Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

เที่ยวเมืองไทยให้รู้ดู พระธาตุนารายณ์เจงเวง ตำนานโบราณสถานขอมเก่าแก่ ที่ใครก็ต้องไปแลชมกันสักครั้ง

สำหรับบทความน่ารู้วันนี้ ขอนำเสนอประวัติ พระธาตุนารายณ์เจงเวง โบราณสถานเก่าแก่แห่งเมืองสกลนคร มาให้อ่านกันค่ะ


ก็ขอทักทาย ซำบายดี สวีดัดคุณผู้อ่านและเหล่าเพื่อนๆผู้รักการทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจ งามวิไลทุกๆคน กลับมาพบกันอีกเช่นเคยค่ะ กับบทความน่ารู้เกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวเช็กอินทั่วฟ้าเมืองไทย ที่จะสรรหามาให้อ่านฆ่าเวลากัน หลังจากที่บทความก่อนหน้า ได้พาไปเที่ยวชม วัดถ้ำผาแด่น วัดสวยงามบนเทือกเขาภูพานกันไปแล้ว วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอพาไปเที่ยวชมและรู้จักประวัติความเป็นมาของพระธาตุนารายณ์เจงเวง อีกหนึ่งโบราณสถานสำคัญที่บ่งบอกถึงอิทธิพลขอมที่แผ่ขยายมาถึงดินแดนแห่งนี้


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พระธาตุนารายณ์เจงเวง (Phrathat Narai Cheng Weng, Sakon Nakon City)

สาระน่ารู้เกี่ยวกับ พระธาตุนารายณ์เจงเวง (Phrathat Narai Cheng Weng, Sakon Nakon City)

สำหรับวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานสำคัญของจังหวัดสกลนคร ตัวพระธาตุนารายณ์เจงเวง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 6 กิโลเมตร โดยตามถนนสายสกลนคร-อุดรธานี ตำบลธาตุนาเวง อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

สถาปัตยกรรมของพระธาตุ เป็นพระธาตุสร้างด้วยหินทราย มีลักษณะปรางค์แบบขอมที่ส่วนใหญ่สร้วบรางกันในสมัยนั้น

ลักษณะสถาปัตยกรรมของพระธาตุ เป็นพระธาตุสร้างด้วยหินทราย มีลักษณะปรางค์แบบขอมที่ส่วนใหญ่สร้วบรางกันในสมัยนั้น ส่วนฐานก่อด้วยศิลาแลงขนาดใหญ่ องค์เจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมมีซุ้มประตูแต่ละด้าน ภายใต้ซุ้มข้างบนสลักรูปนารายณ์บรรทมสินธุ์ ประดับด้วยกนกด้านขด มุมทั้งสี่ด้านขององค์พระธาตุ เป็นรูปนาคห้าเศียร ปัจจุบัน มี พระครูศรีปริยัติวุฒิคุณ (สุวัฒน์ โกญทัญโญ ป.ธ ๕ M.A. )เป็นเจ้าอาวาส


ประวัติความเป็นของวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง สร้างขึ้นพร้อมกันกับ "พระธาตุนารายณ์เจงเวง" หรือ "อรดีมายานารายณ์เจงเวง" 

ประวัติความเป็นของวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง สร้างขึ้นพร้อมกันกับ "พระธาตุนารายณ์เจงเวง" หรือ "อรดีมายานารายณ์เจงเวง" โดยชื่อนี้ตั้งชื่อตามผู้สร้างโดยกลุ่มสตรีของพระนางนาเวงแห่งเมืองหนองหานหลวงมีการแข่งขันกลุ่มบุรุษชาวเมืองหนองหานน้อย เพื่อรอรับพระพระมหากัสสปะเถระ ซึ่งนำพระอุรังคธาตุไปบรรจุยังดอยภูกำพร้า โดยตกลงกันว่าหากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดสามารถสร้างพระธาตุเจดีย์ใหญ่เสร็จก่อนดาวเพ็กขึ้นฝ่ายนั้นจะเป็นผู้ชนะ

ตามตำนานอุรังคธาตุ ได้กล่าวถึงโบราณสถานแห่งนี้ว่า เมื่อพระมหากัสสปเถระและบริวารเดินทางมาถึงเมืองหนองหานหลวง กลุ่มสตรีชาวเมืองหนองหานได้ทูลขอแบ่งอุรังคธาตุ


