Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

รีวิวบันทึกไปเที่ยวศรีเทพ-เขาคลังนอก-ป่าสัก ตามรอยเมืองเก่าโบราณ มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย

แบ่งปันทริปสั้นๆ รีวิวไปเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ตามรอยเมืองเก่าโบราณที่ถูกยกให้แหล่งมรกดกโลกแห่งใหม่ของไทย




หลังจากที่มีข่าวคราว การประกาศจากองค์การยูเนสโก้ ยกให้ เขาคลังนอก เป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 7 ของไทย ที่ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ จากข่าวที่ออกโครมตามสื่อต่างๆ ก็ทำให้กระแสการท่องเที่ยวตามโบราณสถานต่างๆ กลับมาคึกคักอีกครั้ง หลังจากที่เงียบเหงาไปนาน และเดี๊ยนเองก็เป็นหนึ่งในผู้ที่หลงใหลในการเดินทางชมโบราณสถาน และสถาปัตยกรรมเป็นอย่างมาก จำได้ว่าทริปแรกๆที่บันทึกรีวิวการเดินทางลงในเว็ปไซต์บล็อกนี้ ก็น่าจะเปฺ็นอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ที่เป็นช่วงจัดงานลอยกระทงเมื่อปี 2558 ซึ่งนานมากๆแล้วค่ะ


อีกอย่างคือ ครั้นเมื่อไปเที่ยวเมืองเพชรบูรณ์เมื่อปี 2561 ก็ได้แค่นั่งรถโดยสารผ่านศรีเทพ แต่ไม่ได้มาเสพสม ชมเมืองเก่าโบราณที่นี่ เพราะว่าตั้งหน้า ตั้งตาไปเที่ยวเฉพาะในตัวเมืองและไปภูทับเบิก หรือเขาค้อเท่านั้น การเดินทางเที่ยวทริปนี้เลยขอไปรีวิวเที่ยวชม   และในการเดินทางรีวิวเที่ยวครั้งนี้ เดี๊ยนเลยไม่พลาดขอไปเที่ยวชมเขาคลังนอก ที่อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพสักครั้ง เพราะไม่เคยไปมาก่อนเลย 


เพื่อไม่ให้บทความร้างไป หลังจากเลิกงานประจำมาวันนี้ คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า เลยขอมาแบ่งปันรีวิวเที่ยวอุทยานประวัติศาตร์ศรีเทพ แวะไปเสพสมชม เช็คอินถ่ายรุปที่เขาคลังนอก แหล่งท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ หรือเมืองโบราณศรีเทพ มาให้เพื่อนได้สไลด์ดูกัน 




และทริปนี้ก็ไม่ได้แบกเป้ลุยเดี่ยว เที่ยวคนเดียวเหมือนทริปที่ผ่านมาค่ะ เพราะมากับเพื่อนที่ทำงาน 2 คน ทริปนี้เลยไม่เหงาแล้ว เพราะมีคนเม้ามอยด้วย

 เริ่มต้นการเดินทาง ขับรถออกจากกรุงเทพ ตั้งแต่เวลาเช้าตรู่ มุ่งหน้าไปยังอำเภอศรีเทพ ระยะทางรวมประมาณ 240 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3-4 ชั่วโมง


ใช้ถนนเส้นสระบุรี-หล่มสัก ระหว่างทางถ้าใครขับรถผ่านถนนนี้ จะผ่านช่องเขาขาดด้วย 



อีก 25 กิโลเมตรก็จะถึงอำเภอศรีเทพแล้วค่ะ แต่ว่าเพื่อนที่ขับรถหิวข้าวแล้ว 


ระหว่างทางเราเลยแวะไปเติมพลัง ทานร้านอาหารริมทางก่อนค่ะ ร้านใหนก็ได้ ไปเจอร้านไร่แสนรัก แวะมานั่งพักทานสักหน่อย

เมนูร้านไร่แสนรัก ร้านริมทางในอำเภอชัยบาดาล 


มื้อเที่ยงนี้ ทานอะไรดี ในเมนูมีหลายอย่างให้เลือก ราคาเริ่มต้น 40 บาทจ้า 


ในเมื่อคิดอะไรไม่ออก เที่ยงนี้เลยจัดไป ข้าวผัดกระเพราหมูไข่ดาว ราคา 50 บาท เพราะมีไข่ดาวด้วยนะ



นอกจากนั้น ยังมีเมนูอื่่นๆอีกด้วย และที่เดี๊ยนอ่านแล้ว ชอบคงเป็นป้ายให้ข้อคิด เขียนเตือนใจไว้ว่า 

คิดมาก = เครียด

คิดน้อย = โง่

คิดไปเอง = เจ็บ

คิดลึก  =  ทะลึ่ง

คิดถึง = ทรมาน

คิดฟุ้งซ่าน = อีบ้า

คิดนอกใจ = ตาย

คิดในใจ = ใครจะไปรู้

แต่อิ่มแล้ว คิด เงินด้วยจ้า...คำคมเริ่ดสะแมนแตน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจมาก



ในที่สุดก็เดินทางมาถึงอำเภอศรีเทพแล้วค่ะ เห็นป้ายก็เลี้ยวไปตามลูกศร เพื่อเดินทางไปอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ 

พื่อนๆคนใหนที่เดินทางมา สามารถไปเขาคลังนอก หรือไปเขตอุทยานประวัติศาสตร์ด้านในก่อนก็ได้ เพราะระยะทางไม่ได้ไกลกันค่ะ 

ตอนพวกเราขับรถเข้ามา ก็สับสนกับป้ายบอกทางนิดเหน่อยค่ะ ตัดสินใจอยู่ว่าจะไปเขาคลังนอกก่อน หรือไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ด้านในอุทยานประวัติศาสตร์ก่อนดี เลยตัดสินใจไปเขาคลังนอกก่อนค่ะ  

