|
วันนี้เลยขอสรุปแนะนำแหล่งท่องเที่ยวจุดเช็กอินในเมืองสตูลมาให้ดูกันค่ะ |
และถึงแม้ว่าเมืองสตูลจะเป็นเมืองเล็กๆ แต่ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่ในตัวเมืองให้แวะไปเที่ยวชมและเช็กอินถ่ายรูปเก๋ๆด้วยเหมือนกันนะคะ วันนี้เลยขอสรุปแนะนำแหล่งท่องเที่ยวจุดเช็กอินในเมืองสตูลมาให้ดูกันค่ะ หรือสามารถดูตามแผนที่ได้นะคะ แต่ตัวอักษรในแผนที่อาจไม่ชัดเท่าไหร่ เลยขอมาสรุปให้ดูกันดังนี้ค่ะ
|
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล (คฤหาสน์กูเด้น) |
|
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล (คฤหาสน์กูเด้น) |
|
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล (คฤหาสน์กูเด้น) |
|
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล (คฤหาสน์กูเด้น) |
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสตูล (คฤหาสน์กูเด้น)
จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมที่มีชื่อเสียงในตัวเมืองสตูล ที่ใครแวะมาเที่ยวเมืองนี้ ก็จะต้องมาเช็กอินและเดินชมเรียนรู้ประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่างของเมืองนี้กัน โดยเป็นพิพิภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในคฤหาสน์กูเด้น ภายในพิพิธภัณฑ์จัดแสดงศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของจังหวัดสตูล
ซึ่งคฤหาสน์กูเด็น เป็นคฤหาสน์เก่าแก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2441 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2459 มีรูปแบบสถาปัตยกรรมโคโลเนียลสวยงามโดดเด่น เดิมถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวเสด็จประพาสปักษ์ใต้แต่มิได้ประทับแรม คฤหาสน์หลังนี้จึงตกเป็นของพระยาภูมินารถภักดีและทายาท โดยพระยาภูมินารถภักดี (ตนกูบาฮารุดดิน บินกูแมะ) ต้นสกุลบินตำมะหงง ซึ่งเป็นเจ้าเมืองสตูลในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
แต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาคฤหาสน์หลังดังกล่าวได้แปรสภาพเป็นสถานที่ราชการหลายประเภท เช่น เป็นกองบัญชาการทหารญี่ปุ่น เป็นสำนักงานเทศบาลสตูล เป็นศาลากลางจังหวัดสตูล และเป็นโรงเรียนเทศบาล 1 เป็นต้น
กระทั่งกรมศิลปากรประกาศให้คฤหาสน์กูเด็นเป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 และได้พัฒนาคฤหาสน์กูเด็นเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สตูล ให้ประชาชนเข้าศึกษาประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดสตูล โดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินเปิดเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2543
|
2.มัสยิดมำบัง |
|
2.มัสยิดมำบัง |
2.มัสยิดมำบัง
หนึ่งในมัสยิสเก่าแก่ที่สุดอีกแห่ง สร้างขึ้นตั้งแต่ตวนกูมูฮำหมัดอาเก็บเป็นเจ้าเมืองสตูล (ประมาณพ.ศ. 2392) ตั้งอยู่ถนนสตูลธานี และถนนบุรีวานิช ย่านใจกลางเมือง ใกล้ๆกับวงเวียนหอนาฬิกา ห่างจากศาลากลางจังหวัดสตูลประมาณ 1 กิโลเมตร
สำหรับ ชื่อมำบัง ตั้งตามชื่อเมืองสตูลในสมัยนั้น โดยช่างได้แบบแปลนมาจากเมืองมะละกา ต่อมาปี พ.ศ. 2517 ได้จัดสร้างใหม่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก รูปทรงเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบหินอ่อนและกระจกใส ตัวอาคารแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนนอกเป็นระเบียง มีบันไดขึ้นหอคอย ลักษณะเป็นยอดโดม สามารถมองเห็นทิวทัศน์เมืองสตูลได้อย่างสวยงาม ส่วนในเป็นห้องโถงใหญ่ใช้เป็นที่ละหมาด ชั้นล่างมีห้องใต้ดิน และในปี พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จเป็นองค์ประธานเปิด เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2522
