Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

รวมเด็ด 7 แหล่งท่องเที่ยวสำคัญในเมืองมรดกโลกศรีเทพ ที่ต้องไปเช็คอินกัน มีที่ใหนบ้างนะ

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เมืองเก่าโบราณในยุคทวารวดี อายุนานนับ 1,000 ปี ที่ได้รับการขึ้นทะบียนเป็นมรดกโลก มีจุดเช็คอินและแหล่งท่องเที่ยวอะไรที่น่าสนใจบ้าง ตามไปเที่ยวกันเลยจ้า



สวัสดีเพื่อนๆสายเที่ยวทัศนาจร เว้าวอนดวงฤทัยทุกๆคนค่ะ วันหยุดเดือนนี้ หากเพื่อนๆคนใหนทีหลงใหลในประวัติศาสตร์อันยาวนานนับพันปี  ของอาณาจักรทวารดี หนึ่งในอาณาจักรที่เก่าแก่ที่สุดอีกแห่งที่ตั้งอยู่ในผืนแผ่นดินไทย และกำลังวางแผนไปเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ แหล่งท่องเที่ยวโบราณสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ จากองค์การยูเนสโก้ ซึ่งบริเวณเมืองเก่าโบราณศรีเทพ มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจให้ไปเช็คอิน และเดินเรียนรู้ทัศนศึกษาอยู่หลายแห่งเลยทีเดียวค่ะ 


ส่วนใครที่จะวางแผนไปเที่ยวเมืองเก่าโบราณศรีเทพ แต่ยังไม่รู้ว่าจะไปเช็คอิน เดินถ่ายรูปที่ใหนดี ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ มีแหล่งท่องเที่ยวโบราณสถาน หรือจุดเช็คอินที่น่าสนใจอะไรบ้าง เพื่อไม่ให้บทความร้างไป วันนี้นี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอมาอัพเดทแนะนำข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ มาให้เพื่อนๆได้วางแผนไปถ่ายรูปเช็คอินกันดังนี้ค่ะ  ยังไงไปเที่ยวกันเยอะๆนะคะ


รวมสถานที่ท่องเที่ยวจุดเช็คอินในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เมืองเก่าโบราณที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก มีดังนี้ 



1.แวะเที่ยวจุดแรก : เขาคลังนอก  โบราณสถานที่ค้นพบมานานแล้วในหมู่โบราณสถานของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่เพิ่งบูรณะแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2555


1.แวะเที่ยวจุดแรก : เขาคลังนอก ลักษณะของเขาคลังนอกเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13–14 ในสมัยทวารวดี สันนิษฐานว่าเดิมมีลักษณะเป็นสถูปขนาดใหญ่ที่สามารถขึ้นไปด้านบนได้


1.แวะเที่ยวจุดแรก : เขาคลังนอก  ปัจจุบันเหลือเพียงฐานขนาดใหญ่ ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยศิลาแลง สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน 



1.แวะเที่ยวจุดแรก : เขาคลังนอก 

เขาคลังนอก เป็นโบราณสถานที่ค้นพบมานานแล้วในหมู่โบราณสถานของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ แต่เพิ่งบูรณะแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2555 ลักษณะของเขาคลังนอกเป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ สร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13–14 ในสมัยทวารวดี สันนิษฐานว่าเดิมมีลักษณะเป็นสถูปขนาดใหญ่ที่สามารถขึ้นไปด้านบนได้ ปัจจุบันเหลือเพียงฐานขนาดใหญ่ ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส ก่อด้วยศิลาแลง สภาพค่อนข้างสมบูรณ์ มีทางขึ้นทั้ง 4 ด้าน กว้างด้านละประมาณ 64 เมตร ความสูงจากฐานถึงยอด ประมาณ 20 เมตร แบ่งเป็น 2 ชั้นหลัก ๆ โดยแต่ละชั้นสูงประมาณ 5 เมตร แต่ละทิศมีเจดีย์รายรอบเล็ก ๆ ซึ่งแสดงถึงความเชื่อเกี่ยวกับมณฑลจักรวาล และอิทธิพลทางสถาปัตยกรรมของอินเดียตอนใต้และชวากลางคล้ายบรมพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย

ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร สันนิษฐานว่าด้านบนประกอบด้วยลานประทักษิณ สำหรับประกอบพิธีกรรม




จากข้อมูล ศาสตราจารย์ ดร.สันติ เล็กสุขุม คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร สันนิษฐานว่าด้านบนประกอบด้วยลานประทักษิณ สำหรับประกอบพิธีกรรม และเป็นระเบียงที่สามารถเดินวนรอบได้ ลานประทักษิณมีเจดีย์ประธานตั้งอยู่บนสุดสร้างด้วยอิฐ โดยมีฐานอิฐรับยอดเจดีย์อีก 1 ชั้น รวมเป็น 3 ชั้น  มีบันไดทางขึ้นสู่ด้านบนทั้ง 4 ทิศ บันไดมีผนังข้างเป็นชั้นรองเครื่องไม้หลังคา ปากทางขึ้นราวบันไดมีฐานของรูปสลักที่น่าจะเป็นรูปสิงห์คู่ ฐานโค้งเป็นบัว ลานประทักษิณชั้นบนสุดของแต่ละทิศมีซุ้มประตูโค้ง ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว ระเบียงคตหรืออาคารไม้มุมหลังคาล้อมรอยเจดีย์ประธาน และมีเจดีย์ขนาดเล็กประดับตามมุม

มีนักท่องเที่ยวมากันเป็นหมู่คณะ และมีไกด์ทัวร์ให้ข้อมูลด้านความรู้เกี่ยวกับโบราณสถานเขาคลังนอกด้วย



บรรยากาศช่วงวันหยุดยาว มีนักท่องเที่ยวมากันเป็นหมู่คณะ และมีไกด์ทัวร์ให้ข้อมูลด้านความรู้เกี่ยวกับโบราณสถานเขาคลังนอกด้วย อารมณ์เหมือนไปทัศนาศึกษาเลยค่ะ 


พื้นที่มหาสถูปเขาคลังนอกและโดยรอบ เผยให้เห็นการกระจายตัวของโบราณสถานและแหล่งที่เป็นไปได้ว่าเป็นส่วนประกอบของศาสนสถาน


ผลการวิเคราะห์ข้อมูลไลดาร์ พื้นที่มหาสถูปเขาคลังนอกและโดยรอบ เผยให้เห็นการกระจายตัวของโบราณสถานและแหล่งที่เป็นไปได้ว่าเป็นส่วนประกอบของศาสนสถาน รวมถึงกิจกรรมของมนุษย์ในอดีตรอบ ๆ ซึ่งทำให้เห็นว่าพื้นที่นี้เป็นมากกว่าศาสนสถานในบริบทมหาสถูป แต่อาจเป็น “มหาวิหาร” หรือวิทยาลัยซึ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่สำคัญแหล่งหนึ่ง เช่นเดียวกับวิทยาลัยนาลันทา ที่มีบทบาทส่งต่อพุทธศาสนาและงานศิลปะสู่รัฐในพื้นที่ใกล้เคียง  (เครดิตข้อมูลดีๆจาก :https://th.wikipedia.org/เขาคลังนอก)




ส่วนเดี๊ยนกับเพื่อนก็เสียค่าธรรมเนียมไปคนละ 20 บาทจ้า


มาถึงก็ถ่ายรูปป้ายหน้าอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพเป็นที่ระลึก และอ่านข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับเมืองเก่าโบราณแห่งนี้สักหน่อย

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ 

เมืองโบราณศรีเทพมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8-18 เป็นเมืองที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งในสมัยทวารวดี มีการติดต่อรับคติความเชื่อทางศาสนาหลายศาสนาและนิกาย ทั้งพุทธศาสนาแบบเถรวาทและมหายาน รวมไปถึงศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในเสาวระนิกาย (นับถือพระสุริยะ) ไวษณพนิกาย (นับถือพระวิษณุ) และไศวนิกาย (นับถือพระศิวะ) มีการติดต่อสัมพันธ์กับวัฒนธรรมใกล้เคียงตั้งแต่วัฒนธรรมอินเดีย ขอม และทวารวดีจากแหล่งอื่น ๆ โดยยังหลงเหลือหลักฐานทางโบราณคดีและงานศิลปกรรม สามารถแสดงความเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมและการค้า แสดงให้เห็นถึงการอยู่ร่วมกันของชุมชนที่ต่างศาสนาในระยะเวลาเดียวกัน