หากเพื่อนๆคนใหนที่เดินทางมา สามารถไปเขาคลังนอก หรือไปเขตอุทยานประวัติศาสตร์ด้านในก่อนก็ได้ เพราะระยะทางไม่ได้ไกลกันค่ะ 



ขับรถออกมาไม่ไกลจากบริเวณด้านในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ก็ถึงเขาคลังนอก สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมเปิดใหม่ ที่ใครๆต่างก็ไม่พลาดต้องเดินทางมาชมกัน  โดยเขาคลังนอก เป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่ด้านนอก ทำให้ไม่ต้องเสียค่าเข้าชมค่ะ 


พอเข้ามาก็จะุมีเจ้าหน้าที่ดูแล เรื่องที่จอดรถให้ ซึ่งวันที่เดี๊ยนไปเที่ยว ก็เป็ฺนวันหยุดยาว นักท่องเที่ยวเยอะมากๆค่ะ 

1.แวะเที่ยวจุดแรก : เขาคลังนอก  โบราณสถานที่ค้นพบมานานแล้วในหมู่โบราณสถานของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่เพิ่งบูรณะแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2555

1.แวะเที่ยวจุดแรก : เขาคลังนอก ลักษณะของเขาคลังนอกเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13–14 ในสมัยทวารวดี สันนิษฐานว่าเดิมมีลักษณะเป็นสถูปขนาดใหญ่ที่สามารถขึ้นไปด้านบนได้

1.แวะเที่ยวจุดแรก : เขาคลังนอก  ปัจจุบันเหลือเพียงฐานขนาดใหญ่ ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยศิลาแลง สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน 


1.แวะเที่ยวจุดแรก : เขาคลังนอก 

เขาคลังนอก เป็นโบราณสถานที่ค้นพบมานานแล้วในหมู่โบราณสถานของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่เพิ่งบูรณะแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2555 ลักษณะของเขาคลังนอกเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13–14 ในสมัยทวารวดี สันนิษฐานว่าเดิมมีลักษณะเป็นสถูปขนาดใหญ่ที่สามารถขึ้นไปด้านบนได้ ปัจจุบันเหลือเพียงฐานขนาดใหญ่ ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยศิลาแลง สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน กว้างด้านละประมาณ 64 เมตร ความสูงจากฐานถึงยอด ประมาณ 20 เมตร แบ่งเป็น 2 ชั้นหลัก ๆ โดยแต่ละชั้นสูงประมาณ 5 เมตร แต่ละทิศมีเจดีย์รายรอบเล็ก ๆ ซึ่งแสดงถึงความเชื่อเกี่ยวกับมณฑลจักรวาล และอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมของอินเดียตอนใต้และชวากลางคล้ายบรมพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย

ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร สันนิษฐานว่าด้านบนประกอบด้วยลานประทักษิณ สำหรับประกอบพิธีกรรม



จากข้อมูล ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร สันนิษฐานว่าด้านบนประกอบด้วยลานประทักษิณ สำหรับประกอบพิธีกรรม และเป็นระเบียงที่สามารถเดินวนรอบได้ ลานประทักษิณมีเจดีย์ประธานตั้งอยู่บนสุดสร้างด้วยอิฐ โดยมีฐานอิฐรับยอดเจดีย์อีก 1 ชั้น รวมเป็น 3 ชั้น  มีบันไดทางขึ้นสู่ด้านบนทั้ง 4 ทิศ บันไดมีผนังข้างเป็นชั้นรองเครื่องไม้หลังคา ปากทางขึ้นราวบันไดมีฐานของรูปสลักที่น่าจะเป็นรูปสิงห์คู่ ฐานโค้งเป็นบัว ลานประทักษิณชั้นบนสุดของแต่ละทิศมีซุ้มประตูโค้ง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ระเบียงคตหรืออาคารไม้มุมหลังคาล้อมรอยเจดีย์ประธาน และมีเจดีย์ขนาดเล็กประดับตามมุม

มีนักท่องเที่ยวมากันเป็นหมู่คณะ และมีไกด์ทัวร์ให้ข้อมูลด้านความรู้เกี่ยวกับโบราณสถานเขาคลังนอกด้วย


บรรยากาศช่วงวันหยุดยาว มีนักท่องเที่ยวมากันเป็นหมู่คณะ และมีไกด์ทัวร์ให้ข้อมูลด้านความรู้เกี่ยวกับโบราณสถานเขาคลังนอกด้วย อารมณ์เหมือนไปทัศนาศึกษาเลยค่ะ 


พื้นที่มหาสถูปเขาคลังนอกและโดยรอบ เผยให้เห็นการกระจายตัวของโบราณสถานและแหล่งที่เป็นไปได้ว่าเป็นส่วนประกอบของศาสนสถาน


ผลการวิเคราะห์ข้อมูลไลดาร์ พื้นที่มหาสถูปเขาคลังนอกและโดยรอบ เผยให้เห็นการกระจายตัวของโบราณสถานและแหล่งที่เป็นไปได้ว่าเป็นส่วนประกอบของศาสนสถาน รวมถึงกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตรอบ ๆ ซึ่งทำให้เห็นว่าพื้นที่นี้เป็นมากกว่าศาสนสถานในบริบทมหาสถูป แต่อาจเป็น “มหาวิหาร” หรือวิทยาลัยซึ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่สำคัญแหล่งหนึ่ง เช่นเดียวกับวิทยาลัยนาลันทา ที่มีบทบาทส่งต่อพุทธศาสนาและงานศิลปะสู่รัฐในพื้นที่ใกล้เคียง  (เครดิตข้อมูลดีๆจาก :https://th.wikipedia.org/เขาคลังนอก)



