|
เพื่อไม่ให้เว็ปร้างไป วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอนำเสนอสาระน่ารู้เกี่ยวกับ วัดพระธาตุดอยตุง กับตำนายบอกเล่าอันเก่าแก่ ที่ใครก็ต้องแวะไปสักการะกันสักครั้ง
|
สวัสดีทักทาย ซำบายดีกับคุณผู้อ่านบนโลกออนไลน์ และเหล่าผู้รักการทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจกันทุกๆคน กลับมาพบกันอีกเช่นเคยนะคะ กับบทความน่ารู้ที่จะนำมาเสนอให้ได้อ่านและสไลด์เลื่อนดูกัน สำหรับบทความในเว็ปไซต์วันนี้ คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัดพระธาตุดอยตุง อีกหนึ่งพระธาตุเก่าแก่ตั้งอยู่บนดอยสูงเสียดฟ้าในจังหวัดเชียงราย ที่ใครๆต่างก็หมายมุ่งแวะมาสักการะกันสักครา และประวัติความเป็นมาของพระธาตุแห่งนี้ ก็น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว
|
สาระน่ารู้เกี่ยวกับวัดพระธาตุดอยตุง (Wat Phra That Doi Tung,Chiang Rai) |
เกี่ยวกับวัดพระธาตุดอยตุง (Wat Phra That Doi Tung,Chiang Rai)
วัดพระธาตุดอยตุง หรือชื่อเต็มของพระธาตุแห่งนี้ วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) แต่คนส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า พระธาตุดอยุตง เป็นวัดที่ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ซึ่งดอยตุงนั้นมีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กม. และมีพระธาตุดอยตุงประดิษฐานอยู่บนยอดดอย ตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร สามารถมองเห็นได้ในระยะไกลเนื่องจากพระธาตุดอยตุง และกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่ง โดยนักเดินทางที่แวะมาเที่ยวพระตำหนักดอยตุงและสวนแม่ฟ้าหลวง ก็ไม่พลาดที่จะมาไหว้พระธาตุดอยตุงด้วย
|
ตำนานเล่าว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช ด้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ |
ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ (ปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน) พระมหากัสสปะได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) แล้วมอบให้แก่พระเจ้าอชุตราชได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุง (ธง) มีความยาว 1,000 วา ปักบนยอดเขา หากตุงปลิวไปถึงที่ใดก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ 500 ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยเจ้ามังรายนราชแห่งราชวงศ์สิงหนวัติ พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ เจ้ามังรายนราชจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้
|
ความหมายของคำว่า ตุง นับเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของชาวล้านนา หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง การมีชัยชนะ |
ซึ่งความหมายของคำว่า ตุง นับเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของชาวล้านนา หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง การมีชัยชนะ ในวัดจะมี รอยปักตุง เป็นรอยแยกบนพื้น ยาวประมาณ 1 ฟุต อยู่ด้านหน้าพระธาตุ เชื่อกันว่า เป็นรอยแยกที่ใช้ปักฐานตุงบูชาพระธาตุ สร้างมาประมาณ 1,000 ปีแล้ว พระบรมธาตุดอยตุงเป็นที่เคารพสักการะของชาวล้านนา ทุกปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุในวันเพ็ญเดือน 3
