Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

เที่ยวไทยไปให้รู้ดู หอไตรกลางน้ำเก่าแก่ 200 ปี ที่วัดทุ่งศรีเมืองในเมืองดอกบัวงาม ที่ใครก็ต้องตามมาเช็กอินชมกันสักครา

สาระน่ารู้ในวันนี้ ขอนำเสนอ หอไตรกลางน้ำเก่าแก่และสวยงามที่สุด ที่วัดทุ่งศรีเมือง มาให้อ่านเป็นความรู้กันค่ะ

สวัสดีคุณผู้อ่านและนักทัศนาจรทุกๆคนค่ะ ก็มาพบปะกันอีกแล้วนะคะกับบทความสาระน่ารู้เล็กๆน้อย ที่จะสรรหามาให้ได้อ่านกัน หลังจากที่บทความเว็ปไซต์บล็อกก่อนหน้าได้พาไปเที่ยวชม วัดจองคำ แห่งเมืองสายหมอกยามเช้า หรือเมืองแม่ฮ่องสอนกันไปแล้ว วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอพาไปรู้จักวัดเก่าแก่มีหอไตรกลางน้ำที่สวยที่สุดอีกแห่งของเมือง ตั้งอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ที่ใครแวะมาเที่ยวเมืองนี้ ต้องมาเช็กอินถ่ายรูปเป็นที่ระลึกและไหว้พระเพื่อความเป็นสิริมงคลกัน 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ หอไตรกลางน้ำ วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (Scripture Hall or Library at Wat Thung Si Muang, Ubon Ratchathani)

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ หอไตรกลางน้ำ วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (Scripture Hall or Library at Wat Thung Si Muang, Ubon Ratchathani)

สำหรับหอไตรวัดทุ่งศรีเมือง จัดเป็นหนึ่งในหอไตรของภาคอีสานที่เก่าแก่และงดงามที่สุดอีกแห่งของเมืองไทยก็ว่าได้ เป็นหอไตรที่แตกต่างจากหอไตรแห่งอื่นๆ ด้วยลักษณะของศิลปะผสมระห่าง 3 สกุลช่าง คือ ไทย พม่า และลาว กล่าวคือ มีลักษณะตัวอาคารเป็นแบบไทย ประกอบด้วยเรือนฝาปะกนขนาด 4 ห้อง ผนังภายในห้องเขียนลายลงรักปิดทอง มีรูปทวารบาลอยู่ที่บานหน้าต่าง และบานประตูที่ทำด้วยไม้แผ่นเดียว ส่วนของหลังคาเป็นศิลปะไทยผสมพม่า มีช่อฟ้า ใบระกาแบบไทย ส่วนหลังคาซ้อนกันหลายชั้นเป็นศิลปกรรมแบบพม่า และลวดลายแกะสลักบนหน้าบันทั้งสองด้านเป็นลักษณะศิลปะลาวที่ทำด้วยฝีมือช่าง ชั้นสูง หอไตรแห่งนี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติเมื่อปี พ.ศ.2524 และได้รับรางวัลผลงานอนุรักษ์อีกด้วย

หอไตรกลางน้ำ ก่อตั้งขึ้นราวปี พ.ศ.2356 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

ประวัติเกี่ยวกับ หอไตรกลางน้ำ 

หอไตรกลางน้ำ ตั้งอยู่ในวัดทุ่งศรีเมือง เป็นวัดสำคัญคู่ บ้านคู่เมืองอุบลราชธานีมาแต่สมัยโบราณ โดยก่อตั้งขึ้นราวปี พ.ศ.2356 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในยุคสมัยสมเด็จกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์  โดยญาครูช่าง พระสงฆ์ชาวเวียงจันทน์ มีพื้นที่ 19 ไร่ 23 ตารางวา เดิมเป็นทุ่งนา จึงได้นามว่าวัดทุ่งศรีเมืองตามประวัติกล่าวว่า ผู้สร้างวัดนี้คือท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย หลักคำ) เจ้าคณะเมืองอุบลราชธานีรูปแรกเนื่องจากท่านเคยมาธุดงค์อยู่ ณ ที่แห่งนี้เนือง ๆ จึงได้สร้างวัดบริเวณนี้เริ่มด้วยการสร้างสิมหรือพระอุโบสถ ซึ่งเดิมเรียกว่า หอพระบาท ต่อมาจึงได้สร้างหอไตรกลางน้ำและกุฏิพระสงฆ์สามเณรขึ้นอีก

หอพระไตรปิฎก เป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์พระธรรมวินัย และตำราวิชาการด้านพระพุทธศาสนา

หอไตรมีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่าหอพระไตรปิฎก เป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์พระธรรมวินัย และตำราวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ซึ่งในสมัยก่อนมีเป็นจำนวนน้อย เพราะไม่สามารถผลิตได้ทีละมาก ๆ เนื่องจากต้องคัดลอกหรือจารขึ้นด้วยมือ อาคารที่สร้างขึ้นจึงมีลักษณะมิดชิดเป็นพิเศษ โครงสร้างแข็งแรงและมีขนาดเล็ก สร้างด้วยเครื่องไม้ลักษณะเป็นเรือนไทย ส่วนใหญ่จะสร้างอยู่กลางสระน้ำ เพื่อป้องกันหนู ปลวก มด และแมลงที่จะมาทำลายหนังสือสมุดไทยหรือใบลานผูก นอกจากนี้ ไอชื้นจากสระน้ำที่อยู่ใต้อาคารและโดยรอบจะช่วยให้อาคารชุ่มเย็น เป็นการรักษาใบลานและเอกสารสำคัญให้มีอายุยืนนานกว่าปกติ ส่วนหอไตรที่สร้างบนพื้นราบนั้นมักจะทำใต้ถุนสูง ไม่มีบันได เมื่อใช้จึงจะนำบันไดมาพาดอีกทีหนึ่ง

หอไตรปิฎกลางน้ำ ได้รับยกย่องว่ามีหอไตรที่มีทรวดทรงสวยงามที่สุดในภาคอีสาน จัดเป็นหนึ่งในของดีประจำจังหวัดอุบลราชธานี

โดยหอไตรปิฎกลางน้ำ ได้รับยกย่องว่ามีหอไตรที่มีทรวดทรงสวยงามที่สุดในภาคอีสาน จัดเป็นหนึ่งในของดีประจำจังหวัดอุบลราชธานี ดังมีคำกล่าวว่า พระบาทวัดกลาง พระบางวัดใต้ หอไตรวัดทุ่ง นอกจากหอไตร 

เป็นเรือนไทยฝาไม้ปะกนแบบเรือนไทยภาคกลางขนาด 4 ห้อง สร้างด้วยไม้เนื้อแข็งอย่างดี ลังคาเป็นชั้นซ้อนกัน 6 ชั้น ลดหลั่นกันเป็นลำดับ

ลักษณะเด่นโดยทั่วไปของหอไตรนั้น เป็นเรือนไทยฝาไม้ปะกนแบบเรือนไทยภาคกลางขนาด 4 ห้อง สร้างด้วยไม้เนื้อแข็งอย่างดี ตั้งอยู่กลางสระน้ำ มีใต้ถุนสูง กว้างประมาณ 8.20 เมตร ยาว 9.85 เมตร สูงจากพื้นน้ำถึงยอดหลังคาประมาณ 10 เมตร หลังคาเป็นชั้นซ้อนกัน 6 ชั้น ลดหลั่นกันเป็นลำดับและจำหลักลวดลายอย่างวิจิตรบรรจงด้วยช่อฟ้า หางหงส์ โดยเฉพาะคันทวยแกะสลักเป็นรูปเทพนมและนาค ไม้ด้านล่างของฝาปะกนแกะสลักเป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ ภายในกรอบสี่เหลี่ยมบานประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำ ภายในทำเป็นห้องสำหรับเก็บพระไตรปิฎกและใบลาน ผนังห้องเขียนลายรดน้ำเช่นเดียวกัน นับเป็นอาคารที่มีความสมบูรณ์แบบและลงตัวอย่างยิ่งในด้านสถาปัตยกรรมและ ศิลปะและด้วยเหตุที่สร้างอยู่กลางสระ จึงดูเด่นเป็นสง่าและสงบร่มเย็น ไม่ว่าจะมองจากด้านใด ก็ยังคงความสวยงามไว้อย่างดีเยี่ยม

หอไตรวัดทุ่งศรีเมืองได้รับการบูรณะมาแล้วหลายครั้ง คนถึงปี พ.ศ.2517 กรมศิลปากรจัดงบประมาณมาสนับสนุนในการบูรณะอีก ตัวอาคารส่วนรวมจึงมีสภาพดีและอยู่เป็นศรีเมืองอุบลราชธานีมาตราบเท่าทุก วันนี้

นอกจากหอไตรปิฎกกลางน้ำแล้ว ยังมีหอพระบาทหรือโบสถ์ซึ่งสร้างในยุคสมัยเดียวกัน

นอกจากหอไตรปิฎกกลางน้ำแล้ว ยังมีหอพระบาทหรือโบสถ์ซึ่งสร้างในยุคสมัยเดียวกัน ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามควรชม ซึ่งจำลองพระพุทธบาท ให้คนได้กราบไหว้  ภายในพระอุโบสถหอพระพุทธบาท เป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าใหญ่องค์เงิน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ที่ชาวเมืองอุบลฯให้ความเคารพศรัทธา

และจุดเด่นที่น่าสนใจดึงดูดต่อผู้มาเยือนคือเป็นหอพระพุทธบาทที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมผสมระหว่างศิลปะเวียงจันทน์

