ท่องเที่ยวไทยในภาคกลาง ไม่พลาดไปเช็คอินเดินเที่ยวชมพระราชวังสนามจันทร์ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร |
สวัสดีผู้อ่านทุกๆคนค่ะ เที่ยวทั่วไทยไปให้รู้ในวันนี้ มาย้อนวันวาน พาไปเก็บตกเที่ยวพระราชวังสนามจันทร์ หนึ่งในพระราชวังสไตล์ยุโรปสุดคลาสสิค ที่สวยงามอีกแห่งของเมืองไทย ก็เลยขอนำสาระน่ารู้เล็กๆน้อยเกี่ยวกับพระราชวังแห่งนี้ มาให้ได้อ่านเป็นความรู้กันจ้า
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับพระราชวังสนามจันทร์ (About Sanam Chan Palace, Nakhon Pathom city) |
สาระน่ารู้เกี่ยวกับพระราชวังสนามจันทร์ (About Sanam Chan Palace, Nakhon Pathom city)
สำหรับพระราชวังสนามจันทร์จัดเป็นหนึ่งในพระราชวังที่มีความสวยงามอีกแห่งของเมืองไทยตั้งอยู่ในตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ห่างจาก พระปฐมเจดีย์เพียง 2 กิโลเมตรเท่านั้น สร้างขึ้นโดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หลังจากพระองค์สวรรคต พระราชวังสนามจันทร์ใช้เป็นที่ทำการของส่วนราชการต่าง ๆ ของจังหวัดนครปฐม รวมทั้งเป็นวิทยาเขตหนึ่งของ มหาวิทยาลัยศิลปากร
แผนทื่ภายในพระราชวังสนามจันทร์ |
เรื่องเล่าขาน ตำนานประวัติที่มาการก่อกำเนิดพระราชวังสวยที่สุดอีกแห่งของเมืองไทยแห่งนี้ |
เรื่องเล่าขาน ตำนานประวัติที่มาการก่อกำเนิดพระราชวังสวยที่สุดอีกแห่งของเมืองไทยแห่งนี้
พระราชวังสนามจันทร์ เป็นพระราชวังที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นบนบริเวณที่คาดว่าเป็นพระราชวังเก่าของกษัตริย์สมัยโบราณที่เรียกว่า "เนินปราสาท" เพื่อเป็นสถานที่ประทับครั้งมานมัสการ พระปฐมเจดีย์ และเมื่อบ้านเมืองถึงยามวิกฤต โดยที่พระราชวังแห่งนี้ ได้ใช้เวลาก่อสร้างนาน 4 ปี โดยมี หลวงพิทักษ์มานพ (น้อย ศิลปี) ซึ่งต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศเป็น พระยาวิศุกรรมศิลปประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี) เป็นแม่งาน และสร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2450 เมื่อสร้างแล้วเสร็จจึงได้พระราชทานนามว่า "พระราชวังสนามจันทร์" ตามชื่อสระน้ำโบราณหน้าโบสถ์พราหมณ์ (ปัจจุบันไม่มีโบสถ์พราหมณ์เหลืออยู่แล้ว) "สระน้ำจันทร์" หรือ "สระบัว"
สิ่งที่น่าสนใจในพระราชวังสนามจันทร์
1.พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ (Phra Tamnak Chali Mongkhon) |
1.พระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ (Phra Tamnak Chali Mongkhon)
โดยเป็นพระตำหนักที่โดดเด่นที่สุดในหมู่พระตำหนักและพระที่นั่งในพระราชวังสนามจันทร์ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสนามใหญ่ สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2451 โดยมี หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ กฤดากร เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ เป็นพระตำหนัก 2 ชั้น หลังคามุงกระเบื้องสีแดง ชั้นบนมีเพียง 2 ห้อง ชั้นล่างมี 2 ห้อง มีระเบียงล้อมรอบ 3 ด้านของตัวพระตำหนักทั้ง 2 ชั้น จุดเด่นของพระตำหนักองค์นี้คือสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะคล้ายกับปราสาท ซึ่งเป็นการผสมระหว่างศิลปะเรอแนซ็องส์ของประเทศฝรั่งเศส กับอาคารแบบฮาล์ฟ ทิมเบอร์ของประเทศอังกฤษ แต่ดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในประเทศไทย
