Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

เที่ยวไทยไปให้รู้ ดูภาพจิตรกรรมพระแม่ธรณีฯ ที่วัดชมภูเวก สมัยอยุธยาที่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดในเมืองไทย

เดินทางเที่ยวเมืองไทย ไปให้รู้ แวะดู วัดชมภูเวก วัดเก่าแก่สมัยอยุธยา ที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระแม่ธรณีบีบมวยผม ที่สวยงามที่สุดของโลก มีประวัติเป็นมาอย่างไร 



เดินทางเที่ยวเมืองไทย ไม่ไปไม่รู้ในบทความนี้ ขอพาคุณผู้อ่านไปเที่ยวและไหว้พระทำบุญ วัดเก่าแก่อีกแห่งในจังหวัดนนทบุรี นั้นก็คือ วัดชมภูเวก ซึ่งถือได้ว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญและมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาน่าสนใจไม่น้อย อีกทั้งยังเป็นวัดที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่วาดเขียนไว้ตั้งสมัยกรุงสมัยอยุธยา ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดอีกแห่งของเมืองไทยด้วย การเดินทางไปเที่ยวในทริปนี้ เลยขอนำสาระน่ารู้ดีๆเล็กๆน้อยเกี่ยวกับวัดแห่งนี้มาให้ได้อ่านเป็นความรู้กันค่ะ 


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัดชมภูเวก อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี (Wat Chomphuwek, Nonthaburi Province)


สาระน่ารู้เกี่ยวกับ วัดชมภูเวก อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี (Wat Chomphuwek, Nonthaburi Province)


วัดชมภูเวก เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายตั้งอยู่ริมถนนสายสนามบินน้ำ-นนทบุรี ซอยนนทบุรี 33 ตำบลท่าทราย  และที่มาของชื่อวัดมาจากที่ตั้งที่อยู่บนเนินสูง มีความเงียบสงบ จึงเรียกว่า วัดชมภูวิเวก 

ที่มาของชื่อวัดมาจากที่ตั้งที่อยู่บนเนินสูง มีความเงียบสงบ จึงเรียกว่า วัดชมภูวิเวก 


ประวัติความเป็นมาของวัดชมภูเวก  สันนิษฐานชาวมอญ ที่ลี้ภัยจากพม่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายประมาณ พ.ศ. 2300  ต่อมากว่าร้อยปีพระสงฆ์จากเมืองมอญได้สร้างพระมุเตา (เจดีย์แบบมอญ) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่นำมาจากบ้านเกิดของตนและเป็นที่สักการบูชาสันนิษฐานว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ด้วย) ซึ่งสร้างราว พ.ศ. 2225 ถัดมาใน พ.ศ. 2460 ได้ทำการบูรณะสร้างพระมุเตาให้สูงใหญ่กว่าเดิมและสร้างเจดีย์รายที่มุมพระมุเตาทั้งสี่ของฐาน ต่อมาได้มีการสร้างวัดขึ้นในชื่อ วัดชมภูเวก อันหมายถึง ขอสรรเสริญเนินสูงที่มีความวิเวก (เงียบสงบ) วัดแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2517

พระอุโบสถหลังเดิมทรงมหาอุดอยู่หลังเจดีย์ที่มีรูปแบบเดียวกับเจดีย์ที่เมืองหงสาวดีปลายผนังสอบเข้าเพื่อรับน้ำหนักแทนเสาด้านหน้า


ส่วนพระอุโบสถหลังเดิมทรงมหาอุดอยู่หลังเจดีย์ที่มีรูปแบบเดียวกับเจดีย์ที่เมืองหงสาวดีปลายผนังสอบเข้าเพื่อรับน้ำหนักแทนเสาด้านหน้า มีพาไลหน้าบันประดับปูนปั้นลายดอกพุดตานกลางดอกเป็นเครื่องถ้วยลายครามและเบญจรงค์ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นปูนปั้นลายพฤกษาบนผนังทั้งสี่ด้านมีภาพจิตรกรรมสีฝุ่นผสมกาวตามแบบอยุธยาตอนกลางฝีมือช่างสกุลนนทบุรี


ในวัดยังประดิษฐาน พระมุเตา หรือ เจดีย์ทรงมอญ มีเจดีย์รายที่มุมพระมุเตาทั้งสี่ของฐาน


และภายในวัดยังประดิษฐาน พระมุเตา หรือ เจดีย์ทรงมอญ มีเจดีย์รายที่มุมพระมุเตาทั้งสี่ของฐาน นอกจากนั้นได้สร้างเจดีย์อีกสององค์ด้านหลังพระมุเตาเพื่อบรรจุอัฐธาตุอดีตเจ้าอาวาส ส่วนพระมุเตาสันนิษฐานว่าสร้างเพื่อบรรจุพระบรมธาตุ


