น่ารู้เกี่ยวกับประวัติของตลาดเก่าชุมชนหัวตะเข้ นั้นมีความเป็นมาอย่างไร ดิฉันขอมาแบ่งปันให้อ่านกันดังนี้จ้า |
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประวัติของตลาดเก่าชุมชนหัวตะเข้ นั้นมีความเป็นมาอย่างไร ขอมาแบ่งปันให้เพื่อนๆได้อ่านกันดังนี้จ้า
สำหรับคำว่า หัวตะเข้ เป็นชื่อของชุมชนและตลาด โดยเป็นจุดตัดของคลอง 3 คลอง ได้แก่ คลองหัวตะเข้ คลองลำปลาทิว และคลองประเวศบุรีรมย์ ในเขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ซึ่งที่มาของชื่อชุมชนมาจากการขุดคลองในบริเวณนี้แล้วพบกะโหลกจระเข้ตัวเล็ก ๆ ตัวหนึ่ง มีแค่ส่วนหัว แต่ไม่มีตัว กะโหลกนี้ยังคงอยู่ที่ศาลเจ้าปึงเถ่ากงจนถึงปัจจุบัน ทำให้ผู้คนที่มาอยู่แรกเริ่มในบริเวณนี้ ตั้งชื่อว่า หัวตะเข้ และเรียกกันเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
ประวัติของตลาดเก่าหัวตะเข้ พื้นที่เดิมมีสภาพเป็นทุ่งนากว้าง เริ่มตั้งเป็นชุมชนตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีชุมชนหลังจากขุดคลองประเวศบุรีรมย์ (พ.ศ. 2421–2423) |
ประวัติของตลาดเก่าหัวตะเข้ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ย่านลาดกระบัง ใกล้กับมหาวิทยาเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พื้นที่เดิมมีสภาพเป็นทุ่งนากว้าง เริ่มตั้งเป็นชุมชนตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีชุมชนหลังจากขุดคลองประเวศบุรีรมย์ (พ.ศ. 2421–2423) จากพระโขนงถึงฉะเชิงเทรา ทำให้มีความเจริญเกิดขึ้นทั้งสองริมฝั่งคลอง มีตลาดสด ร้านรวง และชุมชนริมน้ำเกิดขึ้น
ชุมชนหัวตะเข้เป็นจุดที่ใหญ่ที่สุด เพราะเป็นจุดตัดของคลอง 3 คลอง คนเรียกติดปากว่า "สี่แยก" ปรากฏมีการตั้งชุมชนริมน้ำในแผนที่เก่าเมื่อ พ.ศ. 2456 ในแผนที่ปรากฏสถานีรถไฟหัวตะเข้และสี่แยกหัวตะเข้ |
โดยชุมชนหัวตะเข้เป็นจุดที่ใหญ่ที่สุด เพราะเป็นจุดตัดของคลอง 3 คลอง คนเรียกติดปากว่า "สี่แยก" ปรากฏมีการตั้งชุมชนริมน้ำในแผนที่เก่าเมื่อ พ.ศ. 2456 ในแผนที่ปรากฏสถานีรถไฟหัวตะเข้และสี่แยกหัวตะเข้ กลุ่มคนที่เข้ามาคือ คนไทย คนมอญ คนจีน การสัญจรสามารถส่วนใหญ่ใช้ทางน้ำ รวมถึงการใช้รถไฟที่มีสถานีอยู่ทางทิศเหนือของตลาดหัวตะเข้ อาคารหลังแรกที่สร้างขึ้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2440 ตั้งอยู่บริเวณตลาดหัวตะเข้ฝั่งเหนือคลองประเวศบุรีรมย์ สร้างด้วยไม้สัก จากข้อมูล พ.ศ. 2558 ยังคงปรากฏอาคารหลังนี้อยู่
อาคารหลังแรกที่สร้างขึ้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2440 ตั้งอยู่บริเวณตลาดหัวตะเข้ฝั่งเหนือคลองประเวศบุรีรมย์ สร้างด้วยไม้สัก จากข้อมูล พ.ศ. 2558 ยังคงปรากฏอาคารหลังนี้อยู่ |
การสร้างอาคารแถวเรือนไม้บริเวณสองฝั่งคลองประเวศบุรีรมย์ มีรูปแบบอาคารในลักษณะเดียวทั้งสองฝั่ง โดยมีจำนวนอาคารเรือนแถวไม้ทั้งหมดประมาณ 137 หลัง |
