เดินทางเที่ยวเมืองไทย ไปเยือนจังหวัดฉะเชิงเทรา ไม่พลาดไปรู้จักประวัติ วัดหงษ์ทอง หรือว่า วัดกลางน้ำ วัดสวยงามสุด Unseen ที่ตั้งอยู่ติดริมทะเลอ่าวไทย มีที่มาอย่างไร มาให้อ่านกัน |
หากใครที่ได้มีโอกาสไปเที่ยวเมืองแปดริ้ว หรือว่าจังหวัดฉะเชิงเทรา เมืองท่องเที่ยวยอดนิยมใกล้กรุงเทพ ที่มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจหลายแห่ง ซึ่งนอกจากจะมีวัดหลวงพ่อโสธร ซึ่งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองแปดริ้วแล้ว ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ยังมีหนึ่งวัดสวยงาม ที่ถูกจัดให้เป็น อันซีนไทยแลนด์ แดนมหัศจรรย์ ให้เหล่าคนรักการเดินทาง ต้องไปเช็คอินกันให้ได้ นั้นก็คือ วัดหงษ์ทอง ซึ่งจัดเป็นวัดที่มีเจดีย์และโบถส์ติดริมทะเล อีกทั้งยังหอคอยชมวิว และมีทางเดินสกายวอล์ค หรือทางเดินกระจกให้ได้เช็คอินถ่ายรูปกันด้วย ซึ่งวัดหงษ์ทอง ก็จัดเป็นวัดที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดฉะเชิงเทรา และสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอยู่ในท้องถิ่นอีกด้วย
ซึ่งวัดแห่งนี้ก็มีประวัติที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว และหลังจากเลิกงานมาวันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ก็ขอมาแบ่งปันสาระน่ารู้เล็กน้อยๆเกี่ยวกับวัดหงษ์ทอง หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดกลางน้ำ แห่งนี้นั้น มีประวัติเป็นมาที่น่าสนใจอย่างไร มาให้อ่านฆ่าเวลากันค่ะ
ประวัติความเป็นมาน่ารู้เกี่ยวกับ วัดหงษ์ทอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา (Wat Hong Thong (Wat Klang Na),Bang Pakong District, Chachoengsao) |
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ วัดหงษ์ทอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา (Wat Hong Thong (Wat Klang Na),Bang Pakong District, Chachoengsao)
สำหรับ วัดหงษ์ทอง นั้น แต่เดิมทีเป็นสำนักสงฆ์หลวงปู่ปาน ซึ่งขณะนั้น ท่านดำรงตำแหน่งเป็น เจ้าอาวาส วัดมงคลโคธาวาส อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่นั้น ช่วงออกพรรษาของทุกปี ท่านจะธุดงค์เลียบชายทะเลจากคลองด่านไปชลบุรี เพื่อไปสักการะ พระพุทธบาทสระบุรี ซึ่งในสมัยนั้นจากคลองด่านไปบางปะกง ไม่มีถนนและไม่มีวัด เมื่อท่านผ่านไปเห็นหมู่บ้านใด ก็จะทำโคกให้พ้นระดับน้ำทะเลเพื่อปักกรดพักแรม ให้ชาวบ้านในระแวกใกล้เคียงได้ทำบุญ โดยโคกชาวบ้านเรียกว่า "โคกหลวงปู่ปาน" ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดหงษ์ทองแห่งนี้นั้นเอง
วัดหงษ์ทอง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2529 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 20 เมตร ยาว 32 เมตร |
วัดหงษ์ทอง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 21 ไร่ 80 ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2529 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 20 เมตร ยาว 32 เมตร
ในปี พ.ศ.2522 ผู้ใหญ่ปราชญ์ได้จัดการทอดกฐินและผ้าป่ารวบรวมเงิน ซื้อที่ดินจำนวน 21 ไร่ 2 งาน และขออนุญาตกรมศาสนาตั้งเป็นวัดขึ้น โดยกรมศาสนาให้ชื่อว่า "วัดหงษ์ทอง" |
และในปี พ.ศ.2510 ได้จัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ ชื่อสำนักสงฆ์หลวงปู่ปาน ต่อมาในปี พ.ศ.2522 ผู้ใหญ่ปราชญ์ได้จัดการทอดกฐินและผ้าป่ารวบรวมเงิน ซื้อที่ดินจำนวน 21 ไร่ 2 งาน และขออนุญาตกรมศาสนาตั้งเป็นวัดขึ้น โดยกรมศาสนาให้ชื่อว่า "วัดหงษ์ทอง" แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2527 โดยมีพระอาจารย์โพธิ์ เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมาในปี พ.ศ.2528 หลวงพ่อปราชญ์ สอบได้นักธรรมชั้นโท จึงขออนุญาตเจ้าอาวาสออกธุดงค์ ขณะที่หลวงพ่อปราชญ์ออกธุดงค์เป็นเวลา 6 ปี เจ้าอาวาสวัดหงษ์ทองได้มรณภาพติดต่อกันถึง 2 รูป เมื่อทางวัดไม่มีเจ้าอาวาสสืบสานต่อ ญาติโยมจึงนิมนต์ท่านกลับมารับตำแหน่งเจ้าอาวาส ฉายาว่า พระอธิการปราชญ์ ปภากโร ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันท่านมีสมศักดิ์เป็น พระครูปรีชาประภากร ปภากโร
