|
จัดทริปโปรแกรมเที่ยวเมืองลำพูน แวะไปเที่ยวถ่ายรูปที่ใหนบ้าง วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในจังหวัดลำพูน มาให้แวะเช็กอินและไหว้พระกันค่ะ |
สำหรับเพื่อนๆเหล่าผู้รักการทัศนาจร ออนซอนหัวใจคนใหน ที่วันหยุดปีนี้ จะจัดทริปไปเที่ยวจังหวัดลำพูน อีกหนึ่งเมืองรองต้องห้ามพลาดอีกแห่งในภาคเหนือ ที่ต้องไปเที่ยวกัน แม้ว่าลำพูนจะเป็นจังหวัดเล็กๆ แต่ก็เป็นเมืองเก่าแก่ ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนานนับพันปี อีกทั้งยังมีโบราณสถาน วัดวาอาราม ให้แวะไปยลตระการมากมายอีกด้วย โดยเฉพาะใครที่เป็นนักท่องเที่ยวสายบุญ แน่นอนว่าต้องไม่พลาดที่จะมาเยือนเมืองนี้กันเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมีอาหารพื้นเมืองรสเด็ดอร่อยล้ำแต้ๆ ให้ได้ลิ้มลองทานกันอย่างสำราญใจอีกด้วย
ส่วนนักทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภาท่านใด ที่วางแผนจะมาเที่ยวเมืองลำพูนอยู่ แต่ยังไม่รู้ว่าหากมาเมืองนี้แล้ว ไม่รู้จะไปเที่ยวที่ใหนดี เมืองนี้มีจุดเช็กอินถ่ายรูปวิวสวยๆ และโบราณสถาน วัดวาอารามสำคัญเก่าแก่ที่ใหนบ้าง เพื่อไม่ให้เว็ปบล็อกร้างไป วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า เลยขอมาแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมล่าสุดในจังหวัดลำพูนปี 2023 (2566) มาให้เพื่อนๆได้ลองแวะไปเที่ยวถ่ายรูปภาพกัน ส่วนจะมีที่ใหนบ้างนั้น จัดกระเป๋าเดินทางไปเที่ยวกันเลยจ้า
|
แผนที่แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในตัวเมืองลำพูน เมืองเล็กๆ มีคูน้ำล้อมรอบตัวเมือง |
สำหรับเพื่อนๆคนใหนที่มาเที่ยวเมืองลำพูน ยังไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวที่ใหนดี วันนี้เดี๊ยนเลยขอมาสรุปสถานที่ท่องเที่ยวดึงดูดตาและตราตรึงในจังหวัดลำพูน มาให้เพื่อนๆได้แวะไปเช็กอินเที่ยวกันดังนี้ค่ะ
|
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย (Hariphunchai National Museum, Lamphun) |
|
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย (Hariphunchai National Museum, Lamphun) |
|
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย (Hariphunchai National Museum, Lamphun) |
|
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย (Hariphunchai National Museum, Lamphun) |
|
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย (Hariphunchai National Museum, Lamphun) |
1.พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย (Hariphunchai National Museum, Lamphun)
ถือเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติแห่งแรกของภาคเหนือก็ว่าได้ ตั้งอยู่เยื้องกับวัดพระธาตุหริภุญไชย เป็นอีกหนึ่งพิพิธภัณฑ์ที่ต้องห้ามพลาด เป็นสถานที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุและศิลปวัตถุที่ได้มาจากวัดสำคัญและแหล่งโบราณคดีในจังหวัดลำพูน ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นที่รวบรวมและจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุที่มีอยู่มากมายในภาคเหนือของประเทศไทยอีกแห่งหนึ่ง