หลังจากที่ได้เที่ยวชมเขาคลังนอกแล้ว ก็เดินทางมาเที่ยวทีอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ หรือด้านในเมืองเก่าค่ะ 


เข้ามาก็ไม่ต้องกังวล ว่าจะไปจอดรถตรงใหน เพราะที่จอดรถเยอะมาก มีเจ้าหน้าที่คอยโบกรถ ให้บริการเรื่องที่จอดค่ะ 



มาถึงแล้วก็เสียค่าธรรมเนียมเข้าชมด้วยนะคะ 

สำหรับคนไทยคนละ 20 บาท
ค่าจอดรถยนต์ 50 บาท 
ค่าจอดรถมอเตอร์ไซต์ 20 บาทค่ะ 

ส่วนผู้สูงอายุ 60 ปี และนักเรียน นักศึกษาที่อยู่ในเครื่องแบบ ยกเว้นค่าธรรมเนียมเข้าชมฟรีจ้า


ส่วนเดี๊ยนกับเพื่อนก็เสียค่าธรรมเนียมไปคนละ 20 บาทจ้า


มาถึงก็ถ่ายรูปป้ายหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพเป็นที่ระลึก และอ่านข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับเมืองเก่าโบราณแห่งนี้สักหน่อย

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ 

เมืองโบราณศรีเทพมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8-18 เป็นเมืองที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งในสมัยทวารวดี มีการติดต่อรับคติความเชื่อทางศาสนาหลายศาสนาและนิกาย ทั้งพุทธศาสนาแบบเถรวาทและมหายาน รวมไปถึงศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในเสาวระนิกาย (นับถือพระสุริยะ) ไวษณพนิกาย (นับถือพระวิษณุ) และไศวนิกาย (นับถือพระศิวะ) มีการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมใกล้เคียงตั้งแต่วัฒนธรรมอินเดีย ขอม และทวารวดีจากแหล่งอื่น ๆ โดยยังหลงเหลือหลักฐานทางโบราณคดีและงานศิลปกรรม สามารถแสดงความเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมและการค้า แสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่ต่างศาสนาในระยะเวลาเดียวกัน

แผนผังเมืองเก่าโบราณอุทยานประวัติศาสตร์ฺศรีเทพ เมืองใน และเมืองนอก 


บริเวณเมืองฯ พบหลักฐานการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องใน 3 สมัย ได้แก่ ชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี และสมัยวัฒนธรรมขอมแผ่ขยายเข้ามามีอิทธิพลในตอนปลาย ก่อนจะหมดความสำคัญกลายเป็นเมืองร้าง

ยุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณศรีเทพเป็นชุมชนเกษตรกรรม ประกอบด้วยหมู่บ้านเล็ก ๆ หลายแห่ง แต่ละหมู่บ้านมีผู้นำ


ชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณศรีเทพเป็นชุมชนเกษตรกรรม ประกอบด้วยหมู่บ้านเล็ก ๆ หลายแห่ง แต่ละหมู่บ้านมีผู้นำ ผู้คนรู้จักการใช้ชีวิตและจัดการตนเองให้อยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นอย่างดี มีการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนการล่าสัตว์และรวบรวมทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังมีการทอผ้า การทำเครื่องปั้นดินเผา และการถลุงโลหะในชุมชนด้วย ผู้คนอาจเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายหรือโลกหน้าในขณะที่พวกเขาฝังศพผู้ตายด้วยสิ่งของที่ฝังศพหลากหลายชนิด การหาอายุของเรดิโอคาร์บอน AMS ของตัวอย่างฟันจากแหล่งขุดค้นดังกล่าวให้ผล 1,730 ± 30 ปีที่แล้ว

การค้นพบเมืองเก่าศรีเทพ เดิมมีชื่อว่า "เมืองอภัยสาลี" หรือ "เมืองไพศาลี" สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มื่อ พ.ศ. 2447–2448 และได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองศรีเทพ" 


การค้นพบเมืองเก่าศรีเทพ เดิมมีชื่อว่า "เมืองอภัยสาลี" หรือ "เมืองไพศาลี" สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงค้นพบเมื่อเสด็จไปตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์ ครั้งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ. 2447–2448 และได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองศรีเทพ" ตามชื่อเมืองที่ปรากฏในทำเนียบเก่าบอกรายชื่อหัวเมืองในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรจึงได้ใช้ชื่อเรียกเมืองโบราณที่สำรวจพบว่าเมืองศรีเทพ จนกว่าจะค้นพบหลักฐานเอกสารที่ยืนยันชื่อที่แท้จริงของเมืองโบราณแห่งนี้

ภาพตัวอักษรโบราณของเมืองศรีเทพ เอกลักษณ์และความสำคัญของเมืองศรีเทพ จึงมีนักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าเมืองศรีเทพเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม ทวารวดี หรือเมืองศรีเทพนั้นคือ ทวารวดี 


ด้วยเอกลักษณ์และความสำคัญของเมืองศรีเทพ จึงมีนักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าเมืองศรีเทพเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม ทวารวดี หรือเมืองศรีเทพนั้นคือ ทวารวดี ไม่ใช่เมืองนครปฐมโบราณ หรือเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีตามที่เชื่อกันมา


ถ่ายรูปป้ายชื่ออุทยานแล้ว จากนั้นก็มาขึ้นรางเข้าไปชมโบราณสถานด้านในกันค่ะ



จากจุดขึ้นรถไปยังลานโบราณสถานด้านใน ระยะทางไม่ไกลมากประมาณ 1 กิโลเมตรนิดๆค่ะ เดินไปได้นะคะ แต่ขึ้นรถดีกว่า เพราะแดดร้อน 



