Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

เที่ยวทั่วไทยไปให้รู้ดู วัดชนะสงคราม หนึ่งในทริปไหว้พระ 9 วัดรอบเกาะรัตนโกสินทร์ มีความสำคัญอย่างไร

เดินทางเที่ยวเมืองไทย ไม่ไปไม่รู้ แวะไปดู วัดชนะสงคราม วัดเก่าแก่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ในเมืองฟ้าอมรแห่งนี้ มีประวัติสำคัญอย่างไร 



สวัสดีเพื่อนๆสายเที่ยวทัศนาจร ออนซอนหัวใจ งามวิไลเริ่ดสะแมนแตนกันทุกๆคนค่ะ กลับมาพบกันอีกครั้ง หลังจากห่างหายไปนาน เพราะมัวอีรุงตุงนังอยู่กับงานประจำ จนลืมมานั่งเขียนบล็อกเรื่อยเปื่อยไปซ่ะแล้ว และในบทความนี้ ก็ขอสรรหา พาเล่าสาระดีๆเกี่ยวกับวัดวาอารามในเมืองไทย มาให้กันอ่านอีกเช่นเคยค่ะ แน่นอนว่าหากเพื่อนสายบุญคนใหน ที่จะจัดทริปโปรแกรมมาเดินไหว้พระรอบเกาะรัตนโกสินทร์ หนึ่งในวัดสำคัญอีกแห่งที่รองจากวัดพระแก้ว และวัดโพธิ์ ต้องหนีไม่พ้น วัดชนะสงครามอย่งแน่นอน เนื่องจากเป็นวัดเก่าแก่มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจไม่น้อย วันนี้เลยจัดมาให้อ่านเป็นความรู้กันค่ะ 


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัดชนะสงคราม มีประวัติความเป็นมาอย่างไร นำมาให้อ่านจ้า 


สาระน่ารู้เกี่ยวกับวัดชนะสงคราม มีประวัติความเป็นมาอย่างไร นำมาให้อ่านจ้า 


วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณอีกวัดหนึ่งที่มีอยู่ก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง  เดิมชื่อวัดกลางนา ครั้นเมื่อสถาปนากรุงเทพมหานคร แล้ว วัดนี้ได้รับการบูรณะ ปฏิสังขรณ์โดยสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทและเป็นวัดที่มีเจ้าอาวาสเป็นพระสงฆ์รามัญจึงมี นามวัด อีกนามหนึ่งว่าวัดตองปุตามแบบอย่างวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นวัดรามัญนิกายต่อมาภายหลังวัดตองปุได้รับพระราชทานนามว่า วัดชนะสงครามก็เนื่องด้วยสมเด็จพระบวรราชเจ้าฯ ผู้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัด ทรงเป็นแม่ทัพคนสำคัญในรัชกาลที่ 1 และทรงนำทัพ หน้าชนะศึกในการสงครามครั้งสำคัญหลายต่อหลายครั้ง ต่อมายกสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร


 วัดชนะสงคราม เป็นวัดโบราณอีกวัดหนึ่งที่มีอยู่ก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง  เดิมบริเวณรอบ ๆ วัดเป็นทุ่งนาค่อนข้างกว้างใหญ่ จึงเรียกว่า “วัดกลางนา” สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงบูรณะปฏฺสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงแต่งตั้งพระราชาคณะฝ่ายรามัญสำหรับพระนครเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา


แต่เดิมบริเวณรอบ ๆ วัดเป็นทุ่งนาค่อนข้างกว้างใหญ่ จึงเรียกว่า “วัดกลางนา” สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ทรงบูรณะปฏฺสังขรณ์ใหม่ทั้งพระอาราม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงแต่งตั้งพระราชาคณะฝ่ายรามัญสำหรับพระนครเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา โดยโปรดให้พระสงฆ์รามัญมาอยู่วัดนี้ จึงเรียกชื่อวัดว่าวัดตองปู เลียนแบบเดียวกับวัดตองปูซึ่งเป็นวัดพระรามัญในสมัยอยุธยา แต่อีกกระแสหนึ่งกล่าวว่าชื่อวัดตองปูมาจากชาวรามัญ หมู่บ้านตองปู ซึ่งเคยอยู่ในหงสาวดีได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย จึงนำชื่อวัดที่ตนยึดถือเป็นที่พึ่งทางใจมาตั้งด้วย วัดกลางนาจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดตองปูตามความเคยชินของชาวบ้านตองปู ต่อมาเมื่อทรงมีชัยชนะข้าศึกจึงพระราชทานนามว่า “วัดชนะสงคราม”



สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดตองปุแล้วถวายเป็นพระอารามหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดชนะสงคราม 


โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดตองปุแล้วถวายเป็นพระอารามหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดชนะสงคราม เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงมีชัยชนะต่อพม่าในการรบทั้ง 3 ครั้ง


ในสมัยรัชกาลที่ 2 สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์เมื่อได้รับการสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลแล้ว ได้โปรดให้ซ่อมแซมพระราชมณเฑียรโดยรื้อพระที่นั่งพิมานดุสิดานำไม้มาสร้างกุฏิ ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดให้บูรณะวัดชนะสงครามมาแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 4 พร้อมทั้งทรงสร้างกุฏิใหม่ แล้วเสร็จในปี 2396 และโปรดให้ทำการฉลอง ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดให้บูรณะซ่อมแซมและปฏิสังขรณ์หลังคาพระอุโบสถและทรงปรารภที่จะสร้างที่บรรจุพระอัฐิสำหรับเจ้านายฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลแต่ยังไม่ไสร้างที่ใดก็สิ้นรัชกาล 


ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้พระราชทานอุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ก่อสร้างที่บรรจุพระอัฐิที่เฉลียงท้ายพระอุโบสถวัดชนะสงคราม


โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6  สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงได้พระราชทานอุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้ก่อสร้างที่บรรจุพระอัฐิที่เฉลียงท้ายพระอุโบสถวัดชนะสงคราม โดยกั้นผนังระหว่างเสาท้ายพระอุโบสถเป็นห้องทำเป็นคูหา 5 ช่อง คูหาหนึ่งเจาะเป็นช่องเล็ก ๆ สำหรับบรรจุพระอัฐิเจ้านายตามรัชกาล   การก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 7 ซึ่งพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ราชบัณฑิตยสภาก่อสร้าง ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นนายกราชบัณฑิตยสภาและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงก่อสร้างจนเสร็จสิ้น ได้มีพิธีอัญเชิญพระอัฐิจากพระราชวังบวรสถานมงคลไปประดิษฐานใน พ.ศ. 2470

ภายในวัดประดิษฐาน พระประธานในพระอุโบสถ มีนามว่า  โดยภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชษฐ์ มเหธิศักดิ์ ปูชะนียชยันตะโคดบรมศาสนา อนาวรญาณ


สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดประดิษฐาน พระประธานในพระอุโบสถ มีนามว่า  โดยภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธนรสีห์ตรีโลกเชษฐ์ มเหธิศักดิ์ ปูชะนียชยันตะโคดบรมศาสนา อนาวรญาณ" เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นแล้วบุด้วยดีบุกลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 2.50 เมตร สูง 3.50 เมตร ประดิษฐานบนฐานสูง 1.30 เมตรมีพระอัครสาวกซ้ายขวานั่งประนมมือ 2 องค์ เป็นพระปูนปั้นเช่นกัน

คตินิยม ความเชื่อและกุศโลบายแต่โบราณว่า หากใครที่ต้องการมีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง ให้ไปไหว้พระวัดชนะสงคราม


