Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

เที่ยวเมืองไทยไปรู้จักตำนานเล่าขาน วัดพระพุทธบาทภูควายเงิน โบราณสถานสุดเก่าแก่ในเชียงคานแห่งนี้ มีที่มาอย่างไร


สาระน่ารู้ในวันนี้ พาไปรู้จักตำนานเล่าขาน วัดพระพุทธบาทภูควายเงิน วัดเก่าแก่สำคัญในอำเภอเชียงคาน มีประวัติความเป็นมายาวนาน มาให้ได้อ่านกัน



ใครที่เป็นนักเที่ยวสายบุญ หากมาเที่ยวเชียงคาน คงไม่พลาดไปไหว้พระตามวัดเก่าแก่ต่างๆหลายแห่ง และหนึ่งในวัดสำคัญอีกแห่งที่ไม่ควรพลาดเลย นั้นก็คือการไปไหว้พระพุทธบาทภูควายเงิน ซึ่งถูกจัดให้เป็นโบราณสถานเก่าแก่ทางพระพุทธศาสนาอีกแห่งของไทย และยังมีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับรอยพระพุทธบาทอีกด้วย วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอสรรหาสาระน่ารู้เกี่ยวกับตำนานของพระพุทธบาทภูควายเงิน มาให้ได้อ่านกันค่ะ 


สาระน่ารู้เกี่ยวประวัติความเป็นมา พระพุทธบาทภูควายเงิน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พระพุทธบาทภูควายเงิน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (Wat Phra Phutthabat Phu Kwai Ngoen, Chaing Khan district, Loei Province)


สำหรับวัดพระพุทธบาทภูควายเงินนั้น เป็นโบราณสถานเก่าแก่ทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นศาสนาสถานสำคัญที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัด โดยวัดตั้งอยู่ที่หมู่บ้านผาแบ่น ในตำบลบุฮม อำเภอเชียงคาน ห่างจากตัวเมืองเชียงคานราว 8 กิโลเมตร โดยในบริเวณวัดพระพุทธบาทภูควายเงินแห่งนี้ ก็คือรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนหินลับพร้า (หินลับมีด) ซึ่งมีลักษณะเป็นรอยแตก แต่ไม่มีอักษรจารึก ขนาดกว้างประมาณ 1 ศอก ยาวประมาณ 1 วา รูปลักษณะเหมือนรอยพระพุทธบาทจริง

 โดยในบริเวณวัดพระพุทธบาทภูควายเงินแห่งนี้ ก็คือรอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่บนหินลับพร้า (หินลับมีด) ซึ่งมีลักษณะเป็นรอยแตก

รอยพระพุทธบาทมีขนาดกว้างประมาณ 16 เซนติเมตรยาวประมาณ 120 เซนติเมตรกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 6 มีนาคมพุทธศักราช 2475


โดย ปางเมื่อพระพุทธเจ้า ได้เสด็จโปรดเวไนยสัตว์โดยเบื้องนภากาศ และทรงประทับรอยพระพุทธบาทไว้บนภูเขาภูควายเงิน เพื่อให้เทวดามวลหมู่มนุษย์เวไนยสัตว์ไว้สักการบูชาเป็นพุทธานุสติประพฤติธรรมให้เข้าถึงสุคติภพและพระนิพพานเป็นที่สุดสถานที่แห่งนี้จึงเรียกว่า“ รอยพระพุทธบาทวัดพระพุทธบาทภูควายเงิน” รอยพระพุทธบาทมีขนาดกว้างประมาณ 16 เซนติเมตรยาวประมาณ 120 เซนติเมตรกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อวันที่ 6 มีนาคมพุทธศักราช 2475

อานิสงส์แห่งการถวายทานนี้เอง ทำให้ชาวนาทำนาขายข้าวได้เงินมากทุกปี จนร่ำรวยถึงขั้นเศรษฐีและด้วยสำนึกในบุญคุณของควาย ที่ช่วยไถนาปลูกข้าวอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ชาวนาจึงเรียกควายตัวนี้ว่า"ควายเงิน" วัดแห่งนี้จึงตั้งชื่อว่า"วัดพระพุทธบาทภูควายเงิน"




