Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

เรื่องน่ารู้แวะไปดู ที่วัดมหาธาตุในราชบุรี ที่ใครแวะมาเมืองโอ่งแห่งนี้ ต้องมาไหว้พระที่นี่กันสักครา

เพื่อไม่ให้บทความร้างไป วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัดมหาธาตุวรวิหารในเมืองราชบุรี มาให้อ่านกันจ้า
สวัสดีนักเดินทางและคุณผู้อ่านบนโลกออนไลน์ทุกๆท่านค่ะ ก็กลับมาพบกันอีกเช่นเคยะนะคะ กับบทความน่ารู้เล็กๆน้อยๆที่จะมานำเสนอให้ได้อ่านฆ่าเวลากัน หลังจากที่บทความบล็อกก่อนหน้าได้พาไปรู้จักสุขาภิบาลหัวเมืองแห่งแรกในเมืองไทยกันไปแล้ว ก็ขอซัดโซเซ พเนจรไปตะล่อนที่เมืองราชบุรีกันต่อ และหากใครมาเที่ยวเมืองโอ่งแห่งนี้ คงไม่พลาดที่จะแวะมาไหว้พระขอพร ที่วัดมหาธาตุ แห่งนี้กันสักครั้ง เพราะเป็นวัดเก่าแก่ และโบราณสถานที่สำคัญที่สุดอีกแห่งในราชบุรี มีประวัติที่น่าสนใจไม่น้อย
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัดมหาธาตุวรวิหารในเมืองราชบุรี (Wat Mahathat,Ratchaburi)
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวัดมหาธาตุวรวิหารในเมืองราชบุรี (Wat Mahathat,Ratchaburi)

วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของจังหวัด ตั้งอยู่เกือบใจกลางเมืองราชบุรี ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำแม่กลอง อยู่ที่ถนนเขางู ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จ.ราชบุรี เดิมเรียกว่า "วัดหน้าพระธาตุ" "วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ" มีพระปรางค์ก่อด้วยศิลาแลงสูง 12 วา ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังที่พระปรางค์ เป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และถือว่าเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร

ประวัติของวัดมหาธาตุ โดยแรกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13 ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 18 วัฒนธรรมเขมรจากราชอาณาจักรกัมพูชาได้แพร่เข้าสู่ดินแดนราชบุรี
ประวัติของวัดมหาธาตุ โดยแรกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 13 ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 18 วัฒนธรรมเขมรจากราชอาณาจักรกัมพูชาได้แพร่เข้าสู่ดินแดนราชบุรี จึงได้มีการก่อสร้างและดัดแปลงศาสนสถานกลางเมืองราชบุรีขึ้นเป็นพระปรางค์ และสร้างกำแพงศิลาแลงล้อมรอบเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของเมือง ตามคติความเชื่อเรื่องภูมิจักรวาลของเขมร

ต่อมาในสมัยอยุธยาตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 ได้มีการก่อสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาขึ้งซ้อนทับและสร้างพระปรางค์บริวารขึ้นอีก 3 องค์บนฐานเดียวกัน

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2338 พระภิกษุองค์หนึ่งชื่อพระบุญมา ได้ธุดงค์มาเห็นวัดนี้มีสถานที่ร่มรื่น
และในช่วงยุครัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรกเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองราชบุรีจากฝั่งตะวันตกมายังฝั่งตะวันออก ประชาชนก็ย้ายตามความเจริญไปด้วย วัดมหาธาตุจึงกลายเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา

จนต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2338 พระภิกษุองค์หนึ่งชื่อพระบุญมา ได้ธุดงค์มาเห็นวัดนี้มีสถานที่ร่มรื่น เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมจึงได้ขอความร่วมมือจากพุทธศาสนิกชนช่วยกันปัดกวาดซ่อมแซมเสนาสนะต่างๆ ในที่สุด วัดมหาธาตุจึงกลับมาเป็นศูนย์กลางของศาสนาเช่นเดิม และยังคงเป็นมาจนถึงปัจจุบัน

