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) อยู่ใกล้ๆกับตลาดบ้านใหม่

2.วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) อยู่ใกล้ๆกับตลาดบ้านใหม่

2.วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) อยู่ใกล้ๆกับตลาดบ้านใหม่

2.วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) อยู่ใกล้ๆกับตลาดบ้านใหม่


2.วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) อยู่ใกล้ๆกับตลาดบ้านใหม่

ใกล้ๆกับตลาดบ้านใหม่ ก็เดินทางไปไหว้พระที่วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจ ใกล้กับบริเวณตลาดบ้านใหม่ เดิมเป็นวัดจีนแต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัดญวนในลัทธิมหายาน ภายในวัดมีวิหารลักษณะเหมือนศาลเจ้า ความสำคัญของวัดนี้คือการเป็นที่ประดิษฐานเจ้าพ่อซำปอกง ซึ่งในประเทศไทยมีเพียง 3 องค์เท่านั้น โดยองค์หนึ่งประดิษฐานที่วัดกัลยาณมิตร (ฝั่งธนบุรี) กรุงเทพมหานคร อีกองค์หนึ่งประดิษฐานที่วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและองค์ที่สามประดิษฐานที่วัดอุภัยภาติการามหรือวัดซำปอกง จังหวัดฉะเชิงเทรานั่นเอง ตามประวัติเล่าว่ามีเศรษฐีสองพ่อลูก ชาวตลาดบ้านใหม่ มีจิตใจศรัทธาหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิงจึงได้สละทรัพย์ สร้างเจ้าพ่อซำปอกงขึ้นโดยจำลองมาจากวัดนั้น ซึ่งมีขนาดหน้าตักกว้าง 6.50 เมตร สูงประมาณ 12 เมตร ต่อมารัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสฉะเชิงเทราพระองค์ได้พระราชทานพระราชทรัพย์สมทบทุนสร้างอารามและปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปพร้อมกับพระราชทานนามว่า วัดอุภัยภาติการาม (เครดิตดีๆ : https://thai.tourismthailand.org/Attraction/วัดอุภัยภาติการาม-วัดซำปอกง)




3.วัดเทพนิมิตร (วัดพระนอน ฉะเชิงเทรา) Wat Thepnimit (Worship the beautiful reclining Buddha image.)

3.วัดเทพนิมิตร (วัดพระนอน ฉะเชิงเทรา) Wat Thepnimit (Worship the beautiful reclining Buddha image.)

3.วัดเทพนิมิตร (วัดพระนอน ฉะเชิงเทรา) Wat Thepnimit (Worship the beautiful reclining Buddha image.)

3.วัดเทพนิมิตร (วัดพระนอน ฉะเชิงเทรา) Wat Thepnimit (Worship the beautiful reclining Buddha image.)

3.วัดเทพนิมิตร (วัดพระนอน ฉะเชิงเทรา) Wat Thepnimit (Worship the beautiful reclining Buddha image.)

3.วัดเทพนิมิตร (วัดพระนอน ฉะเชิงเทรา) Wat Thepnimit (Worship the beautiful reclining Buddha image.)

3.วัดเทพนิมิตร (วัดพระนอน ฉะเชิงเทรา) Wat Thepnimit (Worship the beautiful reclining Buddha image.)

ภายในวัดเทพนิมิตร หรือวัดพระนอน เมืองแปดริ้ว มีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ พระพุทธไสยาสน์ขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชาวบ้านเรียก หลวงพ่อโต หรือ พระนอน เป็นพระประธานประจําอุโบสถ พระครูศิริปัญญามุนี(อ่อน เทวนิโภ) ได้มาจากวัดแห่งหนึ่งทางจังหวัดราชบุรี เนื้อทองสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง ปางสมาธิ สังฆาฏิ จีวร ลายดอกพิกุล และมีพระนอนกระจก สร้างโดยท่านพระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน เทวนิโภ) ราว พ.ศ. 2419 วัดยังได้รับพระราชทานพระรูปหล่อรัชกาลที่ 8 รูปหนึ่ง เป็นทองแดงลักษณะกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 44 ซม. เมื่อ พ.ศ. 2480 ซึ่งปัจจุบันพระบรมรูปหล่อนี้ประดิษฐานไว้ด้านหน้าอุโบสถ 

และยังเป็นวัดที่ตั้งอยู่ใกล้กับตลาดบ้านใหม่ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาได้ไม่ไกล หรือสามารถนั่งเรือพายที่ให้บริการจากตลาดบ้านใหม่มาที่วัดนี้ได้ด้วย เนื่องจากวัดเทพนิมิตร มีลำคลองที่เชื่อมติดกับปากแม่น้ำบางปะกงบริเวณตลาดบ้านใหม่  (เครดิตข้อมูลดีจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดเทพนิมิตร)


4.วัดจีนประชาสโมสร (Wat Cheen Pracha Samosorn (Wat Leng Hok Yi))

4.วัดจีนประชาสโมสร (Wat Cheen Pracha Samosorn (Wat Leng Hok Yi))


4.วัดจีนประชาสโมสร (Wat Cheen Pracha Samosorn (Wat Leng Hok Yi))

4.วัดจีนประชาสโมสร (Wat Cheen Pracha Samosorn (Wat Leng Hok Yi))

4.วัดจีนประชาสโมสร (Wat Cheen Pracha Samosorn (Wat Leng Hok Yi))

4.วัดจีนประชาสโมสร (Wat Cheen Pracha Samosorn (Wat Leng Hok Yi))



 
4.วัดจีนประชาสโมสร (Wat Cheen Pracha Samosorn (Wat Leng Hok Yi))

เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใกล้กับตลาดบ้านใหม่ ห่างแค่ 1 กิโลเมตรเท่านั้น สำหรับวัดจีนประชาสโมรสร เป็นวัดเก่าแก่โดยเชื่อกันว่าวัดนี้  เป็นหนึ่งใน 3 วัดที่ประกอบกันขึ้นเป็นตัวมังกร กล่าวคือ หัวมังกรอยู่ที่วัดเล่งเน่ยยี่ กรุงเทพมหานคร หางมังกรอยู่ที่วัดเล่งฮัวยี่ จังหวัดจันทบุรี และท้องมังกรนั้นอยู่ที่วัดเล่งฮกยี่แห่งนี้นั่นเอง วัดนี้สร้างขึ้นมาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2449 เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรีเพื่อเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา พร้อมกับพระราชทานนามว่า "วัดจีนประชาสโมรสร" ภายในวัดมีสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ ท้าวจัตุโลกบาลขนาดใหญ่ 4 องค์ ทำจากกระดาษที่ประตูทางเข้า พระประธาน 3 องค์และองค์ 18 อรหันต์ ทำด้วยกระดาษนำมาจากเมืองจีน รูปหล่อเทพเจ้าแห่งโชคลาภ (ไฉ่เซ่งเอี้ย) ที่อยู่ด้านขวาขององค์พระประธานและยังมีเทพเจ้าอีกหลายองค์ 

ตามคติจีน ระฆังใบใหญ่น้ำหนักกว่า 1 ตัน ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ใบ ในโลกที่รอบระฆังมีอักษรมหาปรัชญา ปารมิตราสูตร ถือกันว่าผู้ได้ใดตีระฆังก็เหมือนกับการสวดมนต์ซึ่งได้บุญกุศล นอกจากนี้ยังมีวิหารศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ เช่น วิหารบูรพาจารย์ วิหารเจ้าแม่กวนอิม แกะสลักจากรากไม้ทั้งต้นอายุประมาณ 100 ปี วิหารตี่จั๊งอ๊วง สระนทีสวรรค์และพญามังกร สักการะพญามังกรอย่างไร ลูบหัวมังกรลง 3 ครั้งแล้วอธิษฐานขอเกี่ยวกับสติปัญญา และหน้าที่การงาน ลูบลำตัวของมังกรขึ้นตามเกล็ดของมังกร 3 ครั้งแล้วอธิษฐานเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพร่างกาย ลูบหางมังกรขึ้นตามเกร็ดของมังกร 3 ครั้ง แล้วอธิษฐานเกี่ยวกับอนาคต ห้ามจับหรือแตะต้องหนวดมังกรโดยเด็ดขาด เพราะคนจีนเชื่อว่ามังกรจะหมดอิทธิฤทธิ์และจะขออะไร ไม่ได้ดังหวัง