ในปี พ.ศ.2534 ที่ดินวัดหงษ์ทองได้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะ ในระยะแรกท่านดำเนินการด้วยการว่ายน้ำ ดำน้ำไปเก็บไม้ไผ่มาทำแนวป้องกันและหยุดภาวะน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งที่เป็นเขตพื้นที่ของวัด |
จนกระทั้งในปี พ.ศ.2534 ที่ดินวัดหงษ์ทองได้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะ จนเหลือเนื้อที่เพียง 8 ไร่ จากที่เคยมีระบุไว้ในโฉนด 21 ไร่ 2 งาน ในระยะแรกท่านดำเนินการด้วยการว่ายน้ำ ดำน้ำไปเก็บไม้ไผ่มาทำแนวป้องกันและหยุดภาวะน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งที่เป็นเขตพื้นที่ของวัด ซึ่งการปฎิบัติด้วยความพากเพียรยิ่งนี้เอง เป็นเหตุปัจจัยสำคัญของศรัทธาบริจาคที่เอื้อให้สร้างเขื่อนให้สำเร็จ จากนั้นได้ก่อสร้างถาวรวัตถุของวัดในอาณาบริเวณเดิม ซึ่งส่วนหนึ่งถูกกัดเซาะลงทะเลไป ทว่าล้วนตั้งอยู่ในพิกัดโฉนดที่ดินของวัดทั้งสิ้น
วัดหงษ์ทอง คือ อุโบสถกลางทะเล ภายในมีพระประธานสีทองและมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ |
จุดเด่นของวัดหงษ์ทอง คือ อุโบสถกลางทะเล ภายในมีพระประธานสีทองและมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นเรื่องราวพุทธประวัติ ด้านหลังอุโบสถมีรูปหล่อเสด็จเตี่ยหรือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ นอกจากนี้แล้วที่วัดหงษ์ทองแห่งนี้ ยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ไอ้ไข่ เด็กวัดเจดีย์, หลวงพ่อโต, ศาลพ่อปู่ชีวกโกมารภัจจ์, พระแม่คงคา เป็นอาทิ
มีการสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระธาตุในทะเลใช้ชื่อว่า พระธาตุคงคามหาเจดีย์ปรีชาประภากรณ์ปราชญ์ศรนิลอนุสรณ์ |
ภายในวัดได้ก่อสร้างศูนย์พัฒนาจิต ศาลาปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ศรนิลอนุสรณ์ ตั้งยื่นไปในทะเล มีการสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระธาตุในทะเลใช้ชื่อว่า พระธาตุคงคามหาเจดีย์ปรีชาประภากรณ์ปราชญ์ศรนิลอนุสรณ์ ซึ่งบรรจุพระธาตุอรหันต์ในทะเลเป็นแห่งแรกของโลก
ชั้นบนสุดนั้นเป็นที่บรรจุพระอรหันต์ธาตุไว้ในเจดีย์สีทอง ทุกชั้นมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงเรื่องราว พุทธประวัติ ภาพวาดของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่อดีตจนถึงรัชกาลปัจจุบัน |
โดยภายในองค์พระเจดีย์ ชั้นล่างประดิษฐานหลวงพ่อโสธร ส่วนชั้นที่สองประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนจริงของพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) แห่งวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ชั้นนี้ยังประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกตองค์จำลอง ชั้นบนสุดนั้นเป็นที่บรรจุพระอรหันต์ธาตุไว้ในเจดีย์สีทอง ทุกชั้นมีภาพจิตรกรรมฝาผนังแสดงเรื่องราว พุทธประวัติ ภาพวาดของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่อดีตจนถึงรัชกาลปัจจุบัน รวมทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ วัดมีกุฏิหลวงปู่ ด้านบนมีเจดีย์สีทองขนาดย่อมอยู่
และนอกจากนี้ยังมีทางเดินสกายวอล์ค ซึ่งเป็นจุดแหล่งท่องเที่ยวที่ทางวัดได้สร้างขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางมาถ่ายรูป และด้วยสถาป้ตยกรรมอาคารโบสถ์ทรงไทยและเจดีย์ที่ตั้งอยู่ติดริมทะเล หรือว่าอยู่กลางน้ำ ทำให้กลายเป็น วัดสวย Unseen ของเมืองไทย ที่มีนักเดินทางมาเยือนและเที่ยวชมกันอย่างไม่ขาดสาย
https://th.wikipedia.org/wiki/วัดหงษ์ทอง_(จังหวัดฉะเชิงเทรา)
0 ความคิดเห็น