|
เที่ยวเมืองไทยไปต้องรู้ในวันนี้ คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอนำเสนอประวัติสาระน่ารู้เกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน คุ้มเจ้าราชสัมพันธวงษ์ กับภาพเก่าๆบอกเล่าเรื่องราวของเมืองลำพูน มาให้ได้อ่านกันค่ะ |
|
สวัสดีคุณผู้อ่าน และเพื่อนๆเหล่านักรักการทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจ งามวิไลเริ่ดสะแมนแตนกันทุกๆคนค่ะ ก็ขอมาทักทาย ซำบายดี สวีดัดกันอีกเช่นเคยนะคะ กับบทความบล็อกแนะนำข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวทั่วแคว้นแดนไทย ที่จะสรรหา คัดเลือกมาให้สไลด์เลื่อนอ่านกัน หลังจากที่บทความก่อนหน้านี้ ได้พาไปรู้จักประวัติของวัดเก่าแก่สวยงามแห่งเมืองลำปาง ที่รับรางวัลจากองค์การ UNESCO กันไปแล้ว
เพื่อไม่ให้เว็ปบล็อกนี้ร้างไป วันนี้เดี๊ยนคุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอพาไปเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์เรียนรู้ที่น่าสนใจที่สุดแห่งในลำพูน นั้นก็คือ พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน หรือว่าพิพิธภัณฑ์คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ จัดเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ และเป็นแหล่งเรียนรวบรวมภาพเก่าในอดีตของเมืองลำพูนให้ได้ชมอย่างน่าสนใจ อีกทั้งตัวอาคารของพิพิธภัณฑ์ก็ถูกอนุรักษ์ไว้อย่างดี และมีประวัติความเป็นมายาวนานอีกด้วย เดี๊ยนขอนำข้อมูลดีๆมาให้ได้อ่านกันพร้อมภาพประกอบค่ะ
|
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (พิพิธภัณฑ์คุ้มเจ้าราชสัมพันธวงษ์) อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (Khum Sampantawong or Lamphun Community Museum) |
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน (พิพิธภัณฑ์คุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์) อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (Khum Sampantawong or Lamphun Community Museum)
สำหรับนพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมือง ตั้งอยู่ด้านหลังพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติหริภุญไชย ในตัวเมืองลำพูน อยู่ไม่ไกลจากวัดพระธาตุหริภุญไชยอีกด้วย ซึ่งพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูนนั้นใช้พื้นที่ของคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ เป็นคุ้มที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2455 ทำให้ตัวอาคารไม้เก่าแก่ดังกล่าวมีอายุมากกว่า 109 ปี
|
เป็นคุ้มที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2455 ทำให้ตัวอาคารไม้เก่าแก่ดังกล่าวมีอายุมากกว่า 109 ปีมาแล้ว หนึ่งในพิพิธภัณฑ์บอกเล่าประวัติความเป็นมาอันยาวนานของเมืองลำพูนผ่านภาพเก่าๆที่หาชมได้ยาก |
จัดเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์บอกเล่าประวัติความเป็นมาอันยาวนานของเมืองลำพูนผ่านภาพเก่าๆที่หาชมได้ยาก บ่งบอกถึงเมืองที่มีความศรัทธา ทางพระพุทธศาสนาที่รุ่งเรืองจากอดีต จนถึงปัจจุบัน เพื่อให้นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจได้เข้าชมและย้อนวันวานชมพิพิธภัณฑ์ที่บ่งบอกถึงภาพเก่าของเมืองลำพูนได้อดีต ที่จัดแสดงตามห้องนิทรรศการไว้ให้ได้ชมกันอย่างน่าค้นหายิ่งนัก
|
ภาพถ่ายถนนอินทยงในอดีต ฝั่งด้านซ้ายเป็นวัดพระธาตุหริภุญชัย ฝั่งด้านขวาของถนนเป็นคุกขักนักโทษ |