ลักษณะของอาคารนั้นจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบสมมาตร เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นห้องบันได อีกด้านหนึ่งเป็นห้องเสวยและห้องส่งเครื่อง |
ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบสมมาตร เป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเป็นห้องบันได อีกด้านหนึ่งเป็นห้องเสวยและห้องส่งเครื่อง ชั้นบนประกอบด้วยทางเดินกลางแบ่งอาคารเป็น 2 ข้าง แต่ละข้างมีห้องใหญ่เป็นห้องบรรทม และห้องเล็กเป็นห้องทรงพระอักษร ล้อมด้วยระเบียงสามด้านยกเว้นด้านหลัง ทางด้านตะวันออกและตะวันตกมีเฉลียงเป็นรูปครึ่งวงกลม ประกอบด้วยเสาขนาดใหญ่ หลังคามุงด้วยกระเบื้องสีแดง จุดเด่นของพระตำหนักอยู่ที่ป้อมหรือหอคอยที่มุมอาคาร ยอดหลังคาเป็นกรวยแหลม นอกจากนี้ทางเข้ากลางด้านหน้ายังทำเป็นมุขแบบชนบท ลายซุ้มหน้าบันเหนือระเบียงมีลายแบบยุคกลางของยุโรป ด้านใต้มีประตูเปิดไปสู่ฉนวนซึ่งทอดยาวไปพระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์
นอกจากนี้ทางเข้ากลางด้านหน้ายังทำเป็นมุขแบบชนบท ลายซุ้มหน้าบันเหนือระเบียงมีลายแบบยุคกลางของยุโรป |
พระราชวังสนามจันทร์อยู่ภายใต้การดูแลของ สำนักพระราชวัง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโฉนดที่ดินพระราชวังสนามจันทร์ แก่ กระทรวงมหาดไทย |
แต่เดิม พระราชวังสนามจันทร์อยู่ภายใต้การดูแลของ สำนักพระราชวัง โดยเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2546 คณะกรรมการอำนวยการบูรณะพระราชวังสนามจันทร์ ซึ่งมี สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นองค์ประธาน ร่วมกับ กระทรวงมหาดไทย นายนาวิน ขันธหิรัญ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม และ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย รองศาสตราจารย์ลิขิต กาญจนาภรณ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ในขณะนั้น ได้น้อมเกล้าฯ ถวายคืนพระราชวังสนามจันทร์แก่สำนักพระราชวัง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานโฉนดที่ดินพระราชวังสนามจันทร์ แก่ กระทรวงมหาดไทย แล้วทางจังหวัดนครปฐม รับมอบต่อจากกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 เพื่อนำมาดำเนินการรับผิดชอบเอง
ที่ด้านหน้าพระตำหนัก ก็เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ย่าเหล |
และที่ด้านหน้าพระตำหนัก ก็เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ย่าเหล เป็นอนุสาวรีย์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง ย่าเหล สุนัขทรงเลี้ยง โดยประดิษฐานไว้หน้าพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์
2.พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิกของประเทศทางตะวันตก |
2.พระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ เป็นพระตำหนัก 2 ชั้น สร้างด้วยไม้สักทอง ทาสีแดง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิกของประเทศทางตะวันตก แต่ได้มีการปรับปรุงองค์ประกอบบางส่วนให้เหมาะกับภูมิอากาศแบบเมืองร้อน พระตำหนักองค์นี้สร้างขึ้นคู่กับพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ โดยมีฉนวนทางเดินทำเป็นสะพานจากชั้นบนด้านหลังของพระตำหนักชาลีมงคลอาสน์ ข้ามคูน้ำเชื่อมกับชั้นบนด้านหน้าของพระตำหนักมารีราชรัตบัลลังก์ สะพานดังกล่าวหลังคามุงกระเบื้องและติดหน้าต่างกระจกทั้งสองด้าน ตลอดความยาวของสะพานที่เชื่อมติดต่อถึงกัน
