|
เพื่อไม่ใ้ห้เว็ปบล็อกร้างไป วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอนำเสนอสาระน่ารู้เกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก หนึ่งแหล่งเรียนรู้เสน่ห์วิถีชีวิตในอดีตของชาวกรุงไว้อย่างน่าสนใจ ต้องไปเช็กอินเที่ยวชมกัน |
ก็ขอทักทายสวัสดี สวีดัดเพื่อนคุณผู้อ่านบนโลกออนไลน์ และผู้รักการทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจทุกๆคนค่ะ ก็มาพบปะกันอีกเช่นเดิมนะคะ กับบทความบล็อกสาระน่ารู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองไทย ที่จะเลือกหามาให้ได้อ่านฆ่าเวลากัน หลังจากที่บทความก่อนหน้าได้พาไปเที่ยวชมเกาะแสมสาร แหล่งเรียนรู้บนเกาะในภาคตะวันออกของไทยกันไปแล้ว น่าจะมีประโยชน์และชวนให้ไปชื่นชมอย่างน่าภิรมย์ใจไม่น้อยทีเดียว
เพื่อไม่ให้เว็ปไซต์ร้างไป วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอพามาเที่ยวในตัวเมืองกรุงเทพมหานครอีกครั้ง ซึ่งในย่านใจกลางเมืองกรุงเทพ ก็มีพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจหลายแห่ง หนึ่งในนั้นที่พลาดไม่ได้ก็คือ พิพิธภัณฑ์ชาวบ้านกอก แหล่งเรียนรู้ที่บอกเล่าเรื่องราวในอดีตในกรุงเทพเมื่อประมาณ 70-80 ปีที่แล้วไว้ให้ชมอย่างน่าสนใจ ทั้งตัวบ้าน ข้าวของเครื่องใช้ และสภาพแวดล้อมของบ้านที่ยังถูกอนุรักษ์ไว้อย่างดีมาให้อ่านกันค่ะ
|
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เขตบางรัก กรุงเทพฯ (Bangkokian Museum, Bangrak district, Bangkok city) |
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เขตบางรัก กรุงเทพฯ (Bangkokian Museum, Bangrak district, Bangkok city)
สำหรับพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ท้องถิ่นที่น่าสนใจอีกแห่ง ตั้งอยู่ที่บ้านเลขที่ 273 ซอยเจริญกรุง 43 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่ก่อตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์และความตั้งใจของ รองศาตราจารย์วราพร สุรวดี ผู้เป็นเจ้าของ โดยใช้บ้านและทรัพย์สินที่ได้รับมรดกจากมารดาคือ คุณสอาง สุรวดี (ตันบุณเต็ก) โดยเจ้าของบ้าน มีวัตถุประสงค์ที่จะมอบบ้านของตนให้เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อให้เยาวชนได้ศึกษา และต่อมาได้โอนกรรมสิทธิ์ให้กรุงเทพมหานครดูแล เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547
|
พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นที่ก่อตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์และความตั้งใจของ รองศาตราจารย์วราพร สุรวดี ผู้เป็นเจ้าของ โดยใช้บ้านและทรัพย์สินที่ได้รับมรดกจากมารดาคือ คุณสอาง สุรวดี (ตันบุณเต็ก) |
|
เป็นอาคารและวัตถุในการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบางกอก หรือผู้คนกรุงเทพที่มีฐานะปานกลางในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 |
โดยเป็นอาคารและวัตถุในการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบางกอก หรือผู้คนกรุงเทพที่มีฐานะปานกลางในช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ.2480-2500 ย้อนอดีตไปเมื่อประมาณ 70 ปีมาแล้ว โดยอาคารที่และข้าวของเครื่องใช้ต่างที่จัดแสดงล้วนแต่เป็นตัวอย่างที่สะท้อนภาพชีวิตของสังคมไทยในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี
|
ด้วยทำเลที่ตั้งเป็นย่านพักอาศัยของชุมชนชาวบางรัก ซึ่งในอดีตนั้นเป็นย่านพักตากอากาศ และย่านชุมชนนานาชาติ |
