|
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ วัดภูเขาทอง กับเจดีย์เก่าแก่กลางทุ่งรอบเกาะเมืองอยุธยาแห่งนี้ มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาน่าสนใจอย่างไร |
สวัสดีคุณอ่านและเพื่อนๆเหล่านักทัศนาจร เว้าวอนดวงหทัย งามวิไลสุดเก๋ เท่ห์เริ่ดสะแมนแตนกันทุกคนค่ะ กลับมาพบปะทักทาย ซำบายดี อีหลีอยู่บ่ อ้อล้อหัวใจกันอีกครั้งนะคะ กับบทความสาระน่ารู้รอบเรื่องวัดวาอาราม สถานที่ท่องเที่ยวทั่วเมืองไทย ที่จะสรรหามาให้เปิดอ่านเป็นความรู้กัน หลังจากที่บทความก่อนหน้าได้พาไปเที่ยวรู้จักวัดบูรณะ วัดเก่าย่านรอบเมืองเก่าอยุธยามาให้ได้อ่านกันแล้ว วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอพาคุณผู้อ่านไปเที่ยววัดรอบนอกเกาะเมืองเก่า หรือย่านพระราชวังหลวงแห่งกรุงศรีอยุธยาอีกแห่งที่มีความสวยงามโดดเด่น นั้นก็คือ เจดีย์วัดภูเขาทอง จัดเป็นหนึ่งในวัดเก่าแก่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าสนใจยิ่งนัก เลยสรรหามาให้อ่านกันค่ะ
|
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัดภูเขาทอง แห่งเมืองเก่าศรีอยุธยา (Wat Phukhao Thong, Ayuthaya Province) |
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ วัดภูเขาทอง แห่งเมืองเก่าศรีอยุธยา (Wat Phukhao Thong, Ayuthaya Province)
สำหรับวัดภูเขาทองนั้น จัดเป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งห่างจากพระราชวังหลวงไปประมาณ 2 กิโลเมตร สามารถใช้เส้นทางเดียวกับทางไปจังหวัดอ่างทอง ทางหลวงหมายเลข 309 กิโลเมตรที่ 26 จะมีป้ายบอกทางแยกซ้ายไปวัดนี้ ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองอยุธยา ประมาณ 2 กิโลเมตร
|
สิ่งที่โดดเด่นในวัดแห่งนี้คือ มีเจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งเป็น มหาเจดีย์สำคัญ ความสูงประมาณ 90 เมตร เป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่ตั้งอยู่กลางทุ่งนา |
สิ่งที่โดดเด่นในวัดแห่งนี้คือ มีเจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งเป็น มหาเจดีย์สำคัญ ความสูงประมาณ 90 เมตร เป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่ตั้งอยู่กลางทุ่งนา มีบันไดทางขึ้นไปบนเจดีย์ และสามารถมองเห็นได้ในระยะไกล อีกทั้งด้านหน้าทางเข้าวัดมีพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรทรงม้ายิ่งใหญ่งดงามอลังการ มีไก่เฝ้าทางตัวใหญ่ด้านหน้า สามารถจอดลงเพื่อสักการะบูชาได้ ทำให้วัดแห่งนี้ จัดเป็นวัดที่มีความงดงามอีกแห่ง
|
วามเป็นของวัดภูเขาทอง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร เมื่อ พ.ศ. 1930 มีเจดีย์ใหญ่ที่ชื่อว่า เจดีย์ภูเขาทอง |
ประวัติศาสตร์ความเป็นของวัดภูเขาทอง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร เมื่อ พ.ศ. 1930 มีเจดีย์ใหญ่ที่ชื่อว่า เจดีย์ภูเขาทอง
|
อุโบสถภายในวัดภูเขาทอง |
|
ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธาน มีนามว่า พระพุทธสุวรรณบรรพตบรมไตรโลกเชษฐ์หรือหลวงพ่อ มีความหมายว่า หลวงพ่อภูเขาทองผู้ประเสริฐที่สุดในสามโลก |
|
ร่องรอยซากปรักหักพังที่ยังหลงเหลืออยู่ภายในอุโบสถวัดภูเขาทอง |