|
3.วัดชนาธิป เดิมมีชื่อว่า วัดมำบัง |
|
3.วัดชนาธิป เดิมมีชื่อว่า วัดมำบัง |
|
3.วัดชนาธิป เดิมมีชื่อว่า วัดมำบัง |
|
3.วัดชนาธิป เดิมมีชื่อว่า วัดมำบัง |
3.วัดชนาธิป เดิมมีชื่อว่า วัดมำบัง
วัดพุทธเก่าแก่สำคัญตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมืองสตูล โดยวัดชนาธิปเฉลิม มีชื่อเดิมเรียกว่า วัดมำบัง ซึ่งคำว่ามำบัง คือชื่อเรียกเมืองสตูลในอดีต ถือเป็นวัดพุทธแห่งแรกของเมืองสตูล โดยวัดตั้งอยู่ริมคลองมำบัง ถนนศุลกานุกูล ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล สร้างเมื่อ พ.ศ. 2425 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดชนาธิปเฉลิม" เมื่อ พ.ศ. 2482 ขณะที่ชาวเมืองสตูลส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม วัดแห่งนี้จึงถือเป็นที่รวมน้ำใจของชาวพุทธในเมืองสตูลมาร่วม 100 กว่าปีมาแล้ว
สิ่งที่โดดเด่นในวัดชนาธิปคือ อุโบสถที่มีลักษณะแปลกไปจากพระอุโบสถโดยทั่วไป คือ อุโบสถวัดชนาธิปเฉลิม มีลักษณะ เป็นทรง 2 ชั้น ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ส่วนชั้นบนเป็นอาคารไม้ ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นระเบียง มีบันไดทั้ง 2 ด้าน โดยเมื่อปี พ.ศ. 2473 มีการสร้างพระอุโบสถ ชั้นบนสำหรับประกอบพิธีกรรมของพระสงฆ์ ส่วนชั้นล่างใช้เป็นศาลาการเปรียญ ปัจจุบันได้บูรณปฏิสังขรณ์แล้ว สภาพเดิมที่ยังคงเหลืออยู่ คือ โครงสร้างของพระอุโบสถ และเสาบานหน้าต่างซึ่งแกะสลักรูปเครือเถา จึงเป็นหนึ่งในวัดสำคัญต่อชาวพุทธในเมืองสตูลมาอย่างยาวนาน และเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในตัวเมืองสตูลอีกด้วย
|
4.สวนสาธารณะเขาโต๊ะพญาวัง |
|
4.สวนสาธารณะเขาโต๊ะพญาวัง |
|
4.สวนสาธารณะเขาโต๊ะพญาวัง |
|
4.สวนสาธารณะเขาโต๊ะพญาวัง |
4.สวนสาธารณะเขาโต๊ะพญาวัง
หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองสตูล ห่างจากย่านศาลากลางจังหวัดประมาณ 1.2 กิโลเมตร โดยเป็นสวนสาธารณะที่แตกต่างจากสวนสาธารณะอื่นๆก็คืออยู่ติดกับเขาหินปูนขนาดไม่สูงมากนัก ภายในมีถ้ำหินงอก หินย้อย อยู่บริเวณเชิงเขา มีศาลเจ้าโต๊ะหยางและโต๊ะพญาวัง บริเวณโดยรอบรายล้อมไปด้วยต้นไม้สูงใหญ่ รวมทั้งไม้ประดับนานาพันธุ์สวยงาม มีลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก บรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน
และที่เขาโต๊ะพญาวังแห่งนี้ ยังมีเรื่องเล่าขานกันว่านานมาแล้วมีหนุ่มจีนเร่ร่อนมาขึ้นฝั่งที่สตูลแล้วพบรักกับสาวมุสลิมชื่อ “ ย่าหวัง ” ทว่าถูกขัดขวางจากพ่อแม่ฝ่ายหญิงจึงหนีไปครองรักกันแต่ถูกตามไปพบขณะทั้งคู่นอนหลับอยู่ริมคลองมำบังจึงถูกอุ้มแยกออกจากกันและสาปให้กลายเป็นหินคือเขาโต๊ะหยงกงและเขาโต๊ะพญาวัง ซึ่งเป็นภูเขาที่อยู่ห่างซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน
|
5.วัดมงคลมิ่งเมือง |
|
5.วัดมงคลมิ่งเมือง |
|
5.วัดมงคลมิ่งเมือง |
5.วัดมงคลมิ่งเมือง
เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2517 ชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า "วัดป่าช้าจีน" เพราะพื้นที่เดิมนั้นแต่ก่อนเป็น สุสานจีน ด้านหน้าวัดประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานพร มีนามว่า "พระมงคลมิ่งเมือง"
