เพื่อไม่ให้เว็ปไซต์ร้างไป วันนี้ คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอนำเสนอสาระเกี่ยวกับ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระที่นั่งเก่าแก่ของเมืองไทย มาให้ได้อ่านกันค่ะ |
ก็ขอสวัสดีทักทาย ซำบายดีคุณผู้อ่านบนโลกออนไลน์ที่น่ารักสดใส และเหล่าเพื่อนๆผู้รักการทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา โสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจทุกๆคนค่ะ ก็กลับมาพบปะกันอีกเช่นเคยนะคะ กับบทความรอบรู้เรื่องเมืองไทย ที่จะสรรหามาให้ได่อ่านกัน หลังจากที่บทความก่อนหน้าได้พาไปเที่ยวชมและรู้จัก ยักษ์ใหญ่ที่วัดพระแก้วกันไปแล้ว บทความบล็อกนี้ก็ขอพาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับ อาคารสถาปัตยกรรมล้ำค่าสวยงามอีกแห่งของไทย นั้นก็คือ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ อีกหนึ่งพระที่นั่งสำคัญภายในวังหน้า ที่ใครแวะมาเที่ยวศึกษาเดินชมที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ก็ไม่พลาดต้องไปออนซอนเข้าไปชมกันสักครั้ง มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจไม่น้อย มาให้ได้อ่านกันค่ะ
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร (Phutthaisawan Hall, Bangkok National Museum) |
สาระความรู้เกี่ยวกับ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร (Phutthaisawan Hall, Bangkok National Museum)
ประวัติความเป็นมาของพระที่นั่งพุทไธสวรรย์นั้น เป็นพระที่นั่งภายในพระราชวังบวรสถานมงคล ปัจจุบัน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สร้างขึ้นโดยพระนครสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สร้างพระที่นั่งขึ้น เดิมมีพระดำริว่าจะใช้สำหรับเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีตรุษสารท พระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกเธอ
พระองค์จึงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาที่พระนคร แล้วทรงพระราชอุทิศพระที่นั่งองค์นี้ |
ในระหว่างนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2330 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีพระบรมราชโองการให้พระองค์เสด็จขึ้นไปยังเมืองเชียงใหม่ เพื่อสำรวจการสร้างเมืองขึ้นใหม่ให้ประชาชนอยู่ได้ตามปกติ ซึ่งในขณะนั้น เมืองเชียงใหม่อาจจะถือได้ว่าเป็นเมืองร้างเนื่องจากเกิดศึกสงครามอยู่บ่อยครั้ง ประชาชนส่วนใหญ่จึงอพยพลี้ภัยไปอาศัยอยู่เมืองอื่น
ในระหว่างการสำรวจนั้น พระองค์ได้พบพระพุทธสิหิงค์ และทรงระลึกได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่เคยประดิษฐาน ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา พระองค์จึงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาที่พระนคร แล้วทรงพระราชอุทิศพระที่นั่งองค์นี้ พร้อมทั้งสร้างปราสาททองห้ายอดถวายเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ และประทานนามพระที่นั่งว่า "พระที่นั่งสุทธาสวรรย์"
ดังนั้น จึงโปรดฯ ให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์และพระพุทธรูปอื่น ๆ มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งแต่นั้นมา |
ภายหลังการเสด็จทิวงคตของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระราชดำริว่า "พระพุทธรูปเงินทองและของพุทธบูชามีอยู่ในพระที่นั่งสุทธาสวรรย์มาก หากทิ้งไว้ผู้ร้ายจะลักเอาไปเสีย" ดังนั้น จึงโปรดฯ ให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์และพระพุทธรูปอื่น ๆ มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตั้งแต่นั้นมา
ในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ พระองค์โปรดให้รื้อปราสาททองห้ายอดซึ่งเคยประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ออก แล้วให้ตั้งพระแท่นเศวตฉัตรแทนเพื่อใช้เป็นที่เสด็จออกแขกเมือง และพระสงฆ์ถวายพระธรรมเทศนา
ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า การปฏิสังขรณ์ในครั้งนี้เป็นที่น่าชมอย่างหนึ่งที่ของเดิมสิ่งใดดีเอาไว้หมดทุกอย่าง |
ต่อมา สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพทรงปฏิสังขรณ์พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ใหม่ ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า การปฏิสังขรณ์ในครั้งนี้เป็นที่น่าชมอย่างหนึ่งที่ของเดิมสิ่งใดดีเอาไว้หมดทุกอย่าง เป็นแต่ซ่อมแซมที่ชำรุด