2.เที่ยวชมปราสาท ปรางค์สองพี่น้อง 

2.เที่ยวชมปราสาท ปรางค์สองพี่น้อง  ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ มีประตูทางเข้าทางเดียวและจากการขุดแต่งทางโบราณคดี

2.เที่ยวชมปราสาท ปรางค์สองพี่น้อง   สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะขอม สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในสมัยบาปวน - นครวัด และได้มีการสร้างปรางค์องค์เล็กเพิ่ม

พบทับหลังที่มีจำหลักเป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตี ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราช ซึ่งลักษณะของทับหลังและเสาประดับกรอบประตูเป็นสิ่งกำหนดอายุของปรางค์ สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17



2.ปราสาท ปรางค์สองพี่น้อง 

ลักษณะเป็นปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ มีประตูทางเข้าทางเดียวและจากการขุดแต่งทางโบราณคดี พบทับหลังที่มีจำหลักเป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตี ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราช ซึ่งลักษณะของทับหลังและเสาประดับกรอบประตูเป็นสิ่งกำหนดอายุของปรางค์ สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะขอม สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในสมัยบาปวน - นครวัด และได้มีการสร้างปรางค์องค์เล็กเพิ่ม โดยพบร่องรอยการสร้างทับกำแพงแก้วที่ล้อมรอบปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งอยู่ใต้ปรางค์องค์เล็ก และยังมีการก่อปิดทางขึ้นโดยเสริมทางด้านหน้าให้ยื่นออกมา และก่อสร้างอาคารขนาดเล็กทางทิศเหนือเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ระหว่างองค์ปรางค์ทั้งสองแห่งคือปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์ศรีเทพจะมีกำแพงล้อมรอบ และมีอาคารปะรำพิธีขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แสดงให้เห็นถึงลักษณะการวางผังแบบเดียวกับที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย


3.โบราณสถานเขาคลังใน ชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติต่าง ๆ จึงเรียกว่า "เขาคลัง" การก่อสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-14

3.โบราณสถานเขาคลังใน ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ที่ฐานมีรูปปูนปั้นบุคคล และสัตว์ประดับเป็นศิลปะแบบทวารวดีมีลักษณะศิลปะแบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูบัว

3.โบราณสถานเขาคลังใน

3.โบราณสถานเขาคลังใน


แต่เดิมทีนั้น ผู้คนที่อยู่ในชุมชนศรีเทพ เชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติต่าง ๆ จึงเรียกว่า "เขาคลัง" การก่อสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-14 ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ที่ฐานมีรูปปูนปั้นบุคคล และสัตว์ประดับเป็นศิลปะแบบทวารวดีมีลักษณะศิลปะแบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูบัว โบราณสถานบ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และวัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี จะเห็นว่าเขาคลังในตั้งอยู่เกือบกลางเมือง ลักษณะทางผังเมืองจะคล้ายกับเมืองทวารวดีอื่น ๆ เช่น เมืองนครปฐมโบราณ เมืองคูบัวที่ราชบุรี และจากรายละเอียดปูนปั้นบุคคลหรือลวดลาย แบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูคล้าย


4.ปราสาท ปรางค์ศรีเทพ ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของปรางค์สองพี่น้อง  เป็นสถาปัตยกรรมแบบวัฒนธรรมขอมโบราณในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 หันหน้าไปทางทิศตะวันตก

4.ปรางค์ศรีเทพ  ลักษณะของปรางค์สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็นฐานบัวลูกฟัก 

สระน้ำโบราณบริเวณปรางค์ศรีเทพ

ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 มีการพยายามจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่แต่ไม่สำเร็จ โดยได้พบชิ้นส่วนทิ้งกระจัดกระจาย


4.ปราสาท ปรางค์ศรีเทพ 

สำหรับปราสาทปรางค์ศรีเทพ ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของปรางค์สองพี่น้อง  เป็นสถาปัตยกรรมแบบวัฒนธรรมขอมโบราณในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ลักษณะของปรางค์สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็นฐานบัวลูกฟัก แบบเดียวกับสถาปัตยกรรมขอมทั่ว ๆ ไป เรือนธาตุก่อด้วยอิฐ ในการขุดค้นบริเวณนี้พบชิ้นส่วนทับหลังรูปลายสลักราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 น่าจะเป็นการสร้างเพิ่มหลังจากโบราณสถานเขาคลังใน ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 มีการพยายามจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่แต่ไม่สำเร็จ โดยได้พบชิ้นส่วนทิ้งกระจัดกระจาย


ธรรมจักรศิลาขนาดใหญ่อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ชี้ให้เห็นว่าชุมชนเมืองศรีเทพโบราณนับถือศาสนาพุทธ

บริเวณใกล้ๆกับเขาคลังใน มีธรรมจักรศิลาขนาดใหญ่อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ชี้ให้เห็นว่าชุมชนเมืองศรีเทพโบราณนับถือศาสนาพุทธ


กรมศิลปากรในขณะนั้นได้ขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพ เป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478

หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นได้ขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพ เป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 และประกาศลงใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 กระทั่งใน พ.ศ. 2527 เมืองโบราณศรีเทพได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภายใต้การบริหารจัดการในรูปแบบอุทยานประวัติศาสตร์ โดยการกำกับดูแลของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ สำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี กรมศิลปากรด้วย


เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก ภายใต้ชื่อ เมืองโบราณศรีเทพ และโบราณสถานสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง 


