ซึ่งในอำเภอสังขละบุรี นั้นมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจให้ไปชมและถ่ายรูปอยู่มากมายหลายแห่ง ทั้งวัดวาอาราม และรายล้อมด้วยหุบเขา และธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
|
วันนี้เดี๊ยนคุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า เลยขอมาสรุปแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอสังขละบุรี มาให้ชมกันดังนี้ค่ะ |
และหากใครที่จัดทริปแบกเป้เดินทางไกลมาเที่ยวสังขละบุรี 2 วัน 1 คืน ยังไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวที่ใหนดี ในบทความบล็อกนี้ เดี๊ยนเลยขอมาสรุปแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอสังขละบุรี มาให้ชมกันดังนี้ค่ะ
|
1.เมืองบาดาล วัดใต้น้ำ หรือ หรือ วัดวังก์วิเวการาม(เก่า) |
|
1.เมืองบาดาล วัดใต้น้ำ หรือ หรือ วัดวังก์วิเวการาม(เก่า) |
|
1.เมืองบาดาล วัดใต้น้ำ หรือ หรือ วัดวังก์วิเวการาม(เก่า) |
|
1.เมืองบาดาล วัดใต้น้ำ หรือ หรือ วัดวังก์วิเวการาม(เก่า) |
|
1.เมืองบาดาล วัดใต้น้ำ หรือ หรือ วัดวังก์วิเวการาม(เก่า) |
1.เมืองบาดาล วัดใต้น้ำ หรือ หรือ วัดวังก์วิเวการาม(เก่า)
จัดเป็นหนึ่งใน Unseen ของสังขละบุรี โดยตัววัดตั้งอยู่หมู่ที่ 2 บ้านวังกะ ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี แต่เดิมสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2496 ถูกสร้างขึ้นด้วยพลังความ ศรัทธาของชาวกะเหรี่ยง และชาวมอญ ที่มีต่อหลวงพ่ออุตตมะ โดยที่แห่งนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกว่า สามประสบ คือ บริเวณเนินที่มีแม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน คือ แม่น้ำบิคลี่ ซองกาเลีย และรันตี มารวมกันเป็นแม่น้ำแควน้อย ต่อมาในปี 2527 มีการก่อสร้าง เขื่อนเขาแหลม หรือ เขื่อนวชิราลงกรณ์ ทำให้น้ำเข้าท่วมตัวอำเภอสังขละบุรีเก่า รวมทั้งวัดวังก์วิเวการามด้วย "หลวงพ่ออุตตมะ" จึงได้ย้ายวัดมาอยู่บนเนินเขา ส่วนวัดเดิมได้จมอยู่ใต้น้ำมาเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว และจัดเป็นไฮไลท์ในทริปล่องเรือท่องเที่ยวชม เมืองบาดาล ที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย
|
2.วัดสมเด็จเก่า |
|
2.วัดสมเด็จเก่า |
|
2.วัดสมเด็จเก่า |
|
2.วัดสมเด็จเก่า |
|
2.วัดสมเด็จเก่า |
|
2.วัดสมเด็จเก่า |
2.วัดสมเด็จเก่า
สำหรับวัดสมเด็จเก่านั้น เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่บนเนินเขาเล็กๆ ตรงข้ามเมืองบาดาล สร้างโดยพระครูวิมลกาญจนคุณเจ้าคณะตำบลหนองลู เป็นวัดที่ไม่ได้จมน้ำ แต่ถูกทิ้งร้างเมื่อครั้งย้ายอำเภอสังขละบุรี ตอนสร้างเขื่อนวชิราลงกรณ (เขื่อนเขาแหลม) อุโบสถของวัดสมเด็จมีพระประธานสภาพค่อนข้างสมบูรณ์รอบตัวโบสถ์มีต้นไทรใหญ่ปกคลุมดูมีมนต์ขลังยิ่งนัก โดยนักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือต่อมายังวัดสมเด็จเก่า หลังจากชมเมืองบาดาลแล้วด้วย ข้อมูลดีๆจาก : http://kanchanaburi.go.th/au/tourkan2015/watsomdej.php