มีคตินิยม ความเชื่อและกุศโลบายแต่โบราณว่า หากใครที่ต้องการมีชัยชนะต่ออุปสรรคทั้งปวง ให้ไปไหว้พระวัดชนะสงคราม โดยไหว้พระประธานใบโบสถ์และรูปเคารพสมเด็จกรมพระราชวัง บวรมหาสุรสิงหนาถ (บุญมา) ผู้นับถือความซื่อสัตย์ ซึ่งในการบนบานนั้นแล้วแต่ผู้นั้นจะตั้งใจอธิฐานจิตขอพรให้ได้ดั่งใจปราถนา 

ยังมีพระพุทธรูปปูนปั้นและปางมารวิชัยเช่นเดียวกับพระปฏิมาจำนวน 25 องค์ ประดิษฐานรอบฐานชุกชี 


อีกทั้งยังมีพระพุทธรูปปูนปั้นและปางมารวิชัยเช่นเดียวกับพระปฏิมาจำนวน 25 องค์ ประดิษฐานรอบฐานชุกชี 

และพระเจดีย์ ตั้งอยู่มุมด้านหน้าทั้งสองข้างของเขตพุทธาวาส ลักษณะเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้ 20 ทรงจอมแห เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ พระเจดีย์กลมอีก 2 องค์ อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ ลักษณะเป็นเจดีย์ฐานสูงมีทางขึ้นทางเดียว บนฐานที่ตั้งเจดีย์ทางเดินโดยรอบทั้ง 2 องค์

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญของพระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูนเป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งเป็น 13 ห้องเสา ไม่มีพาไล ฐานพระอุโบสถเป็นฐานบัวลูกแก้ว หลังคาทำเป็นชั้นลด 3 ชั้น


ส่วนลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญของพระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูนเป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งเป็น 13 ห้องเสา ไม่มีพาไล ฐานพระอุโบสถเป็นฐานบัวลูกแก้ว หลังคาทำเป็นชั้นลด 3 ชั้น มุงกระเบี้องเคลือบสี ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันเจาะเป็นช่องหน้าต่าง บานหน้าต่างเป็นลายเทพพนมเหนือบานหน้าต่างเป็นลายพระนารายณ์ทรงครุฑ ลวดลายพื้นหน้าบันแตกต่างกันคือ หน้าบันด้านหน้าลายพื้นเป็นลายเทพพนม ส่วนหน้าบันด้านหลังลายพื้นเป็นลายก้านแย่งใบเทศ ประดับกระจกสีปิดทอง ซุ้มประตู หน้าต่างซ้อนสองชั้น เป็นลายก้านขดปูนปั้นบานหน้าต่างด้านในเป็นภาพเขียนทวารบาล

และสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างเมื่อเข้ามาไหว้พระด้านในพระอุโบสถ จะมีน้ำมนต์อยู่ด้านข้างฐานชุกชี เป็นน้ำมนต์ที่บูชาและตักมา ไม่ใช่น้ำสำหรับดื่ม เป็นน้ำสำหรับประพรมเพื่อความเป็นสิริมงคล และทำพิธีทางศาสนา

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างเมื่อเข้ามาไหว้พระด้านในพระอุโบสถ จะมีน้ำมนต์อยู่ด้านข้างฐานชุกชี เป็นน้ำมนต์ที่บูชาและตักมา ไม่ใช่น้ำสำหรับดื่ม เป็นน้ำสำหรับประพรมเพื่อความเป็นสิริมงคล และทำพิธีทางศาสนา

โดยน้ำมนต์ที่อยู่ภายในโบสถ์นั้น ถือเป็น เป็นน้ำมนต์ที่บูชาและตักมา ไม่ใช่น้ำสำหรับดื่ม เป็นน้ำสำหรับประพรมเพื่อความเป็นสิริมงคล และทำพิธีทางศาสนา 


เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร

http://www.resource.lib.su.ac.th/rattanakosin/index.php/2014-10-27-08-52-05/2014-10-29-02-26-23/2015-10-19-03-26-15/2015-10-19-03-28-03


แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น