ท่องแดนไทยไปให้รู้ในวันนี้ ขอนำเสนอ วัดปงสนุก วัดสุดเก่าแก่แห่งแรกของไทยที่ได้รางวัล Award of Merit จากองค์การยูเนสโก้ (UNESCO) มาให้ได้อ่านกันจ้า |
ก็ขอสวัสดีทักทายเพื่อนคุณผู้อ่านบนโลกออนไลน์ และเหล่าผู้รักการทัศนาจร ออนซอนหัวใจ งามไฉไลสุดเก๋ เท่ห์ระเบิดเปิดเปิงกันทุกๆคน กลับมาพบกันอีกเช่นเคยนะคะ กับบทความบล็อกสาระรอบรู้เรื่องแหล่งท่องเที่ยวในเมืองไทย ที่จะสรรหา คัดมาให้ได้อ่านฆ่าเวลากัน หลังจากที่บทความก่อนหน้าได้พาไปรีวิวเช่ารถขับเที่ยวในตัวเมืองลำพูนกันไปแล้ว
และเพื่อไม่ให้เว็ปไซต์บล็อกนี้ร้างไป วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอพาไปรู้จักวัดเก่าแก่สำคัญอีกแห่งในจังหวัดลำปาง นั้นก็คือ วัดปงสนุก ซึ่งเป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน และยังถูกยกให้เป็นวัดที่ได้รับรางวล (Award of Merit) ด้านการอนุรักษ์มรดกทางด้านวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค จากองค์การยุเนสโก้อีกด้วย
เรื่องน่ารู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ วัดปงสนุก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (Wat Pong Sanuk, Lampang City) |
สาระน่ารู้เล็กๆน้อยๆ เกี่ยวกับ วัดปงสนุก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (Wat Pong Sanuk, Lampang City)
สำหรับ วัดปงสนุก หรือวัดปงสนุกเหนือ ตั้งอยู่ในเขต ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง เป็นวัดที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดลำปาง นอกจากเป็นศูนย์กลางความศรัทธาชาวปงสนุกและชาวเมืองลำปางแล้ว ยังมีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์หน้าสำคัญของเมืองลำปางอีกด้วย นนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยที่เจ้าอนันตยศ ราชบุตรของพระนางจามเทวีแห่งหริภุญไชย (ลำพูน) เสด็จมาสร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) เมื่อ พ.ศ.1223 หรือ 1,328 ปีก่อน โดยมีชื่อเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เช่น ศรีจอมไคล วัดศรีเชียงภูมิ วัดพะยาว และเชื่อกันว่า ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดปงสนุก ตามคำเรียกของชาวเชียงแสนที่ถูกกวาดต้อนมา และอาศัยอยู่ในบริเวณนี้
ที่มาของชื่อ ปงสนุก นั้นก็มาจากชื่อถิ่นเดิมในเมืองเชียงแสน |
ซึ่งที่มาของชื่อ ปงสนุก นั้นก็มาจากชื่อถิ่นเดิมในเมืองเชียงแสนนั้นเอง ปัจจุบันวัดปงสนุกได้แบ่งเป็นสองอาณาเขต คือวัดปงสนุกเหนือ และวัดปงสนุกใต้ โดยปงสนุกใต้ เดิมชื่อ วัดศรีจอมเมือง สร้างขึ้นพร้อมเมืองลำปาง ต่อมากลายเป็นวัดร้าง พระมหาเมืองแปงและเจ้าผู้ครองนครลำปางบูรณะสร้างขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2320 วัดนี้ยังเป็นที่ฝังหลักเมืองหลักแรกเมื่อ พ.ศ. 2400 ในสมัยเจ้าวรญาณรังษี เจ้าผู้ครองนครลำปาง ต่อมาได้รับการบูรณะและยกฉัตรขึ้นเมือง พ.ศ. 2502