และด้วยโบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ พื้นที่ราว 4.7 ตารางกิโลเมตร (ราว 2,900 ไร่) ประกอบด้วยชุมชนโบราณในลักษณะเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ และกลุ่มโบราณสถานสำคัญที่มีความโดดเด่นทั้งด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งสะท้อนถึงการเป็นศูนย์กลางทางการแลกเปลี่ยนสินค้าที่สามารถติดต่อกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้สะดวก และความเจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องกันถึง 3 ยุค ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ยุคทวารวดีจนถึงยุคขอมเรืองอำนาจ และในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก ภายใต้ชื่อ เมืองโบราณศรีเทพ และโบราณสถานสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง  (เครดิตข้อมูลดีจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ )



หลังจากเดินทางชมโบราณสถานทั้ง 3 จุดแล้ว ก็นั่งรถรางไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ต่อค่ะ แต่เสียดายไม่ได้ไปชมโครงกระดูก ซึ่งอยู่ทางใต้ของปรางค์สองพี่น้อง สามารถเดินไปได้ค่ะ 



ช่วงวันหยุดยาว นักท่องเที่ยวเยอะมาก ทำให้ต้องรอคิวขึ้นรอราง นานถึง 2 คัน ถึงจะได้เดินทางมาที่บริเวณจุดทำการค่ะ

5.ต้องไม่พลาด ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

5.ต้องไม่พลาด ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

5.ต้องไม่พลาด ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

5.ต้องไม่พลาด ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

5.ต้องไม่พลาด ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

5.ต้องไม่พลาด ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่อยู่บริเวณที่ทำการและใกล้กับจุดขึ้นรถรางเลยค่ะ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้สังเกตุ ซึ่งด้านในจัดแสดงสาระน่ารู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเมืองศรีเทพ และจัดแสดงโบราณวัตถุสำคัญของเมืองเก่าศรีเทพให้ได้ชมด้วย เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 8.00-16.00 น.

มีร้านขายไอติมแท่งรูปปั้นคนแคระแบกด้วย เลยลองซื้อทานดูค่ะ แต่ราคาแอบแรงไปนิด ชิ้นละ 50 บาทเลย 

เดินเที่ยวแล้ว ก็หิวค่ะ มีร้านขายไอติมแท่งรูปปั้นคนแคระแบกด้วย เลยลองซื้อทานดูค่ะ แต่ราคาแอบแรงไปนิด ชิ้นละ 50 บาทเลย รสอร่อยดี ไม่หวานมากค่ะ 



6.ขณะขับรถออกก็แวะไปไหว้ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ  อยู่ห่างจากประตูทางเข้าเล็กน้อยทางด้านซ้ายมือ ศาลเจ้าพ่อศรีเทพไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป 

ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ ไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป

ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ ไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป

ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ ไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป

6.ขณะขับรถออกก็แวะไปไหว้ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ  อยู่ห่างจากประตูทางเข้าเล็กน้อยทางด้านซ้ายมือ ศาลเจ้าพ่อศรีเทพไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป โดยทุกปีจะมีงานบวงสรวง ในราวเดือนกุมภาพันธ์ (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3)


ยังไม่หมดค่ะ ยังมีโบราณสถานอีกหนึ่งที่ซึ่งตั้งอยู่จากตัวเมืองชั้นใน คือ โบราณสถานปรางค์ฤาษี ห่างจากตัวเมืองเก่าชั้นในประมาณ 3 กิโลเมตรค่ะ 

ยังไม่หมดค่ะ ยังมีโบราณสถานอีกหนึ่งที่ซึ่งตั้งอยู่จากตัวเมืองชั้นใน คือ โบราณสถานปรางค์ฤาษี ห่างจากตัวเมืองเก่าชั้นในประมาณ 3 กิโลเมตรค่ะ ถ้ามาก็ปักหมุดไม่ต้องกลัวหลง เพราะมีป้ายบอกทางค่ะ 


6.ไปชมปรางค์ฤาษี ตั้งอยู่ในวัดป่าแก้ว เป็นโบราณสถานขอมในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ห่างจากเมืองศรีเทพ 3 กิโลเมตร

6. ปรางค์ฤาษี ลักษณะทางกายภาพเป็นปราสาทก่อด้วยอิฐไม่สอปูนตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดไม่สูงนักสถาปัตยกรรมแบบขอม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก

มีอาคารขนาดเล็กในบริเวณเดียวกัน ล้อมรอบด้วยแนวกำแพงก่อด้วยศิลาแลง  จากการสำรวจ ปรางค์ฤๅษีเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16

6.ไปชมปรางค์ฤาษี ตั้งอยู่ภายในวัดป่าแก้ว 

6.ไปชมปรางค์ฤาษี ตั้งอยู่ภายในวัดป่าแก้ว เป็นโบราณสถานขอมในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ห่างจากเมืองศรีเทพ 3 กิโลเมตร

ปรางค์ฤๅษี เป็นโบราณสถานขอมในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ห่างจากเมืองศรีเทพ 3 กิโลเมตร ลักษณะทางกายภาพเป็นปราสาทก่อด้วยอิฐไม่สอปูนตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดไม่สูงนักสถาปัตยกรรมแบบขอม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และมีอาคารขนาดเล็กในบริเวณเดียวกัน ล้อมรอบด้วยแนวกำแพงก่อด้วยศิลาแลง จากการสำรวจ ปรางค์ฤๅษีเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 พบโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาฮินดู ได้แก่ ศิวลึงค์ ฐานประติมากรรม และชิ้นส่วนโคนนทิ (เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/ปรางค์ฤๅษี_(อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ) )



หลังจากที่ได้เดินทางเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพแล้ว จากนั้นก็เดินทางขับรถไปยังอำเภอพัฒนานิคม เพื่อไปยังโรงแรมที่พักค่ะ