ซึ่งการสร้างอาคารแถวเรือนไม้บริเวณสองฝั่งคลองประเวศบุรีรมย์ มีรูปแบบอาคารในลักษณะเดียวทั้งสองฝั่ง โดยมีจำนวนอาคารเรือนแถวไม้ทั้งหมดประมาณ 137 หลัง แบ่งเป็นอาคารเรือนแถวไม้ฝั่งเหนือคลองประเวศบุรีรมย์ทั้งหมด 5–7 หลัง และอาคารเรือนแถวไม้ฝั่งใต้คลองบุรีรมย์ ทั้งหมด 80 หลัง โดยอาคารทั้งหมดสร้างด้วยไม้เนื้อแข็งฝาไม้กระดานตีเกร็ด มุงกระเบื้องสังกะสี
ด้านหน้าเป็นทางเดินมีลักษณะเป็นดิน และคลุมด้วยหลังคาไม้ทอดยาวตลอดแนวความยาวด้านหน้า |
และลักษณะด้านหน้าเป็นทางเดินมีลักษณะเป็นดิน และคลุมด้วยหลังคาไม้ทอดยาวตลอดแนวความยาวด้านหน้า โดยแต่ละคูหากว้างประมาณ 3.5 เมตร ลึก 25 เมตร สูงประมาณ 5 เมตร จากความลึกของที่ดิน ทำให้มีการแบ่งหลังคาจั่วเป็นสองตอน ส่วนด้านหน้าของอาคารเรือนแถวไม้ มีลักษณะเป็นชานไม่มีหลังคาคลุมเป็นทางเดิน ขนาดประมาณ 1 เมตร สร้างด้วยดินกว้างจรดริมคลองประเวศบุรีรมย์
ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการขยายตัวของชุมชนออกไปทางทิศตะวันตก และด้านหลังของกลุ่มอาคารเดิมที่เกาะติดอยู่ริมคลอง การสัญจรในช่วงเวลานี้ มีรูปแบบการเข้าถึงโดยใช้เส้นทางน้ำและรถไฟเป็นหลัก |
และในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการขยายตัวของชุมชนออกไปทางทิศตะวันตก และด้านหลังของกลุ่มอาคารเดิมที่เกาะติดอยู่ริมคลอง การสัญจรในช่วงเวลานี้ มีรูปแบบการเข้าถึงโดยใช้เส้นทางน้ำและรถไฟเป็นหลัก รวมถึงมีการใช้เรือเมล์ขาวหรือเรือนายเลิศ เข้ามาบริการภายในพื้นที่ ขณะที่บริเวณใกล้เคียงยังไม่พบตลาดคู่แข่งทางการค้า ทำให้เกิดเป็นย่านตลาดชุมชนสีี่แยกหัวตะเข้นั้นเป็นตลาดที่คึกคักที่สุดก็ว่าได้ในขณะนั้น พอมาในช่วง พ.ศ. 2500 เกิดไฟไหม้ตลาดฝั่งใต้คลองประเวศบุรีรมย์ ได้มีการสร้างอาคารใหม่ทั้งหมด
กระทั่งเริ่มมีการตัดถนน มีการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ คนเริ่มสัญจรทางรถยนต์แทนทางเรือทำให้ย่านชุมชนนี้เริ่มซบเซาลงอย่างมา |
จนกระทั่งเริ่มมีการตัดถนน มีการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ คนเริ่มสัญจรทางรถยนต์แทนทางเรือทำให้ย่านชุมชนนี้เริ่มซบเซาลงอย่างมาก และเมื่อ พ.ศ. 2537 เกิดไฟไหม้ตลาดฝั่งตรงข้าม มีบ้านเรือนเสียหาย 150 ห้อง ทำให้มีคนย้ายออก ขณะที่ฝั่งตลาดหัวตะเข้เหลือ 58 ห้อง หลายร้านปิดตัวลง
เมื่อ ปี พ.ศ. 2552 ชาวชุมชนหัวตะเข้ได้ร่วมกันฟื้นฟูชุมชนด้วยการใช้งานศิลปะมาเป็นสื่อกลางในการฟื้นฟูตลาดชุมชนแก่ริมน้ำ |
และเมื่อ ปี พ.ศ. 2552 ชาวชุมชนหัวตะเข้ได้ร่วมกันฟื้นฟูชุมชนด้วยการใช้งานศิลปะมาเป็นสื่อกลางในการฟื้นฟูตลาดชุมชนแก่ริมน้ำ โดยร่วมมือกับสถานศึกษาแถบลาดกระบังหลายแห่ง ตลาดหัวตะเข้ได้เผชิญวิกฤติเพลิงไหม้อีก 2 ครั้ง คือ เมื่อ พ.ศ. 2556 และ 2557 จากเหตุการณ์ดังกล่าว ได้ทำให้ชาวชุมชนเกิดการตื่นตัวในการรวมกลุ่มกันแก้ปัญหาต่าง ๆ ของชุมชนมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีการการจัดแสดงานศิลปะหมุนเวียน การสอนเวิร์กชอปสำหรับผู้ที่สนใจ ร้านเอเฟรม แหล่งขายอุปกรณ์ศิลปะ ศูนย์การเรียนรู้วิถีถิ่นหัวตะเข้ มีร้านคาเฟ่ ร้านอาหารให้นักท่องเที่ยวที่แวะมานอนพักค้างแรมรอขึ้นเครื่องที่สนามบินสุวรรณภูมิ ก็นิยมไปเดินเช็คอินเที่ยวตลาดชุมชนหัวตะเข้ เนื่องจากใช้เวลาเที่ยวไม่นาน และไม่ไกลจากสนามบินอีกด้วย (เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/หัวตะเข้ )