|
3.สะพานมอญ แลนด์มาร์คประจำเมืองสังขละบุรีก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย
|
|
3.สะพานมอญ แลนด์มาร์คประจำเมืองสังขละบุรีก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย
|
|
3.สะพานมอญ แลนด์มาร์คประจำเมืองสังขละบุรีก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย
|
|
3.สะพานมอญ แลนด์มาร์คประจำเมืองสังขละบุรีก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย
|
|
3.สะพานมอญ แลนด์มาร์คประจำเมืองสังขละบุรีก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย |
3.สะพานมอญ หรือชื่อเต็มคือ สะพานอุตตมานุสรณ์
จัดเป็นแลนด์มาร์คประจำเมืองสังขละบุรีก็ว่าได้ เนื่องจากเป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย มีความยาว 445 เมตร และเป็นสะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็ง ในประเทศพม่า เป็นสะพานที่ข้ามแม่น้ำซองกาเลีย ที่ตำบลหนองลู อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งสะพานมอญนี้สร้างขึ้นโดยดำริของ หลวงพ่ออุตตมะ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวการาม ในปี พ.ศ. 2529 จนถึง พ.ศ. 2530 โดยใช้แรงงานของชาวมอญ เป็นสะพานไม้ที่ใช้สัญจรไปมาของชาวมอญและชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี ข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/สะพานอุตตมานุสรณ์
|
4. วัดวังวิเวกการาม |
|
4. วัดวังวิเวกการาม |
|
4. วัดวังวิเวกการาม |
|
4. วัดวังวิเวกการาม |
|
4. วัดวังวิเวกการาม |
4. วัดวังวิเวกการาม
เป็นวัดที่หลวงพ่ออุตตมะ ร่วมกับชาวบ้านอพยพชาวกะเหรี่ยงและชาวมอญ ได้ร่วมกันสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2496 ที่บ้านวังกะล่าง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ใกล้กับชายแดนไทย-พม่า เมื่อ พ.ศ. 2527 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ก่อสร้าง เขื่อนเขาแหลม หรือ เขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งเมื่อกักเก็บน้ำแล้ว น้ำในเขื่อนจะท่วมตัวอำเภอเก่ารวมทั้งบริเวณหมู่บ้านชาวมอญทั้งหมด ทางวัดจึงได้ย้ายมาอยู่บนเนินเขาในที่ปัจจุบัน วัดก่อสร้างด้วยศิลปะแบบมอญและไทยประยุกต์ วิหารศิลปะมอญปัจจุบันเป็นที่เก็บสังขารของหลวงพ่ออุตตมะในโลงแก้ว ส่วนศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีตสองชั้น ชั้นล่างใช้เป็นที่จัดงานบุญต่าง ๆ ส่วนชั้นบนเป็นพิพิธภัณฑ์ใช้เก็บคัมภีร์ใบลานอักษรมอญโบราณ พระพุทธรูป อัฐบริขาร และเครื่องใช้ต่างๆ เป็นหนึ่งในวัดที่มีพุทธศาสนิกชนเข้ามากราบสักการะหลวงพ่ออุตมะกันอย่างไม่ขาดสาย
|
5.เจดีย์พุทธคยา |
|
5.เจดีย์พุทธคยา |
|
5.เจดีย์พุทธคยา |
|
5.เจดีย์พุทธคยา |
|
5.เจดีย์พุทธคยา |
|
5.เจดีย์พุทธคยา |
5.เจดีย์พุทธคยา