แผนผังเมืองเก่าโบราณอุทยานประวัติศาสตร์ฺศรีเทพ เมืองใน และเมืองนอก 


บริเวณเมืองฯ พบหลักฐานการพัฒนาการอย่างต่อเนื่องใน 3 สมัย ได้แก่ ชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี และสมัยวัฒนธรรมขอมแผ่ขยายเข้ามามีอิทธิพลในตอนปลาย ก่อนจะหมดความสำคัญกลายเป็นเมืองร้าง

ยุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณศรีเทพเป็นชุมชนเกษตรกรรม ประกอบด้วยหมู่บ้านเล็ก ๆ หลายแห่ง แต่ละหมู่บ้านมีผู้นำ


ชุมชนยุคก่อนประวัติศาสตร์บริเวณศรีเทพเป็นชุมชนเกษตรกรรม ประกอบด้วยหมู่บ้านเล็ก ๆ หลายแห่ง แต่ละหมู่บ้านมีผู้นำ ผู้คนรู้จักการใช้ชีวิตและจัดการตนเองให้อยู่ร่วมกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นอย่างดี มีการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ ตลอดจนการล่าสัตว์และรวบรวมทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ นอกจากนี้ยังมีการทอผ้า การทำเครื่องปั้นดินเผา และการถลุงโลหะในชุมชนด้วย ผู้คนอาจเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตายหรือโลกหน้าในขณะที่พวกเขาฝังศพผู้ตายด้วยสิ่งของที่ฝังศพหลากหลายชนิด การหาอายุของเรดิโอคาร์บอน AMS ของตัวอย่างฟันจากแหล่งขุดค้นดังกล่าวให้ผล 1,730 ± 30 ปีที่แล้ว


การค้นพบเมืองเก่าศรีเทพ เดิมมีชื่อว่า "เมืองอภัยสาลี" หรือ "เมืองไพศาลี" สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มื่อ พ.ศ. 2447–2448 และได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองศรีเทพ" 



การค้นพบเมืองเก่าศรีเทพ เดิมมีชื่อว่า "เมืองอภัยสาลี" หรือ "เมืองไพศาลี" สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงค้นพบเมื่อเสด็จไปตรวจราชการมณฑลเพชรบูรณ์ ครั้งทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เมื่อ พ.ศ. 2447–2448 และได้ทรงเรียกเมืองนี้เสียใหม่ว่า "เมืองศรีเทพ" ตามชื่อเมืองที่ปรากฏในทำเนียบเก่าบอกรายชื่อหัวเมืองในสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ กรมศิลปากรจึงได้ใช้ชื่อเรียกเมืองโบราณที่สำรวจพบว่าเมืองศรีเทพ จนกว่าจะค้นพบหลักฐานเอกสารที่ยืนยันชื่อที่แท้จริงของเมืองโบราณแห่งนี้

ภาพตัวอักษรโบราณของเมืองศรีเทพ เอกลักษณ์และความสำคัญของเมืองศรีเทพ จึงมีนักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าเมืองศรีเทพเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม ทวารวดี หรือเมืองศรีเทพนั้นคือ ทวารวดี 


ด้วยเอกลักษณ์และความสำคัญของเมืองศรีเทพ จึงมีนักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าเมืองศรีเทพเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรม ทวารวดี หรือเมืองศรีเทพนั้นคือ ทวารวดี ไม่ใช่เมืองนครปฐมโบราณ หรือเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีตามที่เชื่อกันมา



2.เที่ยวชมปราสาท ปรางค์สองพี่น้อง 

2.เที่ยวชมปราสาท ปรางค์สองพี่น้อง  ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ มีประตูทางเข้าทางเดียวและจากการขุดแต่งทางโบราณคดี

2.เที่ยวชมปรางค์สองพี่น้อง   สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะขอม สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในสมัยบาปวน - นครวัด และได้มีการสร้างปรางค์องค์เล็กเพิ่ม

พบทับหลังที่มีจำหลักเป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตี ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราช ซึ่งลักษณะของทับหลังและเสาประดับกรอบประตูเป็นสิ่งกำหนดอายุของปรางค์ สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17


