Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

ท่องเที่ยวไทยไปต้องรู้ดู พระราชวังเดิม วังเก่าแก่สมัยกรุงธนบุรี ที่ใครก็ต้องจรลีมาทัศนศึกษาชมวังนี้สักครา

จัดทริปเที่ยวเมืองไทยไปต้องรู้ในวันนี้ คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอนำเสนอสาระน่ารู้เกี่ยวกับ พระราชวังเดิม วังเก่าแก่อีกแห่งของเมืองไทย ที่ต้องแวะมาทัศนศึกษาชมกัน


ก็ขอทักทาย ซำบายดี สวีดัด สวัสดีคุณผู้อ่านรวมทั้งเหล่าเพื่อนๆผู้รักการทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจทุกๆคนค่ะ ก็กลับมาพบปะกันอีกครั้งนะคะ กับบทความสาระน่ารู้เล็กน้อยๆเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในเมืองไทย ที่จะสรรหามาให้อ่าน มาให้สไลด์เลื่อนชมดูภาพเพื่อฆ่าเวลากัน หลังจากที่บทความบล็อกก่อนหน้าได้พาไปลัดเลาะท่องเที่ยวชม วัดช่องลม วัดเด่นวัดดังยังชุมชนท่าฉลอมในเมืองมหาชัยกันไปแล้ว วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอพาไปเที่ยวกรุงเทพ แวะเดินชมพระราชวังเดิม หนึ่งในพระราชวังเก่าแก่แห่งอาณาจักรกรุงธนบุรี ที่ต้องไปทัศนศึกษาเดินชมวังนี้กันสักครา 

ข้อมูลสาระความรู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ พระราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร (Thonburi Palace, Bangkok)

ข้อมูลสาระความรู้เกี่ยวกับ พระราชวังเดิม กรุงเทพมหานคร (Thonburi Palace, Bangkok)

สำหรับพระราชวังเดิม หรือ พระราชวังธนบุรี   ตั้งอยู่ในบริเวณกองบัญชาการกองทัพเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่ เป็นโบราณสถาน สถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ภายในจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของพระราชวังเดิมแห่งนี้ให้ผู้ที่สนใจได้เข้าทัศนศึกษาเดินประวัติและความเป็นมาอันน่าสนใจของพระราชวังแห่งนี้ 


พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ พระราชวังเดิม เป็นพระราชวังหลวงในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ พระราชวังเดิม เป็นพระราชวังหลวงในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ในเขตที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยเยนทร์ ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำแหน่งของพระราชวังเดิมเป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์  เนื่องจากมีป้อมปราการที่มั่นคง สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะไกล อีกทั้งยังใกล้กับเส้นทางคมนาคม และเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญ


พระราชวังแห่งนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2310 ภายหลังจากที่ทรงกอบกู้เอกราชให้ชาติไทย 

โดยพระราชวังแห่งนี้ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2310 ภายหลังจากที่ทรงกอบกู้เอกราชให้ชาติไทย เพื่อใช้เป็นที่ประทับและว่าราชการ เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี พร้อมกับปรับปรุงป้อมวิไชยเยนทร์ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์


เดิมพระราชวังแห่งนี้มีอาณาเขต ตั้งแต่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ขึ้นมาจนถึงคลองเหนือวัดอรุณราชวราราม (คลองนครบาล) และวัดท้ายตลาด 

แต่เดิมพระราชวังแห่งนี้มีอาณาเขต ตั้งแต่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ขึ้นมาจนถึงคลองเหนือวัดอรุณราชวราราม (คลองนครบาล) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) เข้าไปในเขตพระราชวังเดิม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งพระนคร โดยสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นเป็นที่ประทับ พระราชวังกรุงธนบุรีจึงได้ชื่อว่า "พระราชวังเดิม" ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในสมัยรัชกาลที่ 5 หลังจากสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ สิ้นพระชนม์ ได้พระราชทานพระราชวังเดิมให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ 