เมื่อแรกตั้งพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้มี่ชื่อเรียกพิพิธภัณฑสถานลำพูน อยู่ในความดูแลของวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร และจังหวัดลำพูน ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ก็ยังคงอยู่ในความดูแลของวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ศาลากลางจังหวัดเรื่อยมา จนกระทั่งกรมศิลปากรได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ และประกาศเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมศิลปากร ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ.2504 เป็นต้นมา
ในปัจจุบันมีอาคารพิพิธภัณฑสถาน 2 หลัง คือ อาคารพิพิธภัณฑสถานลำพูนหลังเดิม ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร (อาคารหลังเดิมได้ถูกรื้อลง และสร้างใหม่บนที่เดิมแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2540) อยู่ในความดูแลของวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร และอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ตั้งอยู่ ณ ถนนอินทยงยศ อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกรมศิลปากร
|
2.วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร (Wat Phrathat Haripunchai Woramahawihan) |
|
2.วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร (Wat Phrathat Haripunchai Woramahawihan) |
|
2.วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร (Wat Phrathat Haripunchai Woramahawihan) |
|
2.วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร (Wat Phrathat Haripunchai Woramahawihan) |
|
2.วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร (Wat Phrathat Haripunchai Woramahawihan) |
2.วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร (Wat Phrathat Haripunchai Woramahawihan)
จัดเป็นหนึ่งในวัดเด่น วัดดังที่สุดในจังหวัดลำพูน ว่ากันว่าหากใครที่มาเที่ยวลำพูน แล้วไม่ได้มากราบวัดพระธาตุหริภุญชัย ถือว่ามาไม่ถึงลำพูนกันเลยทีเดียว เนื่องจากเป็นวัดเก่าแก่อายุนานนับพันปี เป็นปูชนียสถานสำคัญในภาคเหนือ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1651 มีสิ่งที่น่าสนใจคือ ซุ้มประตูซึ่ง ก่อนที่จะเข้าไปในบริเวณวัด ต้องผ่านซุ้มประตูก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร เป็นฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็น ชั้น ๆ เบื้องหน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่าบนแท่นสูงประมาณ 1 เมตร สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นใน สมัยพระ เจ้าอาทิตยราชเมื่อทรงถวายวังให้เป็นสังฆารามวิหารหลวง เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปแล้วจะเห็นวิหารหลังใหญ่ เรียกว่า วิหารหลวง เป็นวิหารหลัง ใหญ่มีพระระเบียงรอบด้านและมีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ. 2466
|
3.พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (Lamphun community museum- Khum Sampantawong) |
|
3.พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (Lamphun community museum- Khum Sampantawong) |
|
3.พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (Lamphun community museum- Khum Sampantawong) |
|
3.พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (Lamphun community museum- Khum Sampantawong) |
|
3.พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (Lamphun community museum- Khum Sampantawong) |
|
3.พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (Lamphun community museum- Khum Sampantawong) |
