วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอขอเป็นคนบ้า นำเสนอสาระดีๆเกี่ยวกับแรกมีในสยามกับ 5 ยวดยานพาหนะในเมืองไทย ที่ใครๆอาจไม่เคยรู้มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์คันแรก รถเมลล์คันแรก มาให้อ่านกันจ้า |
1.รถม้า
รถม้าปรากฎตั้งแต่ในสมัยพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ภายในตัวพระนครมีเส้นทางคมนาคมทางบกเป็นถนนที่ปูด้วยอิฐอยู่เพียงไม่กี่สาย รถม้าที่มีอยู่ในเมืองไทยยุคแรก จึงเป็นรถม้าของพระมหากษัตริย์และเจ้านายชั้นสูงเท่านั้น ในสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการสร้างถนนแบบชาวตะวันตกขึ้นอีกมากมายหลายสาย รถม้าจึงเป็นที่นิยมมากขึ้น รถม้าในพระนครส่วนใหญ่ จะมีสี่ล้อ ใช้ยางตัน สองล้อหลังใหญ่ สองล้อหน้าเล็ก เทียมด้วยม้าตัวเดียว ที่นั่งผู้โดยสารบุเบาะเรียบร้อย มีประทุนผ้าใบ แต่ถ้าเป็นรถม้าเก๋งคันใหญ่ มีรถม้าเทียมสี่ตัว หรือมากกว่านั้น ซึ่งม้าเก๋งระดับนี้น่าจะมีเฉพาะรถพระนั่งหรือรถหลวงเท่านั้น
2.รถราง
รถรางเป็นพาหนะที่สำคัญอีกประเภทหนึ่งในกรุงเทพฯ ที่เปลี่ยนจากการสัญจรทางน้ำมาเป็นสัญจรทางบก
โดยรถรางเริ่มดำเนินการใช้ในปี พ.ศ.2430 โดยนายอัลเฟรด จอน ลอฟตัส และนางอองเดร ดู เปรสซี เดอ ริชเชอลิว ชาวเดนมาร์ก ซึ่งรถรางในระยะแรกใช้ม้าลากรถ ให้บริการในถนนสายบางคอแหลม โดยวิ่งจากถนนเจริญกรุงถึงข้างศาลายุทธนาการด้านทิศเหนือ
ในระยะแรก กิจการรถรางไม่เป็นที่นิยมจนประสบปัญหาขาดทุน เพราะต้นทุนในการเลี้ยงม้าสูง ทำให้ต้องโอนกิจการให้บริษัทชาวอังกฤษและเดนมาร์กในเวลาต่อมา จนในปี พ.ศ.2437 บริษัทได้เปลี่ยนมาใช้รถรางไฟฟ้า และขยายเส้นทางออกไปอีก โดยเริ่มตั้งแต่ศาลหลักเมืองไปตามถนนเจริญกรุง ผ่านบริษัทห้างใหญ่ของฝรั่งและชุมชนชาวจีน
เจ้านายหรือขุนนางไทย ใด้ให้ความสนใจในกิจการรถรางด้วยเช่นกัน ในปี พ.ศ.2447 กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ ร่วมกับบุคคลต่างๆ จัดตั้งบริษัทรถรางไทยทุนจำกัด โดยเดินเป็นวงเลียบกำแพงเมือง เรียกว่าสายรอบเมือง(สีแดง) ไม่ทับกับเส้นทางของรถรางฝรั่ง แต่ต่อมากิจการเดินรถรางของบริษัทไทยทุนจำกัด ประสบปัญหาภาระขาดทุน ทำให้ต้องขายกิจการให้ชาวตะวันตกไปในที่สุด และจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม ปี พ.ศ. 2511 ได้ยกเลิกการเดินรถทุกเส้นทางอย่างถาวร
3.รถเมลล์
รถเมลล์เป็นพาหนะสาธารณชนที่เข้ามามีบทบาทในสมัยรัชกาลที่ 5 ราว พ.ศ.2428 โดยรถเมลล์รุ่นแรก มีรูปร่างเช่นเดียวกับรถม้า เทียมด้วยรถม้าคู่ ค่าโดยสารคนละ 6 สตางค์ แต่อยู่ได้ไม่เกิน 2 ปี ก็ไม่มีคนขึ้น เพราะรถรางมาแทนที่ โดยเอารถกุดังที่ตัวรถต่ำมาเสริมเสาและหลังคา ทำที่นั่งให้สูงขึ้นและยาวไปตามตัวรถ หันหน้าเข้าหากัน เว้นช่องกลางที่นั่งเอาไว้ เพื่อผู้โดยสารจะได้ห้อยเท้า มีคนขับกับคนเก็บเงินที่เรียกว่า "กระเป๋า" ต้นทางเริ่มต้นจากเส้นทางปากตรอกเจ้าสัวเนียมและไปหมดระยะที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ค่าโดยสารคนละ 2 ไพ (6 สตางค์) รถเมลล์ในสมัยแรกยังไม่เป็นที่นิยม ไม่มีเวลาออกที่แน่นอน อยู่ได้ไม่เกิน 2 ปี ก็ไม่มีคนขึ้น เพราะมีรถรางมาแทนที่