หากใครที่มาเที่ยวสังขละบุรี คงจะสังเกตุเห็นองค์เจดย์สีทองอร่าม อยู่ไม่ไกลจากจุดชมวิวที่สะพานมอญ เนื่องจากเจดีย์พุทธคยานั้น ตั้งอยู่อีกด้านหนึ่งของวัดวังก์วิเวการาม เป็นเจดีย์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ มีลักษณะฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นการจำลองแบบมาจากมหาเจดีย์พุทธคยา ที่ประเทศอินเดีย แต่มีขนาดเล็กกว่าฐานสี่เหลี่ยวจัตุรัสยาวด้านละ 42 เมตร สูง 59 เมตร ส่วนยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนที่เป็นกระดูกนิ้วหัวแม่มือขวา ขนาดเท่าเม็ดข้าวสาร ด้านหน้ามีบันไดทางขึ้นสู่ฐานของเจดีย์พุทธคยา ระหว่างเส้นทางมีรอยพระพุทธบาทจำลอง และรูปหล่อหลวงพ่ออุตตมะ ให้พุทธศาสนิกชนได้เคารพสักการะ และนักท่องเที่ยวต่างถิ่นที่มาเยือนได้เข้าไปชมความงามของเจดีย์พุทธคยาแห่งนี้
|
6.จุดเล่นน้ำซองกาเรีย |
|
6.จุดเล่นน้ำซองกาเรีย |
|
6.จุดเล่นน้ำซองกาเรีย |
|
6.จุดเล่นน้ำซองกาเรีย |
|
6.จุดเล่นน้ำซองกาเรีย |
|
6.จุดเล่นน้ำซองกาเรีย |
6.จุดเล่นน้ำซองกาเรีย
เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวมีชื่อเสียงของสังขละบุรี เนื่องจากเป็นจุดพัดผ่อนหย่อนใจและเป็นจุดเล่นน้ำที่ชาวสังขละบุรีนิยมมาเล่นน้ำกัน จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดดเด่น โดยจุดเล่นน้ำซองกาเรีย อยู่บริเวณสะพานแม่น้ำซองกาเรีย ที่อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีครับ ห่างจากตัวเมืองสังขละบุรี ประมาณ8 กิโลเมตร โดยจุดล่นน้ำตั้งอยู่ในเส้นทางที่จะไปด่านเจดีย์สามองค์ ขับรถตามทางหลวงมาก็จะเห็นสะพานซองกาเลียอยู่บริเวณด้านขวามือเลย
|
7.ด่านเจดีย์สามองค์ |
|
7.ด่านเจดีย์สามองค์ |
|
7.ด่านเจดีย์สามองค์ |
|
7.ด่านเจดีย์สามองค์ |
|
7.ด่านเจดีย์สามองค์ |
|
7.ด่านเจดีย์สามองค์ |
7.ด่านเจดีย์สามองค์
จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวมีชื่อเสียงอีกแห่งของสังขละบุรี เนื่องจากบริเวณด่านดังกล่าว ตั้งอยู่บนพรมแดนประเทศไทยและประเทศพม่า มีความสูง 282 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เป็นช่องเขาในทิวเขาตะนาวศรี ช่องเขาดังกล่าวเชื่อมอำเภอสังขละบุรี ทางตอนเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี กับเมืองพะย่าโต้นซู ทางตอนใต้ของรัฐกะเหรี่ยง ช่องเขานี้ได้เคยเป็นเส้นทางสัญจรทางบกเข้าสู่ทางตะวันตกของประเทศไทยมาตั้งแต่ครั้งอดีตกาล และเชื่อกันว่าเป็นจุดที่พระสงฆ์ชาวอินเดียเดินทางมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเขตประเทศไทยช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3
ช่องเขาดังกล่าวเป็นเส้นทางหลักของการเดินทัพของพม่า โดยมีบางครั้งที่กองทัพอยุธยาได้ใช้เป็นเส้นทางรุกรานพม่าเช่นกัน ช่องเขาดังกล่าวได้ชื่อตามกองเจดีย์ขนาดเล็กสามองค์ ซึ่งอาจถูกสร้างขึ้นในช่วงปลายสมัยอยุธยาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ปัจจุบัน ด่านเจดีย์สามองค์ตั้งอยู่บนพรมแดนไทย บางส่วนของพรมแดนไทย-พม่ายังมีกรณีพิพาทมาจนถึงปัจจุบัน
0 ความคิดเห็น