และยังได้ร่วมเรียนรู้เมืองลำพูนผ่านภาพถ่าย ทั้ง บุคคล เหตุการณ์ และสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งที่นี่ถือเป็นพิพิธภัณฑ์ร่วมสมัยที่มีชีวิตโดยมีการจัดแสดงภาพ เมืองลำพูน สิ่งของเครื่องใช้และวิถีชีวิตของ ชาวเมืองลำพูน ในอดีตได้อย่างงดงามอีกด้วย
|
ซึ่งพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์นั้นประกอบด้วย 3 ส่วนหลักดังนี้ |
ซึ่งพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์นั้นประกอบด้วย 3 ส่วนหลักดังนี้
|
1. พื้นที่ชั้นล่างอาคารจัดแสดงประวัติคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ ครั้งสมัยเจ้าราชสัมพันธวงษ์ |
|
ภาพถ่ายเก่าที่สะท้อนเหตุการณ์ต่างๆ ของเมืองลำพูน เช่น ภาพวัดพระธาตุหริภุญชัย ในสมัยก่อน |
1. พื้นที่ชั้นล่างอาคารจัดแสดงประวัติคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ ครั้งสมัยเจ้าราชสัมพันธวงษ์ ได้พำนักพร้อมครอบครัว บริวาร การเปลี่ยนแปลงด้านการใช้งานของคุ้มตั้งแต่อดีตจนกระทั่งมากลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ชุมชนเมือง นอกจากนี้ยังนำแผนที่เก่ามาขยาย แสดงให้เห็นพัฒนาการของเมืองลำพูน และภาพถ่ายเก่าที่สะท้อนเหตุการณ์ต่างๆ ของเมืองลำพูน เช่น ภาพวัดพระธาตุหริภุญชัย ในสมัยก่อน
|
ภาพถ่ายเก่าของกำแพงเมืองลำพูนด้านประตูท่าสิงห์ |
|
ภาพเก่าของวัดจามเทวีในอดีต เจดีย์กูดกู่ และเจดีย์แปดเหลี่ยมภายในวัด |
|
ภาพบ้านในเมืองลำพูนที่มีการเลี้ยงช้าง ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2504 |
|
ขบวนนางรำรอรับเสด็จ |
|
ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จเยือนเมืองลำพูนเมื่อ ปี พ.ศ.2501 |
|
ภาพเก่าเมืองลำพูนในอดีต |
|
ขบวนฟ้อนรำในอดีตของหนุ่มสาวชาวเมืองลำพูน |
|
ภาพขบวนครัวทานปอยหลวง วัดพระธาตุหริภุญชัย ถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2452 |
|
ภาพเก่าเมืองลำพูนในยุค 60 |
|
ภาพวิหารหลวงหลังเก่าของวัดพระธาตุหริภุญชัยในอดีต |
|
ภาพการฟ้อนรำนำขบวนครัวทานปอยหลวง วัดศรีบุญเรือง ถ่ายเมื่อปี พ.ศ.2475 |
|
ตู้จัดแสดงสลากกินแบ่งรัฐบาล ปี พ.ศ. 2529 |
|
ตู้จัดแสดงสลากกินแบ่งรัฐบาล ปี พ.ศ. 2515 |
|
ภาพเก่าของนางงามลำพูนในอดีต ซึ่งเมืองลำพูน มีสาวงามคือ คุณ ชีลา ศรีสมบูรณ์ สาวงามเมืองลำพูนที่ครองตำแหน่งนางสาวไทย เป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ.2497 |
ภาพการประกวดนางงาม ซึ่งเมืองลำพูน มีสาวงามคือ คุณ ชีลา ศรีสมบูรณ์ สาวงามเมืองลำพูนที่ครองตำแหน่งนางสาวไทย เป็นคนแรก
|
ส่วนนางงามลำพูนคนแรกที่เข้าประกวดระดับประเทศคือ นางสาวนวลสวาท ลังการ์พินธุ์ เป็นรองนางสาวไทยเมื่อปี พ.ศ.2496 |
|
ภาพสาวงามลำพูนที่ได้รับตำแหน่งชนะเลิศ จะได้รับจักรยานเป็นรางวัล เป็นที่มาว่าของชื่อว่า นางงามจักรยาน |
|
นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้เก่าๆ |
นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงข้าวของเครื่องใช้เก่า ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็นแบบโบราณแบบที่ใช้น้ำมันก๊าด กล้องถ่ายรูป วิทยุแบบเก่า เตารีดแบบใช้ถ่าน ฯลฯ ที่น่าสนใจคือตู้เก็บสะสมสลากกินแบ่งรัฐบาลที่มีสลากแบบเก่าตั้งแต่ปี 2511 ตั้งแต่ยังราคา คู่ละ 10 บาท มาจนถึงสลากยุคปัจจุบัน
|
2. พื้นที่ด้านหลังอาคารเป็นการจำลองโรงภาพยนตร์เก่าของลำพูน “หริภุญชัยรามา” |
|
จำลองห้องเรียน ที่แสดงหนังสือที่ใช้ใน การเรียนการสอนระดับประถมศึกษา และโรงแรมแห่งแรกของเมืองลำพูน โรงแรมศรีลำพูน |