2.ปรางค์สองพี่น้อง 

ลักษณะเป็นปรางค์ 2 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดใหญ่หันหน้าไปทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกับปรางค์ศรีเทพ มีประตูทางเข้าทางเดียวและจากการขุดแต่งทางโบราณคดี พบทับหลังที่มีจำหลักเป็นรูปพระอิศวรอุ้มนางปารพตี ประทับนั่งอยู่เหนือโคอศุภราช ซึ่งลักษณะของทับหลังและเสาประดับกรอบประตูเป็นสิ่งกำหนดอายุของปรางค์ สร้างขึ้นเนื่องในศาสนาฮินดู ซึ่งอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เป็นศิลปะขอม สันนิษฐานว่าน่าจะอยู่ในสมัยบาปวน - นครวัด และได้มีการสร้างปรางค์องค์เล็กเพิ่ม โดยพบร่องรอยการสร้างทับกำแพงแก้วที่ล้อมรอบปรางค์องค์ใหญ่ ซึ่งอยู่ใต้ปรางค์องค์เล็ก และยังมีการก่อปิดทางขึ้นโดยเสริมทางด้านหน้าให้ยื่นออกมา และก่อสร้างอาคารขนาดเล็กทางทิศเหนือเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ระหว่างองค์ปรางค์ทั้งสองแห่งคือปรางค์สองพี่น้อง และปรางค์ศรีเทพจะมีกำแพงล้อมรอบ และมีอาคารปะรำพิธีขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แสดงให้เห็นถึงลักษณะการวางผังแบบเดียวกับที่พบในภาคอีสานของประเทศไทย


3.โบราณสถานเขาคลังใน ชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติต่าง ๆ จึงเรียกว่า "เขาคลัง" การก่อสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-14

3.โบราณสถานเขาคลังใน ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ที่ฐานมีรูปปูนปั้นบุคคล และสัตว์ประดับเป็นศิลปะแบบทวารวดีมีลักษณะศิลปะแบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูบัว

3.โบราณสถานเขาคลังใน

3.โบราณสถานเขาคลังใน


แต่เดิมทีนั้น ผู้คนที่อยู่ในชุมชนศรีเทพ เชื่อกันว่าเป็นที่เก็บอาวุธและทรัพย์สมบัติต่าง ๆ จึงเรียกว่า "เขาคลัง" การก่อสร้างประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-14 ผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ใช้ศิลาแลงเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง ที่ฐานมีรูปปูนปั้นบุคคล และสัตว์ประดับเป็นศิลปะแบบทวารวดีมีลักษณะศิลปะแบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูบัว โบราณสถานบ้านโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ และวัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี จะเห็นว่าเขาคลังในตั้งอยู่เกือบกลางเมือง ลักษณะทางผังเมืองจะคล้ายกับเมืองทวารวดีอื่น ๆ เช่น เมืองนครปฐมโบราณ เมืองคูบัวที่ราชบุรี และจากรายละเอียดปูนปั้นบุคคลหรือลวดลาย แบบเดียวกับที่พบที่เมืองคูคล้าย


4.ปราสาท ปรางค์ศรีเทพ ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของปรางค์สองพี่น้อง  เป็นสถาปัตยกรรมแบบวัฒนธรรมขอมโบราณในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 หันหน้าไปทางทิศตะวันตก

4.ปรางค์ศรีเทพ  ลักษณะของปรางค์สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็นฐานบัวลูกฟัก 

สระน้ำโบราณบริเวณปรางค์ศรีเทพ

ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 มีการพยายามจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่แต่ไม่สำเร็จ โดยได้พบชิ้นส่วนทิ้งกระจัดกระจาย


4.ปราสาท ปรางค์ศรีเทพ 

สำหรับปราสาทปรางค์ศรีเทพ ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของปรางค์สองพี่น้อง  เป็นสถาปัตยกรรมแบบวัฒนธรรมขอมโบราณในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-17 หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ลักษณะของปรางค์สร้างด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานล่างก่อด้วยศิลาแลงเป็นฐานบัวลูกฟัก แบบเดียวกับสถาปัตยกรรมขอมทั่ว ๆ ไป เรือนธาตุก่อด้วยอิฐ ในการขุดค้นบริเวณนี้พบชิ้นส่วนทับหลังรูปลายสลักราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 น่าจะเป็นการสร้างเพิ่มหลังจากโบราณสถานเขาคลังใน ต่อมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 มีการพยายามจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใหม่แต่ไม่สำเร็จ โดยได้พบชิ้นส่วนทิ้งกระจัดกระจาย