3.พระตำหนักทับแก้ว |
เคยเป็นวิทยาลัยทับแก้วของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำให้มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ชื่อว่า "ม.ทับแก้ว" |
3.พระตำหนักทับแก้ว โดยเป็นพระตำหนักที่มีความสำคัญต่อการศึกษาอีกแห่ง เนื่องจากเคยเป็นวิทยาลัยทับแก้วของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ทำให้มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ชื่อว่า "ม.ทับแก้ว"
ลักษณะเป็นอาคาร 2 ชั้น ตั้งอยู่ที่เชิงสะพานสุนทรถวาย เป็นที่ประทับในฤดูหนาวของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการเสือป่า กองเสนารักษ์ราบเบารักษาพระองค์ระหว่างที่มีการซ้อมรบเสือป่า รวมทั้งเป็นสถานที่พระราชทานสัญญาบัตรแก่ข้าราชการ และเป็นที่ประทับพักผ่อนพระอิริยาบถและเสวยพระสุธารส ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตก เป็นตึก 2 ชั้นขนาดเล็กทาสีเขียวอ่อน ภายในมีเตาผิงและหลังคาปล่องไฟตามบ้านของชาวตะวันตก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปนที่พักของปลัดจังหวัดนครปฐม จนกระทั่งได้รับการบูรณะใน พ.ศ. 2546
4.พระตำหนักทับขวัญ ภายในพระราชวังสนามจันทร์ |
4.พระตำหนักทับขวัญ |
4.พระตำหนักทับขวัญ เป็นหมู่เรือนไทย มีชานเชื่อมต่อกันหมด เช่นหอนอน 2 หอ เรือนโถง เรือนครัว หอนกอยู่ที่มุมของเรือน ใช้วิธีเข้าไม้แบบโบราณ ฝาเรือนทำเป็นฝาไม้ปะกนกรอบลูกฟังเชิงชายและไม้ค้ำยันสลักสวยงาม ออกแบบโดย พระยาวิศุกรรมศิลปประสิทธิ์ (น้อย ศิลปี) เป็นนายช่างผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างรอบ ๆ เรือนปลูกไม้ไทย เช่น นางแย้ม นมแมว ต้นจัน และจำปี และพระตำหนักหลังนี้ได้รับการบูรณะเมื่อครั้ง พระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
5.พระที่นั่งพิมานปฐม |
5.พระที่นั่งพิมานปฐม เป็นพระที่นั่งองค์แรกที่สร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 2450 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น แบบตะวันตก แต่ดัดแปลงให้เหมาะกับเมืองร้อน ช่องระบายลมและระเบียงลูกกรงโดยรอบฉลุฉลักเป็นลวดลายตามแบบไทยอย่างประณีตงดงาม พระที่นั่งชั้นบนประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ซึ่งยังมีป้ายชื่อปรากฏอยู่จวบจนปัจจุบัน คือ ห้องบรรทม ห้องสรง ห้องบรรณาคม ห้องภูษา ห้องเสวย และห้องพระเจ้า ซึ่งเป็นหอพระ มีพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาอยู่องค์หนึ่ง และยังมีภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังฝีมือ พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) ซึ่งมีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง
พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่ประทับ ที่ทรงพระอักษร ที่เสด็จออกขุนนาง |
ที่รับรองพระราชอาคันตุกะ และออกให้ราษฎรเข้าเฝ้าฯ มากกว่าพระที่นั่งและพระตำหนักองค์อื่น ๆ |
สำหรับพระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่ประทับ (โดยเฉพาะก่อนเสด็จฯ ขึ้นเถลิงถวัลราชย์สมบัติ จนถึง พ.ศ. 2458) ที่ทรงพระอักษร ที่เสด็จออกขุนนาง ที่รับรองพระราชอาคันตุกะ และออกให้ราษฎรเข้าเฝ้าฯ มากกว่าพระที่นั่งและพระตำหนักองค์อื่น ๆ ในปัจจุบันบนพระที่นั่งได้จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
