Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

ท่องเที่ยวเมืองไทยไปดู วัดพระงาม หนึ่งวัดที่มีซากโบราณสถานเก่าแก่สมัยทวารวดีหลงเหลืออยู่ให้ดูถึงปัจจุบัน

สาระรู้ท่องเที่ยวเมืองไปให้ได้ความรู้ แวะไปเที่ยวดู วัดพระงาม หนึ่งในวัดเก่าแก่ในเมืองนครปฐม ที่มีซากโบราณสถานเก่าแก่สำคัญสมัยอาณาจักรทวารดี



ทักทายสวัสดีเพื่อนๆสายเที่ยวทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจ งามวิไลเริ่ดสะแมนแตนกันทุกๆคนค่ะ กลับมาอีกครั้งนะคะ กับสาระน่ารู้ดีๆที่จะสรรหามาให้อ่านวันละนิด วันหน่อยๆ ค่อยเรียนรู้กันไป หลังจากที่บทความก่อนหน้าได้พาไปรู้จักโบราณสถานเก่าแก่ที่วัดพระประโทณเจดีย์กันไปแล้ว 


ในบทความนี้ วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ยังวนเวียน เศียรเกล้าเที่ยวกันต่อในจังหวัดนครปฐมกันค่ะ และหนึ่งในวัดเก่าแก่สำคัญอีกแห่งที่จะนำเสนอวันนี้คือ วัดพระงาม จัดเป็นหนึ่งในวัดเก่าแก่สำคัญอีกแห่งที่ใครนั่งรถไฟจากนครปฐม มุ่งหน้าไปทางอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี นั่งรถไฟเลยผ่านองค์พระปฐมเจดีย์มานิดเดียว ติดกับทางรถไฟจะเห็นซากโบราณสถานเป็นเนินเขาลูกเตี้ยๆซักหน่อย นั้นแหละค่ะ คือที่ตั้งของวัดพระงาม ซึ่ง ชื่อวัดพระงาม เห็นจะเป็นชื่อที่มีมากในไทย แต่ วัดพระงาม ในจังหวัดนครปฐม จัดเป็นวัดวัดเก่าแกที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน่าสนใจทีเดียว 


 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัดพระงาม แห่งเมืองนครปฐม (Wat Phra Ngam Temple , Nakhon Pathom)


สาระน่ารู้เกี่ยวกับ วัดพระงาม แห่งเมืองนครปฐม (Wat Phra Ngam Temple , Nakhon Pathom)


วัดพระงาม ตั้งอยู่ที่วัดพระงาม ต.นครปฐม อ.เมือง จ.นครปฐม ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ห่างจากองค์ประปฐมเจดีย์เพียง 1 กิโลเมตรเท่านั้น โดยจัดเป็นหนึ่งในวัดสำคัญ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดพระงามคือ ภายในวัดมีโบราณสถานสำคัญ ที่เรียกว่า เนินวัดพระงาม มีเจดีย์ขนาดสูงใหญ่สมัยทวารวดี ยังค้นพบวัตถุโบราณสมัยทวารวดี เช่น พระพุทธรูปศิลาหักพัง พระเสมาธรรมจักร กวางหมอบ พระพุทธรูปสัมฤทธิ์ พระพิมพ์ดินเผา


 ยังขุดพบวัตถุโบราณได้เพิ่ม เช่น อิฐยุคทวารวดีซึ่งมีแกลบข้าวผสมอยู่จำนวนมากและขนาดค่อนข้างใหญ่ พระพิมพ์ดินเผากว่า 20 องค์ 


ในปี พ.ศ. 2562 ยังขุดพบวัตถุโบราณได้เพิ่ม เช่น อิฐยุคทวารวดีซึ่งมีแกลบข้าวผสมอยู่จำนวนมากและขนาดค่อนข้างใหญ่ พระพิมพ์ดินเผากว่า 20 องค์ ประกอบด้วยปางมหาปาฏิหาริย์หรือยมกปาฏิหาริย์ เหมือนที่เคยพบที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม และพระพิมพ์ปางสมาธิโดยมีฉัตรและเครื่องสูงประกอบ ชิ้นส่วนประติมากรรมสลักจากหินเนื้อละเอียดสีเขียวอมเทา คาดว่าเป็นชิ้นส่วนพระพุทธรูปปางสมาธิ