พักที่โรงแรม ดิไอคอน อพาร์ทเม้นต์ เป็ฺนที่พักเล็กๆอยู่ในอำเภอพัฒนานิคมใกล้เขื่อนป่าสักค่ะ  ราคาห้องพักคืนละ 600 บาท สำหรับ 2 คน

ส่วนที่พักทริปนี้ เดี๊ยนกับเพื่อนนอนพักที่โรงแรม ดิไอคอน อพาร์ทเม้นต์ เป็ฺนที่พักเล็กๆอยู่ในอำเภอพัฒนานิคมใกล้เขื่อนป่าสักค่ะ  ราคาห้องพักคืนละ 600 บาท สำหรับ 2 คน สภาพห้องพักสะอาดสะอ้านมาก 

ก่อนเข้าโรงแรม ก็ต้องถอดรองเท้าเข้ามาด้วยนะคะ เหตุนี้เองทำให้พื้นของทางเดินในโรงแรมดูสะอาดสะอ้าน 


และก่อนเข้าโรงแรม ก็ต้องถอดรองเท้าเข้ามาด้วยนะคะ เหตุนี้เองทำให้พื้นของทางเดินในโรงแรมดูสะอาดสะอ้าน น่าจะเป็นอีกหนึ่งโรงแรมที่สะอาด สบายตาทีเดียว


ส่วนอาหารค่ำมื้อเย็นนี้ เดี๊ยนกับเพื่อนเลือกมาฝากท้องไว้ที่ร้านน้องส้ม ข้าวต้มใบเตย เพราะได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของโรงแรมว่า อาหารอร่อย อยู่ติดริมถนนสระบุรี หล่มสักเลยค่ะ 

ลิ้มลองเมนูอาหารใกล้เขื่อนป่าสัก จัดไป 3 อย่าง รวมค่าเสียหายทั้งหมด ราคา 380 บาทค่ะ ถือว่าไม่แพงเลยนะคะ

มื่้อนี้เราเลยมาฝากท้องไว้ที่ร้านนี้ ลิ้มลองเมนูอาหารใกล้เขื่อนป่าสัก จัดไป 3 อย่าง มีต้มยำปลาคัง ใข่เจียวหมูสับ ผัดผักต้นอ่อนทานตะวัน รวมค่าเสียหายทั้งหมด ราคา 380 บาทค่ะ ถือว่าไม่แพงเลยนะคะ 

เช้าวันต่อมา เวลาสายๆหน่อย ก็เช็คเอาท์จากโรงแรม เดินทางไปเที่ยวต่อที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ หนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมตลอดกาล ที่ใครผ่านจะไปศรีเทพ ยังไงก็ต้องแวะมาเที่ยวสักหน่อยค่ะ

 เดินทางมาถ่ายรูปตามจุดต่างๆ 

จุดถ่ายรูปบริเวณเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 


เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 
บรรยากาศเขื่อนป่าสัก ท้องฟ้าแจ่มใส

7.ไม่พลาดแวะไปชมสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

7.ไม่พลาดแวะไปชมสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

7.ไม่พลาดแวะไปชมสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

7.ไม่พลาดแวะไปชมสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งในเขื่อนป่าสัก สร้างขึ้นแล้วเสร็จไปเมื่อปี พ.ศ. 2554 เพื่อใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้สำหรับนักวิชาการ นักศึกษา นักเรียน เยาวชน ตลอดจนผู้สนใจ นักท่องเที่ยวจะเพลิดเพลินไปกับการเดินชมปลาหลายหลากชนิดที่แหวกว่ายไปมาในตู้ปลาขนาดใหญ่ ซึ่งเรียงรายไปตามสองข้างทางเดินภายในอาคาร ทั้งพันธุ์ปลาน้ำจืดของลุ่มแม่น้ำป่าสักและลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะปลาที่มีขนาดใหญ่ เช่น ปลาเทพา ปลากระโห้ ปลายี่สกไทย ฯลฯ ตลอดจนปลาที่หาชมได้ยาก เช่น ปลากระเบนกิตติพงษ์ และปลากระเบนน้ำจืดเฉพาะถิ่นของเมืองไทย (เครดิตข้อมูลจาก : https://thai.tourismthailand.org/Attraction/สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์)



และก่อนจะไปกลับ ก็แวะไปดื่มอะไรสักเล็กน้อย ที่บ้านกล้วย แอนด์ ไข่ คาเฟ่ ซึ่งเป็นร้านคาเฟ่ชื่อดังใกล้เขื่อนป่าสัก 

 

วันที่เรามาเที่ยวกัน นักท่องเที่ยวไม่เยอะมากนัก ทำให้นั่งได้สบายๆ บรรยากาศร้านก็ตกแต่งน่ารักมากค่ะ 


ถือว่าเป็นอีกหนึ่งจุดเช็คอินที่นักท่องเที่ยวหลายคน ที่เดินทางไปเขื่อนป่าสัก ก็แวะมาเช็คอินถ่ายรูปที่ร้านคาเฟ่แห่งนี้ค่ะ

------------------------------------------------------------

เดินทางไปเที่ยวกันต่อที่จังหวัดอ่างทองค่ะ 



หลังจากไปนั่งพักเช็คอินที่บ้านกล้วยไข่คาเฟ่ที่เขื่อนป่าสักแล้ว ก็เดินทางไปเที่ยวกันต่อที่จังหวัดอ่างทองค่ะ 



แวะมาไหว้พระที่วัดไชโยวรวิหาร วัดเก่าแก่มีชื่อเสียงของจังหวัดอ่างทอง ที่ใครขับรถผ่านเมืองนี้ ก็ไม่พลาดมากราบสักการะของพรกันค่ะ 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัดไชโย หรือว่าวัดเกษไชโย 


