สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านและนักทัศนาจร ออนซอนหัวใจทุกๆคนอีกครั้งค่ะ ก็กลับมาพบปะทักทาย ซำบายดีกันอีกเช่นเคยนะคะ กับบทความสาระน่ารู้เกี่ยวสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองไทย ที่จะสรรหามาให้อ่านกันค่ะ หลังจากที่บทความบล็อกก่อนหน้าได้พาไปชม วัดแก้วพิจิตร วัดเก่าแก่สำคัญแห่งจังหวัดปราจีนบุรีกันไปแล้ว อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอีกแห่งที่ใครมาเมืองปราจีนบุรีต้องไปเช็คอินกันให้ได้นั้นก็คือ ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร หรือที่หลายๆคนเรียกว่า โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จัดเป็นหนึ่งตึกเก่าแก่มีสถาปัตยกรรมสวยงามและยังเป็นแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์แพทย์แผนไทยอีกด้วย
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี (Chaophraya-Abhaibhubejh-Building, Prachinburi Province)
สำหรับตัวอาคารตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ตั้งอยู่ภายในโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เลขที่ 32/7 หมู่ 12 ถนนปราจีนอนุสรณ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2.5 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2452 เดิมทีเพื่อใช้เป็นที่ประทับรับเสด็จของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในยามที่เสด็จประพาสมายังปราจีนบุรี ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร กรมศิลปากรจะประกาศขึ้นทะเบียนตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเป็นโบราณสถานของชาติในปี 2533
และด้วยความโดดเด่นเป็นที่สะดุดตาจากสถาปัตยกรรมสไตล์บาโรก (Baroque) ของตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ทำให้มีเหล่าอาคันตุกะเดินทางมาเยือนอยู่เสมอ โดย ตัวอาคารสองชั้นฉาบสีเหลืองไข่ไก่ ด้านหน้ามีมุขยื่นออกมาตรงกลางเป็นโถงทรงโดม กำแพงด้านนอกมีลายพฤกษาปั้นจากปูนประดับและซุ้มประตูหน้าต่างอย่างงดงาม
|
อาคารมีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นสถาปัตยกรรมบาโรก (Baroque) แสดงออกอย่างไม่สมดุล(Asymmetry) |
ตัวอาคารมีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นสถาปัตยกรรมบาโรก (Baroque) แสดงออกอย่างไม่สมดุล(Asymmetry) มีความเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงด้วยลวดลายม้วนงอหรือขด ไม่ว่าจะเป็นลายปูนปั้นที่เป็นรูปกระถางต้นปาล์มที่อยู่หน้าบัน นอกจากนี้ตามซุ้มประตู หน้าต่าง เสา ขื่อ คานจะตกแต่งด้วยปูนปั้นลวดลายใบไม้
|
ภายในอาคารเป็นพิพิธภัณฑ์แพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร ศูนย์การรวบรวมอนุรักษ์ตำราไทย สมุนไพรไทย การแพทย์แผนไทย |
โดยภายในอาคารเป็นพิพิธภัณฑ์แพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร ศูนย์การรวบรวมอนุรักษ์ตำราไทย สมุนไพรไทย การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านของจังหวัดปราจีนบุรี รวมถึงเป็นแหล่งการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรและการแพทย์ท้องถิ่น ทำให้ถูกจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญต้องห้ามพลาดของจังหวัดปราจีนบุรีด้วย
ประวัติของบ้านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2452 เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) ว่าจ้าง บริษัทโฮวาร์ด เออร์สกิน สร้างตึกเพื่อใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อจะใช้เป็นที่ประทับแรมของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในกรณีที่พระองค์เสด็จมายังมณฑลปราจีนบุรีอีก แต่พระองค์เสด็จสรรคตเสียก่อนในปีพุทธศักราช 2453
|
เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรมตึกหลังนี้เป็นมรดกตกทอดมาถึงพระยาอภัยวงศ์วรเศรฐ และถวายเป็นของทูนพระขวัญ ในวันอภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว |
|
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานบ้านและที่ดินทั้งหมดเป็นสิทธิ์ขาดแก่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี |
ต่อมา ในปี พ.ศ. 2455 ตึกหลังนี้ได้ใช้รับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชวงศ์อีกหลายพระองค์ เมื่อท่านถึงแก่อสัญกรรมตึกหลังนี้เป็นมรดกตกทอดมาถึงพระยาอภัยวงศ์วรเศรฐ และถวายเป็นของทูนพระขวัญ ในวันอภิเษกสมรสของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 (พระนามเดิมว่า เครือแก้ว อภัยวงศ์ ทรงมีศักดิ์เป็นหลานปู่ของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานบ้านและที่ดินทั้งหมดเป็นสิทธิ์ขาดแก่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ขณะพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีประทับที่ประเทศอังกฤษ จึงพระราชทานที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดนั้นแก่มณฑลทหารบกที่ 2 จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อใช้เป็น โรงพยาบาลปราจีนบุรี ต่อมาเมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทย พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ได้พระราชทานนามใหม่เป็น โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2509 โดยมีสมเด็จเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เสด็จฯมาทรงเปิดป้าย โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร พร้อมทั้งทรงรับโรงพยาบาลแห่งนี้ไว้ในพระอุปถัมภ์ทั้งสองพระองค์
เดิมตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นตึกอำนวยการ ได้มีการดัดแปลงทำชั้นล่างเป็นห้องตรวจโรค ห้องจำหน่ายยา และห้องผ่าตัด ชั้นบนทำหน้าที่รับคนไขัหญิง โดยมีเรือนคนไข้ชายแยกต่างหาก มีเตียงรับคนไข้ 50 เตียง มีโรงประกอบอาหาร คนไข้ โรงซักฟอก ที่เก็บศพ เรือนพักคนงาน บ้านนายแพทย์ อย่างละ 1 หลัง บ้านพักพยาบาลอีก 3 หลัง การเข้าถึงโรงพยาบาล เข้าได้ทางเรือเพียงอย่างเดียว จนมีการสร้างถนนขึ้นในปี พ.ศ. 2486 จนถึงปี พ.ศ. 2512 ตึกอำนวยการในปัจจุบันได้ก่อสร้างเสร็จ ส่วนตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรในการประชุมสัมมนาในบางกรณี
ในปี พ.ศ. 2533 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเป็นโบราณสถานของชาติ ต่อมาได้มีการบูรณะตึกครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2537 โดยงบประมาณของจังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 2.5 ล้านบาท และคุณป้าจรวย ประสมสน บริจาคสมทบอีก 100,000 บาท โดยมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี และพิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศรขึ้น
---------------------------------------------------------------------------------------
0 ความคิดเห็น