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) หลังจากสมเด็จพระบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงษ์ สิ้นพระชนม์ ได้พระราชทานพระราชวังเดิมให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนนายเรือ ตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานจากนายพลเรือตรี พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ เมื่อ พ.ศ. 2449 หลังจากโรงเรียนนายเรือย้ายออกไปอยู่สัตหีบ และย้ายมาอยู่ที่สมุทรปราการ กองทัพเรือจึงได้ใช้ พระราชวังเดิมแห่งนี้เป็นที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพเรือ

ในเขตพระราชวัเดิมยังเคยเป็นสถานที่ที่พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ทรงมีพระราชสมภพ

นอกจากนี้แล้วในเขตพระราชวัเดิมยังเคยเป็นสถานที่ที่พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ทรงมีพระราชสมภพ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับโบราณสถานที่ยังปรากฏในพระราชวังเดิม ได้แก่ ท้องพระโรง แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ "ท้องพระโรง" หรือ "วินิจฉัย" ลักษณะคล้ายศาลากว้าง ๆ หลังคาประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และมุงด้วยกระเบื้องดินเผา ยกพื้นด้วยการก่ออิฐถือปูน ใช้เป็นที่เสด็จออกขุนนาง และประกอบพระราชพิธีสำคัญในสมัยกรุงธนบุรี 


และส่วนที่สองคือ ส่วนราชมณเฑียร เรียกว่า "พระที่นั่งขวาง" เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ พื้นปูกระดาน เครื่องบนเหมือนท้องพระโรง ปัจจุบันใช้เป็นห้องรับรองบุคคลสำคัญ และห้องประชุมในบางโอกาส นอกจากนี้ยังมีพระตำหนักเก๋งพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว 

ยังมีอาคารตำหนักเก๋งคู่หลังเล็กมีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีนประยุกต์ จัดแสดงพระราชกรณียกิจ ของสมเด็จพระเจ้าตากสิน

และยังมีอาคารตำหนักเก๋งคู่หลังเล็กมีรูปแบบสถาปัตยกรรมจีนประยุกต์ จัดแสดงพระราชกรณียกิจ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินด้านการรบผ่านภาพจิตรกรรม และอาคารตำหนักเก๋งคู่หลังใหญ่ เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมจีน จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการต่างประเทศ 

ติดๆกับตำหนักเก๋งคู่ ก็เป็นที่ตั้งของศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  โดยด้านในประดิษฐาน พระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชใ

และติดๆกับตำหนักเก๋งคู่ ก็เป็นที่ตั้งของศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  โดยด้านในประดิษฐาน พระบรมรูปของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชในท่าประทับยืนและทรงพระแสงดาบ ซึ่งเป็นที่สักการะบูชาของคนไทยมายาวนาน 

โดยศาลพระเจ้าตากสินในพระราชวังเดิม มีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว

ส่วนศาลพระเจ้าตากสิน  เป็นศาลาพระบรมรูปขนาดเท่าพระองค์จริงภายในศาล  โดยศาลพระเจ้าตากสินในพระราชวังเดิม มีมาตั้งแต่สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีแล้ว สมัยแรกเป็นแต่เพียงศาลพระภูมิสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการสร้างบูรณะพระราชวังเดิมของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี สมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่า "ศาลพระเจ้าตาก" ภายในศาลพระเจ้าตาก ประดิษฐานเป็นพระบรมรูปสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ลักษณะประทับยืนทรงพระแสดงดาบ ขนาดเท่าองค์จริง พระบรมรูปประทับนั่งขนาดสูงประมาณ 1 ฟุต 1 องค์ และเทวรูปจีนแกะสลักด้วยไม้ปิดทองอีก 1 องค์ มีปืนโบราณพร้อมฐาน 2 กระบอกประดับเชิงบันไดชั้นล่าง


และบริเวณด้านนอกก็เป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยเยนทร์ ซึ่งใกล้ๆกันติดกับริมแม่น้ำเจ้าพระยาก็เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินให้ประชาชนได้เข้ามากราบสักการะกันอีกด้วย