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัดไชโย หรือว่าวัดเกษไชโย 

วัดไชโยวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์โบราณ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ได้สร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่เป็นปูนขาวไม่ปิดทองไว้กลางแจ้ง ณ วัดแห่งนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้เสด็จมานมัสการและโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโย ใน พ.ศ. 2430|พ.ศ. 2430

โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง 16.10 เมตร สูง 22.65 เมตร แล้วพระราชทานนามว่า "พระมหาพุทธพิมพ์"


ระหว่างการลงรากพระวิหารทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง 16.10 เมตร สูง 22.65 เมตร แล้วพระราชทานนามว่า "พระมหาพุทธพิมพ์" สร้างพระวิหารเป็นเรือนองค์พระพุทธรูป ความสูง 1 เส้นเศษ สร้างพระอุโบสถเป็นมุขลดยื่นออกมาข้างหน้า

สร้างศาลารายรอบพระวิหาร รวม 4 หลัง เสร็จสมบูรณ์เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2438 รวมเวลาที่ปฏิสังขรณ์นาน 8 ปี

รวมทั้งสร้างศาลารายรอบพระวิหาร รวม 4 หลัง เสร็จสมบูรณ์เมื่อปีมะแม พ.ศ. 2438 รวมเวลาที่ปฏิสังขรณ์นาน 8 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะวัดไชโยขึ้นเป็นอารามหลวง

วัดไชโยวรวิหาร

และติดกับด้านหน้าพระวิหารมีพระอุโบสถก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมไทยอันงดงามหันด้านหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันวัดไชโยวรวิหารได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่มีความงามสมบูรณ์ยิ่งนัก จัดเป็นภาพจิตกรรมที่มีความสวยงามอีกแห่งของไทยด้วย 


พวกเราไปนอนพักค้างกันที่โรงแรมอยุธยา การ์เดน ริเว่อร์โฮม ที่อำเภอบางปะอินค่ะ 

และเมื่อได้ไปไหว้พระที่วัดไชโยอ่างทองแล้ว ก็เดินทางไปนอนพักค้างที่อยุธยา โดยคืนนี้พวกเราไปนอนพักค้างกันที่โรงแรมอยุธยา การ์เดน ริเว่อร์โฮม ที่อำเภอบางปะอินค่ะ 


ที่พักอยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา  โรงแรมสไตล์ไทยๆ สวยงาม 

 โดยโรงแรมอยุธยา การ์เด้น ริเว่อร์โฮม ที่พักอยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่พักแบบบ้านไม้เรือนทรงไทย วันที่เราไปพักกัน แขกไม่ค่อยเยอะ ไม่วุ่นวายด้วย บรรยกาศดีมาก

มาเดินรีวิวชมสระว่ายน้ำของโรงแรมอยุธยา การ์เด้น ริเว่อร์โฮม

ภายในโรงแรมก็มีสระว่ายน้ำให้เล่นด้วย แต่เดี๊ยนก็ไม่ได้เล่นค่ะ เพราะไม่ได้เอาชุดว่ายน้ำมา


สระบัวของโรงแรมอยุธยา การ์เด้น ริเว่อร์โฮม

ใกล้ๆสระว่ายน้ำ ก็เป็นสระบัวและศาลาทรงเรือนไทยให้ไปนั่งพักรับลมเย็นๆได้ด้วย 

 

ตอนแรกเลือกจองห้องพักวิวแม่น้ำตรงที่เป็นเรือนไม้ทรงไทย แต่ว่าห้องค่อนข้างแคบและมีการปรับปรุงทาสี

ส่วนห้องพักคืนนี้ เราเลือกพักห้องดีลักซ์ค่ะ โดยห้องพักจะอยู่ติดริมสระบัวเลย ตอนแรกเลือกจองห้องพักวิวแม่น้ำตรงที่เป็นเรือนไม้ทรงไทย แต่ว่าห้องค่อนข้างแคบและมีการปรับปรุงทาสีหรือแลคเกอร์ไม่ทราบได้ ทำให้มีกลิ่น ทางที่พักเลยเสนอมาพักห้องริมสระบัวค่ะ 

ห้องดีลักซ์ที่ได้จองมา ห้องคืนละ 2740 บาท สำหรับนอน 2 คน เป็นห้อง 2 เตียง ก็ถือว่ากว้างขวาง

โดยห้องดีลักซ์ที่ทางโรงแรมเสนอมาให้ คืนละ 2740 บาท สำหรับนอน 2 คน เป็นห้อง 2 เตียง ก็ถือว่ากว้างขวาง และสวยงามทีเดียวค่ะ แม้จะดูสภาพเก่าไปหน่อย แต่ห้องพักก็ค่อนข้างสะอาดสะอ้าน มีสิ่งอำนวยความสะดวกสบายให้ครบ อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆยังใช้งานได้


ระเบียงห้องพักก็สามารถมองเห็นวิวสระบัวด้วย วิวสวยงามทีเดียว ให้บรรยากาศแบบไทยๆ 

มีระเบียงห้องพักก็มีโต๊ะเก้าอี้เหล็กให้นั่งมองเห็นวิวสระบัวด้วย วิวสวยงาม รู้สึกได้ถึงวิถีแบบไทยๆจริงๆค่ะ  

ไปหาอะไรทานที่ร้านอาหารเรือนแพริมน้ำของโรงแรมค่ะ 

พอช่วงบ่ายแก่ๆ ก็ไปหาอะไรทานที่ร้านอาหารเรือนแพริมน้ำของโรงแรมค่ะ 

มี่ยงกลีบบัวหลวง ซึ่งเป็นซิกเนเจอร์ของที่นี่เลย เพราะว่าผักต่างของโรงแรมแห่งนี้ก็ปลูกไว้เองในสวน มีสวนบึงบัวด้วย