นั่งรถโดยสาร 2 แถว มาลงที่หน้าตลาดอุดมผล จากนั้นเดินมาสุดซอย |
การเดินทางไปเที่ยวตลาดเก่าหัวตะเข้นั้น สามารถเดินทางไปได้ง่ายๆ สำหรับคนที่อยู่ย่านใจกลางเมือง นั่งรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรียลลิงค์ มาลงที่สถานีลาดกระบัง จากนั้นก็ต่อรถ 2 แถว สาย 333 หรือรถที่เขียนป้ายว่าตลาดอุดมผล หรือหัวตะเข้ ก็สามารถนั่งมาได้ ราคา 8 บาทต่อคน โดยมาลงทีลงที่ปากซอยลาดกระบัง 17 หรือบริเวณตลาดอุดมผล และเดินมาสุดซอย ก็จะเห็นสะพานไม้เก่าแก่ข้ามคลองไปยังชุมชนเก่าหัวตะเข้แล้วจ้า
พอเดินมาสุดซอย ก็จะเห็นสะพานข้ามไปยังตลาดเก่าหัวตะเข้ ก็แวะถ่ายรูปกันสักเล็กน้อยจ้า
บรรยากาศเงียบเหงาไปหน่อย ตลาดหัวตะเข้รอเพื่อนๆมาเที่ยวกัน จะได้กลับมาคึกคักอีกครั้ง
แม้ตลาดจะเหงาหงอยไปหน่อย แต่ก็มีร้านขายอาหารและร้านคาเฟ่เก๋ๆเปิดให้บริการอยู่นะคะ วันมีน้องๆนักศึกษาแถวลาดกระบัง และนักท่องเที่ยวแวะมากันตลอดเลยค่ะ
เดินจากปากซอยมา อากาศร้อนๆ ก็เติมน้ำตาลเข้าเส้นเลือดสักหน่อย เป็นนมเย็นๆ แสนจะชื่นใจทีเดียว
ร้านอยู่ติดริมน้ำเลย บรรยากาศดีทีเดียว นั่งรับลมเย็นๆไปจ้า
ภายในร้านก็ตกแต่งด้วยถาดสังกระสีแบบโบราณ สุดหวานแหว๋ทีเดียว ให้นึกย้อนไปเมื่อครั้งวันวานอีกครั้ง แสนจะปังปุริเยสืบไปเลยทีเดียว
สั่งเมนูออเดิฟไป เป็นกุ้งแช่น้ำปลา กับหมูมะนาว ทานรองเท้าไปก่อน
นั่งทานอาหารออเดิฟ ชมเรือแล่นไปพลางๆ |
แม้ว่าผู้คนจะเปลี่ยนไปสัญจรทางบกมากขึ้น แต่การสัญจรทางน้ำของคนในระแวกนี้ ก็ยังใช้เรือในการสัญจรอยู่นะคะ แถมเร็วด้วย เพราะบางบ้านเรือนอยู่ติดริมน้ำ ทางเดินไปยังบ้านลำบาก การสัญจรทางน้ำก็ยังสะดวกและรวดเร็วกว่าทีเดียว
ข้าวปลาแกะ |
จากนั้นก็จัดอาหารมื้อหนักต่อด้วยข้าวปลาแก่ โรยด้วยน้ำปลาพริกสักเล็กน้อย อร่อยจนพุงปลิ้นไปเลย
หากจะเติมต่อด้วยของหวานอีก คงไม่ไหวแล้วจ้า
ของเล่นสำหรับเด็กๆชิ้นโปรด มีตุ๊กตากระดาษที่เคยเล่นในอดีต ก็ยังมีขายให้เลือกซื้อ เลือกหาไปเล่นกับลูกๆหรือหลานๆได้ด้วยนะคะ
ของกินของฝากก็มีนะคะ ขนมกะหรี่พัฟราคาห่อละ 10 บาท
เพื่อนๆคนใหน ที่ยังไม่รู้ว่าวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ ไม่รู้จะไปเที่ยวใหนดี ลองจรลีหนีจากบ้าน มาเปลี่ยนบรรยากาศเดินเริงสำราญเที่ยวตลาดเก่าหัวตะเข้าดูค่ะ |
สำหรับเพื่อนๆคนใหน ที่ยังไม่รู้ว่าวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ ไม่รู้จะไปเที่ยวใหนดี ลองจรลีหนีจากบ้าน มาเปลี่ยนบรรยากาศเดินเริงสำราญเที่ยวตลาดเก่าหัวตะเข้าดูค่ะ รับรองว่าได้ย้อนวันวานอย่างแน่นอนจ้า....มาเที่ยวกันเยอะนะคะ ชาวบ้านในตลาดจะได้ขายของได้ เศรษฐกิจได้คึกคักจ้า.......................จบทริป 1 วันเที่ยวไปไม่ไกลจากกรุงเทพ แวะไปเสพสมชมตลาดเรือนไม้เก่าแก่ติดริมคลองที่สี่แยกหัวตะเข้
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
0 ความคิดเห็น