ยังแลเห็นของเดิมที่ทำโดยประณีตบรรจงมาจนทุกวันนี้ พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงเปลี่ยนนาม"พระที่นั่งสุทธาสวรรย์" เป็น "พระที่นั่งพุทไธสวรรย์" อาจจะด้วยเหตุผล 3 ประการ |
จึงยังแลเห็นของเดิมที่ทำโดยประณีตบรรจงมาจนทุกวันนี้ พร้อมกันนี้ พระองค์ทรงเปลี่ยนนาม"พระที่นั่งสุทธาสวรรย์" เป็น "พระที่นั่งพุทไธสวรรย์" อาจจะด้วยเหตุผล 3 ประการ ได้แก่
1.เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ ขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งมีชื่อที่ใกล้เคียงกับพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ดังนั้น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพจึงเปลี่ยนนามพระที่นั่งเพื่อให้แตกต่างไป
2.สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดให้สร้างพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยขึ้นใหม่ ดังนั้น จึงได้เปลี่ยนชื่อพระที่นั่งเป็น "พระที่นั่งพุทไธสวรรย์" เพื่อให้ชื่อคล้องจองกัน
3.หลังจากการสร้างพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พระองค์ทรงให้ย้ายพระแท่นเศวตฉัตรซึ่งเดิมตั้งอยู่ที่พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ไปไว้ที่พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย พระองค์คงมีพระราชดำริให้พระที่นั่งสุทธาสวรรย์เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดังที่เคยเป็น จึงเปลี่ยนพระที่นั่งใหม่เป็น "พระที่นั่งพุทไธสวรรย์"
หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับที่พระบวรราชวัง พระองค์ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กลับมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ดังเดิม
คำว่า "คชกรรมประเวช" มีความหมายว่า "การเข้ามาสู่ช้าง" ณ บริเวณชาลาหน้ามุขของพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ภาพเก่าของพระที่นั่งคชกรรมประเวชก่อนที่จะถูกรื้อทิ้งไป |
นอกจากนี้แล้ว ด้านหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ก็เป็นที่ตั้งฐานเดิมของพระที่นั่งคชกรรมประเวชอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันไม่หลงเหลือให้เห็นแล้ว เหลือเพียงแค่ฐานเท่านั้น
โดยคำว่า "คชกรรมประเวช" มีความหมายว่า "การเข้ามาสู่ช้าง" ณ บริเวณชาลาหน้ามุขของพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ เดิมเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งคชกรรมประเวช ซึ่งเป็นพระที่นั่งทรงปราสาทไม้มีเกยสำหรับทรงพระคชาธาร (ช้างทรง) อยู่ทางด้านหน้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (ช่วงปี พ.ศ.2394-2411) โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเป็นพระเกียรติยศเฉพาะพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว คราวที่ทรงรับพระบวรราชาภิเษกด้วยพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 และเสด็จมาประทับที่พระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) แห่งนี้ นับเป็นพระที่นั่งปราสาทเพียงองค์เดียว ที่สร้างขึ้นในพระราชวังบวรสถานมงคล
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (ช่วงปี พ.ศ.2411-2453) พระที่นั่งคชกรรมประเวศ เคยเป็นที่ประกอบพิธีพืชมงคลจรลพระนังคัลแรกนาขวัญ และในเวลาต่อมา พระที่นั่งองค์นี้ชำรุดไปมาก ยากแก่การปฎิสังขรณ์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อลง ยังคงเหลือเพียงส่วนฐานกับเกยพระคชาธาร (เกยช้าง) ตราบเท่าทุกวันนี้
ยังประดิษฐาน รูปหล่อองค์พระนารายณ์ทรงปืน โดยพระนารายณ์ คือนามที่คนไทยเรียกพระวิษณุเหตุที่ใช้คำว่า "ทรงปืน" เพราะในสมัยโบราณอาวุธที่ยิงด้วยวัตถุพุ่งไปข้างหน้า เรียกว่า "ปืน" |
และบริเวณด้านหน้าของของพระที่นั่งคชกรรมประเวช ก็ยังประดิษฐาน รูปหล่อองค์พระนารายณ์ทรงปืน โดยพระนารายณ์ คือนามที่คนไทยเรียกพระวิษณุ เป็นเทพเจ้าผู้คุ้มครองในศาสนาฮินดู พระองค์อวตารเป็นพระรามและทรงธนูเป็นสัญลักษณ์ เหตุที่ใช้คำว่า "ทรงปืน" เพราะในสมัยโบราณอาวุธที่ยิงด้วยวัตถุพุ่งไปข้างหน้า เรียกว่า "ปืน" อาวุธลักษณะแบบหน้าไม้หรือธนู ใช้ยิงด้วยลูกศรอาบยาพิษเรียกว่า "ปืนยา" อาวุธที่ใช้ไฟหรือดินระเบิดอัดดันด้วยลม หรือลูกกระสุนยิงออกไปเรียกว่า "ปืนไฟ"
