เดินทางเที่ยวทั่วไทยไปให้รู้ดู วัดช้างให้ วัดเก่าแก่ต้นตำรับวัดหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดแห่งนี้ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร |
สวัสดีเพื่อนๆคุณผู้อ่าน และนักทัศนาจร ออนซอนหัวใจทุกๆคนค่ะ สำหรับเพื่อนๆคนที่นับถือพุทธและเดินทางไปเที่ยวปัตตานี แน่นอนว่าเมื่อเดินทางมาถึงเมืองนี้แล้ว ต้องไม่พลาดไปกราบสักการะอัฐิหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ที่วัดช้างให้กันสักครั้ง เพราะนอกจากจะเป็นวัดเด่น วัดดังแห่งเมืองนี้แล้ว ที่วัดช้างให้ ยังมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจอีกด้วย วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอมาแบ่งปันสาระความรู้เล็กๆน้อยเกี่ยวกับวัดช้างให้ หรือวัดหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด มาให้ได้อ่านเป็นความรู้กันค่ะ
ประวัติความเป็นมาของวัดช้างให้ (Wat Chang Hai, Pattani Province) |
สาระน่ารู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของวัดช้างให้ (Wat Chang Hai, Pattani Province)
วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม เดิมชื่อ วัดช้างให้ เป็นหนึ่งในวัดเก่าแก่ มีประวัติความเป็นมายาวนาน โดยเชื่อกันว่าเป็นวัดเก่าที่สร้างมานานกว่า 300 ปีแล้ว แต่จะสร้างมาเมื่อใดและใครเป็นคนสร้างก็ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด แต่จากหลักฐานที่ปรากฎทำให้ทราบว่าเป็นวัดร้างและถูกทอดทิ้งมาเป็นเวลานาน ซึ่งตรงกับการบอกกล่าวของคนเฒ่าคนแก่ก็ทราบว่าเป็นวัดร้างมาก่อน และมีสิ่งที่หลักฐานที่ปรากฏแสดงให้แน่ใจว่าเคยเป็นวัดมาก่อน คือศิลาก้อนใหญ่ปักอยู่ 4 ทิศในท่ามกลางวัดร้าง
สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องหมายลูกนิมิตบอกให้รู้ว่าที่ตรงนี้เป็นเขตพัทธสีมาและอุโบสถเก่า โดยใช้เครื่องหมายคือศิลาเป็นิมิตก็ยังปรากฏอยู่จนบัดนี้ ยังไม่มีผู้ใดกล้าทำลายหรือรื้อถอนแต่อย่างใด |
ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นเครื่องหมายลูกนิมิตบอกให้รู้ว่าที่ตรงนี้เป็นเขตพัทธสีมาและอุโบสถเก่า โดยใช้เครื่องหมายคือศิลาเป็นิมิตก็ยังปรากฏอยู่จนบัดนี้ ยังไม่มีผู้ใดกล้าทำลายหรือรื้อถอนแต่อย่างใด ในส่วนของสถูปศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด ซึ่งอยู่ใกล้กับเขตพัทธสีมาที่ชาวบ้านเรียกว่า "เขื่อนหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" หรือ "เขื่อนท่านเหยียบน้ำทะเลจืด" (คำว่าเขื่อนเป็นภาษาคนพื้นเมืองทางภาคใต้ หมายถึงสถูปที่บรรจุอัฐิของผู้มีบุญ) ก็มีมาก่อนแล้วซึ่งสถูปแห่งนี้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดปัตตานีและใกล้เคียง มีผู้คนไปกราบไหว้บนบานอยู่เนืองนิจใครเจ็บไข้ได้ป่วยหรือวัตถุสิ่งของถูกขโมย หรือศูนย์หายก็พากันไปบนบาน ณ ที่สถูปแห่งนี้
วัดช้างให้ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 |