และด้วยทำเลที่ตั้งเป็นย่านพักอาศัยของชุมชนชาวบางรัก ซึ่งในอดีตนั้นเป็นย่านพักตากอากาศ และย่านชุมชนนานาชาติ อีกทั้งยังเป็นย่านทำเลธุรกิจที่สำคัญมาตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยาอีกด้วย เนื้อหาในการจัดแสดงจึงแสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาของชีวิตชาวบางกอก (กรุงเทพฯ ในยุคก่อน) และความเป็นมาของเขตบางรักที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมหลายชนชาติ ทั้งไทย จีน ฝรั่ง และแขก มีวิวัฒนาการและอิทธิพลจากตะวันตกต่อการปฏิรูปประเทศ
|
จัดแสดงรายละเอียดสถานที่ต่างๆซึ่งเกี่ยวกับภูมิหลังของชุมชน |
อีกทั้งยังจัดแสดงรายละเอียดสถานที่ต่างๆซึ่งเกี่ยวกับภูมิหลังของชุมชน เช่น ศุลกสถาน อาสนวิหารอัสสัมชัญ โบสถ์สืบสัมพันธวงศ์ โรงพยาบาลเลิดสิน วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร วัดพระศรีมหาอุมาเทวี โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย แฟลตแห่งแรกของไทยและสโมสรแห่งแรกของไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นย่านที่พำนักของบุคคลสำคัญ เช่น หลวงประดิษฐ์มนูธรรม ดร.ป๋วย อึ้งภากรณ์ และ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เป็นต้น จึงเป็นสถานที่เรียนรู้ที่ควรค่าแก่การไปเยี่ยมอย่างยิ่ง
|
ภายในเขตบริเวณพิพิณฑ์ชาวบ้านกอกนั้น ประกอบไปด้วยอาคารจัดแสดง 3 หลัง บนพื้นที่ประมาณ 1 ไร่เศษดังนี้ |
ซึ่งภายในเขตบริเวณพิพิณฑ์ชาวบ้านกอกนั้น ประกอบไปด้วยอาคารจัดแสดง 3 หลัง บนพื้นที่ประมาณ 1 ไร่เศษดังนี้
|
เป็นอาคารที่ครอบครัวสุรวดีเคยใช้อยู่อาศัยแต่เดิมในอดีต โดยมารดาของอาจารย์วราพร สุรวดี สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2480 |
อาคารหลังแรก - เป็นอาคารที่ครอบครัวสุรวดีเคยใช้อยู่อาศัยแต่เดิมในอดีต โดยมารดาของอาจารย์วราพร สุรวดี สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2480 ลักษณะของอาคารเป็นสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก ซึ่งเป็นที่นิยมในยุคนั้นเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น หลังคาเป็นทรงปั้นหย่า มุ้งกระเบื้องหลังคาว่าวสีแดง ผนังอาคารสร้างด้วยไม้ทาสี ก่ออิฐถือปูนโดยใช้ช่างชาวจีนเป็นผู้ก่อสร้าง ใช้งบประมาณในการก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 2,400 บาท และต่อมาได้มีการสร้างต่อเติมภายหลังอีกในปี พ.ศ.2503
อาคารหลังที่สอง - แต่เดิมสร้างอยู่บริเวณทุ่งมหาเฆม เป็นอาคารไม้สองชั้นมีรูปแบบสถาปัตยกรรมใกล้เคียงกับอาคารหลังแรก สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2472 โดยในตอนแรกนั้น นายแพทย์ฟรานซิส คริสเตียน (สามีคนแรกของนางสอาง สุรวดี) ตั้งใจจะทำเป็นคลินิกรักษาคนไข้บริเวณชั้นล่าง ส่วนชั้นบนใช้เป็นที่พักอาศัย ครั้นสร้างเสร็จยังมิทันเข้าอยู่ นายแพทย์ฟรานซิส คริสเตียน ก็ป่วยและเสียชีวิตลงเสียก่อน บ้านหลังนี้จึงทำเป็นบ้านให้เช่าเรื่อยมา จนกระทั่งอาจารย์วราพร มีดำริจะทำพิพิธภัณฑ์ จึงให้รื้อบ้านหลังนี้และย้ายมาสร้างบนพื้นที่เดียวกัน แต่ย่อส่วนอาคารให้มีขนาดเล็กลง เพื่อให้เป็นอาคารจัดแสดงประวัติคุณหมอฟรานซิส และเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงคุณหมอผู้ล่วงลับ
|
อาคารหลังที่สาม - เดิมเป็นตึกแถวจำนวน 8 ห้อง ซึ่งมารดาของอาจารย์วราพร ปลูกไว้ให้เช่า |
|
ปรับปรุงอาคารใหม่เพื่อให้เป็นอาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงประวัติน่ารู้เกี่ยวกับประสถานที่สำคัญของเขตบางรัก |
อาคารหลังที่สาม - เดิมเป็นตึกแถวจำนวน 8 ห้อง ซึ่งมารดาของอาจารย์วราพร ปลูกไว้ให้เช่า ต่อมาอาจารย์ได้ยกเลิกสัญญาเช่า และปรับปรุงอาคารใหม่เพื่อให้เป็นอาคารจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ จัดแสดงประวัติน่ารู้เกี่ยวกับประสถานที่สำคัญของเขตบางรัก และชั้นล่างของอาคารก็จัดแสดงเครื่องใช้ ไม้สอย และของจิปาถะต่างๆ ของชาวบางกอกในอดีตไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้รวมทั้งผู้สนใจได้เข้าชมอีกด้วย
