Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

เที่ยวไปให้รู้ดู British Museum พิพิธภัณฑ์ที่มีของสะสมมากที่สุดในโลก เข้าชมฟรี มีประวัติเป็นมาอย่างไร

แบ่งปันสาระน่ารู้เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ฺอังกฤษ หรือ British Museum พิพิธภัณฑ์ที่มีของสะสมมากที่สุดในโลกแห่งนี้ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร 


สวัสดีทักทาย ซำบายดีอีหลีอยู่บ่ คุณผู้อ่านและเหล่าผู้รักการทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจ งามวิไลเริ่ดสะแมนกันทุกๆคนค่ะ สำหรับเพื่อนๆคนใหนที่มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และไปเที่ยวเป็นครั้งแรก แน่นอนว่า นอกจากจะไปถ่ายรูปที่หอนาฬิกาบิ๊กเบนแล้ว หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาดเลย นั้นก็คือ การไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์อังกฤษ พิพิธภัณฑ์เก่าแก่ที่มีของสะสมมากที่สุดในโลก แถมเข้าชมได้ฟรีอีกด้วย ซึ่งประวัติของพิพิธภัณฑ์อังกฤษ หรือ British Museum นั้นก็มีที่มาอย่างน่าสนใจไม่น้อยทีเดียว วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า เลยขอมาแบ่งปันสาระน่ารุ้เล็กๆน้อยเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์อังกฤษ มาให้ได้อ่านกันจ้า



แบ่งปันสาระน่ารู้เกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์อังกฤษ (British Museum) กรุงลอนดอน,ประเทศอังกฤษ 




เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์อังกฤษ (British Museum) กรุงลอนดอน,ประเทศอังกฤษ 


สำหรับพิพิธภัณฑ์บริติช หรือ พิพิธภัณฑ์อังกฤษ (British Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่ประวัติศาสตร์มุนษย์, ศิลปะ และ วัฒนธรรม ของสะสมถาวรของพิพิธภัณฑ์มีจำนวนราวแปดล้านชิ้นและเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่มีของสะสมมากที่สุดในโลก โดยตั้งอยู่ในย่านบลูมส์บรีสของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ด้านในพิพิธภัณฑ์มีการจัดห้องนิทรรศการแบ่งเป็นโซนต่งๆ ซึ่งครอบคลุมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ซึ่งได้มาจากการเก็บรวบรวมนับตั้งแต่สมัยของจักรวรรดิอังกฤษ เป็นต้นมา ทำให้พิพิธภัณฑ์สามารถบอกเล่าความเป็นมาของมนุษยชาติได้ตั้งแต่อดีต บริทิชมิวเซียมเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เปิดแก่สาธารณะแห่งแรกของโลก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้รวบรวมวัตถุโบราณต่างๆ จากทั่วโลก เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาและค้นคว้าวิจัยที่สำคัญทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ และการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม


พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้ังขึ้นเมื่อในปี ค.ศ.1753 หรือปี พ.ศ. 2296 


พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก่อตั้ังขึ้นเมื่อในปี ค.ศ.1753 หรือปี พ.ศ. 2296 วัตถุโบราณที่รวบรวมใน British Museum นั้น แรกเริ่มเดิมทีเกิดจากการสะสมของเซอร์ฮานส์ สโลน (Sir Hans Sloane) นายแพทย์และนักธรรมชาติวิทยาชาวไอริส ซึ่งต่อมาได้มอบของสะสมทั้งหมดให้แก่ พระเจ้าจอร์จที่ 2 แห่งบริเตนใหญ่ (George II of Great Britain)  เพื่อเก็บรักษาไว้หลังจากตนเองล่วงลับไป โดยเวลาผ่านไป คอลเลคชันหรือของสะสมโบราณวัตถุของ British Museum ก็เพิ่มจำนวนขึ้น โดยจากการขุดค้นพบ การซื้อ การบริจาค รวมไปจนถึงของโบราณวัตถุอันทรงคุณค่าที่ได้จากยุคล่าอาณานิคมของอังกฤษอีกด้วย 


ภายหลังที่ก่อตั้งขึ้นได้ 6 ปี จากนั้นพิพิธภัณฑ์อังกฤษเปิดสู่สาธารณะเป็นครั้งแรกในปี 1759 ในมอนทากูเฮาส์ ที่ตั้งของอาคารพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน


และภายหลังที่ก่อตั้งขึ้นได้ 6 ปี จากนั้นพิพิธภัณฑ์อังกฤษเปิดสู่สาธารณะเป็นครั้งแรกในปี 1759 ในมอนทากูเฮาส์ ที่ตั้งของอาคารพิพิธภัณฑ์ในปัจจุบัน การขยายตัวของพิพิธภัณฑ์ในช่วง 250 ปีต่อมาส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการล่าอาณานิคมของอังกฤษ และส่งผลให้เกิดสถาบันสาขาหลายแห่ง หรือการแยกตัวเป็นอิสระ โดยแห่งแรกคือพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ในปี ค.ศ. 1881. 