โดยที่ตั้งวัดนั้น ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 ตามพระราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 74 ตอน 15 หน้า 451 - 252 เขตวิสุงคามสีมา ยาว 80 เมตร กว้าง 40 เมตร เนื้อที่จำนวน 12 ไร่ ทำพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2501 ตรงกับวันขึ้น 13 ค่ำ
ที่มาของวัดช้างให้ มีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไป เมื่อช้างหยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง ณ ที่ตรงนั้นสมัยโบราณกาล คนมลายูซึ่งยังนับถือพุทธศาสนา พระยาแก้มดำจึงได้สร้างวัดช้างให้ |
ส่วนชื่อที่มาของวัดช้างให้ ก็มีประวัติน่าสนใจไม่น้อย โดยพระยาแก้มดำเจ้าเมืองไทรบุรี สร้างเมืองใหม่ได้อธิษฐานปล่อยช้างให้ออกเดินทางไปในป่า โดยมีเจ้าเมืองและไพร่พลเดินติดตามไป เมื่อช้างหยุดอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง แล้วร้องขึ้นสามครั้ง จึงสร้างเมืองใหม่ ณ ที่ตรงนั้นสมัยโบราณกาล คนมลายูซึ่งยังนับถือพุทธศาสนา พระยาแก้มดำจึงได้สร้างวัดช้างให้
วัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี |
ต่อมาใน พ.ศ. 1300 กษัตริย์ครองกรุงศรีวิชัยแห่งปาเล็มบังมีอานุภาพแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงแหลมมลายูและได้ก่อสรางปูชนีย์ทางพระพุทธศาสนาไว้หลายแห่ง ศิลาจารึกแผ่นหนึ่งที่นครศรีธรรมราชจารึกว่า "พ.ศ. 1318 เจ้าเมืองศรีวิชัยได้มาก่อพระเจดีย์องค์หนึ่งที่นครศรีธรรมราชและพระพุทธไสยาสน์ในถ้ำแห่งภูเขาวัดหน้าถ้ำ (ปัจจุบันชื่อ วัดคูหาภิมุข) ตั้งอยู่ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ได้สร้างในสมัยศรีวิชัย ระหว่าง พ.ศ. 1318 - พ.ศ. 1400"
และเมื่อปี พ.ศ. 2478 ขุนธำรงพันธุ์ภักดี ขุนพิทักษ์รายา ขายช้างเชื่อกหนึ่ง นำเงินไปบูรณะวัดช้างให้ วัดราษฎร์บูรณะได้เป็นวัดร้าง จนกระทั้ง พ.ศ. 2480 สถานที่แห่งนี้เป็นเพียงป่ารก มีต้นไม้ใหญ่ พระครูมนูญสมณการ วัดพลานุภาพ ได้ชักชวนชาวบ้านช้างให้และใกล้เคียงไปทำการแผ้วถางวัดร้างแห่งนี้ โดยจัดบูรณะให้เป็นวัดมีพระสงฆ์เข้าอยู่จำพรรษา
และเมื่อพ.ศ. 2488 เกิดสงครามทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นเมืองไทยผ่านไปประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ รถไฟสายใต้วิ่งจากหาดใหญ่ไปสถานีสุไหงโก-ลก ชายแดน ขนทหารและสัมภาระผ่านหน้าวัดช้างให้ วัดช้างให้ก็อยู่ในสภาพเดิมยังมิได้บูรณะ วัดช้างให้ซึ่งตั้งติดอยู่กับทางรถไฟเป็นทางผ่านไปยังจังหวัดยะลา นราธิวาส และชายแดนมาเลเซีย เจ้าอาวาสวัดช้างให้ต้องรับภาระหนักต้องจัดหาที่พักหาอาหารมาเลี้ยงดูผู้คนที่มาขอพักอาศัยพักแรมในระหว่างเดินทาง วัดได้มีถาวรวัตถุ ดังนี้ ศาลาการเปรียญ อุโบสถ หอฉัน หอระฆัง กุฏิ สถูปบรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด กำแพงวัด อาคารเรียน โรงเรียนสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
ดเด่นที่น่าสนใจภายในวัดคือ เป็นที่ประดิษฐานสถูปหรือมณฑปบรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด เป็นสถูปศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด ซึ่งอยู่ใกล้กับเขตพัทธสีมาที่ชาวบ้านเรียกว่า "เขื่อนหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด |
และจุดเด่นที่น่าสนใจภายในวัดคือ เป็นที่ประดิษฐานสถูปหรือมณฑปบรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด เป็นสถูปศักดิ์สิทธิ์ที่บรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด ซึ่งอยู่ใกล้กับเขตพัทธสีมาที่ชาวบ้านเรียกว่า "เขื่อนหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" หรือ "เขื่อนท่านเหยียบน้ำทะเลจืด" (คำว่าเขื่อนเป็นภาษาคนพื้นเมืองทางภาคใต้ หมายถึงสถูปที่บรรจุอัฐิของผู้มีบุญ) ซึ่งมีมาก่อนแล้วซึ่งสถูปแห่งนี้ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดปัตตานีและใกล้เคียง มีผู้คนไปกราบไหว้บนบานอยู่เนืองนิจใครเจ็บไข้ได้ป่วยหรือวัตถุสิ่งของถูกขโมย หรือศูนย์หายก็พากันไปบนบาน ณ ที่สถูปแห่งนี้
ณฑปบรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด องค์ปัจจุบันที่เห็ฯนี้ พระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมฺมธโร) และพระครูธรรมกิจโกศล (พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว) ได้ปรึกษาหารือกันและตกลงให้รื้อและขุดของเก่าขึ้นมาเพื่อสร้างใหม่ |
สำหรับสถูปหรือมณฑปบรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด องค์ปัจจุบันที่เห็ฯนี้ พระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมฺมธโร) และพระครูธรรมกิจโกศล (พระอาจารย์นอง วัดทรายขาว) ได้ปรึกษาหารือกันและตกลงให้รื้อและขุดของเก่าขึ้นมาเพื่อสร้างใหม่ แต่เมื่อทำการขุดลงไปก็ได้พบกับหม้อทองเหลืองที่บรรจุอัฐิหลวงปู่ทวดซึ่งห่ออยู่ในผ้า สภาพของหม้อทองเหลืองนั้นเริ่มผุพังไปเท่ากาลเวลา ทำให้ใครไม่มีใครกล้าแตะหรือเอามือจับต้อง เพราะต้องการรักษาสภาพเดิมเอาไว้ จึงมีมติว่าให้สร้างสถูปสวมครอบลงบนสถูปเดิมเหมือนดังเช่นในปัจจุบัน สำหรับมณฑปหรือสถูปบรรจุอัฐิหลวงปู่ทวด คั้งอยู่ด้านหน้าของวัด ติดกับทางรถไฟ ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนมีลวดลายสวยงาม ประดับด้วยสีทองเหลืองอร่ามสวยงาม ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั่วไป มณฑปหรือสถูปบรรจุอัฐิหลวงปู่ทวดมีรูปปั้นช้างหันหน้าเข้าหามณฑป ทั้ง ๒ ข้าง
วิหารหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด |
จากประวัติของวัดช้างให้ซึ่งมีหลวงพ่อทวดหรือที่ชาวเมืองเมืองไทรบุรีเรียกว่า "ท่านลังกา" หลวงพ่อทวดช่วงที่เป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ ท่านก็ยังเดินไปมาระหว่างวัดช้างให้กับไทรบุรีอยู่เสมอ และเมื่อหลวงพ่อทวด มรณภาพที่เมืองไทรบุรี ลูกศิษย์ได้นำศพกลับมาที่วัดช้างให้ แต่ในการนำศพกลับมาต้องพักแรมในระหว่างทางเป็นเวลาหลายวัน กว่าจะถึงวัดช้างให้ ในการพักแรมเมื่อตั้งศพ ณ สถานที่ใด ที่นั้นก็จะเอาไม้แก่นปักหมายไว้ทุก ๆ แห่งเป็นระยะ ๆ จนกระทั่งถึงวัดช้างให้ สถานที่ตั้งศพพักแรมตามระหว่างทางนี้กลายเป็นสถานที่สักการะเคารพของคนในถิ่นนั้น บางแห่งก็ก่อเป็นเจดีย์ไว้ บางแห่งก่อเป็นสถูปไว้ และถือเป็นสถานที่ศํกดิ์สิทธิ์สำคัญ