ส่วนรถเมลล์รุ่นที่ 2 เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2452 โดยพระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิด เศรษฐบุตร) วิ่งรับผู้โดยสารระหว่างสะพานยศเส (กษัตริย์ศึก) กับประตูน้ำ ปทุมวัน ในครั้งแรกก็ยังใช้รถเทียมม้าคู่เช่นเดียวกับสมัยแรก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2456 จึงเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ยี่ห้อฟอร์ดแทน โดยทำที่นั่งเป็น 2 แถว จึงเรียกว่ารถสองแถว รถเมลล์ของนายเลิดทาสีขาว ตัวถังรถเป็นไม้สัก คนส่วนใหญ่นิยมนั้นเรียกรถเมลล์นี้ว่า รถเมลล์ขาวนายเลิด โดยวิ่งรับผู้โดยสาร 2 สาย คือ กษัตริย์ศึกถึงประตูน้ำ ส่วนอีกสายคือวิ่งจากบางลำพูถึงประตูน้ำ ซึ่งเส้นทางรถเมลล์ขาวนายเลิดจะวิ่งผ่านหน้าโรงพยาบาลบางรัก (โรงพยาบาลเลิดสินในปัจจุบัน) บนถนนสีลม โดยมีจุดกลับรถหน้าโรงพยาบาล สายแรกคิดค่าโดยสาร 45 สตางค์ สายที่สอง 75 สตางค์ ซึ่งถือเป็นค่าโดยสารที่แพงมากในขณะนั้น และคนมีฐานะเท่านั้นจึงจะสามารถนั่งรถเมลล์ขาวนายเลิดได้
4.รถไฟ
ทางรถไฟสายแรกของประเทศไทย คือทางรถไฟเส้นทางสถานีรถไฟหัวลำโพง กรุงเทพ กับสถานีรถไฟปากน้ำ จังหวัดสมุทรปราการ เริ่มต้นการก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2434 และเริ่มเปิดใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2436 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดบริการ และเสด็จขึ้นประทับโดยสารขบวนรถไฟพระที่นั่ง พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ก็ร่วมขบวนนี้ด้วย
ระยะทางรวมทั้งสิ้น 21.3 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยสถานีจำนวน 12 สถานี คือ สถานีหัวลำโพง สถานีศาลาแดง สถานีคลองเตย สถานีบ้านกล้วย สถานีพระโขนง สถานีบางจาก สถานีบางนา สถานีสำโรง สถานีจระเข้ สถานีบางนางเกร็ง สถานีมหาวงศ์ และสถานีปากน้ำ เมื่อสิ้นอายุสัมปทาน ทางรถไฟเส้นนี้ได้ตกมาเป็นสมบัติของแผ่นดินภายใต้การบริหารงานของกรมรถไฟ และต่อมาจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ยกเลิกเส้นทางรถไฟสายปากน้ำเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2503 และได้ขยายเป็นถนนพระราม 4 และถนนทางรถไฟสายเก่าแทน
5.รถยนต์คันแรกในเมืองไทย
รถยนต์คันแรกของไทย มีการนำเข้ามาเมื่อไหร่ ไม่มีการระบุประวัติศาสตร์ไว้อย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่าเจ้าของเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งในยุคนั้นประเทศไทย ได้มีการตัดถนนบางส่วนแต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังใช่พาหนะเป็นรถม้า หรือรถลากกันเป็นส่นใหญ่ ภายหลังรถยนต์คันนี้ได้ถูกขายต่อให้กับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ท่านจึงเป็นบุคคลแรกที่มีรถยนต์ขับใช้ในเมืองไทย