|
เป็นห้องจัดนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับสาระความรู้ของย่านบางรักให้ได้อ่านด้วย |
และอาคารชั้นบนของหลังที่สาม นั้นก็ถือว่าเป็นห้องจัดนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับอดีตของบางกอกให้ได้อ่านด้วย อาทิเช่น ภาพรวมของกรุงเทพมหานคร ลักษณะทางกายภาพเขตบางรัก สายสัมพันธ์ไทย-ตะวันตก อิทธิพลชาติตะวันตกต่อประเทศไทย ชุมชนนานาชาติ บทบาทของชุมชนตะวันตกที่มีต่อการปฏิรูปประเทศ สถานที่สำคัญของบางรัก แรกมีในสยาม แรกมีในบางรัก คนเด่นบางรัก
นอกนจากนี้จุดเด่นอีกอย่างที่สังเกตได้ชัดคือ บริเวณบ้านสภาพแวดล้อมโดยรวมก็ปกคลุมไปด้วยต้นไม้ร่มรื่น มีไม้ประดับตกแต่งสวยงามสบายตา และที่ประตูทางเข้าบ้านก็เป็นประตูรั้วบ้านแบบเดิมมาก่อน มีป้ายติดเขียนไว้ว่า พิพิธภัณฑ์ชาวบ้านกอก ซึ่งได้กลายเป็นมุมถ่ายรูปยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวต่างถ่ายรูปเช็กอินเสมอ เพื่อให้รู้ว่ามาถึงพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกแล้วด้วย
ภาพบริเวณห้องรับแขกชั้นล่าง ของอาคารแรก
ห้องส้วมในอดีตที่บ้าน เป็นโถส้วม มีกระโถนรองไว้
ภาพวิวัฒนาการแต่งกายของนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์
เปียนโนที่ทำจากงาช้าง
โต๊ะเครื่องเขียน มี 4 ขา มีแผ่นไม้โยงยึดขาเพิ่มความแข็งแรงและช่วยกั้นเท้าคนนั่ง
ซึ่งโต๊ะและเก้าอี้ชุดนี้ คุณแม้ย้ายมาครั้งแรก ตั้งอยู่กลางบ้านปูด้วยผ้าปูโต๊ะถักโครเชต์ฝีมือคุณแม่ ตั้งแจกันดอกไม้เปลี่ยนเป็นประจำ หลังสงคราม เมื่อมีลูกเยอะ โตขึ้น เลยย้ายเข้าไปไว้ในห้องรับแขก เพราะเพื่อนฝูงคุณก็กระจัดกระจาย ไม่มีใครไปมาหาสู่นัก
ห้องนอนภายในบ้านที่ยังคงเดิมไว้ให้ชม
ภาพอาจารย์รองศาตราจารย์วราพร สุรวดี เป็นเจ้าของบ้านซึ่งได้อุทิศบ้านหลังนี้ไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ ท่านได้เสียชีวิตในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560[2] เวลา 13.45 น. ณ โรงพยาบาลประสาท สาเหตุจากการพลัดตกจากที่สูง และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันอังคารที่ 31 มกราคม 2560 ณ เมรุวัดหัวลำโพง นอกจากนี้รองศาสตราจารย์วราพร สุรวดี ยังเป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิอินสาท-สอาง และมูลนิธิหมอฟรานซีส คริสเตียน อีกด้วย
พัดที่ทำจากกาบใบลาน
เครื่องถ้วยชามเซรามิกในบ้านแบบดั้งเดิมในอดีต
ภาพภายในอาคารหลังที่ 2 จัดทำเป็นอนุสรณ์สำหรับคุณหมอฟรานซิส
ส่วนอาคารหลังที่สามชั้นล่าง จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้สอยต่างๆของผู้คนในอดีตไว้ให้ชมด้วย
ชั้นบนของอาคารหลังที่ 3 ก็จัดแสดงป้ายนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับสถานที่สำคัญของกรุงเทพย่านบางรัก บุคคลสำคัญต่างๆ ซึ่งจัดไว้ให้ได้อ่านกันอย่างน่าสนใจ ได้ประโยชน์มากทีเดียว
|
พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกเปิดให้เข้าชมได้ฟรี 10.00 - 16.00 น. วันพุธถึงวันอาทิตย์ (หยุดวันจันทร์และอังคาร) |
ซึ่งพิพิธภัณฑ์ชาวบางกอกเปิดให้เข้าชมได้ฟรี 10.00 - 16.00 น. วันพุธถึงวันอาทิตย์ (หยุดวันจันทร์และอังคาร)
เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทความบล็อกอื่นๆ มีดังนี้ค่ะ
จัดไปกับ 15 ที่เที่ยวจุดเช็กอินยอดนิยมในเชียงราย ที่ใครก็ต้องปักหมุดไปถ่ายรูปกันสักครั้ง มีที่ใหนบ้างนั้น ตามไปเที่ยวชมกันได้เลย คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>
0 ความคิดเห็น