ธรรมจักรศิลาขนาดใหญ่อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ชี้ให้เห็นว่าชุมชนเมืองศรีเทพโบราณนับถือศาสนาพุทธ

บริเวณใกล้ๆกับเขาคลังใน มีธรรมจักรศิลาขนาดใหญ่อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ชี้ให้เห็นว่าชุมชนเมืองศรีเทพโบราณนับถือศาสนาพุทธ


กรมศิลปากรในขณะนั้นได้ขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพ เป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478

หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นได้ขึ้นทะเบียนเมืองโบราณศรีเทพ เป็นโบราณสถานของชาติ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2478 และประกาศลงใน ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 กระทั่งใน พ.ศ. 2527 เมืองโบราณศรีเทพได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ ภายใต้การบริหารจัดการในรูปแบบอุทยานประวัติศาสตร์ โดยการกำกับดูแลของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ สำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี กรมศิลปากรด้วย


เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก ภายใต้ชื่อ เมืองโบราณศรีเทพ และโบราณสถานสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง 


และด้วยโบราณสถานในเมืองเก่าศรีเทพ พื้นที่ราว 4.7 ตารางกิโลเมตร (ราว 2,900 ไร่) ประกอบด้วยชุมชนโบราณในลักษณะเมืองซ้อนเมืองขนาดใหญ่ และกลุ่มโบราณสถานสำคัญที่มีความโดดเด่นทั้งด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม ศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งสะท้อนถึงการเป็นศูนย์กลางทางการแลกเปลี่ยนสินค้าที่สามารถติดต่อกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้สะดวก และความเจริญรุ่งเรืองต่อเนื่องกันถึง 3 ยุค ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ยุคทวารวดีจนถึงยุคขอมเรืองอำนาจ และในวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2566 อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก ภายใต้ชื่อ เมืองโบราณศรีเทพ และโบราณสถานสมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง  (เครดิตข้อมูลดีจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ )



หลังจากเดินทางชมโบราณสถานทั้ง 3 จุดแล้ว ก็นั่งรถรางไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ต่อค่ะ แต่เสียดายไม่ได้ไปชมโครงกระดูก ซึ่งอยู่ทางใต้ของปรางค์สองพี่น้อง สามารถเดินไปได้ค่ะ 


 นักท่องเที่ยวเยอะมาก ทำให้ต้องรอคิวขึ้นรอราง นานถึง 2 คัน ถึงจะได้เดินทางมาที่บริเวณจุดทำการค่ะ

ช่วงวันหยุดยาว นักท่องเที่ยวเยอะมาก ทำให้ต้องรอคิวขึ้นรอราง นานถึง 2 คัน ถึงจะได้เดินทางมาที่บริเวณจุดทำการค่ะ

5.ต้องไม่พลาด ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

5.ต้องไม่พลาด ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

5.ต้องไม่พลาด ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

5.ต้องไม่พลาด ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

5.ต้องไม่พลาด ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ

5.ต้องไม่พลาด ไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่อยู่บริเวณที่ทำการและใกล้กับจุดขึ้นรถรางเลยค่ะ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้สังเกตุ ซึ่งด้านในจัดแสดงสาระน่ารู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของเมืองศรีเทพ และจัดแสดงโบราณวัตถุสำคัญของเมืองเก่าศรีเทพให้ได้ชมด้วย เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 8.00-16.00 น.