มาที่เรือนแพริมน้ำของโรงแรม ตอนแรกจะสั่งทานแค่เมี่ยงกลีบบัวหลวง ซึ่งเป็นซิกเนเจอร์ของที่นี่เลย เพราะว่าผักต่างของโรงแรมแห่งนี้ก็ปลูกไว้เองในสวน มีสวนบึงบัวด้วย เลยไม่มีสารเคมีใดๆ แต่ใหนๆก็จะเย็นแล้ว เราเลือกเลือกสั่งอาหารหลักมาเพิ่มซ่ะเลย เป็นข้าวอบสับปะรด กับยำขิงอ่อนกุ้งสดมาทานด้วย ่แต่ที่อลังการคงเป็นเมียงกลีบบัว เพราะใส่ชุดถ้วยสำรับมาอย่างอลังการมากๆ ทาน 2 คน ก็อิ่มมากๆ  

เมี่ยงกลีบบัว อาหารว่างของโรงแรมอยุธยา การ์เด้น ริเว่อร์โฮม 

รสชาติอาหารที่ร้านเรือนแพของโรงแรมอยุธยาการ์เด้น ริเว่อร์โฮม ถือว่าอร่อยมากๆค่ะ โดยเฉพาะยำกุ้งสดขิงอ่อนรสชาติเปรี้ยวจัดจ้านอร่อยดี ช่วยแก้เลี่ยนจากการทานข้าวผัดได้ดี และมาล้างปากต่อด้วยการทานเมียงกลีบบัว สรุปค่าอาหารมื้อนี้ 810 บาท 



และหลังจากที่ทานอาหารมื้อเย็นจนอื่ม ช่วงหัวค่ำ เดี๊ยนก็เดินทางมาเที่ยวชม แสงสีที่วัดไชยวัฒนาราม ซึ่งเปิดให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมช่วงกลางคืนได้ ค่าเข้าคนละ 10 บาทค่ะ


ช่วงวันหยุด คนเยอะมากๆค่ะ และก็ยุงเยอะมากๆด้วย จะเห็นว่าภาพที่เป็นควันๆ นั้นไม่ใช่หมอกแต่อย่างใด ที่เป็นควันที่เจ้าหน้าที่ใช้พ่นไล่ยุงค่ะ 

วันที่ไปเที่ยววัดไชยวัฒนาราม เป็นช่วงวันหยุด คนเยอะมากๆค่ะ และก็ยุงเยอะมากๆด้วย จะเห็นว่าภาพที่เป็นควันๆ นั้นไม่ใช่หมอกแต่อย่างใด ที่เป็นควันที่เจ้าหน้าที่ใช้พ่นไล่ยุงค่ะ 

บรรยากาศการแสดง แสงสีของวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งเปิดให้เที่ยวชมช่วงกลางคืนของวันศุกร์-เสาร์ อาทิตย์ 

พอควันค่อยๆจางๆไป แต่กลิ่นของยังเหม็นอยู่ เพื่อนๆคนใหนที่ไปเที่ยวก็เอาภาพปิดจมูก และพกสเปรย์ฉีดยุงไปด้วยนะคะ 

ซึ่งพอควันค่อยๆจางๆไป แต่กลิ่นของยังเหม็นอยู่ เพื่อนๆคนใหนที่ไปเที่ยวก็เอาภาพปิดจมูก และพกสเปรย์ฉีดยุงไปด้วยนะคะ ส่วนบรรยากาศวัดไชยวัฒนาราม ยามค่ำคืน ก็สวยงามมากค่ะ แนะนำว่าให้มาช่วงเวลา 17 นาฬิกา ไปต้นไป เพราะจะได้แสงที่สวยทีเดียวค่ะ 

ปักหมุดมาเที่ยวแวะพักค้างคืนที่อยุธยา และมาไหว้พระตามวัดต่างๆได้นะคะ รับรองว่าสุขใจได้ทั้งบุญ และได้ถ่ายรูปภาพสวยๆสไตล์ไทยๆกลับไปอย่างแน่นอน

วันหยุดนี้หากเพื่อนๆคนใหน ที่ยังไม่รู้ไปใหนดี ก็ปักหมุดมาเที่ยวแวะพักค้างคืนที่อยุธยา และมาไหว้พระตามวัดต่างๆได้นะคะ รับรองว่าสุขใจได้ทั้งบุญ และได้ถ่ายรูปภาพสวยๆสไตล์ไทยๆกลับไปอย่างแน่นอนจ้า




สำหรับทริปรีวิวเที่ยวเมืองเก่าศรีเทพ ไปเขาคลังนอก เขาคลังใน และไปเขื่อนป่าสัก ซึ่งเป็นทริปบทความสั้นๆ ที่ได้นำเสนอในบล็อกนี้ น่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ และขอเชิญชวนเพื่อนๆไปเที่ยวศรีเทพกันเยอะนะคะ....ขอบพระคุณที่เข้ามาอ่านกัน หวังว่าจะได้พบกันอีกในบทความถัดไปค่ะ


สรุปค่าใช้จ่าย 

ค่าห้องพัก 600 บาท 

ค่าเข้าชมอุทยานศรีเทพคนละ 20 บาท 

ค่าจอดรถที่อุทยานศรีเทพ 50 บาท 

ค่าอาหารมื้อกลางวัน 50 บาท 

ค่าไอติม 50 บาท 

ค่าอาหารมื้อค่ำรวม 380 บาท 

ค่าน้ำมันรถเติมจากกรุงเทพไปศรีเทพ 1,500 บาท 

ค่าห้องพักนอนค้างที่โรงแรมอยุธยาคืนละ 2,740 บาท

ค่าอาหารมื้อเย็นที่อยุธยา 810 บาท

รวมทั้งหมด 6,200 บาท 

----------------------------------------------------------------------------------



แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น