|
เพื่อไม่ให้เว็ปไซต์ร้างไป เที่ยวไทยไปให้รู้ในวันนี้ คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอเสนอประวัติตำนานงานประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช ที่ใครก็ไม่พลาดมาชมประเพณีกันสักครา |
ก็ขอสวัสดีทักทาย ซำบายดีกับเพื่อนๆคุณผู้อ่านบนโลกออนไลน์ และเหล่าผู้รักการทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ชื่นอุราจับใจ งามไฉไลทุกๆคน กลับมาพบกันอีกเช่นเคยนะคะ กับบทความสาระน่ารู้เกี่ยวกับประเพณีของไทย ที่จะเลือกสรรมาให้อ่านฆ่าเวลากัน หลังจากที่บทความก่อนหน้าได้พาไปรู้จักประเพณีกวนข้าวทิพย์กันไปแล้ว วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอพาไปรู้จักตำนานของงานประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุแห่งเมืองนครศรีธรรมราช หนึ่งในประเพณีเก่าแก่สำคัญที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน มาให้ได้อ่านกันค่ะ
|
สาระน่ารู้เกี่ยวกับงานประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุ นครศรีธรรมราช (Harphakhunthatu old Tradition of Nakhon Si Thammarat Province ) |
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับงานประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุ นครศรีธรรมราช (Harphakhunthatu old Tradition of Nakhon Si Thammarat Province )
สำหรับประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การนำผ้าผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในวันสำคัญทางศาสนา ชาวนครได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินตามกำลังศรัทธานำเงินที่ได้ไปซื้อผ้ามาเย็บต่อกันเป็นแถวยาวนับพันหลา แล้วจัดเป็นขบวนแห่ผ้าขึ้นห่มพระบรมธาตุเจดีย์ ผ้าที่ขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เรียกว่า “ผ้าพระบฎ” (หรือ พระบต) นิยมใช้สีขาว สีเหลือง สีแดง สำหรับผ้าสีขาวนิยมเขียนภาพเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ เสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นเอกลักษณ์ประจำเมืองนครศรีธรรมราช โดยแก่นแท้อยู่ที่การบูชาพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด โดยใช้องค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นตัวแทน
|
ในอดีตนั้นนครศรีธรรมราชเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,800 ปี และยังเป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนา |
เนื่องจากในอดีตนั้นนครศรีธรรมราชเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,800 ปี และยังเป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนา โดยมีวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์คือ มีพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ คือพระทันตธาตุ(พระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้าย) ของพระพุทธเจ้า ประเพณีมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นประเพณีที่มีคติความเชื่อมแต่ครั้งโบราณที่ว่า หากจะทำบุญหรือกราบไหว้บูชาให้ได้กุศลจริง ๆ จะต้องปฏิบัติหน้าพระพักตร์หรือใกล้ชิดพระพุทธองค์ให้มากที่สุด
|
ตำนานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ เกิดขึ้นในสมัยที่พระเจ้าสามพี่น้อง คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ |
ตามตำนานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ เกิดขึ้นในสมัยที่พระเจ้าสามพี่น้อง คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ กำลังดำเนินการสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น คลื่นได้ซัดผ้าแถบยาวชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีลายเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ (เรียกว่า พระบฎ หรือ พระบต) ขึ้นที่ชายหาดปากพนัง จึงนำผ้าผืนนั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์จึงรับสั่งให้ซักจนสะอาด แต่ลายเขียนพุทธประวัติก็ไม่ลบเลือนยังคงสมบูรณ์ดีทุกประการ จึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธกลุ่มหนึ่ง จะเดินทางไปลังกา เพื่อนำพระบฎไปถวายเป็นพุทธบูชาพระทันตธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้ว แต่เรือถูกมรสุมซัดแตกที่ชายฝั่งเมืองนครมีรอดชีวิต 10 คน ส่วนพระบฏถูกคลื่นซัดขึ้นฝั่งปากพนัง พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทรงพิจารณาเห็นว่าควรจะนำขึ้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ เจ้าของพระบฎที่รอดชีวิตก็ยินดีด้วย จึงโปรดให้ชาวเมืองนครจัดเครื่องประโคมแห่แหนผ้าห่มโอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์ จึงเป็นประเพณีประจำเมืองนครสืบมาจนทุกวันนี้
|
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 คือ วันวิสาขบูชา เรียกว่า “แห่พระบฎขึ้นธาตุ” |
|
ประเพณีมาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นประเพณีที่มีคติความเชื่อมแต่ครั้งโบราณที่ว่า หากจะทำบุญหรือกราบไหว้บูชาให้ได้กุศลจริง ๆ จะต้องปฏิบัติหน้าพระพักตร์หรือใกล้ชิดพระพุทธองค์ให้มากที่สุด |
และในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้มีการแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 คือ วันวิสาขบูชา เรียกว่า “แห่พระบฎขึ้นธาตุ” มีการเวียนเทียนรอบองค์พระบรมธาตุ ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้มีการแห่ผ้าขึ้นธาตุ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 คือ วันมาฆบูชา เพื่อให้พุทธศาสนิกชนที่อยู่ห่างไกลหรือไม่มีโอกาสกระทำพุทธบูช าในวันวิสาขบูชาได้มีโอกาสแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันมาฆบูชาตามศรัทธาด้วย ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของเมืองนครจึงมีปีละ 2 ครั้ง คือ ในวันเพ็ญเดือน 3 (วันมาฆบูชา) และในวันเพ็ญเดือน 6 (วันวิสาขบูชา) สืบมาจนทุกวันนี้
|
เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้วก็ยังมีสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าอยู่ได้แก่ พระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธรูป |
ทั้งนี้พุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เชื่อว่าการทำบุญและการกราบไหว้บูชาที่ให้ได้กุศลจริงจะต้องปฏิบัติต่อพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าและใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้าให้มากที่สุด เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้วก็ยังมีสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าอยู่ได้แก่ พระธาตุเจดีย์ หรือพระพุทธรูป การกราบไหว้บูชาสิ่งเหล่านี้เท่ากับเป็นการกราบไหว้บูชาต่อพระพักตร์ของพระพุทธองค์เช่นเดียวกันการที่ชาวนครศรีธรรมราช นำผ้าไปบูชาพระบรมธาตุเจดีย์ด้วยการโอบรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ย่อมถือว่าพระบรมธาตุเจดีย์เป็นเสมือนพระพุทธเจ้าเป็นการบูชาที่สนิทแนบกับพระ พุทธองค์
|
เมื่อขบวนแห่มาถึงวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร ก็แห่ทักษิณาวัตรรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ 3 รอบ |
เดิมการแห่ผ้าขึ้นธาตุกระทำกันโดยพร้อมเพรียงเป็นขบวนที่เอิกเกริกเพียงขบวนเดียว ต่อมา ประชาชนมาจากหลายทิศหลายทาง แต่ละคนต่างเตรียมผ้ามาเองทำให้การแห่ผ้าขึ้นธาตุไม่พร้อมเพรียงเป็นขบวนเดียวกัน เพราะใครจะแห่ผ้าขึ้นธาตุในเวลาใดก็ได้ตามสะดวกตลอดทั้งวัน เมื่อขบวนแห่มาถึงวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร ก็แห่ทักษิณาวัตรรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ 3 รอบ แล้วนำผ้าเข้าสู่วิหารม้า ซึ่งมีบันไดขึ้นสู่ลานภายในกำแพงแก้วล้อมฐานพระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อนำผ้าขึ้นห่มโอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ถือว่าเป็นการบูชาพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด
|
แก่นแท้ของประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ความศรัทธาในพุทธศาสนาทำให้พุทธศาสนิกชนมีจิตใจแน่วแน่ที่จะบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ |
และแก่นแท้ของประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ ความศรัทธาในพุทธศาสนาทำให้พุทธศาสนิกชนมีจิตใจแน่วแน่ที่จะบูชาองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ปีหนึ่งจะต้องมาห่มผ้าพระบรมธาตุเจดีย์ครั้งหนึ่งไม่ให้ขาด ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ จึงให้สาระและความสำคัญคือ แสดงให้เห็นลักษณะของชาวนครศรีธรรมราช ที่ยึดมั่นอยู่ในพุทธศาสนา การทำบุญเพื่ออุทิศเป็นพุทธบูชาเพราะมีความประสงค์จะอยู่ใกล้ชิดกับพระพุทธเจ้า และ แสดงให้เห็นว่าองค์พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นศูนย์รวมจิตใจพุทธศาสนิกชนทั่วทุกทิศ จึงประสงค์มาห่มผ้าพระธาตุอย่างพร้อมเพรียงกัน
|
านบุญประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชน ที่ได้แสดงออกถึงความศรัทธาเลื่อมใส่ต่อพระพุทธศาสนาอีกด้วย |
นอกจากนี้แล้วงานบุญประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ เป็นประเพณีที่สำคัญของพุทธศาสนิกชน ที่ได้แสดงออกถึงความศรัทธาเลื่อมใส่ต่อพระพุทธศาสนา ทั้งยังสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคณะศรัทธาต่าง ๆ ที่มาร่วมในพิธี ซึ่งจะทำให้เกิดความรักความผูกพัน ความเสียสละ ความสามัคคี ตลอดถึงกระตุ้นและเสริมสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน และส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราชได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
เครดิตข้อมูลดีๆจากเว็ปไซต์ : https://th.wikipedia.org/wiki/ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ#:~:text=ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ%20หมายถึง%20การนำผ้าผืน,ต)%20นิยมใช้สีขาว
-------------------------------------------------------------------------------------------
บทความบล็อกอื่นๆ มีดังนี้
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ฝ่าพระบาทที่เท้าของพระนอนวัดโพธิ์ รูปสัญลักษณ์ที่หลายคนสงสัย มีความหมายว่าอะไร นำมาให้อ่านกัน คลิ๊กดูรายละเอียดบทความค่ะ>>>
จัดไปกับ 15 ที่เที่ยวจุดเช็กอินยอดนิยมในเชียงราย ที่ใครก็ต้องปักหมุดไปถ่ายรูปกันสักครั้ง มีที่ใหนบ้างนั้น ตามไปเที่ยวชมกันได้เลย คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>
0 ความคิดเห็น