|
3.พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (Lamphun community museum- Khum Sampantawong) |
3.พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (Lamphun community museum- Khum Sampantawong)
สำหรับใครที่มาเที่ยวเมืองลำพูนแล้ว ต้องไม่พลาดมาเดินชมและเรียนรู้ความเป็นมาของเมืองลำพูน ที่พิพิภัณฑ์ชุมชมเมืองลำพูน ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญไชย เปิดให้ชมทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. โดยเข้าชมฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ดยใช้พื้นที่ของคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ ซึ่งเป็นอาคารเรือนไม้เก่าแก่อายุกว่า 100 ปี เป็นพิพิธภัณฑ์บอกเล่าประวัติความเป็นมาอันยาวนานของเมืองลำพูน เมืองที่มีความศรัทธา ทางพระพุทธศาสนาที่รุ่งเรืองจากอดีต จนถึงปัจจุบัน ร่วมเรียนรู้เมืองลำพูนผ่านภาพถ่าย ทั้ง บุคคล เหตุการณ์ และสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งที่นี่ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยที่มีชีวิตโดยมีการจัดแสดงภาพเก่าแก่ของเมืองลำพูน สิ่งของเครื่องใช้และวิถีชีวิตของ ชาวเมืองลำพูน ในอดีตได้ชมกันอย่างเพลิดเพลินใจ หากใครที่ชอบเที่ยวชมภาพเก่า และอยากย้อนวันวาน หรือชมภาพทำเนียบนางงามลำพูนก็ไม่พลาดมาเดินเที่ยวชมที่พิพิธภัณฑ์เมืองลำพูนแห่งนี้
|
4.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง หรือ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว (Wat Ton Kaeo Museum) |
|
4.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง หรือ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว (Wat Ton Kaeo Museum)
|
|
4.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง หรือ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว (Wat Ton Kaeo Museum)
|
|
4.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง หรือ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว (Wat Ton Kaeo Museum)
|
|
4.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง หรือ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว (Wat Ton Kaeo Museum)
|
|
4.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง หรือ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว (Wat Ton Kaeo Museum)
|
|
4.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง หรือ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว (Wat Ton Kaeo Museum) ผ้าลายโบราณอายุ 103 ปี |
4.พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง (Wat Ton Kaeo Museum)
จัดเป็นพิพิธภัณฑ์เรียนรู้ที่น่าสนใจอีกแห่ง ตั้งอยู่ภายในวัดต้นแก้ว ย่านชุมชนชาวยอง ในตัวเมืองลำพูน โดยพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวยอง หรือเรียกอีกชื่อคือ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว ก่อตั้งโดยพระครูไพศาลธีรคุณเจ้าอาวาสวัดต้นแก้ว เมื่อปีพ.