Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

ตะลอนทั่วไทยไปให้รู้ดู หลวงพ่อพระชีว์ วัดบูรพาราม วัดเก่าแก่แห่งเมืองช้าง ที่ใครก็ตามมาไหว้ขอพรกันสักครั้ง

 เพื่อไม่ให้เว็ปไซต์ร้างไป เที่ยวเมืองไทยไปให้รู้ในวันนี้ คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอนำสาระน่ารู้เกี่ยวกับ วัดบูรพาราม วัดเก่าแก่สำคัญในเมืองสุรินทร์ ประดิษฐานหลวงพ่อพระชีว์ ที่ต้องไปไหว้พระขอพรกัน

สวีดัด สวัสดีคุณผู้อ่านและเหล่าเพื่อนๆผู้รักการทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจทุกๆคนค่ะ กลับมาพบปะกับอีกแล้วนะคะกับบทความสาระน่ารู้เกียวกับทีเที่ยวในเมืองไทย ที่จะพาตะลอนเที่ยวไปดู ไปชมและนำความรู้มาให้อ่านกันค่ะ หลังจากที่บทความบล็อกก่อนหน้า ได้พาไปชมอาคารตึกแดงและคุกขี้ไก่ในยุคล่าอาณานิคมของเมืองจันทบุรีกันไปแล้ว วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอพาไปเที่ยวชมและไหว้พระที่ วัดบูรพาราม วัดเก่าแก่สำคัญอีกแห่งในเมืองสุรินทร์ หรือเมืองช้าง ที่ใครแวะมาเมืองนี้ ก็ต้องเข้ามากราบไหว้ขอพรหลวงพ่อพระชีว์ เนืองจากเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองสุรินทร์มายาวนานมากๆ 


 สาระน่ารู้เกี่ยวกับ วัดบูรพาราม  (Wat Buraparam, Surin city)

 สาระน่ารู้เกี่ยวกับ วัดบูรพาราม  (Wat Buraparam, Surin city)

วัดบูรพาราม  เป็นหนึ่งในวัดสำคัญที่เก่าแก่ของเมืองสุรินทร์ ตั้งอยู่ใจกลางของจังหวัดสุรินทร์ หน้าศาลากลางจังหวัด หลังศาลจังหวัดสุรินทร์  ในส่วนของการสร้างขึ้นเมื่อใด และท่านผู้ได้ริเริ่มสร้างขึ้นนั้น ไม่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจนนัก สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้สร้างขึ้นสมัยกรุงธนบุรี มีอายุประมาณ 200 ปี เท่าๆ กับอายุของจังหวัดสุรินทร์ โดย "พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์ จางวาง" หรือ (ปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์คนแรก ร่วมมือกันสร้างกับชาวบ้าน เมื่อประมาณ พ.ศ.2300-2330 ซึ่งตั้งชื่อในตอนนั้นว่า วัดบูรพ์ 

เดิมที วัดนี้เป็นวัดมหานิกาย แต่ต่อมาใน ปี พ.ศ.2476 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโสอ้วน) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล ได้อนุมัติให้วัดบูรพ์เป็นวัดในสังกัดคณะธรรมยุต

แรกเริ่มเดิมที วัดนี้เป็นวัดมหานิกาย แต่ต่อมาใน ปี พ.ศ.2476 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโสอ้วน) ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะมณฑล ได้อนุมัติให้วัดบูรพ์เป็นวัดในสังกัดคณะธรรมยุตและได้นิมนต์ พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดุลย์ อตุโล) ซึ่งปฏิบัติธุดงค์กรรมฐานอยู่ ให้มาประจำอยู่ที่วัดบูรพาราม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และร่วมเป็นคณะพระสังฆาธิการ 

วัดบูรพาราม ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 และเป็นวัดสำคัญของจังหวัดสุรินทร์

โดยวัดบูรพาราม ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 และเป็นวัดสำคัญของจังหวัดสุรินทร์ เนื่องมากจากเป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพระชีว์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของสุรินทร์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดบูรพาราม ประดิษฐานอยู่ในมณฑปจัตุรมุข นับเป็นปูชนียวัตถุที่ชาวสุรินทร์เคารพบูชาอย่างมาก 

อีกทั้งยังเป็นวัดที่พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดุลย์ อตุโล) พระเถระสายพระกัมมัฏฐานด้านการภาวนาจิต ที่มีชื่อเสียงในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรม เคยจำพรรษาอยู่ ณ วัดบูรพาราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2477  จนกระทั่งมรณภาพ พ.ศ.2526 

นอกจากนี้ ยังเป็นวัดที่พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดุลย์ อตุโล) พระเถระสายพระกัมมัฏฐานด้านการภาวนาจิต ที่มีชื่อเสียงในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรม สายพระกัมมัฏฐาน ท่านได้เคยจำพรรษาอยู่ ณ วัดบูรพาราม ตั้งแต่ พ.ศ. 2477  จนกระทั่งมรณภาพ พ.ศ.2526  ภายในวัดมีพิพิธภัณฑ์ หลวงปู่ดุลย์ ซึ่งเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่ดุลย์ อตุโล พร้อมทั้งภาพประวัติพระเถระด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน อันประกอบด้วยพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่นและลูกศิษย์