ในปี พ.ศ. 2501พระครูวิสัยโสภณ (ทิม ธมฺมธโร) และลูกศิษย์ได้เดินทางไปบูชาสถานที่ต่าง ๆ แต่ละแห่งก็มีสภาพเหมือนกันกับสถูปที่วัดช้างให้(เขื่อนท่านลังกา) เมื่อครั้งยังไม่ได้ตบแต่งสร้างขึ้นใหม่ และก็ได้สอบถามชาวบ้านในสถานที่นั้น ๆ ต่างก็บอกเล่าให้ฟังว่าเป็นสถานที่ตั้งศพหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด เมื่อนำศพมาพักแรมที่นี้และมีน้ำเหลืองไหลตกลงพื้นดินก็ทำเครื่องหมายไว้บางแห่งก็ก่อเป็นรูปเจดีย์ก็มีบางแห่งมีไม้แก่นปักไว้แล้วพูนดินให้สูงขึ้นถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ไว้ประจำบ้านประจำเมืองบางแห่งเรียกว่า"สถูปลังกา" บางแห่งเรียกว่า "สถูปหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด"
พระอุโบสถของวัดช้างให้หลังปัจจุบันตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว ลักษณะของพระอุโบสถหลังนี้ เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องลดชั้น 3 ชั้น |
ส่วนพระอุโบสถของวัดช้างให้หลังปัจจุบันตั้งอยู่ในกำแพงแก้ว ลักษณะของพระอุโบสถหลังนี้ เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูน หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องลดชั้น 3 ชั้น ซ้อนกันชั้นละ3 ตับ มีมุขลดทั้งด้านหน้าและด้านหลังด้านละ 1 ห้อง โดยมีเสาสี่เหลี่ยม 4 ต้น รองรับโครงหลังคา ช่อฟ้าใบระกาปูนปั้นประดับกระจก หน้าบันปูนปั้นลวดลายพันธุ์พฤกษาประธานภาพตรงกลางเป็นพระอิศวรทรงช้างเอราวัณด้านล่างจารึกตัวเลข 2499 อีกด้านเป็นรูปพระพญาครุฑ ฐานพระอุโบสถยกพื้น 2 ชั้น ชั้นแรกอยู่ในแนวเดียวกับเสารองรับชายคา
ประวัติสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด |
ประวัติสมเด็จหลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด
สมเด็จเจ้าพะโคะ หรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาค ในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิ ปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า “หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้นยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไป กลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ หลวงพ่อทวดเป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ซึ่งเป็นทาสในเรือนเบี้ย ของเศรษฐีชื่อปาน เกิดในรัชกาลของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ.2125 ณ บ้านสวนจันทร์ (บ้านเลียบ) ตำบลดีหลวง (ปัจจุบันเป็นตำบลชุมพล) อำเภอสทิงพระ (จะทิ้งพระ) จังหวัดสงขลา
บรรยากาศหน้าวิหารหลวงปู่เทียดในวัดช้างให้ ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ |
ตอนเยาว์วัยมีชื่อว่าปู ขณะท่านเกิดมีเหตุอัศจรรย์คือเกิดฟ้าร้องฟ้าผ่าแผ่นดินสะเทือนเลื่อนลั่น เสมือนหนึ่งว่ามีผู้มีบุญญาธิการมาเกิด เมื่อตัดรกจากสายสะดือแล้วนายหูบิดาของท่าน ก็นำรกของท่านไปฝังไว้ที่โคนต้นเลียบ (เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์ต้นเลียบในปัจจุบัน) เมื่อท่านเกิดมาแล้วก็มีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้นกับท่านเรื่อยมา เช่น ขณะที่ท่านอยู่ในวัยแบเบาะในช่วงฤดูเกี่ยวข้าวบิดามารดาของท่านต้องออกไป เกี่ยวข้าวที่กลางทุ่งนาซึ่งเป็นนาของเศรษฐีปาน