5.วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์  (Wat Pitulathirat Rangsarit)

5.วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์  (Wat Pitulathirat Rangsarit)

5.วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์  (Wat Pitulathirat Rangsarit)

5.วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์  (Wat Pitulathirat Rangsarit)

5.วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์  (Wat Pitulathirat Rangsarit)



5.วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์  (Wat Pitulathirat Rangsarit)

5.วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์  (Wat Pitulathirat Rangsarit)




5.วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์  (Wat Pitulathirat Rangsarit)

สำหรับวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ วัดเก่าแก่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานทั้งยังเคยเป็นสถานที่ประหารชีวิตอั้งยี่ในสมัยรัชกาลที่ 3 เดิมทีชาวบ้านเรียกวัดนี้ว่าวัดเมือง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อคราวเสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทรา ได้พระราชทานนามวัดนี้เสียใหม่ว่า "วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์" ซึ่งหมายถึงวัดที่ลุงของพระเจ้าแผ่นดินเป็นทรงสร้าง โดยสิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ หอระฆังเก่าที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2478 ศาลกรมหลวงรักษ์รณเรศ ศาลเจ้าขนาดเล็กสร้างขึ้นตามศิลปะแบบจีน พระอุโบสถหลังเก่าที่ตั้งอยู่ติดกับแม่น้ำบางปะกงและหันหน้าไปทางทิศตะวันออก นอกจากนี้ยังมีพระวิหารซึ่งมีมุขเด็จด้านหน้าและด้านหลัง มีหลังคาลด 4 ชั้น ภายในพระวิหารแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระประธานและพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง 3 ศอกเศษจำนวน 4 องค์ด้วยกันพร้อมกับมีรอยพระพุทธบาทจำลองหล่อด้วยสำริด และมีภาพมงคล 108 ที่หล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจักรกรมหมื่นณรงค์หริรักษ์พร้อม ๆ กับการสร้างกำแพงเมืองฉะเชิงเทราในอดีต

พุทธาวาสของวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ มีพระอุโบสถและพระวิหารล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ประกอบด้วยพระปรางค์หลายองค์ที่บริเวณมุมของกำแพงแก้วปัจจุบันได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์จนอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ มีชื่ออยู่ในทะเบียนวัดของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และมีสภาพเป็นวัดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ว่า ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2385 และได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2395 ซึ่งมีเจ้าคณะปกครองฝ่ายสงฆ์ได้ปกครองดูแลตลอดมาจนถึงปัจจุบัน (เครดิตข้อมูล : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์)

6.กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา (Chachoengsao City Fort Wall)

6.กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา (Chachoengsao City Fort Wall)


6.กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา (Chachoengsao City Fort Wall)




6.กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา (Chachoengsao City Fort Wall)

สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอีกแห่ง ตั้งอยู่บนถนนมรุพงษ์ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา ริมแม่น้ำบางปะกง ใกล้กับโรงพยาบาลพุทธโสธร โดยกำแพงเมืองแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ในพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ ๓ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ กล่าวว่าสร้างในปี พ.ศ. 2377 โดยมีกรมหลวงรักษ์รณเรศร์เป็นแม่กองก่อสร้าง แต่ในหนังสือเจ้าพระยาจักรี มาถึง เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยามหาโยธา ในปี 2378 กลับให้รายละเอียดว่า เจ้าพระยายมราช เจ้าพระยามหาโยธา ยังไม่ได้เริ่มลงมือก่อกำแพงเมืองและป้อมเมืองฉะเชิงเทรา 

กำแพงเมืองและป้อมเมืองฉะเชิงเทราเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2380 เพื่อป้องกันข้าศึกศัตรูรุกราน และในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ใช้เป็นที่ตั้งมั่นกองทัพในการปราบกบฏอั้งยี่ ซึ่งเป็นพ่อค้าฝิ่นเถื่อนชาวจีนที่มาสร้างความเดือดร้อนและวุ่นวายปล้นสะดมภ์ชาวบ้านเมืองแปดริ้วในขณะนั้น   โดยตัวกำแพงตั้งเป็นแนวทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก มีความยาวโดยประมาณ 525 เมตร กว้างประมาณ 290 เมตร ตัวกำแพงหนาประมาณหนึ่งเมตรสูงสามเมตร ด้านหลังมีคูน้ำและมีปืนใหญ่ตั้งอยู่ตามกำแพงเมือง

 ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติมาตั้งแต่ พ.ศ. 2497 ปัจจุบันด้านหน้าถูกปรับเป็นสวนพักผ่อนหย่อนใจ โดยตั้งชื่อว่า "สวนมรุพงษ์" ช่วงกลางคืนมีการเปิดไฟรอบกำแพงยามสีสันสวยงาม (เครดิตข้อมูล : https://th.wikipedia.org/wiki/กำแพงเมืองฉะเชิงเทรา)


7.พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา (Chachoengsao City Museum) เปิดเข้าชมได้ใน วันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. เข้าชมได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

7.พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา (Chachoengsao City Museum) เปิดเข้าชมได้ใน วันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. เข้าชมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย 

7.พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา (Chachoengsao City Museum) เปิดเข้าชมได้ใน วันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น.

7.พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา (Chachoengsao City Museum) 

7.พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา (Chachoengsao City Museum) 

7.พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา (Chachoengsao City Museum) 

7.พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา (Chachoengsao City Museum) 

7.พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา (Chachoengsao City Museum) 


7.พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา (Chachoengsao City Museum) เปิดเข้าชมได้ใน วันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. เข้าชมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย

7.พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา (Chachoengsao City Museum) 


7.พิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา (Chachoengsao City Museum) 

จัดเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจอีกแห่งในเมืองฉะเชิงเทรา เปิดเข้าชมได้ใน วันพุธ-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. เข้าชมได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายใด  โดยพิพิธภัณฑ์ตั้งอยู่ตรงข้ามกับ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ สำหรับพิพิธภัณฑ์เมืองฉะเชิงเทรา‬ เป็นโบราณสถานแห่งหนึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ไม่แพ้ศาลากลางจังหวัดหลังเก่าหรือศาลากลางรัฐบาลมณฑลปราจีน เมื่อไทยใช้นโยบายการเมืองนำหน้าการทหาร และเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากจตุสดมภ์มาเป็นระบบเทศาภิบาล ฉะเชิงเทราได้เป็นที่ตั้งของที่ว่าการมณฑลปราจีน และกรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ สมุหเทศาภิบาล ผู้ทรงพระปรีชาชาญในวิชาการปกครองก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองในช่วงเวลานั้น 


ภายในพิพิธภัณฑ์มีการแสดงเป็นห้องต่างๆให้ชมอย่างน่าสนใจดังนี้ 
 - ห้องเจ้าเมืองเรืองนาม แสดงพระฉายาลักษณ์
- ห้องเมืองฉะเชิงเทรา
-ห้องคืนประทับแรม
-ห้องภาพเก่าเล่าเรือง
-ห้องพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จเยือนเมืองฉะเชิงเทรา
-ห้องใต้ร่มพระบารมี 
-ห้องประวัติและหอเชิดชูเกียรติพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)