เจดีย์ภูเขาทอง เป็นเจดีย์ที่สูงใหญ่ มีความสูงประมาณ 90 เมตร ตั้งอยู่กลางทุ่งนาซึ่งสามารถใช้สังเกตเห็นศัตรูได้แต่ไกล เมื่อ พ.ศ. 2112 พระเจ้าบุเรงนองแห่งเมืองหงสาวดีได้ยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ จึงได้สร้างพระเจดีย์ใหญ่แบบมอญขึ้นไว้เป็นอนุสรณ์ที่วัดนี้
|
วัดภูเขาทองนี้ถูกกล่าวไว้ในหนังสือคําให้การชาวกรุงเก่า “พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เป็นผู้สร้างพระมหาเจดีย์ประธานขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2112 |
วัดภูเขาทองนี้ถูกกล่าวไว้ในหนังสือคําให้การชาวกรุงเก่า “พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง เป็นผู้สร้างพระมหาเจดีย์ประธานขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2112 ศิลปะแบบมอญสูงใหญ่ ไว้เพื่อเป็นที่ระลึกเมื่อคราวรบชนะไทย” ต่อมา เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาให้กรุงศรีอยุธยาพร้อมทั้งประกาศอิสรภาพแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2127 จึงโปรดให้สร้างเจดีย์แบบอยุธยา โปรดให้รื้อช่วงบนขององค์พระมหาเจดีย์ออก เสมือนการบูรณะครั้งใหญ่ และทรงสร้างเจดีย์แบบย่อมุมไม้สิบสอง ซึ่งเป็นที่นิยมในยุคนั้นบนฐานทักษิณพระมหาเจดีย์องค์เดิม ฝีมือช่างมอญเดิมจึงปรากฏเหลือเพียงฐานทักษิณส่วนล่างเท่านั้น
|
วิหารแกลบ ภายในวัดภูเขาทอง |
|
ฝีมือช่างมอญเดิมจึงปรากฏเหลือเพียงฐานทักษิณส่วนล่างเท่านั้น เจดีย์ภูเขาทองจึงมีลักษณะสถาปัตยกรรมสองแบบผสมกัน |
ฝีมือช่างมอญเดิมจึงปรากฏเหลือเพียงฐานทักษิณส่วนล่างเท่านั้น เจดีย์ภูเขาทองจึงมีลักษณะสถาปัตยกรรมสองแบบผสมกัน วัดภูเขาทองนี้หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า ได้สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวรเมื่อปี พ.ศ. 1930 ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาเมื่อ พ.ศ. 2127 จึงโปรดเกล้าให้สร้างเจดีย์แบบไทยไว้เหนือฐานแบบมอญและพม่าที่สร้างเพียงรากฐานไว้ ณ สมรภูมิทุ่งมะขามหย่อง ฝีมือช่างมอญเดิมจึงปรากฏเหลือเพียงฐานทักษิณส่วนล่างเท่านั้น เจดีย์ภูเขาทองจึงมีลักษณะสถาปัตยกรรมสองแบบผสมกัน
|
รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ได้ทำการปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ใหม่ เปลี่ยนรูปจากเจดีย์มอญเป็นรูปเจดีย์ย่อไม้สิบสองที่กำลังนิยมอยู่ในขณะนั้น |
ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ได้ทำการปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ใหม่ เปลี่ยนรูปจากเจดีย์มอญเป็นรูปเจดีย์ย่อไม้สิบสองที่กำลังนิยมอยู่ในขณะนั้น ส่วนฐานนั้นเป็นคงศิลปะมอญ
วัดภูเขาทองเป็นวัดที่ได้รับความนิยมมากวัดหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ในเทศกาลไหว้พระเก้าวัด พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเป็นผู้สร้างภูเขาทองขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2112 คราวยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในเวลาที่ประทับอยู่พระนครศรีอยุธยาได้สร้างพระเจดีย์ภูเขาทองใหญ่แบบมอญขึ้นไว้เป็นที่ระลึกเมื่อคราวรบชนะไทย โดยรูปแบบของฐานเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับแบบมอญพม่า สันนิษฐานว่าสร้างเจดีย์องค์นี้ขึ้นเพื่อชัยชนะแต่ทำได้เพียงรากฐาน แล้วยกทัพกลับ ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมา เมื่อพ.ศ. 2127 จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างเจดีย์แบบไทยไว้เหนือฐานแบบมอญ และพม่าที่สร้างเพียงรากฐานไว้ ณ สมรภูมิทุ่งมะขามหย่อง