โบราณวัตถุที่สำคัญจากทั่วโลกถูกจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ British Museum


แม้ว่าปัจจุบันจะเป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะวัฒนธรรมและโบราณวัตถุ แต่บริติชมิวเซียมก็ก่อตั้งขึ้นในฐานะ "พิพิธภัณฑ์สากล" รากฐานของการสร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อเป็นไปตามเจตจำนงของแพทย์และนักธรรมชาติวิทยาชาวแองโกล-ไอริช เซอร์ ฮานส์ สโลน ( ค.ศ.1660–1753) ซึ่งเป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ในลอนดอนจาก Ulster ในช่วงชีวิตของเขา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่เขาแต่งงานกับหญิงม่ายของชาวไร่ชาวจาไมกาผู้มั่งคั่ง โดยสโลนรวบรวมสิ่งที่อยากรู้มากมาย และไม่ปรารถนาที่จะเห็นของสะสมของเขาพังทลายหลังความตาย เขาได้มอบมรดกนั้นให้กับพระเจ้าจอร์จที่ 2 เพื่อชาติเป็นจำนวนเงิน 20,000 ปอนด์ 


ด้วยความเป็นเจ้าของของพิพิธภัณฑ์นี้เอง ทำให้โบราณวัตถุที่มีชื่อเสียงที่สุดบางชิ้นที่ได้มาจากประเทศอื่นยังคงเป็นที่ถกเถียงในระดับสากล


และด้วยความเป็นเจ้าของของพิพิธภัณฑ์นี้เอง ทำให้โบราณวัตถุที่มีชื่อเสียงที่สุดบางชิ้นที่ได้มาจากประเทศอื่นยังคงเป็นที่ถกเถียงในระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีของงานสลักหินอ่อนเอลกิน จากกรีซ, ศิลารอเซตตา จากอียิปต์ และทองสัมฤทธิ์เบนิน จากราชวงศ์เบนิน ที่ถูกจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มีนักเดินทางจากประเทศต้นกำเนิดที่อังกฤษเคยปกครองในยุคอาณานิคมมาแวะชมอย่างไม่ขาดสาย 


ในปี 2022 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้รับผู้เข้าชมได้ 4,097,253 คน  ดยอยู่ในอันดับที่ 3 ในรายชื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลกอีกด้วย


โดยในปี 2022 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้รับผู้เข้าชมได้ 4,097,253 คน เพิ่มขึ้น 209 เปอร์เซ็นต์จากปี 2021 โดยอยู่ในอันดับที่ 3 ในรายชื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลกอีกด้วย และเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ของกรุงลอนดอน ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมได้ฟรี หรือบริจาคทรัพย์ตามกำลังศรัทธาเพื่อสมทบค่าใช้จ่ายให้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญให้กับนักเรียน นักศึกษา รวมถึงอนุชนคนรุ่นหลังได้


 ว่ากันว่า British Museum ครอบครองและเก็บรักษาโบราณวัตถุกว่า 8 ล้านชิ้น 


และใน British Museum กรุงลอนดอน นั้นรวบรวมวัตถุต่าง ๆ จากทุกทวีป ซึ่งจัดแบ่งโซนจัดแสดงวัตถุ เช่น โซนอียิปต์โบราณ โซนกรีกและโรมันโบราณ โซนเอเชีย โซนยุโรป โซนอเมริกา โซนตะวันออกกลาง เป็นต้น ว่ากันว่า British Museum ครอบครองและเก็บรักษาโบราณวัตถุกว่า 8 ล้านชิ้น แต่สามารถนำมาจัดแสดงให้ผู้เข้าชมได้เพียงส่วนน้อยเนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่จัดแสดง วัตถุโบราณบางส่วนต้องเก็บรักษาไว้ในห้องใต้ดิน


สถาปัตยกรรรมของตัวอาคาร คือ ด้านหน้าอาคาร Greek Revival หันหน้าไปทางถนน Great Russell 


ลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรรมของตัวอาคาร คือ ด้านหน้าอาคาร Greek Revival หันหน้าไปทางถนน Great Russell เป็นอาคารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเซอร์โรเบิร์ต สเมิร์ก โดยมีเสา 44 เสาในรูปแบบไอออนิกสูง 45 ฟุต (14 ม.) โดยอิงอย่างใกล้ชิดกับเสาของวิหาร Athena Polias ที่ Priene ในเอเชียไมเนอร์ หน้าจั่วเหนือทางเข้าหลักตกแต่งด้วยประติมากรรมโดยเซอร์ริชาร์ด เวสต์มาคอตต์ ซึ่งบรรยายถึงความก้าวหน้าของอารยธรรม ซึ่งประกอบด้วยบุคคลเชิงเปรียบเทียบ 15 คน ซึ่งติดตั้งในปี ค.ศ.1852 (พ.ศ. 2395) 


โซนจัดแสดงนิทรรศการต่างๆภายในพิพิธภัณฑ์บริสติช (British Museum )


ในปี ค.ศ.1973 (พ.ศ.2516)  พระราชบัญญัติหอสมุดอังกฤษ และในปีค.ศ.1972 ( พ.ศ. 2515) ได้แยกแผนกห้องสมุดออกจากบริติชมิวเซียม แต่ยังคงเป็นที่ตั้งของห้องสมุดอังกฤษซึ่งปัจจุบันแยกออกจากกันในห้องอ่านหนังสือและอาคารเดียวกันกับพิพิธภัณฑ์จนถึงปี พ.ศ. 2540 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นหน่วยงานสาธารณะที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานจิทัล วัฒนธรรม สื่อ และการกีฬา และเช่นเดียวกับพิพิธภัณฑ์แห่งชาติทุกแห่งในสหราชอาณาจักร ไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเข้าชม ยกเว้นนิทรรศการที่ยืมมาเท่านรั้น 


แบ่งโซนจัดแสดงวัตถุ เช่น โซนอียิปต์โบราณ โซนกรีกและโรมันโบราณ


ในเวลานั้น คอลเลคชันของ เซอร์ฮานส์ สโลน ประกอบด้วยสิ่งของทุกประเภทประมาณ 71,000 ชิ้น รวมถึงหนังสือที่จัดพิมพ์ประมาณ 40,000 เล่ม ต้นฉบับ 7,000 เล่ม ตัวอย่างประวัติศาสตร์ธรรมชาติอันกว้างขวาง รวมถึงพืชแห้ง 337 เล่ม ภาพพิมพ์และภาพวาด รวมถึงของอัลเบรชท์ ดูเรอร์ และโบราณวัตถุจากซูดาน อียิปต์ กรีซ โรม โบราณตะวันออกใกล้และไกล และอเมริกา


โบราณวัตถุอันล้ำค่าจากโซนเอเชีย ก็ถูกจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เช่นกัน

ปัจจุบัน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ไม่ได้เป็นที่รวบรวมคอลเลคชันของสะสมโบราณวัตถุ และประวัติศาสตร์ธรรมชาติอีกต่อไป หนังสือและต้นฉบับที่ครั้งหนึ่งเคยเก็บไว้ ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของหอสมุดแห่งชาติอังกฤษ พิพิธภัณฑ์ยังคงรักษาความเป็นสากลไว้ในคอลเล็กชั่นสิ่งประดิษฐ์ที่แสดงถึงวัฒนธรรมของโลก ทั้งสมัยโบราณและสมัยใหม่ คอลเลกชันดั้งเดิมของปี 1753 ได้เติบโตขึ้นจนมีวัตถุมากกว่า 13 ล้านชิ้นที่บริติชมิวเซียม 70 ล้านชิ้นที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ และ 150 ล้านชิ้นที่หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ


สำหรับพิพิธภัณฑ์บริชติช เปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 10.00-17.00 น. 

วิธีการเดินทางไปยังพิพิธภัณฑ์ นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางด้วยรถไฟฟ้าใต้ดินที่ใกล้ที่สุดคือ สถานีรถไฟ Tottenham Court Road, แล้วเดินไปที่พิพิธภัณฑ์ประมาณ 400 เมตรก็จะถึงพิพิธภัณฑ์อังกฤษ () 


เครดิตข้อมูลสาระน่ารู้จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/พิพิธภัณฑ์บริติช

---------------------------------------------------------------------------


------



แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น