6.เทวาลัยคเณศร์ |
6.เทวาลัยคเณศร์
โดยเทวาลัยคเณศร์ ถูกกะเกณฑ์การสร้างไว้ตั้งแต่ต้นรัชกาล ด้วยมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ว่ามีพระราชดำริให้สร้างศาลเทพารักษ์แห่งนี้ หากไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด กระทั่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการบวงสรวงสังเวยพระคเณศ ทรงจับสายสูตรเปิดผ้าคลุมเทวรูปเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2461
เพื่อประดิษฐานเทวรูปพระคเณศ หรือพระพิฆเนศ พระเป็นเจ้าเหนืออุปสรรคตามคติพราหมณ์ โดยตั้งอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางของพระราชวัง |
สำหรับพระราชวังสนามจันทร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวาลัยขึ้นองค์หนึ่ง พระราชทานนามว่า "เทวาลัยคเณศร์" เพื่อประดิษฐานเทวรูปพระคเณศ หรือพระพิฆเนศ พระเป็นเจ้าเหนืออุปสรรคตามคติพราหมณ์ โดยตั้งอยู่ในตำแหน่งศูนย์กลางของพระราชวัง ทั้งยังมีพระราชประสงค์ให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ซึ่งทรงเคารพบูชานั้น ประดิษฐานในแนวแกนเดียวกันทั้งหมด คือ พระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานภายในห้องพระเจ้า พระที่นั่งพิมานปฐม, เทวาลัยคเณศร์ เทพารักษ์ประจำพระราชวังสนามจันทร์ และพระปฐมเจดีย์ ทางทิศตะวันออกของพระราชวัง เสมือนว่าการสักการะเพียงครั้งเดียว สามารถสักการะปูชนียสถานทั้งสามได้โดยพร้อมกัน
การสร้างศาลเทพารักษ์ประจำพระราชวัง เพื่อประดิษฐานเทวรูปพระเป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์องค์นี้ แสดงให้เห็นว่า ทรงนับถือบูชาพระคเณศในฐานะเทพผู้ขจัดอุปสรรค และเจ้าแห่งศิลปวิทยา |
อนึ่ง การสร้างศาลเทพารักษ์ประจำพระราชวัง เพื่อประดิษฐานเทวรูปพระเป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์องค์นี้ แสดงให้เห็นว่า ทรงนับถือบูชาพระคเณศในฐานะเทพผู้ขจัดอุปสรรค และเจ้าแห่งศิลปวิทยา บางคราวที่ทรงพระราชนิพนธ์เป็นร้อยกรอง มักขึ้นต้นด้วยบทพระราชนิพนธ์ "ไหว้ครู" ตามขนบการประพันธ์ ซึ่งปรากฏพระนามของ "พระคเณศ" อยู่ด้วยเสมอ
การแต่งกายเข้าพระราชวัง สำหรับผู้ชายส่วมเสื้อมีแขน กางเกงขายาว หรือกางเกงเลยหัวเข่า ส่วนสตรี ส่วมเสื้อมีแขน กางเกงขายาว หรือกระโปรงยาวเลยหัวเข่า
การเดินทางมาเที่ยวพระราชวังสนามจันทร์ด้วยตัวเอง แบบไม่มีรถส่วนตัว |
การเดินทางมาเที่ยวพระราชวังสนามจันทร์ด้วยตัวเอง แบบไม่มีรถส่วนตัว สามารถนั่งรถตู้โดยสารจากสายใต้ใหม่ มาลงที่หน้า ม.ศิลปากร จากนั้นก็เดินเท้ามาที่ทางเข้า พระราชวังสนามจันทร์ได้ไม่ไกล
ส่วนเวลาเปิดและปิดทำการพระราชวังสนามจันทร์
โดยเปิดให้ออกกำลังกาย และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ระหว่างเวลา 05.00-09.00 น. และ 16.00-20.00 น.
เพื่อนๆสามารถวางแผนไปเที่ยวตามวันและเวลาได้นะคะ แวะไปไหว้องค์พระปฐมเจดีย์แล้ว หาอะไรทาน ก็มาเดินออกกำลังกายชมสถาปัตยกรรมความงาม ที่พระราชวังสนามจันทร์แห่งนี้ได้ แหล่งท่องเที่ยวอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ เดินทางไปเช้า-เย็นกลับได้...มาเที่ยวนครปฐมกันเยอะๆนะคะ ยังมีจุดเช็คอินที่เที่ยว และอาหารอร่อยๆให้ทานอีกมากมายเลยค่ะ
เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/พระราชวังสนามจันทร์
0 ความคิดเห็น