จัดเป็นหนึ่งในวัดสำคัญ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดพระงามคือ ภายในวัดมีโบราณสถานสำคัญ ที่เรียกว่า เนินวัดพระงาม มีเจดีย์ขนาดสูงใหญ่สมัยทวารวดี 


ซึ่งมีผลต่อการศึกษาโบราณคดีประวัติศาสตร์ของประเทศไทย และยังเป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสามัญ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย   ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 44 ไร่ 48 ตารางวา สถานที่ตั้งของวัดอยู่ห่างจากองค์พระปฐมเจดีย์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 500 เมตร 

พระพุทธรูปที่ประดิษฐานบนเนินพระงาม 

อีกทั้งยังพบจารึกบนแผ่นอิฐ มีอักษร 1 บรรทัด จำนวน 1 หลัก มีลักษณะเป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำด้วยหินสีเทา ส่วนที่เหลือยังคงปรากฏรูปอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต บางส่วนที่สามารถอ่านได้อย่างชัดเจน ได้กล่าวถึงคำว่า ทวารวตีวิภูติ แปลความได้ว่า "ผู้ยิ่งใหญ่แห่งทวารวดี" จากหลักฐานในจารึกนี้ ทำให้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า "กษัตริย์ของทวารวดีน่าจะทรงนับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นิกายปิศุปติซึ่งเป็นนิกายที่เกิดขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 7 โดยรับอิทธิพลมาจากอินเดีย


บริเวณซากเจดีย์ขนาดใหญ่ของวัด คาดว่าน่าจะสร้างสมัยทวารวดีในศตวรรษที่ 11 หรือ 12 ถึงศตวรรษที่ 16 เช่นเดียวกับองค์พระปฐมเจดีย์


และจากบริเวณซากเจดีย์ขนาดใหญ่ของวัด คาดว่าน่าจะสร้างสมัยทวารวดีในศตวรรษที่ 11 หรือ 12 ถึงศตวรรษที่ 16 เช่นเดียวกับองค์พระปฐมเจดีย์ พระปรางค์วัดพระประโทณเจดีย์วรวิหาร และวัดทุ่งพระเมรุที่บริเวณสวนอนันต์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ซึ่งเคยเสด็จมาเยี่ยมวัดนี้ก็เห็นว่า น่าจะสร้างสมัยเดียวกับเมืองนครปฐมเป็นราชธานี ที่ชื่อ ทวารวดี เพราะพบวัตถุโบราณในสมัยทวารวดีทั้งสิ้น ปัจจุบันวัตถุโบราณเหล่านี้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร บางส่วนที่แตกหักได้เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์องค์พระปฐมเจดีย์


ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือช่วงสมัยรัชกาลที่ 4  มีการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ ใช้เวลาบูรณะ 52 ปี 


และในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือช่วงสมัยรัชกาลที่ 4  มีการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระปฐมเจดีย์ ใช้เวลาบูรณะ 52 ปี มีพระภิกษุ 2 รูปจากวัดพระปฐมเจดีย์ คือ พระวินัยธรจุ้ยและพระอาจารย์ฮะ ได้มาจำพรรษาที่วัดพระงามซึ่งขณะนั้นเป็นวัดร้าง จึงได้แผ้วถางที่รกร้างว่างเปล่าพบกุฏิโบราณ 1 หลัง วิหารบนเนินดิน มีพระพุทธรูปเก่าและซากเจดีย์ใหญ่หักอยู่ 1 องค์ สันนิษฐานว่าเนินดินนั้นคงเป็นซากเจดีย์พังทลายลงตามกาลเวลา ส่วนวิหารบนเนินดินสันนิษฐานว่าเป็นวิหารที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา เพราะเป็นวิหารรูปเรือสำเภาแบบอยุธยา