และจุดเด่นที่น่าสนใจดึงดูดต่อผู้มาเยือนคือเป็นหอพระพุทธบาทที่สร้างแบบสถาปัตยกรรมผสมระหว่างศิลปะเวียงจันทน์ และศิลปะรัตนโกสินทร์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองจากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ส่วนที่เป็นศิลปะแบบเวียงจันทน์ ได้แก่ โครงสร้างช่วงล่าง เช่น ฐานเอวขันธ์ บันไดจระเข้ และเฉลียงด้านหน้า ส่วนที่เป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ได้แก่ช่วงบน เช่น ช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ภายในหอพระบาทมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเก่าแก่ทั้ง 4 ด้าน เป็นภาพเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและทศชาติ ภาพวิถีชีวิตของผู้คนพลเมืองทั้งชาวไทย และชาวจีนที่มีบ้านเรือนอยู่ริมน้ำ และชีวิตผู้คนภายในรั้ววัง รวมทั้งภาพอาคารสถาปัตยกรรมแบบจีน อันเป็นศิลปะที่นิยมสร้างกันมากในสมัยรัชกาลที่ 3

ภายในหอพระบาทมีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเก่าแก่ทั้ง 4 ด้าน เป็นภาพเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติและทศชาติ ภาพวิถีชีวิตของผู้คนพลเมืองทั้งชาวไทย

สำหรับหอพระพุทธบาทสร้างโดยให้ครูช่างชาวเวียงจันทน์ เป็นช่างดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งมีความกว้าง 6 เมตร ยาว 13 เมตร หลังคาทรงไทยศิลปะเวียงจันทร์ ต่อมาได้พูนดินบริเวณลานหอพระพุทธบาท เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมในฤดูฝน โดยได้สร้างเป็นเขื่อนกำแพงแก้วหอพระพุทธบาท มีสองชั้นรอบๆพระพุทธบาท ขนาดกว้าง 23 เมตร ยาว 32 เมตร พูนให้สูงเหมือนเป็นฐานรองรับหอพระพุทธบาท โดยได้ขุดเอาดินมาจาดสระด้านทิศเหนือ ซึ่งมีขนาดกว้าง 13 เมตร ยาว 24 เมตร ลึก 3 เมตร ซึ่งสระนี้ ต่อมาภายหลังได้สร้างหอไตรไว้กลางน้ำ จึงได้ ซื่อว่า "สระหอไตร"

เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://sites.google.com/site/wchanapai/hxtir-wad-thung-sri-meuxng-1

------------------------------------------------------------------

บทความอื่นๆ มีดังนี้

สถานที่ท่องเที่ยวในเกาะหลีเป๊ะและจุดเช็กอินถ่ายรูปวิวสวยๆ คลิ๊กดูที่เที่ยวค่ะ>>

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในเกาะหลีเป๊ะ และจุดเช็กอินถ่ายรูปวิวสวยๆ มีที่ใหนบ้าง ตามไปเที่ยวชมกันเลยจ้า คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>

วมเด่นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในเชียงราย ใครก็ต้องไปกัน คลิ๊กดูที่เที่ยวจ้า>>

จัดไปกับ 15 ที่เที่ยวจุดเช็กอินยอดนิยมในเชียงราย ที่ใครก็ต้องปักหมุดไปถ่ายรูปกันสักครั้ง มีที่ใหนบ้างนั้น ตามไปเที่ยวชมกันได้เลย คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>
 
แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองตาก แวะไปเช็ออินถ่ายภาพกันสักครั้ง คลิ๊กดูที่เที่ยวค่ะ>>
รวมเด่น 12 ที่เที่ยวในเมืองตาก ต้องแวะไปเช็กอินถ่ายภาพสวยสักครา มีที่ใหนบ้างหนา ตามไปลั๊ลลากันได้เลย คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>

รวมเด็ด 17 ที่เที่ยวกำแพงเพชรยอดนิยมที่คนไปเช็กอินกันสักครั้ง>>
แนะนำ 17 แหล่งท่องเที่ยวเด็ดในกำแพงเพชร ที่ใครก็ต้องระเหินระเห็ดไปเช็กอินถ่ายรูปกันสักครา มีที่ใหนบ้างหนา ตามไปลั๊ลลากันเลย คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>

แนะนำสถานทีท่องเที่ยวในเมืองมหาชัย สมุทรสาคร แวะไปออนซอนได้ชิลๆ>>>

รวมเด็ด 11 สถานที่ท่องเที่ยวสมุทรสาคร สามารถแวะไปเช็กอิน ออนซอนถ่ายรูปได้ชิลๆ มีที่ใหนบ้าง ตามไปกันจ้า คลิ๊กดูรายละเอียดที่เที่ยวค่ะ>>>

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น