จากหลักฐานที่บันทึกประวัติความเป็นมาของวัด ได้ระบุไว้ว่าวัดพระพุทธบาทภูควายเงินสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2300 เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเขาสูงจากระดับทะเลปานกลาง 400 เมตรนอกจากนี้แล้วยังมีเรื่องเล่าต่อกันมาด้วยว่า ในอดีตวัดแห่งนี้เป็นวัดร้าง แต่มักจะมีพระธุดงค์เดินทางมาปักกลดบำเพ็ญเพียรอยู่เสมอ และในบริเวณวัดยังมีรอยพระพุทธบาทปรากฏอยู่ภายใต้ซุ้มอิฐใหญ่ ขนาดพอที่คนจะเข้าไปนั่งได้ 2 คนซึ่งในภาษาถิ่นจะเรียกสิ่งปลูกสร้างในลักษณะนี้ว่า"อุบมุง" ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นชื่อหมู่บ้านทางทิศตะวันออกของวัดคือบ้านอุมุง 


ภายในบริเวณวัดพระพุทธบาทภูควายเงิน


ที่หมู่บ้านอุมุงแห่งนี้ มีชาวนาผู้หนึ่งที่มักพาควายขึ้นมาหาหญ้ากินบนภูเขาบริเวณวัด และเมื่อมีพระธุดงค์ผ่านมาชาวนาผู้นี้ก็จะนำเอาอาหารมาถวายแก่พระธุดงค์เป็น ประจำ ซึ่งอานิสงส์แห่งการถวายทานนี้เอง ทำให้ชาวนาทำนาขายข้าวได้เงินมากทุกปี จนร่ำรวยถึงขั้นเศรษฐีและด้วยสำนึกในบุญคุณของควาย ที่ช่วยไถนาปลูกข้าวอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ชาวนาจึงเรียกควายตัวนี้ว่า"ควายเงิน" วัดแห่งนี้จึงตั้งชื่อว่า"วัดพระพุทธบาทภูควายเงิน"


ตำนานพื้นเมืองที่มาของรอยพระพุทธบาทภูควายเงินแห่งนี้ ก็เล่าว่ามีพรานป่าชื่อ ชีวพิน ได้ออกล่าสัตว์และได้พบพระพุทธเจ้า ณ บริเวณนี้พรานป่าเกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงขอออกบวชเป็นพระภิกษุ


ส่วนตำนานพื้นเมืองที่มาของรอยพระพุทธบาทภูควายเงินแห่งนี้ ก็เล่าว่ามีพรานป่าชื่อ ชีวพิน ได้ออกล่าสัตว์และได้พบพระพุทธเจ้า ณ บริเวณนี้พรานป่าเกิดความเลื่อมใสศรัทธาจึงขอออกบวชเป็นพระภิกษุพระพุทธเจ้าได้ประทานเสพิริยานเป็นพระชีวพันสืบต่อมา พระชีวพินได้ศึกษาพระธรรมวินัยปฏิบัติกรรมฐานจนได้บรรลุธรรมพระชีวพินได้กราบทูลพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดญาติพี่น้องและชาวบ้านที่บ้านอุมง เมื่อพระพุทธเจ้าทรงบิณฑบาตโปรดสัตว์ได้พบชาวนาสองสามีภรรยากำลังไถนาอยู่


ทั้งสองได้หยุดพักถวายอาหารแก่พระพุทธเจ้าพร้อมกราบทูลว่าตนเองเป็นพี่ชายของพระชีวพินซึ่งเป็นสาวกของพระองค์ได้กราบทูลเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน


ซึ่งทั้งสองได้หยุดพักถวายอาหารแก่พระพุทธเจ้าพร้อมกราบทูลว่าตนเองเป็นพี่ชายของพระชีวพินซึ่งเป็นสาวกของพระองค์ได้กราบทูลเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านว่าเมื่อถึงวัน 7 ค่ำ 8 ค่ำหรือ 14 ค่ำ 15 ค่ำจะมีนางยักษิณีแปลงกายเป็นสาวสวยมาหลอกเอาชายหนุ่มบ้านอุมุงบ้านผาแบ่นและบ้านบุฮมไปกินเสมอ ต่อมานางยักขิณีออกมาหาอาหารไม่พบตนในหมู่บ้านเพราะชาวบ้านได้พากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าหมด นางยักขิณีจึงตามไปพบพระพุทธองค์ในกาลนั้น

พระพุทธเจ้าได้ทรมานนางยักขิณีให้ละพยศ ให้เลิกฆ่าสัตว์ และทรงได้แผ่เมตตาให้นางยักษิณี สำหรับนางยักษิณีนี้ชอบเครื่องทรงสีเขียว


ทั้งนี้พระพุทธเจ้าได้ทรมานนางยักขิณีให้ละพยศ ให้เลิกฆ่าสัตว์ และทรงได้แผ่เมตตาให้นางยักษิณี สำหรับนางยักษิณีนี้ชอบเครื่องทรงสีเขียว และมีผิวพรรณวรรณะในตนเองก็มีสีเขียว นางยักขิณีจึงได้นามว่า“ นางเขียวค้อม” ในการนี้ชาวบ้านและนางยักขิณีได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าทรงประทับพระพุทธบาทไว้บนภูเขาแห่งนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงพระพุทธานุภาพประทับรอยพระพุทธบาทบนหินบริเวณภูเขาภูควายเงิน


ภายในบริเวณวัดพระพุทธบาทภูควายเงิน 

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับแล้วชาวนาสองสามีภรรยาได้พบแร่ทองคำที่ที่นาของตนจึงได้นำทองคำนั้นแจกจ่ายให้แก่ชาวบ้านบ้านอุบมุง,บ้านผาแป่น,และบ้านบุฮมทุกหลังคาเรือน ชาวบ้านจึงตั้งชื่อชาวบ้านท่านนี้ว่า“ ท่านเศรษฐีพ่อนาอุ่ม” ส่วนที่มาของคำว่า“ ควายเงินมีดังนี้เมื่อชาวนานำควายตัวนี้มาไร่ทำนาทำให้ขายข้าวได้ราคาดี และในนานั้นเกิตสินแร่ทองคำจนทำให้เจ้าของนาเกิดความร่ำรวยขึ้นเป็นเศรษฐี


ข้อสันนิษฐานอีกประการหนึ่งกล่าวไว้ว่าสีผิวของความเป็นสีเงินยวงมาแต่กำเนิด จึงเรียกควายตัวนี้ว่า“ ควายเงิน” 


และมีข้อสันนิษฐานอีกประการหนึ่งกล่าวไว้ว่าสีผิวของความเป็นสีเงินยวงมาแต่กำเนิด จึงเรียกควายตัวนี้ว่า“ ควายเงิน” อีกส่วนหนึ่งควายตัวนี้เมื่อถึงเวลาพักที่ไปแช่ปรักในแอ่งควาย ซึ่งมีแร่ธาตุเงินอยู่ตัวของควายจึงเป็นสีแร่เงินจึงเป็นที่มาของคำว่า“ ควายเงิน” ดังนั้น“ ควายเงิน” จึงเป็นที่มาของที่อยู่อาศัยของควายตัวนี้ และในทุกๆปีจึงเกิดเป็นประเพณีนมัสการรอยพระพุทธบาทวัดพระพุทธบาทภูควายเงินในวันเพ็ญเดือนสามและในวันเพ็ญเดือนสี่ของทุกปี


ภายในวัดมีการเลี้ยงกระต่ายจำนวนมาก


และอีกหนึ่งจุดสนใจที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาที่วัดแห่งนี้คือ ภายในวัดมีการเลี้ยงกระต่ายจำนวนมากไว้  แต่เดิมทีนั้น หลวงปู่เย็น เจ้าอาวาสได้นำมาเลี้ยงเพียงไม่กี่ตัว ปัจจุบันมีกว่ากว่า 500 ตัว หลากหลายสายพันธุ์ ในกรงแบบเปิด เนื้อที่ 3 ไร่ ให้นักท่องเที่ยวที่มาไหว้พระสามารถเข้าไปในกรงและให้อาหารกระต่ายได้ ซึ่งกลายเป็นหนึ่งจุดเช็คอินที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวมาวัดพระพุทธบาทภูควายเงินอย่างไม่ขาดสายด้วย 