โดยตำหนักกรมหมื่นมรุพงษ์ศิริพัฒน์ซึ่งเป็นเรือนไม้สองชั้น สร้างขึ้นเป็นที่พำนักของสมุหเทศาภิบาลในยุคนั้นจึงอาจถือได้ว่าเป็นก้าวแรกๆ ของการก่อสร้าง “บ้านพักข้าราชการ” ของแปดริ้ว ความสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นความภูมิใจอย่างยิ่งของชาวเมือง คือ ตำหนักแห่งนี้เคยเป็นที่ประทับพักแรมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่เสด็จประพาสฉะเชิงเทรา ถึง 2 ครั้ง พระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์ท่านซึ่งได้พระราชทานไว้ตั้งแต่เสด็จประทับครั้งแรก พร้อมลายพระหัตถ์ มีความว่า “ให้ไว้สำหรับเรือนเทศาภิบาลมณฑลปราจีณ (เมืองฉะเชิงเทรา) เป็นที่ระลึกในการที่ได้มาอยู่ในที่นี้ ได้ความสุขสบายมาก ตั้งแต่วันที่ 24 ถึงวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2450 รศ 40 126” ยังอยู่เป็นของคู่ตำหนักมาจนทุกปัจจุบัน (เครดิตข้อมูล https://thailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/83512 )



8.วัดโสธรวรารามวรวิหาร หรือวัดหลวงพ่อโสธร (Wat Sothon Wararam Worawihan)

8.วัดโสธรวรารามวรวิหาร หรือวัดหลวงพ่อโสธร (Wat Sothon Wararam Worawihan)

8.วัดโสธรวรารามวรวิหาร หรือวัดหลวงพ่อโสธร (Wat Sothon Wararam Worawihan)

8.วัดโสธรวรารามวรวิหาร หรือวัดหลวงพ่อโสธร (Wat Sothon Wararam Worawihan)


8.วัดโสธรวรารามวรวิหาร หรือวัดหลวงพ่อโสธร (Wat Sothon Wararam Worawihan)


8.วัดโสธรวรารามวรวิหาร หรือวัดหลวงพ่อโสธร (Wat Sothon Wararam Worawihan)






8.วัดโสธรวรารามวรวิหาร หรือวัดหลวงพ่อโสธร (Wat Sothon Wararam Worawihan)

เป็นหนึ่งในวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญที่สุดอีกแห่งของจังหวัดฉะเชิงเทราหรือเมืองแปดริ้ว จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันดับ 1 ประจำจังหวัด ที่ใครมาเยือนเมืองฉะเชิงเทราครั้งแรก แล้วไม่ได้มาไหว้หลวงพ่อโสธร ถือว่ามาไม่ถึงเมืองแปดริ้วแห่งนี้เลยทีเดียว 

วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง เดิมชื่อว่า วัดหงษ์ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพุทธโสธร พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.98 เมตร ฝีมือช่างล้านช้าง 

ตามตำนานเล่าว่า หลวงพ่อพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปหล่อสำริดปางสมาธิหน้าตักกว้างศอกเศษ มีรูปทรงสวยงามมาก ได้แสดงปาฏิหาริย์ลอยน้ำมา และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้จนมีลักษณะที่เห็นในปัจจุบัน วัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็นวัดที่มีผู้คนมาอธิษฐานขอพรกันเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์จะมีผู้คนแวะเวียนกันมาหนาแน่นตลอดทั้งวัน หากใครประสบผลสำเร็จในคำขอพร คำบนบาน ก็มักจะมาแก้บนกันด้วยไข่ต้ม หรือ ละครรำ แต่ไข่ต้มนั้นเป็นที่นิยมอย่างมาก จนทำให้การถือตะกร้าไข่ต้มในวัดแห่งนี้เป็นเรื่องปกติไปเลย (เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดโสธรวรารามวรวิหาร )




9.วัดชมโพธยาราม (Wat Chom Phothayaram) 

9.วัดชมโพธยาราม (Wat Chom Phothayaram) 


9.วัดชมโพธยาราม (Wat Chom Phothayaram) 

9.วัดชมโพธยาราม (Wat Chom Phothayaram) 


9.วัดชมโพธยาราม (Wat Chom Phothayaram) 



9.วัดชมโพธยาราม (Wat Chom Phothayaram) 

ถือเป็นวัดเพียงแห่งเดียวในจังหวัดฉะเชิงเทราที่มีการก่อสร้างสังเวชนียสถานครบทั้ง 4 ตำบล เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบสักการะ โดยสังเวชนียสถานทั้ง 4 นั้นประกอบด้วย อุทยานลุมพินีสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า พุทธคยาเจดียอันเป็นสถานที่ตรัสรู้ เจดีย์ปฐมเทศนาที่เรียกกันว่าธัมเมกขสถูป และสุดท้ายคือสถานที่ปรินิพพาน วัดนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 โดยพระครูปลัดสุโพธิ์ จันทาโภ ที่ได้รับการถวายที่ดินจากสองสามีภรรยาคือนายชม และนางเยี่ยม ทองคำเปลว จำนวน 12 ไร่เศษ หลังจากนั้นก็มีการสร้างกุฏิ ศาลาการเปรียญ พระอุโบสถ รวมถึงสังเวชนียสถานจำลองทั้งสี่แห่งดังที่เห็นในปัจจุบัน โดยวัดตั้งอยู่ถนนบางปะกง-ฉะเชิงเทรา ทางหลวงหมายเลข 314 นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปกราบไหว้พระขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคล และชมความงามของเวชนียสถานครบทั้ง 4 อีกด้วย เครดิตดีๆจาก : https://thai.tourismthailand.org/Attraction/วัดชมโพธยาราม


10.ศาลากลางรัฐบาลมณฑลปราจีนบุรี (ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า) ถ่ายรูปชมความงามอาคารสไตล์นีโอคลาสสิคแสนสวยของเมืองแปดริ้ว (Crown Property Bureau - Chachoengsao)

10.ศาลากลางรัฐบาลมณฑลปราจีนบุรี (ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า) ถ่ายรูปชมความงามอาคารสไตล์นีโอคลาสสิคแสนสวยของเมืองแปดริ้ว (Crown Property Bureau - Chachoengsao)

10.ศาลากลางรัฐบาลมณฑลปราจีนบุรี (ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า) ถ่ายรูปชมความงามอาคารสไตล์นีโอคลาสสิคแสนสวยของเมืองแปดริ้ว (Crown Property Bureau - Chachoengsao)

10.ศาลากลางรัฐบาลมณฑลปราจีนบุรี (ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า) ถ่ายรูปชมความงามอาคารสไตล์นีโอคลาสสิคแสนสวยของเมืองแปดริ้ว (Crown Property Bureau - Chachoengsao)

10.ศาลากลางรัฐบาลมณฑลปราจีนบุรี (ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า) ถ่ายรูปชมความงามอาคารสไตล์นีโอคลาสสิคแสนสวยของเมืองแปดริ้ว (Crown Property Bureau - Chachoengsao)

10.ศาลากลางรัฐบาลมณฑลปราจีนบุรี (ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า) ถ่ายรูปชมความงามอาคารสไตล์นีโอคลาสสิคแสนสวยของเมืองแปดริ้ว (Crown Property Bureau - Chachoengsao)

10.ศาลากลางรัฐบาลมณฑลปราจีนบุรี (ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า) ถ่ายรูปชมความงามอาคารสไตล์นีโอคลาสสิคแสนสวยของเมืองแปดริ้ว (Crown Property Bureau - Chachoengsao)




10.ศาลากลางรัฐบาลมณฑลปราจีนบุรี (ศาลากลางจังหวัดหลังเก่า) ถ่ายรูปชมความงามอาคารสไตล์นีโอคลาสสิคแสนสวยของเมืองแปดริ้ว (Crown Property Bureau - Chachoengsao)

สำหรับอาคารสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมเป็นอาคารที่ทำการมณฑลปราจีนบุรี สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วงเวลาที่การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลเริ่มต้นขึ้น โดยมีการย้ายที่ทำการมณฑลปราจีนบุรีจากเมืองปราจีนบุรีมาตั้งที่เมืองฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2445 หลังจากนั้น 1 ปี จึงมีการสร้างอาคารหลังนี้ ภายหลังอาคารได้ถูกใช้เป็นศาลากลางจังหวัดฉะเชิงเทรา และระหว่างปี พ.ศ. 2506-2518 ใช้เป็นที่ตั้งของสำนักงานเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนอาคารหลังนี้เป็นโบราณสถาน หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2527 อาคารถูกเพลิงไหม้เสียหาย ถูกทิ้งร้างและไม่มีการซ่อมแซม จนกระทั่งมีการตรวจสอบกรรมสิทธิ์ที่ดิน และพบว่าที่ดินบริเวณที่ตั้งอาคารเป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรมธนารักษ์จึงได้ส่งมอบพื้นที่คืน เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2527

ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 สำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ 4ปราจีนบุรี กรมศิลปากร ได้ดำเนินการบูรณะอาคารครั้งแรก และในปี พ.ศ. 2548 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เข้าทำการปรับปรุงอาคารอีกครั้งเพื่อให้มีลักษณะใกล้เคียงกับอาคารศาลากลางมณฑลปราจีนบุรีเมื่อแรกสร้างและได้ใช้เป็นอาคารสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันด้


อาคารสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนชั้นเดียว กว้าง 19 เมตร ยาว 73 เมตร หลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องซีเมนต์ มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบนิโอคลาสสิค ผสมผสานกับฝีมือช่างและเทคโนโลยีท้องถิ่น ผังพื้นอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแคบยาวแบบรูปตัวอี (E) เน้นที่มุขกลางและปลายทั้ง 2 ข้าง โดยมีปีกเป็นตัวเชื่อม ห้องทำงานวางตรงแนวกลางอาคาร มีระเบียงขนาบทั้ง 2 ข้าง ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง



จุดเด่นของอาคาร คือ มุขกลางที่ยื่นเก็จเป็นผนังด้านหน้าความกว้าง 3 ช่วงโครงสร้างคานโค้ง ช่วงกลางเสามีแผงหน้าบัน หลังคาจั่วแบบวิหารกรีก ชนิดเปิดคานทับหลัง หน้าบันประดับปูนปั้นตราครุฑ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้เข้ามาบูรณะปรับปรุงอาคารตามหลักวิชาการ มีการอนุรักษ์โครงสร้างแบบเดิม ดัดแปลงและปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยเพื่อให้เหมาะสมเป็นสำนักงาน และสามารถรักษาคุณค่าทางประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมของอาคารเอาไว้ได้อย่างสวยงาม เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวถ่ายรูปภาพยามเย็นที่งดงามอีกแห่งหนึงด้วย (เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://thai.tourismthailand.org/Attraction/อาคารสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จังหวัดฉะเชิงเทรา)




ใกล้กับหอนาฬิกา ก็เป็นย่านชุมชนเก่าเมืองแปดริ้ว อาคารเก่าๆยังคงอนุรักษ์ไว้อย่างดี 


ริมแม่น้ำมีร้านค้าบ้านเรือนไม้ให้ได้เดินชมกันอย่างเพลิดเพลินจำเริญใจ แต่ใครที่ขับรถเข้ามาในย่านนี้ ต้องขับรถเป็นเส้นทางเดียว หรือ One way นะคะ 

เดินมารับลมชมวิวยามเย็นๆริมแม่น้ำบางปะกง บริเวณหอนาฬิกา หน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า





พลบค่ำยามเย็น พระอาทิตย์ตกพอดีค่ะ  

ใกล้ๆกับศากลางจังหวัดหลังเก่า มีร้านห่อหมกประดิษฐ์โภชนา ซึ่งเป็นร้านห่อหมกปลาช่อนนาชื่อดัง เลยขอซื้อไปลิ้มลองไปทานเป็นมื้อเย็นสักห่อค่ะ


ใช้พลังงานไปเยอะ หิวแล้วค่ะ ใกล้ๆกับศากลางจังหวัดหลังเก่า มีร้านห่อหมกประดิษฐ์โภชนา ซึ่งเป็นร้านห่อหมกปลาช่อนนาชื่อดัง เลยขอซื้อไปลิ้มลองไปทานเป็นมื้อเย็นสักห่อค่ะ ราคาห่อละ 70 บาท 


 ทานอาหารมื้อค่ำแบบง่ายๆ ข้าวกะเพราไก่ 35 บาท ยำผลไม้รวมโกลเด้นเพลส 59  ห่อหมก 70 บาท รวมค่าเสียหาย 164 บาท 

เวลาเดินไปเร็วเหลือเกิน ออกจากกรุงเทพแต่เช้า ปั่นจักรยานเที่ยวในตัวเมืองแปดริ้ว หมดไป 1 วันเต็มๆเลยค่ะ ถือว่าเก็บที่เที่ยวมาฝากเพื่อนๆคุณผู้อ่านได้พอสมควร จริงๆในตัวเมืองฉะเชิงเทรา ยังมีที่เที่ยวน่าสนใจอีกหลายแห่งเลยค่ะ ไว้มีเวลาก็ปักหมุดมาเที่ยวอีกค่ะ





--- วันที่ 2 (Day 2) ---



 ทริปวันสุดท้ายของการเที่ยวเมืองแปดริ้ว เดี๊ยนตื่นแต่เช้า เช็คเอาท์จากโรงแรม เพื่อปั่นจักรยานออกจากออกจากเมืองแปดริ้วไปเที่ยวบางคล้าค่ะ ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางทั้งวัน




เช้าวันที่ 2 ทริปวันสุดท้ายของการเที่ยวเมืองแปดริ้ว เดี๊ยนตื่นแต่เช้า เช็คเอาท์จากห้องพัก และฝากกระเป๋าเสื้อผ้าไว้ที่โรงแรมค่ะ เพื่อปั่นจักรยานออกจากออกจากเมืองแปดริ้วไปเที่ยวบางคล้าค่ะ ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางทั้งวัน  ก็เลยต้องตื่นแต่เช้าหน่อย จะได้ออกกำลังกายไปในตัวด้วย 



โดยใช้เส้นทางออกจากตลาดบ้านใหม่ ลัดเลาะตามถนนเลียบริมคลอง หรือถนนสาย 3200 ปั่นไปเรื่อยค่ะ เนื่องจากไม่ค่อยมีรถเหมือนถนนสายหลัก 


ทำเลที่ดินย่านนี้ น้ำท่าดีเป็นพิเศษ เพราะปลูกข้าวนาปรัง เห็นข้าวสีเหลือทองอร่าม พร้อมเก็บเกี่ยวได้แล้วกระมัง 

ผ่านเทือกสวนไร่นาของชาวบ้าน ทำเลที่ดินย่านนี้ น้ำท่าดีเป็นพิเศษ เพราะปลูกข้าวนาปรัง เห็นข้าวสีเหลือทองอร่าม พร้อมเก็บเกี่ยวได้แล้วกระมัง 






ปั่นจักรยานออกมาได้สักพัก ก็หิว ได้เวลาเติมพลังงานแล้วค่ะ ทานอาหารง่ายๆ ค่าเสียหายไม่แพง 60 บาทมื้อนี้ 

11.แวะไปไหว้องค์พระพิฆเนศ ที่วัดสมานรัตนาราม (Wat Saman Rattanaram)

11.แวะไปไหว้องค์พระพิฆเนศ ที่วัดสมานรัตนาราม (Wat Saman Rattanaram)

11.แวะไปไหว้องค์พระพิฆเนศ ที่วัดสมานรัตนาราม (Wat Saman Rattanaram)

11.แวะไปไหว้องค์พระพิฆเนศ ที่วัดสมานรัตนาราม (Wat Saman Rattanaram)

11.แวะไปไหว้องค์พระพิฆเนศ ที่วัดสมานรัตนาราม (Wat Saman Rattanaram)

11.แวะไปไหว้องค์พระพิฆเนศ ที่วัดสมานรัตนาราม (Wat Saman Rattanaram)

11.แวะไปไหว้องค์พระพิฆเนศ ที่วัดสมานรัตนาราม (Wat Saman Rattanaram)



11.แวะไปไหว้องค์พระพิฆเนศ ที่วัดสมานรัตนาราม (Wat Saman Rattanaram)