ภายในเขตพระราชวังเดิม ยังมีเรือนเขียว 

และภายในเขตพระราชวังเดิม ยังมีเรือนเขียว  โดยอาคารเรือนเขียวคืออาคารโรงพยาบาลเดิม ซึ่งเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวยกพื้นสูงจำนวน 2 หลัง ตั้งอยู่บริเวณ "เขาดิน" และภายในเขตพระราชวังเดิม ยังมีเรือนเขียว ซึ่งเป็นเนินดินตรงมุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ภายในเขตกำแพงชั้นในของพระราชวังเดิม
สร้างขึ้นในช่วงเวลาที่มีการปรับปรุงพระราชวังเดิม ให้เป็นโรงเรียนนายเรือและได้ใช้เป็นสถานพยาบาลของโรงเรียนนายเรือ
 อาคารเรือนเขียวสร้างขึ้นในช่วงเวลาที่มีการปรับปรุงพระราชวังเดิม ให้เป็นโรงเรียนนายเรือและได้ใช้เป็นสถานพยาบาลของโรงเรียนนายเรือ


ที่ตั้ง : ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ เปิดทำการวันจันทร์-วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.00 -15.30 น.(กรุณาติดต่อล่วงหน้าก่อนเข้าชมอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ทำหนังสือเรียน เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ) 

เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-15.30 น. ปิดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ 

เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/พระราชวังเดิม

https://thai.tourismthailand.org/Attraction/พระราชวังเดิม

----------------------------------------------------------------------------------------------

บทความบล็อกอื่นๆ มีดังนี้


แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในตัวเมืองสตูลสุดน่าสนใจ มีที่ใหนบ้าง คลิ๊กดูที่เที่ยวค่ะ>>

รวมเด่นแหล่งท่องเที่ยวน่าสนใจอยู่ในตัวเมืองสตูล ที่ต้องไปเช็กอินถ่ายรูปภาพกระชากใจเว่อร์กัน มีที่ใหนบ้าง ตามไปกันเลยจ้า คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>

สถานที่ท่องเที่ยวในเกาะหลีเป๊ะและจุดเช็กอินถ่ายรูปวิวสวยๆ คลิ๊กดูที่เที่ยวค่ะ>>

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในเกาะหลีเป๊ะ และจุดเช็กอินถ่ายรูปวิวสวยๆ มีที่ใหนบ้าง ตามไปเที่ยวชมกันเลยจ้า คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>

วมเด่นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในเชียงราย ใครก็ต้องไปกัน คลิ๊กดูที่เที่ยวจ้า>>

จัดไปกับ 15 ที่เที่ยวจุดเช็กอินยอดนิยมในเชียงราย ที่ใครก็ต้องปักหมุดไปถ่ายรูปกันสักครั้ง มีที่ใหนบ้างนั้น ตามไปเที่ยวชมกันได้เลย คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>
 
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองตาก แวะไปเช็ออินถ่ายภาพกันสักครั้ง คลิ๊กดูที่เที่ยวค่ะ>>
รวมเด่น 12 ที่เที่ยวในเมืองตาก ต้องแวะไปเช็กอินถ่ายภาพสวยสักครา มีที่ใหนบ้างหนา ตามไปลั๊ลลากันได้เลย คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>

รวมเด็ด 17 ที่เที่ยวกำแพงเพชรยอดนิยมที่คนไปเช็กอินกันสักครั้ง>>
แนะนำ 17 แหล่งท่องเที่ยวเด็ดในกำแพงเพชร ที่ใครก็ต้องระเหินระเห็ดไปเช็กอินถ่ายรูปกันสักครา มีที่ใหนบ้างหนา ตามไปลั๊ลลากันเลย คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>

แนะนำสถานทีท่องเที่ยวในเมืองมหาชัย สมุทรสาคร แวะไปออนซอนได้ชิลๆ>>>
รวมเด็ด 11 สถานที่ท่องเที่ยวสมุทรสาคร สามารถแวะไปเช็กอิน ออนซอนถ่ายรูปได้ชิลๆ มีที่ใหนบ้าง ตามไปกันจ้า คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น