เดิมทีนั้น หลวงปู่เย็น เจ้าอาวาสได้นำมาเลี้ยงเพียงไม่กี่ตัว ปัจจุบันมีกว่ากว่า 500 ตัว หลากหลายสายพันธุ์ ในกรงแบบเปิด



ปัจจุบันการเดินทางมาวัดแห่งนี้ สามารถทำได้อย่างสะดวกโดยใช้เส้นทางสายเชียงคาน-ปากชมที่มีระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตรเมื่อถึงหมู่บ้านผาแบ่นแล้วให้ไปตามทางแยกเข้าบ้านอุมุงอีกประมาณ 3 กิโลเมตรจะถึงทางขึ้นเขาซึ่งเป็นทางลูกรังประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดพระพุทธบาทภูควายเงิน


(เครดิต : https://thai.tourismthailand.org/Attraction/พระพุทธบาทภูควายเงิน)

-----------------------------------------------------------------

บทความบล็อกอื่นๆ มีดังนี้ค่ะ



แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดฉะเชิงเทราเปิดใหม่ในปี 2566 มีที่ใหนบ้าง>>>

รวมเด็ดกับ 17 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดฉะเชิงเทราล่าสุดในปี2566 หรือที่เที่ยวเมืองแปดริ้ว ที่ใครก็ต้องไปเช็คอินถ่ายรูปวิวสวยๆกัน ไม่งั้นไปไม่ถึงนะ มีที่ใหนบ้าง คลิ๊กดูรายละเอียดแหล่งท่องเที่ยวค่ะ>>> 


แหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดอุตรดิตถ์ ไม่ควรพลาดสักนิด ที่จะแวะไปชมกัน>>>

ต้องห้ามพลาดกับ 16 สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในอุตรดิตถ์อยู่ติดลมบน ที่คนต้องแวะไปถ่ายรูปภาพเช็คอินกัน มีที่ใหนบ้าง ตามไปกันเลย คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>


สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอุทยานแห่งชาติเขาสก ต้องห้ามพลาดไปเช็คอินกัน>>

รวมอัพเดทล่าสุดสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมแถวเขาสก ที่ใครก็ต้องพกกล้องไปถ่ายรูปภาพชมวิวสวยๆกัน มีที่ใหนบ้างนั้น ตามไปเที่ยวกันเลย คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>


แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดนครปฐมที่ต้องมาชื่นชมเช็คอินกัน>>>

ห้ามพลาดกับสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดนครปฐม ที่เที่ยวใกล้กรุงเทพ ที่ต้องแวะไปเสพสม ภิรมย์ใจกันสักครา มีที่เที่ยวเปิดใหม่ที่ใหนบ้าง ตามไปกันเลย คลิ๊กดูรายละเอียดบทความค่ะ>>>


อัพเดทข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิตติดลมบนในนจังหวัดมุกดาหาร มีที่ใหนบ้าง>>

แนะนำอัพเดทแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดมุกดาหาร ที่ต้องห้ามพลาดไปยลตระการถ่ายรูปภาพกันสักครา มีที่ใหนบ้างหนา ตามไปลั๊ลลากันเลย คลิ๊กดูรายละเอียดแหล่งท่องเที่ยวค่ะ>>>


รวมจุดเช็คอินสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในสิงคโปร์ล่าสุด มีที่ใหนบ้าง>>>

รวมอัพเดทสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในสิงคโปร์ล่าสุด ที่ต้องหยุดแวะไปถ่ายภาพเช็คอินสวยปังกันสักครั้ง ไม่งั้นถือว่ามาไม่ถึงเลยนะ มีที่ใหนบ้าง ตามไปเที่ยวกันเลย คลิ๊กดูรายละเอียดแหล่งท่องเที่ยวค่ะ>>>