เดินทางปั่นจักรยานจากโรงแรมในเมืองแปดริ้ว มาจนถึงวัดสมานรัตนาราม ระยะทาง 20 กิโลเมตรค่ะ เพื่อมาไหว้องค์พระพิฆเนศ ซึ่งเคยได้ยินชื่อเสียงเรียงนามมานานแล้ว แต่ไม่เคยได้มาสักที รอบนี้มาเที่ยวฉะเชิงเทรา เลยปั่นจักรยานด้วยความศรัทธา มาจนถึงวัดสมานรัตนารามเลยค่ะ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำเภอคลองเขื่อน 


สำหรับวัดสมานตั้งอยู่ใกล้กับเขื่อนทดน้ำบางปะกง ภายในเป็นที่ประดิษฐานของพระพิฆเนศปางนอนเสวยสุข องค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยประชาชนส่วนใหญ่นิยมมาสักการบูชา นอกจากนั้นยังมีพิพิธภัณฑ์ภายในวัด เป็นที่รวบรวมเรื่องราวเกี่ยวกับวัดและพระพิฆเนศให้นักท่องเที่ยวได้ทราบกัน โดยพระพิฆเนศปางนอนเสวยสุของค์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย,เจ้าแม่กวนอิมปางประทานบุตรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังมีศาลาปฏิบัติธรรมอีกด้วย


12.อุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก 

12.อุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก 

12.อุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก 

12.อุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่เที่ยวเปิดใหม่ในแปดริ้ว 




12.อุทยานพระพิฆเนศ องค์ยืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่เที่ยวเปิดใหม่ในแปดริ้ว 

เป็นองค์พระพิฆเนศ จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเปิดใหม่อีกแห่งในเมืองแปดริ้ว ตั้งอยู่ที่อำเภอคลองเขื่อน จ.ฉะเชิงเทรา ประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง ก่อตั้งขึ้นโดยสมาคมชาวฉะเชิงเทรา นำโดย พล.ต.อ. สมชาย วาณิชเสนี นายกสมาคม ได้จัดสร้างพระพิฆเนศปางสำริดขึ้นบนเนื้อที่ 25 ไร่ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำบางประกงในอำเภอคลองเขื่อนเพื่อให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา ที่นักท่อง


แวะผ่านคาเฟ่ ร้านบ้านกังหัน รีวิวร้านคาเฟ่เล็กๆเปิดใหม่ในฉะเชิงเทรา

ใกล้ๆกับเส้นทางถนนไปอุทยานพระพิฆเนศ ก็มีร้านคาเฟ่เล็ๆเปิดใหม่ให้บริการด้วยค่ะ ชื่อร้านบ้านกังหัน 


ภายในร้านคาเฟ่ มีมุมให้นั่งพักผ่อนและเช็คอินถ่ายรูปสวยๆด้วยค่ะ ใครที่ผ่านไป ผ่านมาก็แวะไปจิบชา กาแฟ และเครื่องดื่มเย็นๆได้นะคะ 


เดินทางปั่นจักรยานข้ามสะพานแม่น้ำบางปะกง สู้ต่อค่ะ อีกนิดก็จะถึงบางคล้าแล้ว  

ผ่านหมู่บ้านน้ำตาลสด หมู่บ้านทำน้ำตาลสดขายกันเกือบแทบทุกบ้าน

ระหว่างทางผ่านหมู่บ้านน้ำตาลสด หมู่บ้านทำน้ำตาลสดขายกันเกือบแทบทุกบ้าน เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีต้นตาลอยู่มาก 

เป็นน้ำตาลแท้จากดอกตาลโดยตรงเลยค่ะ กลิ่นจะหอม และรสชาติหวานอร่อยมากๆ การันตีโดยแม่ค้าคนขาย

ปั่นจักรยานมาเหนื่อยๆ กระหายน้ำมากq ได้น้ำตาลสดดื่มชื่นใจจริงๆ ขวดละ 20 บาท ซึ่งเป็นน้ำตาลแท้จากดอกตาลโดยตรงเลยค่ะ กลิ่นจะหอม และรสชาติหวานอร่อยมากๆ การันตีโดยแม่ค้าคนขาย เพราะมีกลุ่มนักเรียน นักศึกษามาดูงานวิธีทำน้ำตาลสดที่บ้านคุณป้าคนขายตลอด

 เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของฝากขึ้นชื่อที่บางคล้าเช่นกัน หากใครที่ผ่านไป ผ่านมาเที่ยวบางคล้า ก็อย่าลืมอุดหนุนกันนะคะ 

13.วัดปากน้ำโจ้โล้ หรือ วัดอุโบสถสีทองทั้งหลัง 

13.วัดปากน้ำโจ้โล้ หรือ วัดอุโบสถสีทองทั้งหลัง 

13.วัดปากน้ำโจ้โล้ หรือ วัดอุโบสถสีทองทั้งหลัง 

13.วัดปากน้ำโจ้โล้ หรือ วัดอุโบสถสีทองทั้งหลัง 

13.วัดปากน้ำโจ้โล้ หรือ วัดอุโบสถสีทองทั้งหลัง 

13.วัดปากน้ำโจ้โล้ หรือ วัดอุโบสถสีทองทั้งหลัง 




13.วัดปากน้ำโจ้โล้ หรือ วัดอุโบสถสีทองทั้งหลัง 

โดยวัดปากน้ำโจ้โล้ เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญอีกแห่ง ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง ในตำบลปากน้ำ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

วัดปากน้ำโจ้โล้เดิมเป็นสำนักสงฆ์อยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย หน้าวัดมีคลองไหลผ่านมารวมกับแม่น้ำบางปะกง พื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของทัพพม่า ซึ่งมีทั้งทัพบกและทัพเรือ ได้ต่อสู้และพ่ายแพ้ทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเจดีย์ขึ้น ณ ที่แห่งนี้ เพื่อเป็นอนุสรณ์ (แต่ต่อมาเจดีย์นี้ถูกน้ำกัดเซาะพังทลายลงไปหมด กรมศิลปากรจึงได้สร้างขึ้นมาใหม่ในบริเวณเดิม) คำว่า "โจ้โล้" มาจากการที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชทรงวางแผนยุทธการการสงครามเข้าตีทหารพม่าโดยการที่ทรงโล้เรือมาตามน้ำ ให้ทหารพม่าเห็นว่าทรงมาเพียงลำพังให้ทัพพม่าตายใจ แล้วให้ทหารซุ้มล้อมโจมตีจนได้ชัยชนะ และได้เรียกกันต่อมาว่า "เจ้าโล้" แต่ต่อมาเพี้ยนมาเป็น "โจ้โล้" และอีกประวัติหนึ่งคือ ลำน้ำนี้มีปลากระพงชุกชุม และชาวจีนเรียกว่า โจ้โล้ จากข้อมูลกรมการศาสนา ระบุว่าตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2336

เอกลักษณ์ของวัด คือ อุโบสถสีทองทั้งหลัง หลังคาประดับด้วยพญานาคและธรรมจักรตรงกลางมีบุษบกยอดฉัตร ส่วนบริเวณกำแพงแก้วชั้นนอกตกแต่งด้วยลวดลายธรรมจักรสลับกับโคมไฟรูปช้างสามเศียรเป็นระยะ ๆ ภายในอุโบสถมีองค์หลวงพ่อโตเป็นพระประธาน จำลองมาจากพระพุทธชินราช ด้านหน้าพระประธานมีรูปพระเจ้าตากสิน ไหว้ด้วยพานเครื่องทองน้อยแทนการจุดธูปเทียน ด้านบนขออุโบสถมีการสร้างบุษบกไว้ที่ด้านบนอุโบสถเพื่อบรรจุพระบรมธาตุ ภายในอุโบสถมีการนำลวดลายปูนปั้นจำหลักหรือใช้แม่พิมพ์สร้างงานขึ้นมาประดับตกแต่งภายในอุโบสถซึ่งใช้สีทองทั้งหมดเหมือนกับภายนอก แทนการใช้ภาพจิตรกรรมฝาผนัง  จึงเป็นวัดที่มีความโดดเด่นและสวยงามเป็นอย่างยิ่ง 