วัดมงคลมิ่งเมือง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2520 ในด้านการศึกษาทางวัดเปิดสินพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี นอกจากนั้นยังตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา ในปี พ.ศ.2515 ให้ชื่อว่า “โรงเรียนธรรมจักรวิทยา” และจัดตั้งมูลนิธิสำหรับโรงเรียนนี้ เพื่อเปิดทำการเรียนการสอนแก่เยาวชนผู้ด้อยโอกาส และขาดแคลนทุนทรัพย์ สามารถดำรงอยู่ได้จนถึงปัจจุบัน
|
6.ตึกแถวถนนบุรีวานิช |
|
6.ตึกแถวถนนบุรีวานิช |
|
6.ตึกแถวถนนบุรีวานิช |
6.ตึกแถวถนนบุรีวานิช
หนึ่งในอาคารเก่าแก่ในตัวเมืองสตูล มีสถาปัตยกรรมสวยงามด้วยสีส้มอ่อนพาสเทลโดดเด่น สร้างขึ้นเมื่อประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 25 เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมฝรั่ง ลักษณะเป็นตึกก่ออิฐแบบยุโรป ตัวอาคารแบ่งเป็นช่วงๆ ประดับตกแต่งลวดลายแบบศิลปะกรรมจีน
|
7.ศาลเจ้าโป้เจ้งเก้ง |
|
7.ศาลเจ้าโป้เจ้งเก้ง |
7.ศาลเจ้าโป้เจ้งเก้ง
เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ตั้งอยู่ในตัวเมืองสตูล ติดถนนสมันตประดิษฐ โดยจุดสังเกตุโดดเด่นคือ อยู่บริเวณวงเวียนเสามังกรเลื้อย สำหรับศาลเจ้าโป้เจ้งเก้งเป็นศาลเจ้าที่ชาวไทยเชื้อสายจีนในเมืองสตูลให้ความเคารพเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นศาลเจ้าที่มีอายุเก่าแก่กว่า 125 ปี ศาลเจ้าฯเป็นอาคารที่ได้รับการบริจาคที่ดินจาก นายลีกาฮ้วด เมื่อพ.ศ. 2433 และเมื่อสร้างอาคารเสร็จ ก็ได้อัญเชิญพระโปเซ็งไต่เต่ หรือ (ไต่เต่เอี้ยจ้อ) จากเกาะปีนัง มาประดิษฐาน เป็นองค์ประธาน ศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง เป็นภาษาฮกเกี้ยน แปลว่า “ศาลเจ้าที่ช่วยคุ้มครอง ให้คนมีสุข คลาดแคล้วจากทุกข์” นักเดินทางคนใหนที่แวะมาเที่ยวเมืองสตูลไม่พลาดต้องมากราบไหว้ขอพรที่ศาลเจ้าแห่งนี้กันสักครั้ง
|
8.จุดเช็กอินถ่ายรูปศิลปะภาพเขียนฝาผนัง Street Art ในตัวเมืองสตูล |
|
8.จุดเช็กอินถ่ายรูปศิลปะภาพเขียนฝาผนัง Street Art ในตัวเมืองสตูล |
|
8.จุดเช็กอินถ่ายรูปศิลปะภาพเขียนฝาผนัง Street Art ในตัวเมืองสตูล |
|
8.จุดเช็กอินถ่ายรูปศิลปะภาพเขียนฝาผนัง Street Art ในตัวเมืองสตูล |
|
8.จุดเช็กอินถ่ายรูปศิลปะภาพเขียนฝาผนัง Street Art ในตัวเมืองสตูล |
|
8.จุดเช็กอินถ่ายรูปศิลปะภาพเขียนฝาผนัง Street Art ในตัวเมืองสตูล |
8.จุดเช็กอินถ่ายรูปศิลปะภาพเขียนฝาผนัง Street Art ในตัวเมืองสตูล
โดยภาพเขียนดังกล่าวจัดเป็นหนึ่งไฮโลท์สำหรับคนที่รักการถ่ายภาพ ตั้งอยู่ในตัวเมืองที่ถนนบุรีวานิช ซอยศตุลธานี ตัดไปถึงถนนสมันตประดิษฐ นักท่องเี่ยวสามารถเดินลัดเลาะถ่ายรูปภาพเขียนแนวๆชิคๆเก๋ ตามมุมต่างๆได้อย่างเพลิดเพลินจำเริญใจ
อีกหนึ่งจุดเช็กอินถ่ายรูปยอดนิยมของเหล่านักท่องเที่ยว ที่แวะมาเยือนสตูลก็ไม่พลาดมาถ่ายรูปคู่หอนาฬิกาแห่งนี้ โดยหอนาฬิกาดังกล่าว เป็นหอนาฬิกาที่สร้างขึ้นใหม่ตามรูปแบบสถาปัตยกรรมหอนาฬิกาในอดีตซึ่งเดิมที หอนาฬิกาตั้งอยู่ในเขตมัสยิดมำบังหลังเก่า สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2500 ถูกรื้อถอนเมื่อปี พ.ศ.2517 หอนาฬิกาหลังนี้ ตัวอาคารทาสีขาว มีประตูทั้ง 4 ด้าน ด้านในมีบันไดเหล็กไว้สำหรับไต่ขึ้นไปตั้งเวลาได้ และจากนั้นก็กลับสร้างใหม่อีกครั้ง โดยตัวหอนาฬิกาที่สร้างใหม่นี้ตั้งอยู่ถนนบุรีวานิช ใกล้กับมัสยิดมำบัง จนกลายเป็นจุดเช็กอินถ่ายรูปยอดนิยมของนักท่องเที่ยว
0 ความคิดเห็น