ศ. 2530 โดยเริ่มจากการเก็บสะสมของโบราณ ที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ในวิถีชีวิตประจำวัน ของชาวยองในอดีต จนภายหลังเริ่มมีผู้มีจิตศรัทธา นำสิ่งของเก่ามาบริจาคมากขึ้น จึงได้จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว ภายในพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยอาคารที่ใช้จัดแสดง 2 หลัง อาคารหลังแรกสร้างขึ้นใหม่ และเก็บรวบรวมเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาและสิ่งของต่าง ๆ ส่วนอาคารหลังที่ 2 นั้น ทำจัดแสดงเกี่ยวกับเครื่องพัดยศ และพระเครื่องรุ่นเก่า พระเครื่องสกุลต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงของลำพูนเอาไว้มากมายให้ผู้ที่สนใจเข้าไปชม โดยเฉพาะหากใครที่ต้องการดูผ้าทอเก่าดั้งเดิม ลายฉบับต้นกำเนิดแท้ ต้องไม่พลาดมาชมที่พิพิธภัณฑ์ผ้าที่วัดต้นแก้ว
|
5.อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี (Camadevi Monument -The landmark of Hripunchai's first ruler) |
|
5.อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี (Camadevi Monument -The landmark of Hripunchai's first ruler) |
|
5.อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี (Camadevi Monument -The landmark of Hripunchai's first ruler) |
|
5.อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี (Camadevi Monument -The landmark of Hripunchai's first ruler) |
5.อนุสาวรีย์พระนางจามเทวี (Camadevi Monument -The landmark of Hripunchai's first ruler)
และหนึ่งในที่เที่ยวต้องห้ามพลาดอีกแห่ง เมื่อมาไหว้พระธาตุหริภุญชัยแล้ว ก็ต้องไม่พลาด มาสักการะอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างอาณาจักรแห่งนี้จนเป็นปึกแผ่น โดยอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองลำพูน ตำบลในเมือง บริเวณด้านหลังตลาดหนองดอก ห่างจากศาลากลางจังหวัดลำพูนประมาณ 1 กิโลเมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางจามเทวี ซึ่งเป็นองค์ปฐมกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย พระนางทรงเป็นปราชญ์ที่มีคุณธรรม เป็นนักรบที่มีความสามารถและกล้าหาญชาญชัย พระนางคือผู้นำพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรมมาเผยแผ่ในดินแดนแถบนี้จนรุ่งเรื่องสืบมาจนถึงปัจจุบัน
|
6.วัดพระนางจามเทวี (Wat Chamthewi) |
|
6.วัดพระนางจามเทวี (Wat Chamthewi) |
|
6.วัดพระนางจามเทวี (Wat Chamthewi) |
|
6.วัดพระนางจามเทวี (Wat Chamthewi) |
|
6.วัดพระนางจามเทวี (Wat Chamthewi) |
|
6.วัดพระนางจามเทวี (Wat Chamthewi) |
6.วัดพระนางจามเทวี (Wat Chamthewi)
สำหรับวัดจามเทวี หรือเดิมชื่อ วัดกู่กุด ตั้งอยู่บนถนนจามเทวี หมู่ 5 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เป็นวัดเก่าแก่ สมัยล้านนา มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ พระสุวรรณจังโกฏเจดีย์ เชื่อกันว่าเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของพระนางจามเทวี ต่อมาจะเป็นสมัยใดไม่ทราบแน่ชัดยอดพระเจดีย์ได้หักหายไป ชาวบ้านจึงเรียกว่ากู่กุดพระเจดีย์ องค์นี้มีชื่อเป็น ทางการว่า พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏิ พระเจดีย์องค์นี้ ถือเป็นแบบสถาปัตยกรรมที่มีความสําคัญในศิลปกรรมหริภุญชัย นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์แปดเหลี่ยม ลักษณะทางสถาปัตยกรรมมีแผนผังเป็นรูปแปดเหลี่ยมซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป มีความสําคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ และโบราณคดีตามหลักฐานที่ได้พบศิลาจารึกเชื่อว่า พระราชโอรส ของพระนางจามเทวีคือ พระเจดีย์มหันตยศ และพระเจ้าอนันตยศโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อถวายพระเพลิง แล้วโปรดให้สร้าง เจดีย์เหลี่ยมมียอดหุ้มด้วยทอง เรียกชื่อว่า สุวรรณจังโกฏิ โดยวัดจามเทวี ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2478