มีร้านขายไอติมแท่งรูปปั้นคนแคระแบกด้วย เลยลองซื้อทานดูค่ะ แต่ราคาแอบแรงไปนิด ชิ้นละ 50 บาทเลย 

เดินเที่ยวแล้ว ก็หิวค่ะ มีร้านขายไอติมแท่งรูปปั้นคนแคระแบกด้วย เลยลองซื้อทานดูค่ะ แต่ราคาแอบแรงไปนิด ชิ้นละ 50 บาทเลย รสอร่อยดี ไม่หวานมากค่ะ 



6.ขณะขับรถออกก็แวะไปไหว้ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ  อยู่ห่างจากประตูทางเข้าเล็กน้อยทางด้านซ้ายมือ ศาลเจ้าพ่อศรีเทพไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป 

6.ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ ไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป

6.ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ ไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป

6.ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ ไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป

6.ขณะขับรถออกก็แวะไปไหว้ศาลเจ้าพ่อศรีเทพ  อยู่ห่างจากประตูทางเข้าเล็กน้อยทางด้านซ้ายมือ ศาลเจ้าพ่อศรีเทพไม่ใช่โบราณสถาน แต่เป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านทั่วไป โดยทุกปีจะมีงานบวงสรวง ในราวเดือนกุมภาพันธ์ (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3)


ยังไม่หมดค่ะ ยังมีโบราณสถานอีกหนึ่งที่ซึ่งตั้งอยู่จากตัวเมืองชั้นใน คือ โบราณสถานปรางค์ฤาษี ห่างจากตัวเมืองเก่าชั้นในประมาณ 3 กิโลเมตรค่ะ 

ยังไม่หมดค่ะ ยังมีโบราณสถานอีกหนึ่งที่ซึ่งตั้งอยู่จากตัวเมืองชั้นใน คือ โบราณสถานปรางค์ฤาษี ห่างจากตัวเมืองเก่าชั้นในประมาณ 3 กิโลเมตรค่ะ ถ้ามาก็ปักหมุดไม่ต้องกลัวหลง เพราะมีป้ายบอกทางค่ะ 


7.ไปชมปรางค์ฤาษี ตั้งอยู่ในวัดป่าแก้ว เป็นโบราณสถานขอมในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ห่างจากเมืองศรีเทพ 3 กิโลเมตร

7. ปรางค์ฤาษี ลักษณะทางกายภาพเป็นปราสาทก่อด้วยอิฐไม่สอปูนตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดไม่สูงนักสถาปัตยกรรมแบบขอม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก

7.ปรางค์ฤาษี  บริเวณปรางค์มีอาคารขนาดเล็กในบริเวณเดียวกัน ล้อมรอบด้วยแนวกำแพงก่อด้วยศิลาแลง  จากการสำรวจ ปรางค์ฤๅษีเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16

7.ไปชมปรางค์ฤาษี ตั้งอยู่ภายในวัดป่าแก้ว 

7.ไปชมปรางค์ฤาษี ตั้งอยู่ภายในวัดป่าแก้ว เป็นโบราณสถานขอมในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ห่างจากเมืองศรีเทพ 3 กิโลเมตร

ปรางค์ฤๅษี เป็นโบราณสถานขอมในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ห่างจากเมืองศรีเทพ 3 กิโลเมตร ลักษณะทางกายภาพเป็นปราสาทก่อด้วยอิฐไม่สอปูนตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดไม่สูงนักสถาปัตยกรรมแบบขอม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และมีอาคารขนาดเล็กในบริเวณเดียวกัน ล้อมรอบด้วยแนวกำแพงก่อด้วยศิลาแลง จากการสำรวจ ปรางค์ฤๅษีเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 พบโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาฮินดู ได้แก่ ศิวลึงค์ ฐานประติมากรรม และชิ้นส่วนโคนนทิ (เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/ปรางค์ฤๅษี_(อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ) )



และสำหรับข้อมูลแนะนำแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ซึ่งตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ซึ่งได้แนะนำไว้ในบทความนี้ น่าจะมีสถานที่ท่องเที่ยว หรือจุดเช็คอินถ่ายรูปสวยๆ ปราสาทเก่าแก่ โบราณสถานที่ซ่อนตัวอยู่ในเมืองเก่าโบราณแห่งอาณาจักรทวารวดีแห่งนี้ ให้ได้ไปเที่ยวกันอยู่ไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการใด ดิฉันต้องขออภัยด้วยนะคะ ขอบพระคุณที่เข้ามาเปิดอ่านกันค่ะ...........จากคุณนายเว่อร์ เทอร์ชอบเที่ยวกินนอน 

-----------------------------------------------------------------------------

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น