|
เดินทางเที่ยวเมืองไทยไปให้รู้ในวันนี้ คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอนำสาระน่ารู้เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดอุบล หรือศาลากลางหลังเก่าแก่แห่งเมืองดอกบัวงามมาให้อ่านกันค่ะ |
สวัสดี สวีดัดเพื่อนๆคุณผู้อ่าน รวมทั้งเหล่าผู้รักการทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจทุกๆคน ก็ขอมาทักทาย ซำบายดีกันอีกครั้งนะคะ กับบทความสาระน่ารู้เกี่ยวสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆทั่วเมืองไทย ที่จะพาลัดเลาะและสรรหามาให้อ่านได้สไลด์เลื่อนดูกัน หลังจากที่บทความบล็อกก่อนหน้า ได้พาไปรู้จักวัดเก่าแก่ใจกลางกรุงเทพ ที่มีบ่อเลี้ยงจระเข้กันไปแล้ว เพื่อไม่ให้เว็ปไซต์ร้างไป วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอเลิกจากงานประจำ พาไปเที่ยวชม ศาลากลางหลังเก่าจังหวัดอุบล ซึ่งปัจจุบันถูกจัดเป็นพิพิธภัณฑ์สภานแห่งชาติ แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่น่าสนใจอีกแห่ง ที่ใครไปเที่ยวอุบล ต้องแวะไปสุขล้นเช็กอินเดินชมกัน ซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจทีเดียว เลยขอนำมาให้อ่านฆ่าเวลากันจ้า
|
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ ศาลากลางหลังเก่าอุบล หรือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดอุบล (Ubon Ratchathani national museum) |
สาระน่ารู้เกี่ยวกับ ศาลากลางหลังเก่าอุบล หรือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดอุบล (Ubon Ratchathani national museum)
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่ถนนเขื่อนธานีตัดกับถนนอุปราช เดิมเป็นศาลากลางจังหวัด สร้างเมื่อ พ.ศ. 2461 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ บนที่ดินที่พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว (มณฑลอีสาน) ประทับ ณ เมืองอุบลราชธานี ได้ทรงขอมาจากทายาทของราชบุตร (สุ่ย บุตรโลบล) คือ หม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา (ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรสิทธิประสงค์) เพื่อให้เป็นที่สาธารณประโยชน์สำหรับก่อสร้างสถานที่ราชการ
|
ลักษณะรูปสถาปัตยกรรมของอาคาร เป็นอาคารปั้นหยาชั้นเดียว เป็นตึกชั้นเดียวยกพื้นสูง ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูน |
ลักษณะรูปสถาปัตยกรรมของอาคาร เป็นอาคารปั้นหยาชั้นเดียว เป็นตึกชั้นเดียวยกพื้นสูง ตัวอาคารก่ออิฐฉาบปูน แผนผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันหน้าไปทางทิศเหนือ ภายในอาคารประกอบด้วยห้องโถงใหญ่อยู่ตรงกลาง มีระเบียงทางเดินและห้องขนาดเล็กอยู่โดยรอบ เหนือกรอบประตูและหัวเสารับชายคา ที่ระเบียงประดับด้วยไม้ฉลุลายพันธุ์พฤกษา ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเติบโตขึ้น
|
อาคารศาลากลางหลังเก่าให้กรมศิลปากรทำการบูรณะ และใช้ประโยชน์จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อการบูรณะซ่อมแซมตัวอาคารและจัดแสดงนิทรรศการถาวร |
และเนื่องด้วยอาคารศาลากลางหลังนี้มีสภาพคับแคบ ไม่เพียงพอกับหน่วยงานราชการที่เพิ่มขึ้น จึงได้สร้างอาคารศาลากลางหลังใหม่ทางด้านตะวันตกของทุ่งศรีเมือง เมื่อ พ.ศ. 2511 ส่วนอาคารศาลากลางหลังเก่าได้ใช้เป็นสำนักงานของหน่วยราชการต่างๆ มาโดยตลอด ในปี พ.ศ. 2526 นายบุญช่วย ศรีสารคาม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ได้มอบอาคารศาลากลางหลังเก่าให้กรมศิลปากรทำการบูรณะ และใช้ประโยชน์จัดตั้งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เมื่อการบูรณะซ่อมแซมตัวอาคารและจัดแสดงนิทรรศการถาวรแล้วเสร็จ กรมศิลปากรได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระอิสริยยศขณะนั้น เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี
|
นที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2532 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่กรมศิลปากรจัดตั้งขึ้นเพื่อสนองตอบความต้องการของท้องถิ่น |
เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2532 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่กรมศิลปากรจัดตั้งขึ้นเพื่อสนองตอบความต้องการของท้องถิ่น ที่จะให้เป็นศูนย์ศึกษา อนุรักษ์และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ตามแนวทางการพัฒนากิจการพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่ การจัดแสดงนิทรรศการถาวรจึงมุ่งเน้นเรื่องราวด้านต่างๆ ของจังหวัดอุบลราชธานี ทั้งทางด้านภูมิศาสตร์ ธรณีวิทยา ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรมพื้นบ้าน และ ชาติพันธุ์วิทยา
|
ตัวอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ยังได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2532 |
นอกจากนี้ตัวอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อุบลราชธานี ยังได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2532 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย และกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ. 2544 อีกด้วย เนื่องด้วยมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นงดงามและเป็นเอกลักษณ์
|
มีวัตถุจัดแสดงที่เป็นไฮไลท์ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดในการชมคือ อรรธนารีศวรหินทราย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 พบที่จังหวัดอุบลราชธานี |
จุดเด่น : จัดแสดงศิลปะวัตถุโบราณในภฺมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดแสดงวัฒนธรรมในด้านวิถีชีวิตของชาวอิสานไว้ให้ศึกษาเรียนรู้ และมีวัตถุจัดแสดงที่เป็นไฮไลท์ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดในการชมคือ อรรธนารีศวรหินทราย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 พบที่จังหวัดอุบลราชธานี ลักษณะประติมากรรมสลักเป็นรูปพระศิวะและพระอุมารวมกันเป็นองค์เดียว ประทับขัดสมาธิราบบนฐานบัวหงาย นับเป็นอรรธนารีศวรที่เก่าที่สุดรูปหนึ่งเท่าที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีลักษณะค่อนข้างพิเศษทั้งด้านกายวิภาคและรายละเอียดของเครื่องประดับ เฉพาะกุณฑลขนาดใหญ่นั้นคล้ายคลึงกับที่ปรากฏในกลุ่มประติมากรรมศิลปะจามระยะแรก เช่น รูปยักษ์จากตราเกียวในพิพิธภัณฑสถานเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม
ส่วนผ้านุ่งใกล้เคียงกับผ้านุ่งของพระศิวะจากโบราณสถานไมซอนเอ 1 พระคเณศหินทราย ศิลปะเขมร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายยังแกะสลักรายละเอียดไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่จากลักษณะการแต่งกายคล้ายกับประติมากรรมในศิลปะเขมรแบบเกาะแกร์สามารถเปรียบเทียบได้กับพระคเนศจากบาสักและพระ คเนศจากปราสาทหินเมืองต่ำ
|
ดยสรุปภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งหัวข้อเรื่องนิทรรศการเป็น 10 ห้อง ดังนี้ |
โดยสรุปภายในพิพิธภัณฑ์แบ่งหัวข้อเรื่องนิทรรศการเป็น 10 ห้อง ดังนี้