ประวัติหลวงพ่อพระชีว์  พระพุทธรูปสำคัญทีประดิษฐานภายในวัดบูรพาราม

ประวัติหลวงพ่อพระชีว์ พระพุทธรูปเก่าแก่สำคัญอยู่คู่เมืองสุรินทร์

หลวงพ่อพระชีว์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ประดิษฐานอยู่ในมณฑปจัตุรมุขก่ออิฐถือปูน หลวงพ่อพระชีว์ องค์นี้นับว่าแปลกอย่างหนึ่ง คือ ไม่สามารถสืบประวัติ ได้ว่าสร้างขึ้นเมื่อไร และท่านผู้ใดเป็นคนปรารภมา พอถามคนแก่อายุร้อยปี ก็ได้คำตอบว่า เคยถามคนอายุร้อยปีเหมือนกัน เขาก็บอกว่าเห็นองค์ท่านอยู่อย่างนี้มาแล้ว โดยสรุปก็สามารถสืบสาว ไปได้แค่ ๒๐๐ ปีก็จบ และไม่ทราบว่าผู้ใดสร้างและสร้างเมื่อไรสันนิษฐานว่าคงจะสร้างมาพร้อมกับเมืองสุรินทร์ และก็สันนิษฐานกันต่อไปว่าทำไมจึงชื่อว่า "หลวงพ่อพระชีว์" เป็นชื่อแต่เดิม มี "ว" การันต์ คือ "ชีวะ" ก็คงจะเป็น "ชีวิต" ซึ่งอาจยกย่องท่านว่าเป็นเสมือน เจ้าชีวิต หรือเป็น ยอดชีวิต ของคนสมัยนั้นกระมัง 

มีข้อสันนิษฐานอีกทางหนึ่งก็ว่า อาจจะเกี่ยวกับ ลำน้ำชี เป็นลำน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดสุรินทร์ ที่ได้ชื่อนี้อาจจะได้ไม้พิเศษ หรือดินพิเศษ มาจากลำชี มาปั้นเป็นองค์ท่านด้วย

อีกทั้งยังมีข้อสันนิษฐานอีกทางหนึ่งก็ว่า อาจจะเกี่ยวกับ ลำน้ำชี เป็นลำน้ำที่ไหลผ่านจังหวัดสุรินทร์ ที่ได้ชื่อนี้อาจจะได้ไม้พิเศษ หรือดินพิเศษ มาจากลำชี มาปั้นเป็นองค์ท่านด้วย จึงได้ชื่ออย่างนี้ เคยกราบเรียนถามหลวงปู่ ท่านก็ไม่ทราบประวัติของ หลวงพ่อพระชีว์ เช่นเดียวกัน ท่านว่าก็เห็นองค์ท่านอยู่อย่างนี้แหละ แต่ไหนแต่ไรมา ตั้งแต่เล็กจนโตมาก็ถามคนโบราณเช่นเดียวกัน เขาก็ว่า "ก็เห็นอยู่อย่างนี้" ถ้าย้อนนึกถึงสมัยก่อน เราต้องยอมรับว่า แถวสุรินทร์ ซึ่งถือเป็นเมืองบ้านนอกมีความอัตคัด 

 เมื่อสมัย 100 ปี หรือ 70-80 ปีที่ผ่านมา หรือย้อนไปถึง 200 ปี จะเห็นว่าแถวนี้ไม่มีพระพุทธรูปสำริด หรือทองเหลือง มีเพียงพระพุทธรูปที่ทำด้วยไม้ หรือดินปั้น 

และในเรื่องพระพุทธรูปสำคัญที่มักนิยมจะกราบไหว้กันเหลือเกิน เมื่อสมัย 100 ปี หรือ 70-80 ปีที่ผ่านมา หรือย้อนไปถึง 200 ปี จะเห็นว่าแถวนี้ไม่มีพระพุทธรูปสำริด หรือทองเหลือง มีเพียงพระพุทธรูปที่ทำด้วยไม้ หรือดินปั้น ซึ่งก็ไม่ได้ปั้นให้ได้ปุริสลักษณะที่แท้จริง เพียงแต่ทำขึ้นเสมือนหนึ่งว่าสมมติให้เป็นพระพุทธรูปเท่านั้นสมัยนั้น เพราะการสร้างพระพุทธรูป ในสมัยนั้น แถวจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ หรือแถบอิสานใต้ ยังไม่มีพระพุทธรูปปั้นองค์ไหนที่งดงาม หรือมีลักษณะที่มีอำนาจและก็ไม่มีขนาดใหญ่เท่ากับหลวงพ่อพระชีว์เลย ด้วยท่านมีขนาดใหญ่และดูเคร่งขรึมมีอำนาจน่าเกรงขาม ชาวบ้านจึงนับถือท่านในด้านความศักดิ์สิทธิ์ แม้ทางราชการ ในสมัยที่ข้าราชการมีการทำพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ก็ต้องมาทำพิธีต่อหน้า 

วยความเคารพนับถือท่านในแง่ความศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนจึงเชื่อว่าท่านสามารถดลบันดาล ให้เขาสำเร็จประโยชน์โสตถิผลอย่างน่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก

องค์หลวงพ่อพระชีว์องค์นี้เอง ด้วยความเคารพนับถือท่านในแง่ความศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนจึงเชื่อว่าท่านสามารถดลบันดาล ให้เขาสำเร็จประโยชน์โสตถิผลอย่างน่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก  ทำให้เป็นเคารพศรัทธาของชาวเมืองสุรินทร์และใกล้เคียง แวะเข้ามากราบไหว้และสักการะนมัสการกันอย่างไม่ขาดสาย 

เครดิตข้อมูลน่ารู้จาก : https://www.m-culture.go.th/surin/ewt_news.php?nid=1190

--------------------------------------------------------------------------------

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น