ซึ่งท้องนาแห่งนั้นห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร ที่นาแห่งนั้นมีดงตาลและมะเม่าเป็นจำนวนมาก (ปัจจุบันตั้งเป็นสำนักสงฆ์นาเปล) ในสมัยนั้นมีสัตว์ป่าชุกชุมมาก บิดามารดาของท่านจึงผูกเปลไว้กับต้นมะเม่าสองต้นและก็ได้เกี่ยวข้าวอยู่ไม่ไกลจากบริเวณนั้น พอถึงเวลาที่มารดาของท่านจะมาให้นม ก็ได้เห็นงูจงอางตัวใหญ่หรืองูบองหลาที่ชาวภาคใต้เรียกกันพันที่รอบเปล นางจันทร์เห็นแล้วตกใจเป็นอันมากจึงเรียกนายหูซึ่งอยู่ไม่ไกลนักมาดูและช่วยไล่งูจงอางนั้น แต่งูจงอางตัวนั้นก็ไม่ไปไหน นายหูและนางจันทร์จึงตั้งสัตยาธิฐานว่าขออย่าให้งูนั้นทำร้ายลูกเลย ไม่นานนักงูจงอางนั้นก็คลายวงรัดออกและเลื้อยหายไปในป่านายหูและนางจันทร์ จึงเข้าไปดูลูกน้อยเห็นว่ายังหลับอยู่และไม่เป็นอันตรายใด ๆ และปรากฏว่ามีเมือกแก้วขนาดใหญ่ที่งูจงอางคลายไว้อยู่บนอกเด็กชายปูนั้น เมือกแก้วนั้นปรากฎมีแสงแวววาว และต่อมาได้แข็งตัวเป็นลูกแก้ว (ปัจจุบันได้ประดิษฐานที่วัดพะโคะ)
ปิดทององค์หลวงปู่ทวด |
เมื่อเศรษฐีปานทราบเรื่องเข้าก็บีบบังคับขอลูกแก้วเอาจากนายหูและนางจันทร์ บิดามารดาของท่านจึงจำต้องยอมให้ลูกแก้วนั้นแก่เศรษฐีปานซึ่งเป็นนายเงิน แต่ลูกแก้วนั้นเป็นของศักดิ์สิทธิประจำตัวท่าน เมื่อเศรษฐีปานเอาลูกแก้วไปแล้วก็เกิดเภทภัยในครอบครัวเกิดการเจ็บป่วยกัน บ่อย และมีฐานะยากจนลง เศรษฐีปานจึงได้เอาลูกแก้วมาคืนและขอขมาเด็กชายปูและยกหนี้สินให้แก่นายหูและนางจันทร์ ทั้งสองจึงพ้นจากการเป็นทาสและต่อมาก็มีฐานะดีขึ้น ๆ ส่วนเศรษฐีปานก็มีฐานะดีขึ้นดังเดิมเมื่อท่านมีอายุได้ 7 ขวบ (ปี พ.ศ. 2132) บิดามารดาของท่านจึงนำท่านไปฝากไว้เป็นศิษย์วัดเพื่อเล่าเรียนหนังสือที่วัดกุฎ๊หลวงหรือวัดดีหลวงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้านขณะนั้นมีท่านสมภารจวง ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุงของท่านเป็นเจ้าอาวาสอยู่ เด็กชายปูเป็นเด็กที่หัวดีเรียนเก่งสามารถเล่าเรียนภาษาขอมและภาษาไทยได้ อย่างรวดเร็ว สมภารจวงได้บวชให้ท่านเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ 15 ปี
ต่อมาสามเณรปูได้เดินทางไปศึกษาต่อกับพระชินเสนที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญและมีชื่อเสียงมากจากกรุงศรีอยุธยา จนครบอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ก็ได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยะทัสสี จนกระทั่งได้เข้ารับการอุปสมบท และมีฉายาว่า ราโมธมฺมิโก หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า เจ้าสามีราม ซึ่งเจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และยังมีวัดอื่นๆอีกหลายวัด
น้ำมนต์ภายในวิหาร |
เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชนั้นเพียงพอแล้ว จึงได้โดยสารเรือสำเภาเดินทางกลับไปยังกรุงศรีอยุธยา และในระหว่างทางนั้นได้เกิดคลื่นลมทะเลปั่นป่วน ณ เมืองชุมพร ทำให้เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ จึงต้องทอดสมออยู่ถึง 7 วัน เสบียงอาหารและน้ำเริ่มหมด บรรดาลูกเรือได้ตั้งข้อสงสัยว่า การที่เกิดอาเพศในครั้งนี้ อาจจะเป็นเพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจเพื่อส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะ จากนั้นจึงนิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือเล็ก ระหว่างที่เจ้าสามีรามนั่งในเรือเล็ก ท่านได้นำเท้าลงไปแช่ในน้ำทะเล ก็เกิดความอัศจรรย์ขึ้น น้ำทะเลบริเวณนั้น กลายเป็นน้ำทะเลที่มีประกายแวววาว เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่ม และเมื่อดื่มเข้าไปแล้วก็รู้สึกได้ว่าน้ำทะเล กลายเป็นน้ำจืด จากนั้นได้ช่วยกันตักน้ำไว้ให้เพียงพอต่อการประทังชีวิต
พุทธศาสนิกชนเข้ามากราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคล |
หลักจากนั้น หลวงปู่ทวด ได้เดินทางออกธุดงค์ตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งต่อมาสถานที่นั้นได้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จนเดินทางมาถึงวัดพะโคะที่มีความทรุดโทรมเป็นอย่างมาก หลวงปู่จึงได้เดินทางไปกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งเพื่อขอพระราชทานพระกัลปนา นายช่างหลวงจึงบรรทุกศิลาแลงลงเรือสำเภา เพื่อมาบูรณะซ่อมแซมวัดพะโคะ และได้รับพระราชที่ดินนาถวายเป็นกัลปนาขึ้นแก่วัดพัทสิงห์บรรพตพะโคะ
ตอนที่ท่านบวชเป็นสามเณรนี้เองบิดาของท่านจึงถวายลูกแก้วคืนให้แก่ท่านให้เป็นลูกแก้วประจำตัวท่าน ด้วยความที่เป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ตลอดเวลาของท่าน ต่อมาท่านสมภารจวงได้นำไปฝากให้เล่าเรียนหนังสือที่สูงขึ้นสมัยนั้นเรียกว่ามูลบทบรรพกิจโดยนำไปฝากเรียนไว้กับสมเด็จพระชินเสน ซึ่งเป็นพระเถระชั้นสูงที่ส่งมาจากกรุงศรีอยุธยา ให้มาครองเป็นเจ้าอาวาสวัดสีคูยังหรือวัดสีหยังในปัจจุบัน ซึ่งห่างจากวัดดีหลวงไปทางทิศเหนือประมาณ 4 กิโลเมตร ท่านได้เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจนจบความของสมเด็จพระชินเสน หลังจากนั้นท่านได้เดินทางเข้ามาศึกษาต่อที่เมืองนครศรีธรรมราชเพื่อเรียนหนังสือให้สูงขึ้นโดยมาพำนักอยู่ที่วัดเสมาเมือง ซึ่งเป็นสำนักเรียนและมีสมเด็จพระมหาปิยะทัสสี เป็นเจ้าอาวาส และได้อุปสมบทเป็นพระสงฆ์เมื่ออายุครบกาลที่วัดเสมาเมือง
บรรยากาศนักท่องเที่ยวเข้ามาถ่ายรูปที่วัดช้างให้ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ เดินทางมาอย่างไม่ขาดสาย |
ท่านได้ศึกษาวิชาจากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ จนมีความรู้และเป็นผู้ทรงอภิญญามากและได้แสดงปาฏิหาริย์หลายครั้ง ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์จากสมเด็จพระเอกาทศรศในครั้งสุดท้ายในราชทินนามที่ สมเด็จเจ้าพระราชมุนีสามีรามคุณูปรมาจารย์ สุดท้ายเมื่อท่านมีอายุได้ 80 ปี ท่านได้กลับมาจำพรรษาที่วัดพะโคะ วัดบ้านเกิดของท่าน และต่อจากนั้นท่านได้ท่องเที่ยวธุดงค์ไปยังเมืองไทรบุรี และมาเป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้จนกระทั่งมรณภาพที่เมืองไทรบุรีเมื่อวันที่ 6 มีนาคมปี พ.ศ. 2225 สิริรวมอายุได้ 99 ปี
เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม
https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/1/a4ee01a6
0 ความคิดเห็น