รวมจุดเช็คอินแหล่งท่องเที่ยวยอดฮิตติดลมบนในอำเภอชะอำ มีที่ใหนบ้าง>>>

อัพเดทล่าสุดกับสถานที่ท่องเที่ยวในอำเภอชะอำปี 2565 ที่ต้องห้ามพลาดไปเช็คอินถ่ายรูปกันสักครา ไม่งั้นถือว่ามาไม่ถึงนะ มีที่ใหนบ้าง ตามไปเที่ยวกันเลย คลิ๊กดูรายละเอียดแหล่งท่องเที่ยวค่ะ>>>


แนะนำแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจในเมืองตราด ต้องห้ามพลาดไปชมกัน>>>

รวมเด็ดสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองตราด เมืองต้องห้ามพลาด ต้องไปถ่ายภาพเช็คอินกัน ไม่งั้นมาไม่ถึงนะ มีที่เที่ยวใหนบ้าง ตามไปกันเลย คลิ๊กดูรายละเอียดแหล่งท่องเที่ยวค่ะ>>>


วางแผนไปเที่ยวสิงคโปร์ในปี 2022 ต้องเตรียมเอกสารอะไรไปบ้าง สรุปมาให้จ้า>>>

จัดทริปไปเที่ยวสิงคโปร์ล่าสุดด้วยตัวเองในปี 2022 ต้องเตรียมเอกสารอะไรไปบ้าง แบบผ่านด่านตม.ฉลุย สรุปมาให้แบบง่ายๆ รวบเดียวจ้า คลิ๊กดูรายละเอียดบทความค่ะ>>>



อัพเดทล่าสุดกับสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในเกาะช้าง ที่ต้องกางแผนที่หนีไปถ่ายรูปสวยๆกัน ส่วนจะมีที่ใหนบ้างนั้น แวะไปเที่ยวกันได้เลยจ้า คลิ๊กดูรายละเอียดแหล่งท่องเที่ยวค่ะ>>>



เที่ยวไทยไปให้รู ดูตำนานมูลศาสนา จามเทวีวงศ์ มีที่มาอย่างไร นำมาให้อ่านกัน>>

เที่ยวเมืองไทยไปให้รู้ ดูตำนานมูลศาสนา จามเทวีวงศ์ มีที่มาอย่างไร นำมาให้อ่านเป็นความรู้กันจ้า คลิ๊กดูรายละเอียดบทความค่ะ>>>

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตในจังหวัดลำพูน เมืองรองต้องห้ามพลาดไปเที่ยวถ่ายภาพเช็กอินกัน ไม่งั้นมาไม่ถึง มีที่ใหนบ้าง ตามไปเที่ยวกันเลย คลิ๊กดูรายละเอียดแหล่งท่องเที่ยวค่ะ>>>>


แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจในจังหวัดลำปาง ต้องปักหมุดไปถ่ายภาพกัน>>>

เที่ยวไทยไปล่าสุดกับ 16 พิกัดที่เที่ยวจังหวัดลำปางปี 2022 มองวิวสวยๆ รุ่มระรวยด้วยอาหารอร่อยๆ ตามรอยไปเช็กอินถ่ายภาพกันที่ใหนบ้าง แวะไปกันเลย คลิ๊กดูรายละเอียดแหล่งท่องเที่ยวค่ะ>>>


สถานที่ท่องเที่ยวสุดฮิตติดลมบนในภูเก็ตปี 2022 ไม่ลองไม่รู้ไปเที่ยวกันดู>>

ล่าสุดกับ 12 ที่เที่ยวสุดฮิตในภูเก็ตปี 2022 ไม่ลองไม่รู้ แวะไปเที่ยวทัศนากันดู ให้จุ๊กกรูหัวใจ มีที่ใหนบ้าง ตามไปเช็กอินถ่ายรูปกันเลย คลิ๊กดูรายละเอียดแหล่งท่องเที่ยวค่ะ>>>




แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น