Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

เที่ยวทั่วไทยไปให้รู้ดู ตำนานหลวงพ่อโต วัดไชโย วัดเก่าแก่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ต้องมาเช็คอินกัน

แบ่งปันสาระดีๆ น่ารู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ วัดไชโย หรือวัดเกษไชโย จังหวัดอ่าง มีประวัติความเป็นมาอย่างไร มาให้อ่าน



สวัสดีเพื่อนๆสายเที่ยวทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจ งามไฉไลทุกคนๆค่ะ หากใครที่มีโอกาสได้แวะผ่านไปจังหวัดอ่างทอง คงไม่พลาดที่ต้องไปกราบสักการะ หลวงพ่อโต หนึ่งในวัดสำคัญคู่บ้าน คู่เมืองของจังหวัดอ่างทอง ที่ใครขับรถผ่านถนนสายเอเชีย เมื่อผ่านจังหวัดอ่างทอง ก็ต้องไม่พลาดเข้ามากราบสักการะ เพื่อขอพรให้เป็นสิริมงคลกันสักครั้ง ซึ่งวัดโชโย ถือเป็นวัดเก่าแก่มีประวัติเป็นมาที่น่าสนใจไม่น้อ วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า เลยขอมาแบ่งปันสาระน่ารู้เล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับวัดไชโย วัดสำคัญของจังหวัดอ่างทอง มาให้ได้อ่านฆ่าเวลากันค่ะ


สาระน่ารู้เกี่ยวกับ วัดไชโย (วัดเกษไชโย) อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง (Wat Chaiyo Worawihan, Ang Tong pronvince)


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัดไชโย (วัดเกษไชโย) อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง (Wat Chaiyo Worawihan, Ang Tong pronvince)


เดิมทีนั้นเป็นวัดราษฎร์เก่าแก่ มีนามว่า วัดไชโย  ซึ่งเมื่อสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตารามได้เลือกวัดนี้เป็นที่สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่


สำหรับวัดไชโย ถือว่าเป็นวัดเก่าแก่และสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง โดยเป็นวัดที่จัดอยู่ในพระอารามหลวงชั้นโท แต่เดิมทีนั้นเป็นวัดราษฎร์เก่าแก่ มีนามว่า วัดไชโย  ซึ่งเมื่อสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆษิตารามได้เลือกวัดนี้เป็นที่สร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ได้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่เป็นปูนขาวไม่ปิดทองไว้กลางแจ้ง ณ วัดแห่งนี้ โดยกล่าวกันว่า ใช้เวลาการก่อสร้างพระพุทธรูปนี้ใช้เวลานานเกือบ 3 ปี  


ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต ต่างเป็นที่ประจักษ์และกล่าวขานกันดีของชาวอ่างทองว่ากันว่า ผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้มากจะไม่สามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตได้


ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโต ต่างเป็นที่ประจักษ์และกล่าวขานกันดีของชาวอ่างทองว่ากันว่า ผู้ที่ก่อกรรมทำชั่วไว้มากจะไม่สามารถเข้าไปกราบนมัสการหลวงพ่อโตได้ เนื่องจากเมื่อเข้าใกล้องค์พระแล้ว จะมองเห็นหลวงพ่อโต กำลังจะล้มลงมาทับนั่นเอง ทำให้คนที่ทำไม่ดี จะรู้สึกเกรงกลัวและละอายต่อบาป ทำให้การสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ นัั้นถือเป็นกุศโลบาย ที่ให้พุทธศาสนิกชนได้มีที่พึ่งทางใจ ทำแต่ความดี ละเว้นความชั่ว ปฎิบัติดีและชอบอยู่ในความดีงาม

กระทั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงเสร็จ แล้วสมเด็จพุฒาจารย์ได้ถวายวัดไชโยเป็นวัดหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเกษไชโย”

จนกระทั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงเสร็จ แล้วสมเด็จพุฒาจารย์ได้ถวายวัดไชโยเป็นวัดหลวง ได้รับพระราชทานนามว่า “วัดเกษไชโย”แต่ชาวบ้านก็ยังเรียกสั้นๆว่า วัดไชโย มาจนถึงปัจจุบัน 


ในปี พ.ศ.2430 ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดเกษไชโยทั้งพระอาราม ทำให้พระพุทธรูปได้รับแรงกระเทือนจากการก่อสร้างพระวิหารก็พังทลายลง 


และต่อมาในปี พ.ศ.2430 ได้มีการปฏิสังขรณ์วัดเกษไชโยทั้งพระอาราม ทำให้พระพุทธรูปได้รับแรงกระเทือนจากการก่อสร้างพระวิหารก็พังทลายลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ทดแทนโดยโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการเป็นแม่กองช่าง 

ตั้งแต่ระยะแรกของการปฏิสังขรณ์ พร้อมกับพระราชทานนามพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า “พระมหาพุทธพิมพ์


โดยรื้อองค์พระเดิมออกหมด วางรากฐานก่อสร้างใหม่ใช้โครงเหล็กรัดอิฐปูนไว้ภายในลดขนาดจากองค์เดิมลงพระพุทธรูปองค์นี้  ตั้งแต่ระยะแรกของการปฏิสังขรณ์ พร้อมกับพระราชทานนามพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” ขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว สูง 11 วา ศอก 7 นิ้ว และโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดไชโยให้เป็นพระอารามหลวง 

ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีมหกรรมเฉลิมฉลองพระอารามวัดไชโยเป็นงานใหญ่ 3 วัน 3 คืน เมื่อวันที่ 5–7 ตุลาคม พ.ศ. 2438 พระราชทานของช่วยงาน


นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้มีมหกรรมเฉลิมฉลองพระอารามวัดไชโยเป็นงานใหญ่ 3 วัน 3 คืน เมื่อวันที่ 5–7 ตุลาคม พ.ศ. 2438 พระราชทานของช่วยงาน ได้แก่ ละคร 1 โรง หนัง 1 โรง ดอกไม้เพลิง 1 ต้น กัลปพฤกษ์ 2 ต้น


ในปี พ.ศ. 2531 ได้เริ่มปิดทององค์พระมหาพุทธพิมพ์ โดยดำเนินการภายใต้การควบคุมดูแลของกรมศิลปากร ทำให้เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่มีความสวยงามเป็นทั้งองค์

 

จนกนะทั้งในปี พ.ศ. 2531 ได้เริ่มปิดทององค์พระมหาพุทธพิมพ์ โดยดำเนินการภายใต้การควบคุมดูแลของกรมศิลปากร ทำให้เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่มีความสวยงามเป็นทั้งองค์ และยังถูกจัดให้เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ใหญ่ที่สุดอีกแห่งหนึ่งของไทยด้วย  


วิหารองค์สมเด็จพระพุฒาจารย์โต 


พระวิหาร มีความสูงใหญ่มากแห่งหนึ่ง รูปทรงสวยงามและวิจิตรตระการแ ด้านนอกมีรูปทวารบาลลายรดน้ำ เป็นรูปเสี้ยวกวาง เสาหารด้านหน้า-หลังพระวิหารมีขนาดใหญ่โตมาก 


ยังมีการก่อ พระวิหาร สร้างพระอุโบสถเป็นมุขลดยื่นออกมาทางด้านหน้า มีศาลาราย กำแพงแก้ว


นอกจากนี้ยังมีการก่อ พระวิหาร สร้างพระอุโบสถเป็นมุขลดยื่นออกมาทางด้านหน้า มีศาลาราย กำแพงแก้ว ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ หอสวดมนต์ หอระฆัง ศาลารายกลางวัด ศาลาท่าน้ำ รวมเวลาการปฏิสังขรณ์นานถึง 8 ปีด้วยกัน 

กิจกรรมปล่อยปลาลงแม่น้ำเจ้าพระยา 


พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีพุทธลักษณะที่โดดเด่นกว่ายุคสมัยที่ไม่ยึดแนวอุดมคติตายตัว พระพักตร์และพระกรรณจึงเหมือนคนธรรมดามากกว่า มีริ้วรอยย่นของ สบง จีวร ชัดเจน



หากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาวัดไชโย สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ ได้แก่ พระมหาพุทธพิมพ์ หรือที่เรียกว่า หลวงพ่อโต เป็นฝีพระหัตถ์ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีพุทธลักษณะที่โดดเด่นกว่ายุคสมัยที่ไม่ยึดแนวอุดมคติตายตัว พระพักตร์และพระกรรณจึงเหมือนคนธรรมดามากกว่า มีริ้วรอยย่นของ สบง จีวร ชัดเจน มีความงดงามยิ่งนัก ซึ่งนักท่องเที่ยวและพุทธศาสนิกชน  ที่มากราบไหว้ขอพระองค์หลวงพ่อโตแล้ว ติดกับวิหารหลวงพ่อโต ก็จะเป็นอุโบสถประดิษฐานพระพุทธพิมพ์ 


และอีกหนึ่งความโดดเด่นของวัดเกษไชโยคือ ภายในพระอุโบสถ พระประธานเป็นพระพุทธรูปปั้นปางสมาธิ ผนังทุกด้านมีภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5  เป็นเรื่องพุทธประวัติ ภาพเหล่าทวยเทพที่วิจิตรงดงาม

โดยภายในพระอุโบสถ พระประธานเป็นพระพุทธรูปปั้นปางสมาธิ ผนังทุกด้านมีภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเรื่องพุทธประวัติ ภาพเหล่าทวยเทพที่วิจิตรงดงาม ยังอยู่ในสภาพที่ดี บานประตูแกะสลักอย่างประณีต

มีอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ประชาชนรู้จักวัดนี้เป็นอย่างดี ได้แก่ “พระสมเด็จเกษไชโย” พระเครื่องที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์


นอกจากจะเป็นวัดสำคัญของอำเภอไชโยแล้ว ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ประชาชนรู้จักวัดนี้เป็นอย่างดี ได้แก่ “พระสมเด็จเกษไชโย” พระเครื่องที่สร้างโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณนานัปการ ที่พุทธศาสนิกชนที่เคาพรนับถือสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ก็มักจะมานิยมกราบกราบขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลด้วยกันทั้งสิ้น 

การเดินทางไปวัดไชโยวรวิหาร จากอ่างทองใช้ทางหลวงหมายเลข 309 (อ่างทอง-สิงห์บุรี) ประมาณ 17 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาบริเวณสถานีตำรวจภูธรตำบลไชโยอีกประมาณ 300 เมตร ก็จะถึงจุดมุ่งหมาย


การเดินทางไปวัดไชโยวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลไชโย อำเภอไชโย จากอ่างทองใช้ทางหลวงหมายเลข 309 (อ่างทอง-สิงห์บุรี) ประมาณ 17 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาบริเวณสถานีตำรวจภูธรตำบลไชโยอีกประมาณ 300 เมตร ก็จะถึงจุดมุ่งหมายที่วัดไชโย โดยบริเวณวัดมีที่จอดรถกว้างขวาง มีห้องน้ำสุขา มีตลาดขายของกิน และของฝากของที่ระลึกให้เลือกซื้อเลือกหากันด้ดวย





เครดิตข้อมูลดีๆจาก : http://www.angthong.go.th/atg-tour/5wat-chaiyo.html

https://th.wikipedia.org/wiki/วัดไชโยวรวิหาร

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น