2. พื้นที่ด้านหลังอาคารเป็นการจำลองโรงภาพยนตร์เก่าของลำพูน “หริภุญชัยรามา” และจำลองห้องเรียน ที่แสดงหนังสือที่ใช้ใน การเรียนการสอนระดับประถมศึกษา โต๊ะ เก้าอี้ไม้ และกระดานดำ ชอล์ก และโรงแรมแห่งแรกของเมืองลำพูน โรงแรมศรีลำพูน
|
3. พื้นที่ชั้นสองของอาคารเป็นพื้นที่เปิดโล่งใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ เช่น การสอนดนตรี พิณเปี๊ยะ แก่เยาวชนและผู้สนใจ |
|
บริเวณชั้นบนของพิพิธภัณฑ์เป็นพื้นที่เปิดโล่ง |
|
ตามผนังอาคารยังประดับภาพของพ่ออุ้ยที่เคยเล่นพิณเปี๊ยะ |
3. พื้นที่ชั้นสองของอาคารเป็นพื้นที่เปิดโล่งใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ เช่น การสอนดนตรี พิณเปี๊ยะ แก่เยาวชนและผู้สนใจ ตามผนังอาคารยังประดับภาพของพ่ออุ้ยที่เคยเล่นพิณเปี๊ยะ ภาพที่น่าสนใจภาพหนึ่งคือ ภาพของนักวิจัยชาวอเมริกันที่เข้ามาศึกษา เรื่องพิณเปี๊ยะเมื่อ 40 กว่าปีที่ผ่านมา รวมถึงแสดงภาพประวัติของเจ้าสัมพันธวงศ์ และอาคาร บ้านเรือนเก่าแก่ที่น่าสนใจในตัวเมืองลำพูน
|
ประวัติความเป็นมาของคุ้มต้นแก้วหรือคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ลำพูนก็มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจเช่นกัน |
ส่วนประวัติความเป็นมาของคุ้มต้นแก้วหรือคุ้มเจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ลำพูนก็มีประวัติความเป็นมาน่าสนใจเช่นกัน
|
คุ้มที่สร้างขึ้นเมื่อปี พุทธศักราช 2455 ในสมัยเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 10 ( พ.ศ.2454 – 2486) ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (ภาพอาคารคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงษ์ เมื่อมีการปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชมเมืองลำพูนเมื่อแรกเริ่ม) |
เป็นคุ้มที่สร้างขึ้นเมื่อปี พุทธศักราช 2455 ในสมัยเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 10 ( พ.ศ.2454 – 2486) ซึ่งตรงกับรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เป็นเรือนพักอาศัยของเจ้าราชสัมพันธวงษ์กับเจ้าหญิงส่องหล้าสัมพันธวงษ์ และบุตรธิดา ซึ่งเจ้าหญิงส่องหล้าเป็นธิดาของเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9 และเจ้าแม่รถแก้ว เจ้าหญิงส่องหล้าเป็นน้องของเจ้าหญิงมุกดา และเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ 10 เจ้าหญิงส่องหล้าสมรสกับเจ้าราชสัมพันธวงษ์ ( พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่ ) มีบุตรธิดารวมกัน 9 คนได้แก่ เจ้าหญิงรวงคำ เจ้าสุรกัณทร เจ้าวรดิษฐ์ เจ้าฤทธิ์วงษ์ เจ้าพงศ์สว่าง เจ้าสว่างสวัสดิ์ เจ้าหญิงสรวงแก้ว เจ้าหญิงฤทธิดา และเจ้ามานุรัตน
|
เป็นเรือนพักอาศัยของเจ้าราชสัมพันธวงษ์กับเจ้าหญิงส่องหล้าสัมพันธวงษ์ และบุตรธิดา ซึ่งเจ้าหญิงส่องหล้าเป็นธิดาของเจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 9 |
|
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2488 ) กลุ่มพ่อค้าชาวจีนในลำพูน ได้ซื้อคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน |
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2488 ) กลุ่มพ่อค้าชาวจีนในลำพูน ได้ซื้อคุ้มเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูนและได้ใช้เป็นสถานที่พบปะพูดคุยกับกลุ่มพ่อค้าชาวจีนด้วยกันและใช้อาคารสถานที่เปิดสอนภาษาจีนเป็นหลักและเปิดสอนวิชาอื่น ๆ เช่นวิชาคำนวณ ตั้งแต่ประถมปีที่ 1 – 4 ชื่อโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง ( เจริญและเที่ยงธรรม ) เปิดสอนได้ประมาณ 4 ปี จนถึงปีพ.ศ. 2492จึงได้ปิดกิจการด้วยเหตุผลทางการเมือง 3 ปี