และสถานที่สำคัญภายในวัดนั้นคือ "ม่อนดอย" ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดบน อันเปรียบเป็นเนินเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางแห่งจักรวาล |
สถานที่สำคัญภายในวัดนั้นคือ "ม่อนดอย" ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดบน อันเปรียบเป็นเนินเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางแห่งจักรวาล ซึ่งเป็นที่ตั้งของวิหารพระเจ้าพันองค์อันศักดิ์สิทธิ์ ตัววิหารได้มีการผสมผสานระหว่างศิลปกรรมล้านนา พม่า และจีนอย่างลงตัว และหลงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ในบริเวณวัดยังเป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุศรีจอมไคล ที่ชาวบ้านให้ความเคาพรนับถืออีกด้วย
องค์พระธาตุศรีจอมไคล บนม่อนดอย วัดปงสนุก ที่ชาวบ้านให้ความเคาพรนับถืออีกด้วย |
ซึ่งบริเวณม่อนดอย หรือที่เรียกวัดบนนั้น มีอาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ วิหารประดิษฐานพระพุทธรูปจตุรพิธ 4 องค์ ศาลาการเปรียญ กุฏิ หอสมุด และหอพระไตรปิฎก ปูชนียวัตถุที่สำคัญมีเจดีย์ 1 องค์ ปราสาทหรือมณฑป 1 หลัง และวิหารพระนอน 1 หลัง
วิหารพระเจ้าพันองค์ วิหารโถงทรงจัตุรมุขที่มีรูปแบบงดงาม ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมระหว่าง ลานนาไทย พม่า และจีน ที่ยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวของไทย |
ทำให้ได้รับรางวัล (Award of Merit) ด้านการอนุรักษ์มรดกทางด้านวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค จากองค์การ UNESCO โดยเป็นวัดแรกและวัดแห่งเดียวของไทยที่ได้รางวัลนี้ |
โดยวิหารพระเจ้าพันองค์ วิหารโถงทรงจัตุรมุขที่มีรูปแบบงดงาม ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมระหว่าง ลานนาไทย พม่า และจีน ที่ยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวของไทย ทำให้ได้รับรางวัล (Award of Merit) ด้านการอนุรักษ์มรดกทางด้านวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ตามโครงการ 2008 Asia-Pacific Heritage Award for Cultural Heritage Conservation จากองค์การ UNESCO โดยเป็นวัดแรกและวัดแห่งเดียวของไทยที่ได้รางวัลนี้
ลักษณะรูปทรงมณฑปหรือปราสาทเป็นสถาปัตยกรรมทรงไทยใหญ่ ศิลปะล้านนาผสมพม่าและจีน เป็นลักษณะรูปทรงจัตุรมุข 4 ทิศ |
ฝาผนังบรรจุพระพุทธรูปโลหะ 1000 องค์ |
มีพระประธานในมณฑปหันหน้าออกทั้ง 4 ทิศส่วนองค์เจดีย์มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีฐานปัทม์ย่อเก็จบนฐานเขียงชั้นล่างเหนือเรือนธาตุขึ้นไปเป็นชั้นฐานปัทม์ทรงกลมรองรับองค์ระฆัง |
ซึ่งลักษณะรูปทรงมณฑปหรือปราสาทเป็นสถาปัตยกรรมทรงไทยใหญ่ ศิลปะล้านนาผสมพม่าและจีน เป็นลักษณะรูปทรงจัตุรมุข 4 ทิศ ฝาผนังบรรจุพระพุทธรูปโลหะ 1000 องค์ มีพระประธานในมณฑปหันหน้าออกทั้ง 4 ทิศส่วนองค์เจดีย์มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ฐานสี่เหลี่ยมจตุรัส มีฐานปัทม์ย่อเก็จบนฐานเขียงชั้นล่างเหนือเรือนธาตุขึ้นไปเป็นชั้นฐานปัทม์ทรงกลมรองรับองค์ระฆัง เหนือองค์ระฆังเป็นชั้นบัลลังค์รองรับปล้องไฉน ปลียอดประดับปลายยอดด้วยโลหะฉลุลวดลาย