14.วัดโพธิ์บางคล้า (Wat Pho Bangkla) ดูคางค้าวแม่ไก่ป่าฝน และวิหารเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

14.วัดโพธิ์บางคล้า (Wat Pho Bangkla) ดูคางค้าวแม่ไก่ป่าฝน และวิหารเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

14.วัดโพธิ์บางคล้า (Wat Pho Bangkla) ดูคางค้าวแม่ไก่ป่าฝน และวิหารเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

14.วัดโพธิ์บางคล้า (Wat Pho Bangkla) ดูคางค้าวแม่ไก่ป่าฝน และวิหารเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

14.วัดโพธิ์บางคล้า (Wat Pho Bangkla) ดูคางค้าวแม่ไก่ป่าฝน และวิหารเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

14.วัดโพธิ์บางคล้า (Wat Pho Bangkla) ดูคางค้าวแม่ไก่ป่าฝน และวิหารเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

14.วัดโพธิ์บางคล้า (Wat Pho Bangkla) ดูคางค้าวแม่ไก่ป่าฝน และวิหารเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา




14.วัดโพธิ์บางคล้า (Wat Pho Bangkla) ดูคางค้าวแม่ไก่ป่าฝน และวิหารเก่าแก่ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา 

จัดเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองบางคล้าอีกแห่ง มีประวัตศาสตร์ความเป็นมายาวนาน ตั้งอยู่ในตำบลบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 31 ไร่ ความโดดเด่นของวัดแห่งนี้คือ วัดมีค้างคาวแม่ไก่ป่าฝนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ค้างคาวเหล่านี้อาศัยอยู่ในวัดมาเป็นเวลานานแล้ว ไม่มีผู้บันทึกไว้ชัดเจน เท่าที่ทราบก็ตั้งแต่เมื่อสมัยพระครูสุตาลงกตเป็นเจ้าอาวาส ระหว่าง พ.ศ. 2473–2509 ซึ่งท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมต่อสัตว์ทั้งหลาย

วัดโพธิ์บางคล้าสร้างขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2310–2325 สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช และคาดว่าเคยเป็นที่พักทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งยกทัพไปต่อสู้กับพม่า ที่บริเวณปากน้ำโจ้โล้ (ห่างจากวัด 1 กิโลเมตร) เมื่อราวปี พ.ศ. 2309 จากคำบอกเล่า เดิมมีกุฎิไม้ใต้ถุนสูง หลังคามุงจาก อยู่ใกล้กับท่าน้ำแม่น้ำบางปะกงและต้นโพธิ์ใหญ่ มีโบสถ์คล้ายเก๋งจีน หลังคาซ้อน 2 ชั้น มุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วย ช่อฟ้าเป็นรูปหัวมังกร ผนังก่ออิฐฉาบปูนขาวผสมน้ำอ้อย ล้อมรอบด้วยใบเสมา ปัจจุบันทางวัดได้รื้อถอนโบสถ์และกุฏิไม้แล้ว

และอีกอย่างหนึ่งคือ ด้านหน้าวัดจะมีวิหารเก่าแก่ ทรงจัตุรมุขสมัยอยุธยาตอนปลาย หลังคามุงด้วยกระเบื้องเกล็ดเต่า และมีการซ่อมแซมหลังคาอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2485 และต่อมาหลังคาเกิดพังทลายลง ทำให้ต้องสร้างหลังคาขึ้นใหม่แทนของเดิม เมื่อ พ.ศ. 2541 มีหน้าต่างหนึ่งช่อง มีประตูสองช่องเหนือขอบประตูสองด้าน ประดับด้วยถ้วยชามสังคโลกเรียงกันเป็นรูปทรงกลม หน้าจั่วเป็นพื้นเรียบ กระเบื้องชายหลังคาเชื่อมด้วยปูน และมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยทำด้วยปูน ประดิษฐานไว้โดยรอบจำนวน 8 องค์ ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ ถือเป็นอีกหนึ่งวัดที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนกันอย่างไม่ขาดสาย 


15.ตลาดน้ำบางคล้า (Bangkla Floating Market)


15.ตลาดน้ำบางคล้า (Bangkla Floating Market)

15.ตลาดน้ำบางคล้า (Bangkla Floating Market)

15.ตลาดน้ำบางคล้า (Bangkla Floating Market)

15.ตลาดน้ำบางคล้า (Bangkla Floating Market)

15.ตลาดน้ำบางคล้า (Bangkla Floating Market)

15.ตลาดน้ำบางคล้า (Bangkla Floating Market)





15.ตลาดน้ำบางคล้า (Bangkla Floating Market)

เป็นตลาดน้ำที่มีชื่อเสียงอีกแห่งของจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยตลาดแห่งนี้อยู่ติดริมแม่น้ำบางปะกง ตลาดน้ำบางคล้า เป็นตลาดที่เทศบาลตำบลบางคล้าจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2550 ตามนโยบายของคณะผู้บริหารเทศบาลตำบลบางคล้า ในการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว เชิงเศรษฐกิจของท้องถิ่นโดยการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในพื้นที่ ซึ่งมีความโดดเด่นและยังคงมีความเป็นธรรมชาติอยู่มาก มาจัดทำตลาดน้ำให้ประชาชนในพื้นที่และใกล้เคียง นำสินค้าจำพวกสินค้าพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง สินค้า OTOP SMEs และผักผลไม้ตามฤดูกาล อันเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมาจำหน่าย บริเวณริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง หน้าที่ว่าการอำเภอบางคล้า โดยเป็นแพโป๊ะขนาด 6 x 30 เมตร รวม 9 โป๊ะ เชื่อมติดต่อกันสำหรับให้เกษตรกรและผู้ประกอบการนำเรือมาจอดเทียบขายสินค้าและให้บริการแก่นักท่องเที่ยว เปิดให้บริการเฉพาะวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น.



เห็นข้าวหมากแล้วอยากทาน จัดไปสัก 1 กระปุกค่ะ 

ทานข้าวหมากโบราณ

ข้าวหมากโบราณ รสชาติหวานๆหอมกลิ่นเฉพาะตัว จัดเป็นโพรไบโอติกดีต่อลำไส้ ราคา 10 บาท 

บรรยากาศริมน้ำที่ตลาดน้ำบางคล้า


แวะเดินกินลมชมวิวตอนบ่ายแก่ๆ ช่วงบ่าย 3 โมงเย็นที่ตลาดน้ำบางคล้า 

เวลาประมาณ 4 โมงเย็น ก็ปั่นจักรยานมาที่ท่ารถสองแถว เพื่อรอนั่งรถกลับเมืองแปดริ้ว

หลังจากไปเดินที่ตลาดน้ำบางคล้าแล้ว เวลาประมาณ 4 โมงเย็น ก็ปั่นจักรยานมาที่ท่ารถสองแถว เพื่อรอนั่งรถกลับเมืองแปดริ้ว โดยท่ารถ อยู่ย่านใจกลางเมือง ใกล้กับตลาดเทศบาล

รถสองแถวที่ให้บริการจากบางคล้าไปเมืองฉะเชิงเทรา รถจะอออกทุกๆ 25-30 นาที รอไม่นานค่ะ

โดยรถสองแถวที่ให้บริการจากบางคล้าไปเมืองฉะเชิงเทรา รถจะอออกทุกๆ 25-30 นาที รอไม่นานค่ะ โดยรถจะไปหยุดส่งที่สถานีรถไฟ และที่สถานีขนส่ง   และจากท่ารถไปยังตลาดน้ำบางคล้าก็ไม่ไกล เดินเท้าไปได้ค่ะ 


ตอนแรกกะว่าจะปั่นกลับเมืองแปดริ้ว แต่ดูเวลาแล้ว ไม่น่าจะทันรถไฟเที่ยวสุดท้ายรอบ 6 โมงเย็นแน่ๆ เลยนั่งรถสองแถวกลับดีกว่าค่ะ 