มีพระอาจารย์ฮะและพระวินัยธรจุ้ยได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพระงามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2446 ทั้งสองรูปได้พัฒนาวัด สร้างกุฏิหลังเล็ก ๆ หลังคามุงแฝก จนมีพระมาจำพรรษา 4–5 รูป ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาได้ช่วงกันสร้างกุฏิ 


และที่่วัดพระงาม ก็มีพระอาจารย์ฮะและพระวินัยธรจุ้ยได้จำพรรษาอยู่ที่วัดพระงามตั้งแต่ปี พ.ศ. 2446 ทั้งสองรูปได้พัฒนาวัด สร้างกุฏิหลังเล็ก ๆ หลังคามุงแฝก จนมีพระมาจำพรรษา 4–5 รูป ชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาได้ช่วงกันสร้างกุฏิ อุโบสถ โดยมีพระอาจารย์ฮะเป็นผู้ริเริ่ม อุโบสถ ขนาดความยาว 9 วา กว้าง 6 วา ทำการผูกพัทธสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2450 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาว่า วัดโสภาพุทธาราม บางแหล่งเขียน วัดโสดาพุทธาราม ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงสำรวจวัด และทรงเรียกว่า "วัดพระงาม" สาเหตุจากค้นพบเครื่องดินเผาที่เป็นเศียรพระพุทธรูปที่งดงามได้ที่วัด


หลังจากพระอาจารย์ฮะ เจ้าอาวาสรูปที่ 2 มรณภาพลง จึงไปนิมนต์พระปลัดมณีซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดห้วยจระเข้มาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ท่านเป็นผู้เทศน์มหาชาติได้ไพเราะทั้งลีลาและทำนอง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพถึงกับรับสั่งให้เทศน์ให้ฟังที่ตำหนักเมืองนครปฐม ท่านยังได้สร้างกุฏิที่ถาวรมั่นคง สร้างศาลาการเปรียญ หอระฆัง และตั้งโรงเรียนสอนนักธรรมขึ้นภายในวัด ในสมัยเจ้าอาวาสรูปที่ 7 ได้มีการปรับปรุงกุฏิขึ้นมาใหม่ เทคอนกรีตภายในวัด ริเริ่มตั้งโรงเรียนสอนบาลี



ท่านได้ริเริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่เนื่องจากหลังเก่าชำรุดและคับแคบ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมามีขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร


ในสมัยพระอธิการจิตร จตฺตมโล มารับตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้ริเริ่มสร้างอุโบสถหลังใหม่เนื่องจากหลังเก่าชำรุดและคับแคบ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมามีขนาดกว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2505 และทำการผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ. 2506 มีการขยายเมรุวัดด้วย ในช่วงปี 2512–2527 พระราชปัญญาภรณ์ รักษาการเจ้าอาวาส ท่านได้พัฒนาวัดอย่างต่อเนื่อง 


และมีการสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ เป็นอาคาร 2 ชั้น สร้างโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม สร้างซุ้มประตูหน้าวัด สร้างกุฏิเรือนไทย 2 ชั้น จำนวน 12 หลัง สร้างเป็นศาลาบำเพ็ญกุศลและคลังเก็บพัสดุ ให้การสนับสนุนการศึกษาแก่พระภิกษุสามเณรทั้งแผนกธรรมและบาลี ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 พระมหาโสภา เขมสรโณ ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพระงาม ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาบำเพ็ญต่อ ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ทาสีอุโบสถ มุงกระเบื้องหลังคาศาลาการเปรียญใหม่ สร้างหอระฆัง ปรับปรุงผิวดินหลังเมรุทำสวนหย่อม บูรณะวิหารมณฑปบนเนินดินร่วมกับกรมศิลปากร


วัดพระงามได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้รับสถาปนาเป็นพระอารามหลวง


เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดพระงาม_(จังหวัดนครปฐม)

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น