|
ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนหวุ่นเจิ้งเป็น โรงเรียนมงคลวิทยา และเปลี่ยนหลักสูตรการสอนตามแบบกระทรวงศึกษาธิการและเลิกสอนภาษาจีน |
และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนหวุ่นเจิ้งเป็น โรงเรียนมงคลวิทยา และเปลี่ยนหลักสูตรการสอนตามแบบกระทรวงศึกษาธิการและเลิกสอนภาษาจีน ในช่วงแรกโรงเรียนมงคลวิทยาเปิดทำการสอนในสภาพที่ลำบาก จนกระทั่งครูเซี้ยง หรือนายถาวร เลาหกุล ได้เข้ามาดำเนินกิจการและบริหารต่อโดยเช่าอาคารสถานที่จากสมาคมชาวจีนในลำพูนเดือนละ 200 บาท และเจริญขึ้นตามลำดับจึงได้ขยายกิจการและซื้อที่ดินสร้างโรงเรียนแห่งใหม่บริเวณทุ่งนาบ้านสันมหาพน จำนวน 5 ไร่ เปิดทำการเรียนการสอนแห่งใหม่ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2529 เป็นต้นมา
|
ถูกทิ้งรกร้างได้มีนักธุรกิจได้มาเช่าอาคารเปิดร้านอาหารคุ้มต้นแก้ว ถานีวิทยุอสมท จังหวัดลำพูน ได้ขอเช่าพื้นที่คุ้มเจ้าราชสัมพันธวงษ์เป็นอาคารที่ทำการส่งกระจายเสียงจนกระทั่งหมดสัญญาลงเมื่อปี พ.ศ.2548 |
ต่อมาถูกทิ้งรกร้างได้มีนักธุรกิจได้มาเช่าอาคารเปิดร้านอาหารคุ้มต้นแก้ว, ช่อชมวงและปิดกิจการไปจนกระทั่งสถานีวิทยุอสมท จังหวัดลำพูน FM 96.5 MHz.ได้ขอเช่าพื้นที่คุ้มเจ้าราชสัมพันธวงษ์เป็นอาคารที่ทำการส่งกระจายเสียงจนกระทั่งหมดสัญญาลงเมื่อปี พ.ศ.2548 ก่อนที่จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูนเมื่อปี พ.ศ.2550 และเปิดให้นักท่องเที่ยว
|
ปัจจุบันมีอายุครบ 109 ปี ถือเป็นคุ้มเจ้าเพียงไม่กี่แห่งที่เหลืออยู่ในเมืองลำพูน เทศบาลเมืองลำพูนได้เล็งเห็นความสำคัญ ได้จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน เพื่ออนุรักษ์ตัวอาคารและเพื่อให้ชาวลำพูนเกิดจิตสำนักในการรักท้องถิ่นของตนเองอีกด้วย |
และปัจจุบันมีอายุครบ 109 ปี ถือเป็นคุ้มเจ้าเพียงไม่กี่แห่งที่เหลืออยู่ในเมืองลำพูน ทั้งนี้เทศบาลเมืองลำพูนและกลุ่มกวงแหวนได้เล็งเห็นถึงความงดงามทางสถาปัตยกรรมที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และมีความสำคัญยิ่งต่อประวัติศาสตร์ จัดตั้งเป็น “พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมือง” เพื่ออนุรักษ์ตัวอาคารประวัติศาสตร์และเพื่อให้คนลำพูนเกิดจิตสำนึกในการรักท้องถิ่น โดยภายในตัวอาคารได้จัดแสดงเรื่องราว ความเป็นมาจดหมายเหตุของเมืองลำพูน การแสดงสิ่งของเครื่องใช้วิถีชีวิตของชุมชนเมืองในอดีตและส่งเสริมกิจกรรมของเยาวชนในด้านต่าง ๆตลอดจนสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเยาวชนได้อีกทางหนึ่งอีกด้วย เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังได้ตระหนักและอนุรักษ์หวงหวนโบราณวัตถุอันมีค่าให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาสืบไปอีกด้วย โดยปัจจุบันพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูนเปิดให้ชมทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. โดยไม่เสียค่าบัตรผ่านสถานที่อีกด้วย
เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://www.gotoknow.org/posts/248468
https://www.lamphun.go.th/th/attractions/19/พิพิธภัณฑ์ชุมชนเมือง
------------------------------------------------------------------------------------------------------
0 ความคิดเห็น