สาระน่ารู้เกี่ยวกับ คนแคระแบก ประติมากรรมในยุคทวารดี สำคัญอย่างไร |
สวัสดีเพื่อนๆสายเที่ยวทัศนาจร ออนซอนหัวใจทุกๆคนค่ะ กลับมาพบกันอีกเช่นเคยนะคะ กับบทความน่ารู้เกี่ยวกับโบราณสถานทั่วฟ้าเมืองไทย ที่จัดสรร ปันสวน มาให้อบอวล เย้ายวนอ่านกัน หลังจากที่บทความก่อนหน้านี้ได้พาไปเที่ยวอาณาจักรอยุธยาไปแล้ว บทความนี้ขอย้อนเวลาไปเที่ยวอาณาจักรทวารวดี อาณาจักรเก่าแก่ที่สุดอีกแห่งของไทย ที่หากใครได้ไปเที่ยวโบราณสถานศรีเทพ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จะต้องเจอประติมากรรมคนแคระแบก ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ที่เขาคลังใน ซึ่งหลายคนรวมถึงตัวดิฉันเองก็สงสัยว่า คนแคระแบกคือใคร ทำไมถึงไปอยู่ตามโบราณสถานของอาณาจักรทวารวดี
เพื่อไม่ให้บทความร้างไป วันนี้เลยขอนำสาระน่ารู้เกี่ยวกับ คนแคระแบก มาให้ได้อ่านเป็นความรู้กันค่ะ หวังว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อคุณผู้อ่านไม่มากก็น้อย
คนแคระ มีคติความเชื่อกันว่า คนแคระที่แบกนั้น เป็นผู้ดูแล ปกป้องหรือคำจุนสถานที่นั้นให้มั่นคงสืบไป มีความร่ำรวยเงินทอง อีกทั้งยังเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ด้วย |
สำหรับ คนแคระ ในความเข้าใจของบุคคลเราๆทั่วไปนั้น หมายถึง คนที่มีลักษณะรูปร่างไม่สมส่วน อ้วน เตี้ย และแคระแกร็น แต่สำหรับ "คนแคระ" ซึ่งถูกนำมาสร้างเป็นประติมากรรม ประดับสถาปัตยกรรมในศิลปยุคทวารวดีแล้ว นั้นมีความหมายเชิงบวกทั้งผู้ที่ปกปักรักษาตัวศาสนสถาน มีคติความเชื่อกันว่า คนแคระที่แบกนั้น เป็นผู้ดูแล ปกป้องหรือคำจุนสถานที่นั้นให้มั่นคงสืบไป มีความร่ำรวยเงินทอง อีกทั้งยังเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ด้วย
ประติมากรรมรูปคนแคระส่วนใหญ่ ยังมีใบหน้ากลม คิ้วต่อกันเป็นรูปปีกกา ตาเหลือบต่ำ จมูกโด่งใหญ่ ยิ้มเล็กน้อย บางรูปยิ้มกว้าง เห็นไรฟัน ส่วนต่างหูขนาดใหญ่ มีรูปยางเป็นวงรี |
ที่มาของ คนแคระ ในประติมากรรมในศิลปะทวารวดี มักทำด้วยปูนปั้นหรือดินเผา ซึ่งนอกจากจะมีลักษณะอ้วนเตี้ย พุงพลุ้ย ตามลักษณะจริงแล้ว ประติมากรรมรูปคนแคระส่วนใหญ่ ยังมีใบหน้ากลม คิ้วต่อกันเป็นรูปปีกกา ตาเหลือบต่ำ จมูกโด่งใหญ่ ยิ้มเล็กน้อย บางรูปยิ้มกว้าง เห็นไรฟัน ส่วนต่างหูขนาดใหญ่ มีรูปยางเป็นวงรี หรือทรงกลมดอกไม้ หน้าตา ทรงผม เครื่องประดับ อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ศรีษะส่วนบนตัดเรียบ ซึ่งสันนิษฐานว่าเกิดจากนำไปประดับในช่องสีเหลี่ยม นั่งแยกขาชันเข่า บ้างก็เอามือวางบนหัวเข่า แต่ลักษณะเด่นที่พบเห็นคือ จะใช้บ่าและแขนรองรับฐานสถาปัตยกรรม ด้วยลักษณะท่าทางในการใช้แขนและบ่ารองรับฐานสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็นวิหาร์ หรือเจดีย์ ในชันเข่าในท่าแบก ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า "คนแคระแบก"