ส่วนจักรยานก็พับใส่รถโดยสาร 2 แถวไปได้ค่ะ ค่าโดยสารเพียง 25 บาทเท่านั้น   ตอนแรกกะว่าจะปั่นกลับเมืองฉะเชิงเทรา แต่ดูเวลาแล้ว ไม่น่าจะทันรถไฟเที่ยวสุดท้ายรอบ 6 โมงเย็นแน่ๆ เลยนั่งรถสองแถวกลับดีกว่าค่ะ 


จากนั้นก็ปั่นจักรยานไปเอากระเป๋าที่ฝากไว้กับโรงแรม แล้วก็ปั่นจักรยานมาซื้อตั๋วขึ้นรถไฟรอบ 18.00 น.ให้ทันเวลา เพื่อ เดินทางกลับกรุงเทพโดยสวัสดิภาพ


นั่งรถสองแถวกลับมาที่เมืองฉะเชิงเทรา จากนั้นก็ปั่นจักรยานไปเอากระเป๋าที่ฝากไว้กับโรงแรม แล้วก็ปั่นจักรยานมาซื้อตั๋วขึ้นรถไฟรอบ 18.00 น.ให้ทันเวลา เพื่อ เดินทางกลับกรุงเทพโดยสวัสดิภาพ .....เป็นอันจบทริปเทียวเมืองแปดริ้วสั้นๆ 2 วัน 1 คืน ปั่นจักรยานไปแบบช้าๆ ได้เปิดมุมมองใหม่ๆ เที่ยวใกล้กรุงได้ดีทีเดียว 


สำหรับเพื่อนๆคนใหน ที่วันหยุดนี้ ไม่รู้จะไปใหนดี วางแผนปักหมุดมาเที่ยวเมืองฉะเชิงเทรา หรือเมืองแปดริ้วกันนะคะ เมืองท่องเที่ยวใกล้กรุงเทพที่ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวให้ไปถ่ายรูปเช็คอินมากมายหลายแห่งเลยล่ะค่ะ มาเที่ยวกันเยอะๆนะคะ เศรษฐกิจจะได้คึกคัก.......


รวมค่าเสียหายในการเที่ยวฉะเชิงเทรา 2 วัน 1 คืน ประจำปี2566

ค่าเดินทางนั่งรถไฟกรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา   12 บาท/เที่ยว รวม 24 บาท
ค่าโรงแรมที่พัก คืนละ 550 บาท 
ค่ารถสองแถวจากบางคล้า-เมืองฉะเชิงเทรา ราคา 25 บาท 
ค่าอาหารการกิน รวม 474 บาท 

สรุปค่าเสียหายทั้งหมดทริปนี้ไม่รวมของฝากและเงินทำบุญทำทาน รวม 1,073 บาทจ้า

----------------------------------------------

บทความบล็อกอื่นๆ ที่ผ่านมา มีดังนี้ค่ะ



รีวิวเที่ยวรับต้นปีเยือนถิ่นป่าสนใหญ่ที่สุดในเมืองไทย มีที่เที่ยวอะไรบ้าง>>>

ล่าสุดรับปี2023 บันทึกเดินทางเที่ยวแดนดิน ถิ่นป่าสนใหญ่ที่สุดในเมืองไทย มีที่เที่ยวอะไรให้ไปเช็คอินถ่ายรูปบ้าง ตามไปเที่ยวกันเลย คลิ๊กดูรีวิวบันทึกภาพและการเดินทางค่ะ>>>


บันทึกเดินทาง สะพายเป้เที่ยวเมืองดานัง-เว้-ฮอยอัน มีที่เที่ยวเปิดใหม่อะไรบ้าง>>>

บันทึกเดินทางปลายปี2022 ลองสะพายเป้ไปเที่ยวดานัง-เว้-ฮอยอัน มีที่เที่ยวเปิดใหม่น่าสนใจ และอาหารแปลกถิ่นอะไรให้กินบ้าง ตามไปเที่ยวกันจ้า คลิ๊กดูรีวิวบันทึกภาพการเดินทางค่ะ>>>


แบกเป้เที่ยวเมืองฟองญา ชมเมืองป่าเขามรดกโลก เดินทางไปอย่างไร>>>

แบ่งปันทริปรีวิวเที่ยวฟองญาปี2565 ชมเมืองป่าเขามรดกโลก เดินทางไปอย่างไร มีที่เที่ยวอะไรน่าสนใจ ให้ไปเช็คอินถ่ายรูปสวยๆบ้าง ตามไปดูกันเลยจ้า คลิ๊กดูรีวิวบันทึกภาพการเดินทางค่ะ>>>


บันทึกไปตามภาพ ไม่พลาดไปเที่ยวอุตรดิตถ์ มีที่เที่ยวเปิดใหม่ที่ใหนบ้าง>>>

บันทึกเที่ยวไปตามภาพ ไม่พลาดรีวิวเที่ยวอุตรดิตถ์ เมืองรองต้องห้ามพลาด ทานลางสาดหวานเจี๊ยบ มีที่เที่ยวเปิดใหม่น่าสนใจที่ใหนบ้าง ตามไปดูกันเลยจ้า คลิ๊กดูรีวิวบันทึกภาพการเดินทางค่ะ>>


บันทึกเที่ยวช่วงหน้าฝน ล่องแพไม้ไผ่ที่เขาสก แวะชมน้ำตกสวย มีที่เที่ยวอะไรบ้าง>>

แบ่งปันทริปรีวิวเที่ยวล่องไม้ไผ่ที่เขาสก แวะชมน้ำตกสวยๆ รุ่มระรวยด้วยทะเลหมอกงดงาม ต้องตามไปชมกันสักครั้ง พร้อมสรุปค่าใช้จ่าย มาให้อ่านกันจ้ คลิ๊กดูรีวิวบันทึกภาพการเดินทางค่ะ>>>>


บันทีกเดินทาง นั่งรถไฟ-ปั่นจักรยานเที่ยวนครปฐม-นครชัยศรี-บางเลน ดูที่เที่ยว>>>

บันทีกเที่ยวไปตามภาพ : นั่งรถไฟ และปั่นจักรยานเที่ยวนครปฐม ชื่นชมนครชัยศรี-บางเลน นอนเอนกายสไตล์ไทยๆ มีที่เที่ยวอะไรบ้าง ตามไปดูกันค่ะ คลิ๊กดูรีวิวภาพบันทึกการเดินทางค่ะ>>>


แบ่งปันรีวิวไปเที่ยวเมืองมุกดาหาร ยลตระการเมืองพญานาคริมแม่น้ำโขง>>>

แบ่งปันรีวิวไปเที่ยวเมืองมุกดาหาร ยลตระการเมืองพญานาคริมแม่น้ำโขง เชื่อมโยงฝั่งไทยลาว มีที่เที่ยวเปิดใหม่ที่ใหนบ้าง ตามไปเที่ยวกันเลยจ้า คลิ๊กดูบทความรีวิวภาพสถานที่ท่องเที่ยวค่ะ>>>


เก็บตกงานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลล่าสุด แวะหยุดไปดูทางเดินกระจก Skywalk จุดชมวิวสวยๆ>>>

เก็บตกภาพบรรยากาศเที่ยวงานแห่เทียนพรรษาจังหวัดอุบลในปี 2565 แวะไปเดินลั๊ลลาชมสถานที่ท่องเที่ยวเปิดใหม่ทางเดินกระจก Skywalk ตามไปเที่ยวกันเลยจ้า คลิ๊กดูบทความรีวิวภาพที่เที่ยวค่ะ>>>


เปิดเมืองบินลัดฟ้า พารีวิวเที่ยวสิงคโปร์อีกครั้งในปี 2022 ดูที่เที่ยวเปิดใหม่>>>

แบ่งปันรีวิวทริปเที่ยวสิงคโปร์อีกครั้งในปี 2022 เปิดเมืองบินลัดฟ้าไปเช็คอิน ถ่ายรูปฟินๆกับที่เที่ยวเปิดใหม่ มีที่ใหนบ้าง ตามไปเที่ยวกันเลยจ้า คลิ๊กดูบทความรีวิวและการเดินทางค่ะ>>>