วิหารพระนอน |
ดเด่นอีกอย่างเมื่อมาที่วัดปงสนุกคือ บันไดทางขึ้นซุ้มประตูโขง ที่ถือเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ |
และจุดเด่นอีกอย่างเมื่อมาที่วัดปงสนุกคือ บันไดทางขึ้นซุ้มประตูโขง ที่ถือเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของวัดอีกอย่างหนึ่งก็ว่าได้ ต่อมาจึงได้มีการแบ่งวัดเป็นวัดปงสนุกด้านเหนือและวัดปงสนุกด้านใต้ เรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2429 ได้มีการบูรณะครั้งใหญ่ โดยเริ่มจากการซ่อมพระเจดีย์ สร้างฉัตร ก่อซุ้มประตูโขง วิหารหลังมียอด หรือวิหารพระเจ้าพันองค์ หรือวิหาร 12 ราศี หรือวิหารสะเดาะเคราะห์ เนื่องจากในสมัยก่อนทั้งเจ้านายชั้นสูงและประชาชนทั่วไป เมื่อมีเคราะห์ ต่างก็จะพากันมาสะเดาะเคราะห์ ณ วิหารแห่งนี้ทั้งสิ้น
ภายในวัดมีเสาหลักเมืองเสาแรกของเขลางค์นคร หรือจังหวัดลำปาง |
อีกทั้งภายในวัดมีเสาหลักเมืองเสาแรกของเขลางค์นคร หรือจังหวัดลำปาง จากประวัติศาสตร์พบว่า เป็นชื่อที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การอพยพผู้คนในเหตุการณ์ช่วงปี พ.ศ.2346 ที่พญากาวิละได้ยกทัพเข้าโจมตีเมืองเชียงแสน ซึ่งเป็นที่ตั้งมั่นของพม่า และได้กวาดต้อนชาวเชียงแสนซึ่งเป็นชาวบ้านบ้านปงสนุกมาตั้งถิ่นฐานที่ลำปาง รวมถึงการอพยพของคนเมืองพะยาวที่หนีศึกพม่าลงมายังลำปาง ชาวปงสนุกเชียงแสน และชาวพะยาว จึงได้ ตั้งบ้านเรือนจนกลายเป็นหมู่บ้าน
“วัดปงสนุก” ได้กลายเป็นแหล่งรวมของสิ่งสำคัญหลายอย่างที่ทรงคุณค่าทางด้านศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมมากมาย |
ปัจจุบัน “วัดปงสนุก” ได้กลายเป็นแหล่งรวมของสิ่งสำคัญหลายอย่างที่ทรงคุณค่าทางด้านศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมมากมาย อาทิ พระพุทธรูปไม้ เสาหงส์ ซุ้มประตูโขง ภาพพระบฎ เขียนเรื่องพระเวนสันดรบนผ้าและกระดาษสา หีบธรรมโบราณ และธงช้างเผือกขนาดใหญ่ในสมัยรัชกาลที่6 ซึ่งทางวัดได้นำมารวมไว้เป็นพิพิธภัณฑ์ให้ผู้ที่สนใจได้เข้าชม
การเดินทางไปยังวัดปงสนุกนั้น ตัววัดปงสนุกตั้งอยู่หมู่บ้านปงสนุกในเขตตัวเมือง อยู่ใกล้ๆ กับสะพานรัษฎาภิเศก |
สำหรับการเดินทางไปยังวัดปงสนุกนั้น ตัววัดปงสนุกตั้งอยู่หมู่บ้านปงสนุกในเขตตัวเมือง อยู่ใกล้ๆ กับสะพานรัษฎาภิเศก โดยตัววัดอยู่ห่างจากตลาดถนนคนเดินกาดกองต้าประมาณ 2 กิโลเมตรเท่านั้น ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 10 นาที
เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดปงสนุกใต้
http://www.lampang.go.th/travel/weblp/page/page12.html
----------------------------------------------------------------------------------------------
0 ความคิดเห็น