|
7.วัดมหาวันวรวิหาร (Wat Mahawan Woramahawihan) |
|
7.วัดมหาวันวรวิหาร (Wat Mahawan Woramahawihan) |
|
7.วัดมหาวันวรวิหาร (Wat Mahawan Woramahawihan) |
|
7.วัดมหาวันวรวิหาร (Wat Mahawan Woramahawihan) |
|
7.วัดมหาวันวรวิหาร (Wat Mahawan Woramahawihan) |
7.วัดมหาวันวรวิหาร (Wat Mahawan Woramahawihan)
ตั้งอยู่ที่ถนนจามเทวี อำเภอเมืองลำพูน เป็นวัดที่เก่าแก่ ซึ่งมีอายุกว่า 1,300 ปี สร้างในสมัยพระนางจามเทวี มีพระพุทธรูปปางนาคปรกที่อัญเชิญมาจากเมืองละโว้ กรุพระเครื่องชื่อดัง คือ พระรอดมหาวัน ถือเป็นแบบพิมพ์องค์พระรอดที่มีชื่อเสียง เจดีย์วัดมหาวันเป็นที่บรรจุพระรอดลำพูน 1 ใน 5 พระเครื่องชุดเบญจภาคีที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด เชื่อกันว่า พระรอดมีความศักดิ์สิทธิ์หรือความขลังในด้านแคล้วคลาด ปราศจากภัยอันตรายและความวิบัติต่างๆ
|
8.วัดพระยืน (Wat Phra Yuen) |
|
8.วัดพระยืน (Wat Phra Yuen) |
|
8.วัดพระยืน (Wat Phra Yuen) |
|
8.วัดพระยืน (Wat Phra Yuen) |
|
8.วัดพระยืน (Wat Phra Yuen) |
8.วัดพระยืน (Wat Phra Yuen)
จัดเป็นวัดสำคัญหนึ่งในสี่ของวัดสี่มุมเมืองที่พระนางจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัยนคร วัดพระยืน แต่เดิมไม่ได้มีชื่อนี้ สันนิษฐานว่าพระนางจามเทวีทรงสร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1213 (หลังครองราชย์ได้ 7 ปี) ตามตำนานเรียกชื่อวัดนี้ว่า อรัญญิการาม โดยภายในวัดมีเจดีย์เก่าแก่สำคัญคือ เจดีย์พระยืน เป็นศิลปะพุกาม สร้างบนยกพื้นสูงเป็นชั้นลดหลั่น ลานประทักษิณชั้นบนมีเจดีย์ขนาดเล็กประจำมุม เรือนธาตุเป็นทรงสี่เหลี่ยมมีจระนำยื่นออกมาทั้งสี่ด้าน เหนือเรือนธาตุเป็นหลังคาลาดรองรับชุดฐานซ้อนต่อยอดทรงระฆัง เจดีย์องค์ใหม่ที่สร้างครอบของเดิมนี้ เจ้าหลวงอินทยงยศเจ้าผู้ครองนครลำพูนได้ให้หนานปัญญาเมืองชาวบ้านหนองเส้ง ซึ่งเป็นช่างประจำคุ้มหลวง เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง วัดยังมีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นทางด้านหลังวัดที่ก่อตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ. 2547 จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้เก่าแก่ต่าง ๆ อาทิ ตู้พระธรรม หีบพระธรรม เครื่องเขิน ถ้วยชาม สัตตภัณฑ์ ขันโตก ผ้าพระบฏ เป็นต้น
|
9.กู่ช้างกู่ม้า (Ku Chang - Ku Ma) |
|
9.กู่ช้างกู่ม้า (Ku Chang - Ku Ma) |
|
9.กู่ช้างกู่ม้า (Ku Chang - Ku Ma) |
|
9.กู่ช้างกู่ม้า (Ku Chang - Ku Ma) |
|
9.กู่ช้างกู่ม้า (Ku Chang - Ku Ma) |
9.กู่ช้างกู่ม้า (Ku Chang - Ku Ma)
เป็นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองอีกแห่งหนึ่งที่ชาวลำพูนให้ความเคารพนับถืออย่างมาก ด้วยความเชื่อว่าเป็นสุสานช้างศึก - ม้าศึก คู่บารมีของพระนางจามเทวี กู่ช้าง กู่ม้า เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่คู่กัน กู่ทั้งสองนี้ตั้งอยู่ใกล้ชุมชนวัดไก่แก้ว ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน ห่างจากตัวเมืองลำพูนไปทางเหนือ (ออกจากเมืองลำพูนไปทาง ถนนเชียงใหม่ ลำพูนสายเก่า) ประมาณ 2 กิโลเมตร