|
องค์เจดีย์มีสีขาวขนาดใหญ่ มีบันไดทอดยาวไปสู่ยอดพระเจดีย์ ระหว่างทางขึ้นสามารถเดินรอบเจดีย์ในแต่ละชั้นได้
|
โดยความสำคัญขององค์เจดีย์มีสีขาวขนาดใหญ่ มีบันไดทอดยาวไปสู่ยอดพระเจดีย์ ระหว่างทางขึ้นสามารถเดินรอบเจดีย์ในแต่ละชั้นได้
|
มีบันไดทอดยาวไปสู่ยอดพระเจดีย์ ระหว่างทางขึ้นสามารถเดินรอบเจดีย์ในแต่ละชั้นได้ |
|
บริเวณชั้นบนสุดของพระเจดีย์ มีการทาสีทองบริเวณช่องเจดีย์ มีรูปสลักของท้าวเวสสุวรรณภายในช่องของเจดีย์ให้กราบไหว้ขอพร |
|
สิ่งที่น่าสนใจคือ บริเวณชั้นบนสุดของพระเจดีย์ มีการทาสีทองบริเวณช่องเจดีย์ มีรูปสลักของท้าวเวสสุวรรณภายในช่องของเจดีย์ให้กราบไหว้ขอพร |
|
บริเวณชั้นบน มีช่องประตูเล็กๆ เดินเข้าไปด้านในเพื่อนมัสการ พระบรมสารีริกธาตุ |
|
วัดโบราณในสมัยอยุธยาเป็นที่ตั้งเพราะเจดีย์ใหญ่สีทองที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้บนยอด มีความเชื่อว่า การได้ขึ้นไปเหมือนได้อยู่บนสรวงสวรรค์และทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข มีความเจริญก้าวหน้าในชีวิต แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตราย |
บริเวณชั้นบนสุดของพระเจดีย์ มีการทาสีทองบริเวณช่องเจดีย์ มีรูปสลักของท้าวเวสสุวรรณภายในช่องของเจดีย์ให้กราบไหว้ขอพร ลานระเบียงทางเดินโดยรอบองค์เจดีย์ชั้นบนสุด สามารถมองเห็นวิวได้รอบทิศแบบชัดเจน มาอยุธยาลองเปลี่ยนมาเที่ยว วัดภูเขาทอง ชมความงามของมหาเจดีย์ที่สวยแปลกตกแห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา ที่มีคนเดินทางมากราบไหว้อยู่เสมอ
|
ภายในบริเวณวัดภูเขาทอง |
|
กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ร่วมกับกรมศิลปากรจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงม้าไว้บริเวณด้านหน้าวัดภูเขาทอง |
กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ร่วมกับกรมศิลปากรจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงม้าไว้บริเวณด้านหน้าวัดภูเขาทอง ในบริเวณใกล้เคียงกันกับพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยที่กรมโยธาธิการฯ ได้สร้างไว้ก่อนหน้า เชื่อกันว่าบริเวณนี้เดิมเป็นทุ่งโล่งที่มีการตั้งทัพข้าศึก และเกิดการทำการยุทธหัตถีในหลายครั้งหลายสมัย
|
เจดีย์วัดภูเขาทอง |
า นอกจากนี้ บริเวณด้านข้างมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (โครงการแก้มลิง) ซึ่งเป็นแนวพระราชดําริของในหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ให้แก่ประชาชนชาวไทยในช่วงฤดูน้ําท่วม และในช่วงฤดูแล้งก็ยังคงมีน้ำใช้ตลอดปี เปิดให้เข้าชม เวลา 07.00-17.00 น
เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดภูเขาทอง_(จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
https://thai.tourismthailand.org/Attraction/วัดภูเขาทอง
0 ความคิดเห็น