|
ในส่วนของรูปแบบศิลปกรรม นั้น พระธาตุดอยตุงแต่เดิมมีองค์เดียว
รูปแบบการก่อสร้างก่อเป็นศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สิบสองคล้ายกับพระธาตุดอยสุเทพ |
และในส่วนของรูปแบบศิลปกรรม นั้น พระธาตุดอยตุงแต่เดิมมีองค์เดียว รูปแบบการก่อสร้างก่อเป็นศิลปะเชียงแสนย่อมุมไม้สิบสองคล้ายกับพระธาตุดอยสุเทพ เมืองเชียงรายสมัยก่อนเป็นเมืองร้างอยู่หลายครา พระธาตุดอยตุงจึงขาดการบูรณปฏิสังขรณ์ ตัวพระธาตุทรุดโทรมและพังทลายลง นับตั้งแต่เจ้ามังรายนราชได้สร้างเจดีย์อีกองค์ใกล้กันอีกองค์หนึ่ง จึงทำให้พระธาตุดอยตุงมีสององค์
|
เมื่อปี พ.ศ. 2470 พระธาตุดอยตุงทรุดโทรมมาก ครูบาศรีวิชัยกับประชาชนชาวเมืองเชียงรายได้บูรณะองค์พระธาตุขึ้นใหม่ |
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2470 พระธาตุดอยตุงทรุดโทรมมาก ครูบาศรีวิชัยกับประชาชนชาวเมืองเชียงรายได้บูรณะองค์พระธาตุขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นเจดีย์องค์ระฆังขนาดเล็กสององค์บนฐานแปดเหลี่ยม ตามศิลปะแบบล้านนา
|
ในปี พ.ศ. 2516 กระทรวงมหาดไทยได้ก่อสร้างพระธาตุองค์ใหม่ครอบพระเจดีย์เดิมไว้ |
กระทั้งในปี พ.ศ. 2516 กระทรวงมหาดไทยได้ก่อสร้างพระธาตุองค์ใหม่ครอบพระเจดีย์เดิมไว้ องค์พระธาตุเป็นสีทองขนาดเล็กสององค์ สูงประมาณ 5 เมตร บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม มีซุ้มจระนำสี่ทิศ องค์ระฆังและปลียอดมีขนาดเล็ก ออกแบบโดยนายประกิต (จิตร) บัวบุศย์ การสร้างพระธาตุองค์ใหม่นั้นใช้วิธีหล่อคอนกรีตมาประกอบครอบเจดีย์คู่ทั้งสององค์ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงแบบขององค์พระธาตุดังกล่าวสามารถอนุรักษ์สถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมไว้ภายในได้
|
จนในปี พ.ศ. 2549 กรมศิลปากรมีโครงการรื้อถอนรูปแบบศิลปกรรมของพระธาตุดอยตุงที่กระทรวงมหาดไทยได้ก่อครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ |
จนในปี พ.ศ. 2549 กรมศิลปากรมีโครงการรื้อถอนรูปแบบศิลปกรรมของพระธาตุดอยตุงที่กระทรวงมหาดไทยได้ก่อครอบพระธาตุองค์เดิมไว้ โดยให้เหตุผลว่า เพื่อเป็นไปตามร้องขอของคนท้องถิ่นไปทางจังหวัด และส่งต่อมายังสำนักโบราณคดีเชียงใหม่ ให้ช่วยฟื้นฟูพระสถูปในสมัยครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ได้บูรณะไว้ตามภาพถ่ายที่ปรากฏอยู่ในวิหารพระธาตุดอยตุง ซึ่งคณะทำงานได้มีการหารือทางเจ้าคณะอำเภอเรียบร้อยแล้ว และได้ให้นำพระสถูปครอบที่ถอดออกมาไปตั้งไว้ที่วัดพระธาตุน้อยดอยตุง ซึ่งอยู่ด้านล่างก่อนขึ้นดอยพระธาตุ จากนั้นทำการบูรณะพระสถูปเจดีย์สมัยครูบาศรีวิชัยให้คืนกลับมาสภาพดังเดิมให้แล้วเสร็จก่อนเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 21 ล้านบาท โดยรวมค่าปรับปรุงภูมิทัศน์ อาทิ ปรับปรุงพื้นที่ลานพระธาตุให้กว้างขึ้น รื้อโรงเก็บวัสดุอุปกรณ์ เคลื่อนย้ายพระสังกัจจายน์และพระพุทธรูปองค์ใหญ่ปางต่างๆ ไปตั้งประดิษฐานในสถานที่ที่เหมาะสม ปรับปรุงภูมิทัศน์ฐานบันไดนาคทางขึ้น เพื่อความสะดวกต่อพุทธศาสนิกชนซึ่งไปนมัสการพระธาตุเป็นจำนวนมากของทุกปี
---------------------------------------------------------------
บทความบล็อกอื่นๆ มีดังนี้
0 ความคิดเห็น