จากตามตำนานอุรังคธาตุ ได้กล่าวถึงโบราณสถานแห่งนี้ว่า เมื่อพระมหากัสสปเถระและบริวารเดินทางมาถึงเมืองหนองหานหลวง กลุ่มสตรีชาวเมืองหนองหานได้ทูลขอแบ่งอุรังคธาตุ (กระดูกหน้าอก)ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พระมหาเถระผู้ใหญ่มิได้ทรงอนุญาตด้วยผิดวัตถุประสงค์ที่พระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ให้นำอุรังคธาตุไปประดิษฐานบรรจุเจดีย์ที่ภูกำพร้า กลางลำน้ำโขง(พระธาตุพนม) แต่มิให้เสียศรัทธา พระมหากัสสัปะเถระผู้ใหญ่จึงมอบให้พระอรหันต์รูปหนึ่งไปนำพระอังคารธาตุจากที่ถวายเพลิงพระศพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์แห่งนี้ จึงนับว่าพระธาตุนารายณ์เจงเวงเป็นโบราณสถานที่สำคัญของเมืองสกลนคร

วันที่ 15 มกราคม ขี่ม้าไปบ้านนาเวง ระยะทาง 15 เส้น ไปตามถนนขอมสร้างไว้แต่ดึกดำบรรพ์ มีสะพานหินเปนสพานศิลาแลง

และเมื่อครั้งปี พ.ศ. 2449 สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย พระองค์ได้เสด็จตรวจราชการมณฑลนครราชสีมา และมณฑลอุดรอีสาน รวม 56 วัน โดยได้นิพนธ์ไว้ในหนังสือเรื่องเที่ยวที่ต่าง ๆ ภาคที่ 4 เกี่ยวกับเมืองสกลนครไว้ว่า “วันที่ 15 มกราคม ขี่ม้าไปบ้านนาเวง ระยะทาง 15 เส้น ไปตามถนนขอมสร้างไว้แต่ดึกดำบรรพ์ มีสะพานหินเปนสพานศิลาแลง ฝีมือขอมทำดีน่าดูอยู่แห่ง 1 เปนของสมัยเดียวกันกับเทวสถาน ที่ตำบลนาเวงมีเทวสถานเรียกว่า “อรดีมายานารายณ์เจงเวง” ตั้งอยู่บนเนินซึ่งมีซุ้มไม้ร่มรื่นดี..”

เป็นโบราณสถานที่สำคัญของเมืองสกลนครสภาพเขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาสแยกออกจากกัน

นับว่าเป็นโบราณสถานที่สำคัญของเมืองสกลนครสภาพเขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาสแยกออกจากกัน เขตพุทธาวาสอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศใต้ของโบราณสถาน ส่วนเขตสังฆาวาส คือ ศาลาหอฉันและองค์พระธาตุอยู่ทางด้านตรงข้ามสภาพของตัวสถาปัตย์ศิลปกรรมขององค์พระธาตุเจดีย์เป็นปราสาททรายขนาดกลางก่อด้วยหินแลทไลท์ 

ส่วนฐานส่วนบนก่อด้วยหินทราย มีหน้าบันด้านทิศตะวันออกสลักเป็นภาพศิวนาฏราช 


ส่วนฐานส่วนบนก่อด้วยหินทราย มีหน้าบันด้านทิศตะวันออกสลักเป็นภาพศิวนาฏราช หน้าบันทิศเหนือสลักเป็นภาพพระนารายณ์หรือพระวิษณุบรรทมเหนือทะเลน้ำนม (นารายณ์บรรทมสินธุ์) ส่วนทับหลังมีครบทั้ง 4 ทิศ โดยการเปรียบเทียบตามหลักประติมาวิทยา (Iconnography) และลักษณะทางรูปแบบศิลปกรรม (Art Style) จะเป็นศิลปะแบบขอมในสมัยปาปวน ซึ่งมีอายุในราวพุทธศตวรรษ 1550 - 1650 ทั้งสิ้นยกเว้นทับหลังด้านทิศใต้ ซึ่งเป็นเรื่องเล่าการยกทัพจับศึก คาดว่าเป็นส่วนหนึ่งที่นำเข้าไปเพิ่มในเวลาต่อมา


อย่างไรก็ตามสภาพของตัวโบราณที่ยังไม่สมบูรณ์นี้เป็นผลมาจากการบูรณะซ่อมแซมโดยวิธีอนัตติโลซิส ระหว่างพ.ศ.2521 - 2525 คำว่าเจงเวง ผู้เฒ่าผู้แก่ให้ความหมายว่า ผู้หญิงขาว สวย สูงโปร่ง

เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง

----------------------------------------------------------------------------------------

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น