ส่วนรถยนต์พระที่นั่งคันแรกที่คนไทยนำเข้ามานั้น ปรากฏหลักฐานว่า ในปี พ.ศ.2444 กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ทรงประชวร เสด็จไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส และได้สั่งซื้อรถเดมเลอร์ รุ่นปี ค.ศ.1901 จากตัวแทนจำหน่ายที่ประเทศฝรั่งเศสและนำเข้ามากรุงเทพฯ ในปลายปีนั้น นำขึ้นทูลเกล้าถวายพระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ โปรดรถพระที่นั่งคันนี้มาก เพราะสะดวกสบายและเดินทางได้เร็วกว่ารถม้า นับเป็นรถยนต์พระที่นั่งคันแรกในประวัติศาสตร์ ต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงราชบุรีฯ สั่งเข้ามาอีกคันหนึ่ง จากผู้ผลิตในเยอรมันโดยตรง
ซึ่งรถพระที่นั่งคันใหม่ยี่ห้อเดิม แต่ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “เมอร์เซเดสเบนช์” รุ่นปี ค.ศ.1905 สีแดง เครื่องรถยนต์ 72 แรงม้า 4 สูบ เดินหน้า 4 เกียร์ ถอยหลัง 1 เกียร์ ความเร็ว 46 ไมล์ต่อชั่วโมง แต่ขณะที่เทน้ำมันจากปี๊บเติมรถนั้น ได้เกิดไฟไหม้เสียห้ายไปแถบหนึ่ง และหลังจากซ่อมแล้วเสร็จ จึงเจ้าประจำการเป็นรถพระที่นั่ง พระราชทานนามว่า "แก้วจักรพรรดิ"
รถยนต์ส่วนตัวในเมืองไทยในอดีต |
รถรางสายแรกของเมืองไทยวิ่งผ่านย่านชุมนบางรัก เพราะเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ |
เครดิตข้อมูลดีจาก : พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกโซนนิทรรศการบางรัก : https://th.wikipedia.org/wiki/ทางรถไฟสายปากน้ำ
เครดิตข้อมูลดีๆจาก http://catholichaab.com/main/index.php/research-and-study/research-and-study/1188-2016-05-13-02-24-07
---------------------------------------------------------------------
บทความบล็อกอื่นๆ มีดังนี้ค่ะ
รวมคำศัพท์ภาษาอังกฤษในสนามบินที่จำเป็นต้องใช้แน่ๆ คลิ๊กดูคำศัพท์ค่ะ>> |
ประโยคภาษาอังกฤษง่ายๆเพื่อขอความช่วยเหลือเวลาไปเที่ยวต่างประเทศ คลิ๊กดูบทความ>> |
ประโยคภาษาอังกฤษสำหรับใช้ที่ร้านแลกเปลี่ยนเงินในต่างประเทศ มีคำว่าอะไรบ้าง>> |
คำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงแรม คลิ๊กอ่านเป็นความรู้ค่ะ>> |
ทำวีซ่าเยอรมันด้วยตัวเอง เตรียมเอกสารสำคัญอะไรไปบ้างให้ผ่านแน่นอน คลิ๊กดูรายละเอียด>> |
อุปกรณ์จำเป็นที่ต้องพกใส่กระเป๋าไปด้วยเมืองไปเที่ยวต่างประเทศ คลิ๊กดูรายละเอียด>> |
น่ารู้กับ 12 ผลของการทำบุญทำทานในแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง คลิ๊กดูรายละเอียด>> |
รู้ใหม๊ว่า น้ำแข็งก้อนแรกในเมืองไทย ได้แต่ใดมา มีที่มาอย่างไร คลิ๊กดูรายละเอียดค่ะ>> |
รูปแบบและประเภทของนักท่องเที่ยว มีอะไรบ้าง คลิ๊กดูรายละเอียดค่ะ>> |
0 ความคิดเห็น