ซึ่งลักษณะของรูปประติมากรรมคนแคระแบก เป็นศิลปะยุคทวารวดี ที่พบตามแถบโบราณสถานของภาคกลาง ได้แก่ นครปฐม อู่ทอง เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี และเพชรบูรณ์ จะมีรูปแบบและวิวัฒนาการแตกต่างกันออกไป แต่จะมีลักษณะแบบแผนเดียวกัน
ประติมากรรมคนแคระแบก น่าจะได้รับอิทธิพลทางคติความเชื่อ ซึ่งแพร่หลายมาจากอินเดียและลังกา โดยศาสนาพราหมณ์ประติมากรรมคนแคระ จะประกอบอยู่กับรูปเทพเจ้า แต่อยู่ในฐานะต่ำกว่า โดยในประเทศอินเดีย มีการสร้างประติมากรรมรูปคนแคระมาตั้งแต่สมัยอินเดียโบราณ ส่วนใหญ๋มักเป็นประติมากรรม ประกอบภาพสำคัญ และพบค่อนข้างมากในสมัยอมราวดีและคุปตะ ซึ่งในรูปคนแคระประดับอยู่ที่ฐานของอาคาร ซึ่งอาจมีที่มาจากคนพื้นเมือง หรือกลุ่มผู้ใช้แรงงานที่นำมาทำเป็นผู้ค้ำจุนดูแลศาสนาสถาน
โดยพบในศิลปะอินเดียมาตั้งแต่ศิลปะอินเดียโบราณจนถึงสมัยคุปตะ ในศรีลังกา ศิลปะสมัยอนุราชปุระ มีการทำประติมากรรมคนแคระเป็นทวารบาลตั้งอยู่ด้านหน้าซ้ายขวาของประตูทางเข้า คือ ปัทมนิธิและสังขนิธิ เช่นเดียวกับหม้อน้ำแห่งความอุดมสมบูรณ์หรือปุรณฆฏะ
ประติมากรรมปูนปั้นรูปคนแคระแบกที่เขาคลังใน เป็นรูปมารซึ่งใช้บ่าและท่อนแขนตอนบนค้ำจุนรองรับฐานเจดีย์ |
โดย "เขาคลัง" เชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติต่าง ๆ จึงเรียกว่า "เขาคลัง" การก่อสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-14 งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก |
ซึ่งรูปคนแคระแบกที่ติดอยู่กับสถาปัตยกรรมเขาคลังใน ซึ่งตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ก็เชื่อว่าจะเป็นผู้ค้ำจุนและดูแลปกป้องสถานที่ โดย "เขาคลัง" เชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติต่าง ๆ จึงเรียกว่า "เขาคลัง" การก่อสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-14 งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
เขาคลังในใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ที่ฐานรูปประติมากรรมคนแคระแบก และสัตว์ประดับเป็นศิลปะแบบทวารวดีมีลักษณะศิลปะแบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูบัว |
โดยเขาคลังในใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ที่ฐานรูปประติมากรรมคนแคระแบก และสัตว์ประดับเป็นศิลปะแบบทวารวดีมีลักษณะศิลปะแบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูบัว โบราณสถานบ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และวัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี จะเห็นว่าเขาคลังในตั้งอยู่เกือบกลางเมือง ลักษณะทางผังเมืองจะคล้ายกับเมืองทวารวดีอื่น ๆ เช่น เมืองนครปฐมโบราณ เมืองคูบัวที่ราชบุรี และจากรายละเอียดปูนปั้นบุคคลหรือลวดลาย แบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูคล้าย
ขอบคุณเครดิตข้อมูลดีๆจาก
0 ความคิดเห็น