ชาวลำพูนให้ความเคารพนับถือกู่ช้างมาก มีการสร้างศาลเจ้าพ่อกู่ช้างไว้ในทางทิศตะวันออกใกล้กับองค์เจดีย์ด้านหน้า ศาลเจ้าพ่อกู่ช้าง มีรูปปั้นจำลองของปู่ก่ำงาเขียว เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้มาสักการะ เชื่อกันว่าหากได้ลอดท้องพระยาช้างเชือกนี้ จะเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา ในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9 ของทุกปี จะมีงานรดน้ำดำหัว และบวงสรวงเจ้าพ่อ เพื่อขอขมาลาโทษ และขอพรให้ปกปักษ์รักษาประชาชนจากความทุกข์ทั้งปวงอีกด้วย
|
10.อุโมงค์ขุนตาล (Khun Tan Train Tunnel) |
|
10.อุโมงค์ขุนตาล (Khun Tan Train Tunnel) |
|
10.อุโมงค์ขุนตาล (Khun Tan Train Tunnel) |
|
10.อุโมงค์ขุนตาล (Khun Tan Train Tunnel) |
|
10.อุโมงค์ขุนตาล (Khun Tan Train Tunnel) |
|
10.อุโมงค์ขุนตาล (Khun Tan Train Tunnel) |
10.อุโมงค์ขุนตาล (Khun Tan Train Tunnel)
จัดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวมีชื่อเสียงทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอีกแห่งในจังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล อำเภอแม่ทา โดยอุโมงค์ดังกล่าว เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาวถึง 1,352.10 เมตร เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.2540 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2461 เป็นระยะเวลา 11 ปี และช่วงระหว่างการก่อสร้างจึงต้องใช้ความอุตสาหะพากเพียรอย่างยิ่ง เครื่องมือและสัมภาระต่าง ๆ ที่ใช้ก่อสร้างต้องใช้ช้างและเกวียนบรรทุกไป พอถึงบริเวณที่ที่เป็นภูเขาต้องใช้วิธีชักรอกขึ้นเขาลงเขาอย่างทุลักทุเล
นักท่องเที่ยวสามารถแวะไปถ่ายรูปที่อุโมงค์ขุนตาลแห่งนี้ได้โดยการขับรถส่วนตัวไปเอง หรือจะเปลี่ยนบรรยากาศไปนั่งรถไฟก็ได้สัมผัสความเป็นธรรมชาติที่สวยงาม
|
11.สะพานขาวทาชมพู (Tha Chumphu White Bridge ) |
|
11.สะพานขาวทาชมพู (Tha Chumphu White Bridge ) |
|
11.สะพานขาวทาชมพู (Tha Chumphu White Bridge ) |
|
11.สะพานขาวทาชมพู (Tha Chumphu White Bridge ) |
|
11.สะพานขาวทาชมพู (Tha Chumphu White Bridge ) |
|
11.สะพานขาวทาชมพู (Tha Chumphu White Bridge ) |
11.สะพานขาวทาชมพู (Tha Chumphu White Bridge )
และอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวเช็กอินถ่ายรูป มีชื่อเสียงที่สุดอีกแห่งของจังหวัดลำพูน คือ สะพานขาวทาชมภู สะพานสีขาวโดดเด่น สถาปัตยรรมสวยงาม เป็นสะพานโค้งครึ่งวงกลมคู่ทาสีขาวทำด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก และเป็นทางรถไฟที่ทอดข้ามแม่น้ำทา สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2461 และสร้างเสร็จในปีพ.ศ. 2463 โดยมีรูปทรงเป็นทรงโค้งทาสีขาวในแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก นับเป็นสะพานประวัติศาสตร์ จึงทำให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ
|
12.วัดสันป่ายางหลวง (Wat San Pa Yang Luang) |
|
12.วัดสันป่ายางหลวง (Wat San Pa Yang Luang) |
|
12.วัดสันป่ายางหลวง (Wat San Pa Yang Luang) |
|
12.วัดสันป่ายางหลวง (Wat San Pa Yang Luang) |
|
12.วัดสันป่ายางหลวง (Wat San Pa Yang Luang) |
12.วัดสันป่ายางหลวง (Wat San Pa Yang Luang)
เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมสวยงาม และจัดให้เป็นหนึ่งในวัดที่มีพระวิหารงดงามที่สุดอีกแห่งของเมืองไทย วัดตั้งอยู่ในตัวเมืองลำพูน จุดเด่นของวัดสันป่ายางหลวงคือ ภายในวิหารพระเขียวโขงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธอัญญรัตนมหานาทีศรีหริภุญชัย หรือพระเขียวโขง เป็นพระพุทธรูปแกะสลักจากหินแม่น้ำโขง บ้านดอนมหาวัน ที่ใกล้กับประเทศลาว ซึ่งมีการแกะสลักลายปูนปั้นอย่างวิจิตรงดงาม ตามแบบสถาปัตยกรรมนีโอล้านนา นอกจากนี้แล้ว วัดสันป่ายางหลวงยังเป็นที่ถวายพระเพลิง พระศพพระนางจามเทวี ซึ่งเป็นกษัตรีองค์แรกที่ปกครองนครหริภุญชัยอีกด้วย
|
13.วัดพระพุทธบาทตากผ้า (Wat phra phutthabat tak pha) |
|
13.วัดพระพุทธบาทตากผ้า (Wat phra phutthabat tak pha) |
|
13.วัดพระพุทธบาทตากผ้า (Wat phra phutthabat tak pha) |
|
13.วัดพระพุทธบาทตากผ้า (Wat phra phutthabat tak pha) |
|
13.วัดพระพุทธบาทตากผ้า (Wat phra phutthabat tak pha) |
|
13.วัดพระพุทธบาทตากผ้า (Wat phra phutthabat tak pha) |
13.วัดพระพุทธบาทตากผ้า (Wat phra phutthabat tak pha)
สำหรับวัดพระพุทธบาทตากผ้า ถือเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเนื้อที่ประมาณ 175 ไร่ ซึ่งเป็นเนินเขาเตี้ยๆ อยู่ใกล้ดอย (เขา) 2 ลูกคือ ดอยช้างและดอยเครือ อยู่ห่างจากเมืองลำพูนประมาณ 19 กิโลเมตร เป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำพูน หรือของภาคเหนือ วัดพระพุทธบาทตากผ้า ตั้งอยู่ระหว่างดอยม่อนช้างกับดอยเครือ นับถือกันว่าเป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าที่มาประทับไว้ตรงบริเวณที่นำผ้าจีวรมาตาก มีรอยตารางบนผาหินที่เชื่อว่าคือรอยตากผ้าจีวรพระพุทธเจ้า ปัจจุบัน วัดพระพุทธบาทตากผ้า เป็นศูนย์กลางที่สำคัญของการศึกษาพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรม และบาลี ของพระภิกษุสามเณรในภาคเหนือ นอกจากนี้แล้ว ทางวัดได้จัดให้มีการปฏิบัติธรรมควบคู่ไปกับการศึกษา ได้จัดตั้งสำนักวิปัสสนากรรมฐานขึ้น เพื่อเป็นที่ปฏิบัติธรรมสำหรับพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา และผู้สนใจทั่วไป
|
14.วัดพระคงฤาษี (Wat Wat Pra Kong Ruesi) |
|
14.วัดพระคงฤาษี (Wat Wat Pra Kong Ruesi) |
|
14.วัดพระคงฤาษี (Wat Wat Pra Kong Ruesi) |
|
14.วัดพระคงฤาษี (Wat Wat Pra Kong Ruesi) |
14.วัดพระคงฤาษี (Wat Wat Pra Kong Ruesi)
เป็นอีกหนึ่งวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ภายในตัวเมืองลำพูน ที่สร้างขึ้นในสมัยพระนางจามเทวีครองเมืองหริภุญชัย ในวัดนี้มี พระคง ซึ่งเป็นพระเครื่องที่มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่นับถืออีกองค์หนึ่งของเมืองลำพูน เป็น 4 วัด 4 มุมเมือง ที่มีการจุดพบพระเครื่องของเมืองลำพูน เชื่อว่าพระเครื่องที่ขุดได้นี้เป็นเป็นพระคง ที่ วาสุเทพฤาษี และสุกกทันตฤาษี สร้างวัด จึงเรียกว่า วัดพระคงฤาษี แต่นั้นเป็นต้นมา
และสำหรับข้อมูลแนะนำที่เที่ยวเปิดใหม่ในเมืองลำพูน ซึ่งได้นำมาเสนอในบทความเว็ปไซต์บล็อกนี้ น่าจะมีตัวเลือกให้กับผู้ที่กำลังวางแผนมองหา สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมสวยๆในจังหวัดลำพูนอยู่ไม่มากก็น้อย หากข้อมูลแนะนำแหล่งท่องเที่ยวในย่านเมืองเก่าลำพูน มีข้อผิดพลาดประการใด ดิฉันต้องขออภัยด้วยนะคะ ขอบพระคุณผู้อ่านทุกๆคน ที่เสียสละเวลาเข้ามาเปิดสไลด์อ่านดูกัน หวังว่าจะได้พบกันอีกครั้งในบทถัดไปค่ะ.....จากคุณนายเว่อร์ เทอร์ชอบเที่ยวกินนอน
---------------------------------------------------------------------------------------
0 ความคิดเห็น