แบ่งปันรีวิวย้อนวันวานพาไปเที่ยวชมบ้านสมอเรียงในอดีต แสนหอมหวาน>>>

รีวิวพาไปย้อนวันวานเที่ยวบ้านสมอเรียง ชุมชนเก่าริมทะเล ทานหอยเสียบมะละกอเก๋ๆ อาหารพื้นบ้านที่ทานได้เฉพาะที่นี่เท่านั้น ตามไปเที่ยวชมกันดู คลิ๊กดูบทความรีวิวและการเดินทางค่ะ>>>


มาม๊ะ..มาย้อนวันวานเที่ยวชะอำอีกครั้งหลังโควิด-19 คลี่คลาย ไปเที่ยวใหนบ้าง>>

เก็บตก..มาม๊ะมารีวิวย้อนวันวานเที่ยวชะอำอีกครั้งหลังโควิด-19 มีที่เที่ยวแพรวพราวที่ใหน ให้แวะไปเช็คอินถ่ายภาพบ้าง ตามไปกันเลย คลิ๊กดูรีวิวที่เที่ยวและการเดินทางค่ะ>>>>


แบ่งปันรีวิวเที่ยวเมืองตราดอีกครั้งในปี 2565 ถ่ายรูปลั๊ลลาตามที่เที่ยวต่างๆ>>

เก็บตกรีวิวเที่ยวเมืองตราดอีกครั้งในปี 2565 มีที่เที่ยวเปิดใหม่ที่ใหนบ้างหนา ตามไปลั๊ลลาเช็คอินถ่ายรูปกันได้เลย คลิ๊กดูรีวิวที่เที่ยวและการเดินทางค่ะ>>>


รีวิวเที่ยวเกาะช้าง 3 วัน 2 คืน ไม่มีรถส่วนตัว นั่งรถทัวร์ไปกับหลานสาว>>>

แบ่งปันทริปเที่ยวเกาะช้างล่าสุดปี 2022 ไม่มีรถส่วนตัว นั่งรถทัวร์ ต่อสองแถวไปเที่ยวกับหลานสาว แวะไปเที่ยวที่ใหนบ้าง พร้อมสรุปค่าใช้จ่าย ตามไปกันเลยจ้า คลิ๊กดูรีวิวที่เที่ยวและการเดินทางค่ะ>>>


แบ่งปันรีวิวทริปเที่ยวลำพูน เมืองเล็กๆเก่าแก่โบราณ ต้องไปเช็กอินกัน>>>

เก็บตกทริปเที่ยวเมืองรอง เดินทอดน่องท่องเมืองลำพูน เมืองเล็กๆน่ารักเก่าแก่โบราณ มีสถานที่ให้แวะไปยลตระการหลายแห่ง มีที่ใหนบ้างนั้น ตามไปกันเลยค่ะ คลิ๊กดูรีวิวที่เที่ยวและการเดินทางค่ะ>>>


ทริปรีวิวเที่ยวลำปางในมุมมองใหม่ๆ ไหว้พระใหญ่สไตล์ญีุ่่น คลิ๊กดูรีวิวค่ะ>>

แบ่งปันรีวิวเที่ยวลำปางล่าสุดในมุมใหม่ๆ ไหว้พระใหญ่ไดบุตสึ งามระทึกเจดีย์บนดอยสูงเสียดฟ้า มีสถานที่ท่องเที่ยวถ่ายรูปเช็กอินที่ใหนบ้าง ตามไปชมกัน คลิ๊กดูรีวิวที่เที่ยวและการเดินทางค่ะ>>


ล่าสุดรีวิวเที่ยวเกาะสิมิลันในราคา 1,350 บาท ไปเที่ยวเกาะใหนบ้าง คลิ๊กดูรีวิวค่ะ>>

เก็บตก รีวิวเที่ยวเกาะสิมิลันล่าสุด ในราคา 1,350 บาท ไปเที่ยวดำน้ำเกาะใหนบ้าง และทางทัวร์มีบริการอะไรอีกบ้าง ตามไปดูกันจ้า คลิ๊กดูรายละเอียดบทความค่ะ>>>


แบ่งปันรีวิวเช่ารถมอเตอร์ไซต์เที่ยวภูเก็ต มีที่เที่ยวเด็ดอะไรบ้าง ตามไปดูกันค่ะ>>

มาม๊ะ..มารีวิวเที่ยวเกาะภูเก็ต นั่งกินอาหารพื้นเมืองรสเด็ด ระเหินระเห็ด เช็กอินชมทะเลสวยๆ รุ่มระรวยด้วยที่เที่ยวมากมาย มิวายต้องไปถ่ายภาพกันสักครา คลิ๊กดูรีวิวที่เที่ยวและการเดินทางค่ะ>>>


ไปรีวิวเที่ยวพังงา-ตะกั่วป่า ที่ใครมาก็ต้องไปเช็กอินกัน มีที่ใหนบ้าง คลิ๊กดูรีวิวค่ะ>>

มาม๊ะ..มารีวิวเช่ารถขับเที่ยวพังงา-เขาหลัก-ตะกั่วป่า ชื่นอุราชมเมืองเก่า คลอเคล้าทะเลสวย รุ่มระรวยด้วยสถานที่ท่องเที่ยวงดงาม ต้องตามไปเช็กอินกัน คลิ๊กดูรีวิวที่เที่ยวและการเดินทางค่ะ>>> 


เที่ยวเมืองกาจญน์ตอนจบ แวะไปซบกลิ่นอายสังขละบุรี คลิ๊กดูรีวิวค่ะ>>>

เก็บตกเที่ยวกาญจน์ตอนจบ แวะไปซบกลิ่นอายสังขละบุรี นั่งเรือฉิมพลีชมเมืองบาดาล ยลตระการธรรมชาติงดงาม ต้องไปเที่ยวตามชมกัน คลิ๊กดูรีวิวที่เที่ยวและการเดินทางค่ะ>>>


แบ่งปันรีวิวเที่ยวเมืองกาญจน์ตอนที่ 2 ท่องแดนดินถิ่นน้ำตกสวย คลิ๊กดูรีวิวค่ะ>>

แบ่งปันทริปรีวิวเช่ารถขับเที่ยวเมืองกาญจน์ตอนที่ 2 ท่องแดนดินถิ่นน้ำตกสวย รุ่มระรวยด้วยธรรมชาติงดงาม มีที่เที่ยวใหนต้องแวะไปเช็กอินบ้าง ไม่งั้นถือว่ามาไม่ถึงนะ คลิ๊กดูรีวิวที่เที่ยวและการเดินทางค่ะ>>>


รีวิวเที่ยวเมืองกาญจน์ ย้อนวันวานชมเมืองประวัติศาสตร์สงครามโลก คลิ๊กดูรีวิว>>

มาม๊ะ..มารีวิวเที่ยวเมืองกาญจนบุรี นั่งรถไฟฉิมพลี ย้อนวันวานอีกสักครั้งครา ในตัวเมือง มีแหล่งท่องเที่ยวอะไรบ้างหนา ตามไปลั๊ลลาเช็กอินกัน คลิ๊กดูรีวิวที่เที่ยวและการเดินทางค่ะ>>>


รีวิวพาไปเที่ยวเมืองบรูซ เมืองเมรดกโลกสวยโรแมนติก มีที่เที่ยวอะไรบ้าง ตามไปดูกัน>>>

เก็บตกท่องโลกกว้าง รีวิวเดินทางไปเที่ยวเมืองบรูซ เมืองแห่งสายน้ำสวยงามโรแมนติก ที่เหล่าคู่รักสายชิคต้องมาเช็กอินกัน มีที่เที่ยวที่ใหนบ้าง คลิ๊กดูรายละเอียดแหล่งท่องเที่ยวค่ะ>>>



แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น