วิหาร ตั้งอยู่หลังอุโบสถเก่า มีลักษณะคล้ายอุโบสถหลังเก่า ต่ผนังวิหารเป็นแนวตั้งตรง หลังคาไม่มีกันสาด ไม่มีพาไล


ส่วนตัววิหาร ตั้งอยู่หลังอุโบสถเก่า มีลักษณะคล้ายอุโบสถหลังเก่ามีขนาดไล่เลี่ยกัน แต่ผนังวิหารเป็นแนวตั้งตรง หลังคาไม่มีกันสาด ไม่มีพาไล มีประตูทางด้านหน้าและหลัง หน้าบันและซุ้มประตูหน้าต่างประดับด้วยลวดลายปูนปั้นพันธ์พฤกษาแบบลายฝรั่ง ลายดอกพุดตานหรือดอกโบตั๋น


อุโบสถหลังใหม่ ลักษณะเป็นทรงไทย สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2520 เป็นลักษณะทรงไทยใต้ถุนสูง 2 ชั้น หลังคาลดหลั่น 3 ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ หน้าบัน ซุ้มหน้าต่าง และประตูประดับด้วยกระจก จิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถหลังใหม่นี้ เป็นภาพเขียนเกี่ยวกับเรื่องราวพุทธประวัติ ตามบานประตูหน้าต่างเขียนลายเทพพนม เป็นที่ประดิษฐานพระประธานศิลปะสุโขทัยและพระพุทธรูปยืนอีก 2 องค์

ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถเก่า ส่วนจิตรกรรมฝาผนังที่เลื่องชื่อเป็นฝีมือสกุลช่างนนทบุรีสมัยอยุธยาตอนกลาง

ภายในพระอุโบสถ

 แสดงเรื่องราวทศชาติชาดกและพุทธประวัติโดยมีรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผมในท่วงท่าที่อ่อนช้อยงดงามอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพแม่พระธรณีที่งดงามที่สุดภาพหนึ่งของเมืองไทย



โดยภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถเก่า ส่วนจิตรกรรมฝาผนังที่เลื่องชื่อเป็นฝีมือสกุลช่างนนทบุรีสมัยอยุธยาตอนกลาง โดยใช้เทคนิคเขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาวแบบเทมเพอร่า เขียนตามคติอยุธยาตอนกลาง คือ ผนังด้านบนเหนือขอบหน้าต่างด้านบนขึ้นไปเขียนรูปอดีต พุทธเจ้าประทับบนบัลลังก์เรือนแก้วมีซุ้มโพธิ์ เบื้องหลังมีผ้าทิพย์ห้อยลงระหว่างอดีตพระพุทธเจ้ามีพระสาวกนั่ง ถวายสักการะทั้งเบื้องขาวและเบื้องซ้าย  และจุดเด่นของวัดที่สำคัญคือ ในยุคนั้นแสดงเรื่องราวทศชาติชาดกและพุทธประวัติโดยมีรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผมในท่วงท่าที่อ่อนช้อยงดงามอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพแม่พระธรณีที่งดงามที่สุดภาพหนึ่งของเมืองไทย


องค์พระประธานภายในอุโบสถเก่า เป็นพระประธานจำลองปางมารวิชัยถอดแบบของเก่าสมัยสุโขทัย


ซึ่งภายในอุโบสถหลังใหม่ก็มีพระประธานลักษณะศิลปะสุโขทัยเหมือนกันนี้เช่นกัน


ลวดลายในการวาดจิตรกรรมฝาผนังดังกล่าวนี้เป็นที่นิยมกันมากในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนตรงกลางซุ้มนิยมทำเป็นลายรูปแจกันจีนและตะวันตก

และลวดลายในการวาดจิตรกรรมฝาผนังดังกล่าวนี้เป็นที่นิยมกันมากในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ส่วนตรงกลางซุ้มนิยมทำเป็นลายรูปแจกันจีนและตะวันตก ภายในวิหารยังเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองภายใต้บุษบกไม้ สร้างราวพุทธศตวรรษที่18-19 สันนิษฐานว่ามอญคงนำมาจากเมืองมอญ คราวอพยพเข้าประเทศไทย

พระพุทธรูปองค์ประทาน ในวิหาร ที่ตั้งอยู่ด้านหลังโบสถ์เก่า ก็มีภาพจิตรกรรมฝาผนังส่วนงามเช่นกัน 


วัดแห่งนี้ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00-16.30 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้่ที่ 0 2967 1348


เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดชมภูเวก

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น