"พระนารายณ์ทรงปืน" นี้ขึ้น เพื่อนำไปประดิษฐานหน้าพระตำหนัก ณ พระรามราชนิเวศน์ (วังบ้านปืน) จังหวัดเพชรบุรี |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าให้นายอัลฟอนโซ ทอร์นาเรลลี ประติมากรชาวอิตาลี ซึ่งเข้ามารับราชการในสมัยของพระองค์ หล่อประติมากรรมสำริด "พระนารายณ์ทรงปืน" นี้ขึ้น เพื่อนำไปประดิษฐานหน้าพระตำหนัก ณ พระรามราชนิเวศน์ (วังบ้านปืน) จังหวัดเพชรบุรี แต่ยังดำเนินการค้างอยู่ มาสำเร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2453-2468) และนำมาประดิษฐาน ณ เกยพระคชาธารหน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ปรากฎให้เห็นถึงปัจจุบัน
และภายในพระที่นั่งยังมีวัตถุลำค่าอย่างต้นไม้ทองที่อยู่ในตู้กระจกอย่างดีเป็นภาพเทพชุมนุม ศิลปะไทยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นหนึ่งในภาพเขียนที่สวยงามมาก โดยเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ราว พ.ศ. 2338 – 2340 เป็นภาพเล่าเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติ มีทั้งหมด 28 ภาพ เขียนเป็นภาพแบบ 2 มิติ ใช้สีฝุ่นผสมกาว ตามแบบจิตรกรรมไทยประเพณี โครงสีส่วนใหญ่เป็นสีแดง ซึ่งยังถูกอนุรักษ์และเป็นต้นฉบับการเขียนภาพลายไทยเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชายโลกอีกด้วย
เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทความบล็อกอื่นๆ มีดังนี้
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรูป ฝ่าพระบาทที่เท้าพระนอนวัดโพธิ์ มีความหมายว่าอะไร>> |
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ฝ่าพระบาทที่เท้าของพระนอนวัดโพธิ์ รูปสัญลักษณ์ที่หลายคนสงสัย มีความหมายว่าอะไร นำมาให้อ่านกัน คลิ๊กดูรายละเอียดบทความค่ะ>>>
ตำนานบอกเล่าอันเก่าแก่ของบ่อน้ำพุร้อนพระร่วงในเมืองชากังราว คลิ๊กดูบทความ>>> |
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตำนานบอกเล่าอันเก่าแก่ของบ่อน้ำพุร้อนพระร่วง ในเมืองชากังราวสุดน่าสนใจ มาให้อ่านกัน คลิ๊กดูรายละเอียดบทความค่ะ>>>
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดบึงกาฬ ต้องไปเริงสำราญให้ได้ คลิ๊กดูที่เที่ยว>> |
รวมเด่นสถานที่ท่องเที่ยวดึงดูดตาในจังหวัดบึงกาฬ ต้องไปเช็กอินให้สำราญกันสักครา มีที่ใหนบ้างหนา ตามไปช่ะช่ะช่ากันเลย คลิ๊กดูรายละเอียดแหล่งท่องเที่ยวค่ะ>>>
รวมเด่นแหล่งท่องเที่ยวดึงดูดตาและตราตรึงใจในสกลนคร คลิ๊กดูที่เที่ยวค่ะ>> |
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวโดดเด่นจังหวัดสกลนคร ที่ใครก็ต้องมาออนซอนเช็กอินถ่ายรูปกันสักครา ไม่งั้นมาไม่ถึงนะ มีที่ใหนบ้าง คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในตัวเมืองสตูลสุดน่าสนใจ มีที่ใหนบ้าง คลิ๊กดูที่เที่ยวค่ะ>> |
รวมเด่นแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจอยู่ในตัวเมืองสตูล ที่ต้องไปเช็กอินถ่ายรูปภาพกระชากใจเว่อร์กัน มีที่ใหนบ้าง ตามไปกันเลยจ้า คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>
สถานที่ท่องเที่ยวในเกาะหลีเป๊ะและจุดเช็กอินถ่ายรูปวิวสวยๆ คลิ๊กดูที่เที่ยวค่ะ>> |
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในเกาะหลีเป๊ะ และจุดเช็กอินถ่ายรูปวิวสวยๆ มีที่ใหนบ้าง ตามไปเที่ยวชมกันเลยจ้า คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>
รวมเด่นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในเชียงราย ใครก็ต้องไปกัน คลิ๊กดูที่เที่ยวจ้า>> |
จัดไปกับ 15 ที่เที่ยวจุดเช็กอินยอดนิยมในเชียงราย ที่ใครก็ต้องปักหมุดไปถ่ายรูปกันสักครั้ง มีที่ใหนบ้างนั้น ตามไปเที่ยวชมกันได้เลย คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองตาก แวะไปเช็ออินถ่ายภาพกันสักครั้ง คลิ๊กดูที่เที่ยวค่ะ>> |
รวมเด็ด 17 ที่เที่ยวกำแพงเพชรยอดนิยมที่คนไปเช็กอินกันสักครั้ง>> |
แนะนำสถานทีท่องเที่ยวในเมืองมหาชัย สมุทรสาคร แวะไปออนซอนได้ชิลๆ>>> |
ที่เที่ยวในเกาะพยาม ที่ใครก็ต้องตามไปเช็กอินถ่ายภาพสวยๆกัน คลิ๊กดูที่เที่ยวค่ะ>> |
แหล่งท่องเที่ยวในตัวเมืองประจวบฯ ที่ต้องแวะมาเช็กอินกันให้ได้ คลิ๊กดูที่เที่ยวค่ะ>> |
สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในสมุทรสงคราม ต้องตามไปเช็กอินกัน คลิ๊กดูที่เที่ยวค่ะ>> |
0 ความคิดเห็น