บทความน่ารู้เล็กน้อยๆวันนี้ คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอพาเที่ยวไทยไปให้รู้แวะดู วัดพระแก้ว ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โบราณสถานเก่าแก่มีประวัติความสำคัญอย่างไร มาให้อ่านกันจ้า |
ก็ขอทักทายสวีดัด สวัสดีคุณผู้อ่านบนโลกออนไลน์ และเหล่านักทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น ที่รักการเดินทางทุกๆคน ก็กลับมาพบปะกันอีกครั้งนะคะ กับบทความบล็อกน่ารู้ที่จะสรรหา มาให้ได้อ่าน และสไลด์เลื่อนดูกัน และบทความในวันนี้ คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ก็ขอเลิกจากงานประจำ พาไปเริงระบำเที่ยวยังโบราณสถานในเมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีที่เที่ยวเด็ดๆให้เช็กอินหลายแห่ง หนึ่งในที่เที่ยวสำคัญอีกแห่งที่ใครมาเที่ยวกำแพงเพชรครั้งแรกและชื่นชอบโบราณสถาน คงไม่พลาดที่จะแวะไปชม วัดพระแก้ว วัดเก่าแก่สำคัญอีกแห่งในอุทยานประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา รวมทั้งศิลปะวัฒนธรรมไว้อย่างดี
เกี่ยวกับวัดพระแก้ว (About Wat-Phra-Kaeo-kamphaeng-phet-historical-park) |
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัดพระแก้ว (About Wat-Phra-Kaeo-kamphaeng-phet-historical-park)
เป็นวัดเก่าแก่สำคัญตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโบราณสถานมรดกโลกในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยวัดพระแก้วอยู่ติดกับวัดพระธาตุ ซึ่งความสำคัญของวัดแก่งนี้จัดได้วัดที่อยู่ติดกับวังเฉกเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย
สถาปัตยกรรมภายในวัดพระแก้วนั้น มีกำแพงวัดเป็นศิลาแลงกลมทั้งท่อนสูงประมาณเมตรเศษ แผนผังของวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานไปกับกำแพงเพชร กำแพงวัดขาดเป็นตอน ๆ สิ่งก่อสร้างภายในใช้ศิลาแลงเป็นส่วนใหญ่ ตรงกลางของวัดมีพระเจดีย์กลมแบบลังกาองค์ใหญ่เป็นประธาน ฐานสี่เหลี่ยม ที่ฐานทำเป็นซุ้มคูหาโดยรอบมีสิงห์ยืนอยู่ในคูหาแต่ชำรุดหมด วัดพระแก้วนี้หลังจากขุดแต่งแล้วปรากฏว่า พบฐานเจดีย์แบบต่างๆ กัน รวม 35 ฐาน วิหารใหญ่และเล็ก 8 วิหาร ฐานโบสถ์ 3 แห่ง ซึ่งแสดงว่าเป็นวัดใหญ่ และสำคัญมากมาก่อน
ประวัติความเป็นมาของก่อสร้างวัดพระแก้วในเมืองกำแพงเพชร
เป็นวัดที่สร้างก่อน พ.ศ.1909 โดยสติปัญญาอำมาตย์(พยาญาณดิศ)เมื่อครองสมบัติในเมืองกำแพงเพชรได้มีพระพุทธเจ้ารูปสำคัญ 2 พระองค์ คือ พระแก้วมรกต และ พุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน ณ วัดพระแก้วแห่งนี้ นอกจากนี้แล้ววัดพระธาตุและวัดพระแก้วบริเวณที่ตั้งของจังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบันนั้น ก็ได้ค้นพบหลักฐานเมืองโบราณหลายเมือง คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองนครชุม และเมืองชากังราว ความอุดมสมบูรณ์ของลุ่มน้ำปิง ได้ก่อให้เกิดการตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน โดยแต่ละเมืองอยู่ไม่ห่างกันมากนัก เมืองที่ตั้งขึ้นในตอนแรก น่าจะเป็นเมืองแปบ
มีตำนานเล่าว่า เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ฝั่งเดียวกันกับเมืองนครชุม บริเวณตรงกันข้ามกับเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน จากหลักฐานจารึกหลักที่ 3 (ศิลาจารึกนครชุม) |
ซึ่งมีตำนานเล่าว่า เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ฝั่งเดียวกันกับเมืองนครชุม บริเวณตรงกันข้ามกับเมืองกำแพงเพชรในปัจจุบัน จากหลักฐานจารึกหลักที่ 3 (ศิลาจารึกนครชุม) พ.ศ. 1900ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) เสด็จไปนมัสการพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ว่า “หากเอาพระศรีรัตนมหาธาตุอันนี้มาสถาปนาในเมืองนครชุม” เมืองนครชุมจึงน่าจะเป็นเมืองใหญ่ และมีความสำคัญในสมัยสุโขทัย แต่มาหมดอำนาจ และเป็นเมืองขนาดเล็ก ในสมัยอยุธยา
เมืองชากังราวยังคงมีอำนาจอยู่ในฝั่งตะวันออก และเรียกชื่อเมืองว่า เมืองกำแพงเพชร |
ชื่อเมืองกำแพงเพชร ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 38 หรือจารึกกฎหมายลักษณะโจร กล่าวพระนามจักรพรรดิราชได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ ที่เมืองกำแพงเพชรเมื่อ พ.ศ. 1940 |
โดยชื่อเมืองกำแพงเพชร ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 38 หรือจารึกกฎหมายลักษณะโจร กล่าวพระนามจักรพรรดิราชได้ขึ้นเสวยราชสมบัติ ที่เมืองกำแพงเพชรเมื่อ พ.ศ. 1940 เชื่อกันว่า กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยาทรงต้องการให้ศูนย์กลางของอำนาจ ย้ายจากเมืองนครชุมเดิมมาอยู่ที่เมืองชากังราว หรือเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๐ เมืองกำแพงเพชรได้ถูกลดบทบาทลง และคงจะทิ้งร้างไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง
ครั้งเมื่อสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ได้ทรงบันทึกถึงวัดพระแก้ว ว่าเจดีย์กลมลอมฟอง...แต่พระเจดีย์นั้นทำงานหนักมาก |
และครั้งเมื่อสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร ได้ทรงบันทึกถึงวัดพระแก้ว เมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2449 ว่าเจดีย์กลมลอมฟอง...แต่พระเจดีย์นั้นทำงานหนักมาก...ซึ่งจะยอมรับว่าจะเรียกวัดพระแก้วก็ได้นั้น เพราะเหตุมีตำนานว่าพระแก้วมรกตได้เคยมาอยู่เมืองนี้
ปัจจุบันวัดพระแก้ว จัดให้เป็นวัดท่องเที่ยวสำคัญและประเพณีงานนบพระเล่นเพลง และงานวันสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร |
เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดพระแก้ว_(จังหวัดกำแพงเพชร)
-------------------------------------------------------------------------------------------------
0 ความคิดเห็น