ห้องที่ 1ภายในโซนนี้จัดแสดงข้อมูลประวัติความเป็นมาดั้งเดิมของเมืองอุบล และข้อมูลทั่วไปของจังหวัดอุบลราชธานี แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้ง และเส้นทางคมนาคม การแบ่งเขตการเมืองการปกครอง ตราประจำจังหวัด ภาพถ่ายแหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ
|
ห้องที่ 2 เป็นห้องที่จัดแสดงภูมิศาสตร์ทัพยากรธรณีวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แสดงข้อมูลการกำเนิดโลกซากดึกดำบรรพ์ต่างๆ |
ห้องที่ 2 เป็นห้องที่จัดแสดงภูมิศาสตร์ทัพยากรธรณีวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แสดงข้อมูลการกำเนิดโลกซากดึกดำบรรพ์ต่างๆ แผนที่ลักษณะธรณีวิทยาที่ราบสูง เรื่องราวของไดโนเสาร์ ตัวอย่างแร่หินขนาดต่างๆ
|
ห้องที่ 3 โซนห้องแสดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย โบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในเขตจังหวัดอุบลราชธานี เช่น เครื่องมือหิน กลองมโหระทึก ภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ |
ห้องที่ 3 โซนห้องแสดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ห้องนี้จัดแสดงข้อมูลและหลักฐานทางโบราณคดี ประกอบด้วย โบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในเขตจังหวัดอุบลราชธานี เช่น เครื่องมือหิน กลองมโหระทึก ภาชนะดินเผารูปทรงต่างๆ เครื่องใช้และเครื่องประดับสำริด รวมทั้งอาวุธที่ทำจากสำริดและเหล็ก ที่ผนังจะมีภาพเขียนสีจำลองจากแหล่งภาพเขียนสีผาแต้ม ซึ่งเป็นแหล่งภาพเขียนสีที่สำคัญในเขตอำเภอโขงเจียม แหล่งท่องเที่ยวชื่อดังของจังหวัดอุบลราชธานี
|
ห้องที่ 4 จัดแสดงวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเจนละ |
ห้องที่ 4 จัดแสดงวัฒนธรรมทวารวดีและวัฒนธรรมเจนละ (ขอมหรือเขมรสมัยก่อนเมืองพระนคร) ความสนใจของห้องนี้คือ จัดแสดงโบราณวัตถุในวัฒนธรรมเจนละ วัฒนธรรมเขมรก่อนเมืองพระนคร และวัฒนธรรมทวารวดีอายุราว โบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่สุด ได้แก่ อรรธนารีศวร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 พบในจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประติมากรรมที่สลักรูปพระศิวะและพระอุมาผู้เป็นชายา รวมไว้เป็นองค์เดียวกัน ซึ่งทั้งสองต่างเป็นเทพที่เคารพนับถือในศาสนาฮินดู และยังมีเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมร พระพุทธรูปและใบเสมาหินทราย ให้ได้ชมและเรียนรู้กันอีกด้วย
|
ห้องที่ 5 วัฒนธรรมขอมหรือเขมรสมัยเมืองพระนคร เป็นโซนห้องจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้รับอิทธิพลเขมรสมัยเมืองพระนคร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-18 |
ห้องที่ 5 วัฒนธรรมขอมหรือเขมรสมัยเมืองพระนคร เป็นโซนห้องจัดแสดงโบราณวัตถุที่ได้รับอิทธิพลเขมรสมัยเมืองพระนคร อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15-18 อาทิเช่น พระคเณศศิลปะเขมรแบบเกาะแกร์ ทับหลังแบบกำพงพระ ทับหลังแบบปาปวน ศิวลึงค์หินทราย และชิ้นส่วนประดับสถาปัตยกรรมจากโบราณสถานที่สำคัญในจังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ ภาพสลักเทพนพเคราะห์จากปราสาทบ้านเบญ ซึ่งเป็นวัตถุโบราณที่ล้ำค่ายิ่ง
ห้องที่ 6 วัฒนธรรมไทย-ลาว สำหรับห้องนี้จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปวัตถุ ในวัฒนธรรมไทย-ลาว ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23-25 โดยเน้นพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ทั้งที่ทำจากไม้ สำริด และหินทรายลงรักปิดทอง โบราณวัตถุสำคัญ ได้แก่ พระพุทธรูปปางสมาธิ ศิลปะลาวหล่อด้วยสำริดที่ฐานมีจารึกสรุปได้ว่า เจ้าอนุวงศ์เป็นผู้ให้หล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ.2369 เป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามมาก
|
ห้องที่ 7 ผ้าโบราณและผ้าพื้นเมืองอุบลราชธานี |
ห้องที่ 7 ผ้าโบราณและผ้าพื้นเมืองอุบลราชธานี เป็นอีกหนึ่งห้องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นโซนที่จัดแสดงโบราณวัตถุศิลปวัตถุ ประเภทผ้าทอโบราณและผ้าพื้นเมืองอุบลราชธานี เช่น ผ้านุ่งของสตรีชั้นสูง ผ้าฝ้าย และผ้าไหมทอลวดลายต่างๆ ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์และความประณีตในคิดค้นลายผ้าที่สวยงาม
ห้องที่ 8 ดนตรีพื้นเมือง จัดแสดงข้อมูลเกี่ยวกับดนตรีพื้นเมือง โดยทำหุ่นจำลองนักดนตรีอิสานขนาดเท่าคนจริง กำลังบรรเลงเครื่องดนตรีแบบต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่ดัดแปลงมาจากวัสดุธรรมชาติ เครื่องดนตรีที่ใช้สายดีด ไม่ว่าจะเป็น ซอแบบต่างๆ เครื่องเคาะ เช่น โปงลาง หมากกั๊บแก๊บ พิณสอง พิณสาม เครื่องสายที่มีคันชัก
ห้องที่ 9 ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านและเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นโซนแสดงศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน เครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องใช้พื้นบ้าน เช่น เครื่องทองเหลืองบ้านปะอาว พร้อมขั้นตอนการทำเครื่องทองเหลือง อาทิ เชี่ยนหมาก ผอบ ตะบันหมาก ขัน นอกจากนี้ยังมีเชี่ยนหมากไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ของเชี่ยนหมากอีสาน จัดแสดงเครื่องมือจับสัตว์น้ำต่างๆ ทั้ง ลอบ ไซ แห ฯลฯ และเครื่องครัวที่ยังสามารถพบได้ในวิถีชีวิตปัจจุบัน เช่น กระติบข้าว ก่องข้าว ครก หวดนึ่งข้าวเหนียว กระต่ายขูดมะพร้าว เป็นต้น
|
ห้องที่ 10 การปกครองและงานประณีตศิลป์เนื่องในพุทธศาสนา |
ห้องที่ 10 การปกครองและงานประณีตศิลป์เนื่องในพุทธศาสนา จัดแสดงเรื่องเกี่ยวกับการปกครองเมืองอุบลราชธานี ก่อนการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดแสดงภาพถ่ายของบุคคลสำคัญ เครื่องใช้ของเจ้าเมืองอุบลราชธานี และยังมีศิลปวัตถุที่น่าสนใจ เป็นงานประณีตศิลป์เนื่องในพุทธศาสนา ประกอบด้วยสิ่งของเครื่องใช้ที่มีผู้ศรัทธาถวายเป็นพุทธบูชาตามวัดต่างๆ อาทิเช่น ธรรมาสน์ หีบพระธรรม ภาพพระบฏ ตู้พระธรรม รางสรงน้ำ กากะเยีย เชิงเทียน คัมภีร์ใบลาน เป็นต้น
|
สำหรับพิพิภัณฑ์สถานแห่งชาติอุบลราชธานี เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ |
สำหรับพิพิภัณฑ์สถานแห่งชาติอุบลราชธานี เปิดให้เข้าชมทุกวันพุธ-วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์-วันอังคาร และวันนักขัตฤกษ์) เวลา 09.00-16.00 น.
ค่าเข้าชม ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท
สอบถามข้อมูล โทร. 0 4525 1015, 04525 5071 ต่อ 16
เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://thai.tourismthailand.org/Attraction/พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอุบลราชธานี
---------------------------------------------------------------------------------------
บทความบล็อกอื่นๆ มีดังนี้
มาเด้อ..แบกเป้มารีวิวเที่ยวสกลนคร แวะไปออนซอนเช็กอินตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ มีที่ใหนบ้าง ตามไปเบิ่งดูกันจ้า คลิ๊กดูภาพรีวิวที่เที่ยวและการเดินทางค่ะ>>>
จัดไปกับ 15 ที่เที่ยวจุดเช็กอินยอดนิยมในเชียงราย ที่ใครก็ต้องปักหมุดไปถ่ายรูปกันสักครั้ง มีที่ใหนบ้างนั้น ตามไปเที่ยวชมกันได้เลย คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>
0 ความคิดเห็น