พระปรางค์ประธาน เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 และได้รับการซ่อมแซมเพิ่มเติมในสมัยอยุธยาตอนต้นตรงส่วนที่เป็นซุ้มด้านตะวันออก และภาพจิตรกรรมภายใน ประกอ
ส่วนประติมากรรมสำคัญภายในวัด
พระปรางค์ประธาน เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 และได้รับการซ่อมแซมเพิ่มเติมในสมัยอยุธยาตอนต้นตรงส่วนที่เป็นซุ้มด้านตะวันออก และภาพจิตรกรรมภายใน ประกอบด้วยพระปรางค์ประธานและพระปรางค์บริวาร 3 องค์บนฐานเดียวกันมีการตกแต่งองค์พระปรางค์ทั้งหมดด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างงดงาน ด้านตะวันออกของพระปรางค์ประธานมีบันไดและขึ้นมุขยื่น ภายในเป็นคูหาเชื่อมต่อกับพระปรางค์ ผนังภายในองค์พระปรางค์ทุกด้านมีภาพจิตรกรรมรูปพระอดีตพุทะเจ้า สันนิษฐานว่าเขียนขึ้นในสมัยเดียวกันกับการสร้างองค์พระปรางค์ พระวิหารหลวง อยู่ด้านหน้าพระปรางค์ภายนอกระเบียงคด เป็นซากอาคารในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า

ฐานด้านล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง ด้านหน้ามีมุขยื่น บนพระวิหารเคยมีเจดีย์ขนาดเล็กตั้งอยู่ แต่พังทลายลงหมด
ฐานด้านล่างสุดก่อด้วยศิลาแลง ด้านหน้ามีมุขยื่น บนพระวิหารเคยมีเจดีย์ขนาดเล็กตั้งอยู่ แต่พังทลายลงหมด บนฐานวิหารมีอาคารไม้โล่ง หลังคาเครื่องไม่มุงสังกะสี อาคารหลังนี้กล่าวกันว่า นายหยินบิดาของขุนสิทธิสุวรรณพงศ์ อดีตนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองราชบุรีเป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2454 พระวิหารนี้เคยเป็นที่ตั้งโรงเรียนพระอภิธรรมราชบุรี ภายในอาคารพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นแกนหินทรายขนาดใหญ่แสดงปางมารวิชัย 2 องค์ ประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ชนกัน พุทธศิลปะแบบอยุยาตอนต้น ด้านข้างทั้งสองและด้านหน้าของพระวิหารที่มุมด้านตะวันออกแยงเหนือและด้านตะวันออกเฉียงใต้ มีวิหารขนาดเล็ก ประดิษฐานพระพุทธรูปหินทรายสีแดงปางมารวิชัยประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ชนกันคล้ายกับพระพุทธรูปบนพระวิหารหลวง

ส่วนพระอุโบสถ สันนิษฐานจากลักษณะทางสถาปัตยกรรมว่าสร้างขึ้นตอนปลายสมัยอยุธยาราวพุทธศตวรรษที่ 22 ซ่อมแซมครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2509
ส่วนพระอุโบสถ สันนิษฐานจากลักษณะทางสถาปัตยกรรมว่าสร้างขึ้นตอนปลายสมัยอยุธยาราวพุทธศตวรรษที่ 22 ซ่อมแซมครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2509 เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาลด 2 ชั้น 3 ตับ เป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ด้านหน้าและด้านหลังทำพาไลยื่นรองรับโครงหลังคาด้วยเสาปูนจำนวน 3 ตับ ด้านข้างมีชายคาปีกนกโดยรอบ ฐานอาคารมีลักษณะศิลปะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาตอนปลาย คือแอ่นโค้งคล้ายท้องเรือสำเภาหรือที่เรียกว่าแอ่นท้องช้าง ซุ้มประตูหน้าต่างปั้นปูนประดับกระจกเป็นซุ้มหน้านาง ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยประทับนั่งบนฐานดอกบัว ด้านนอกโดยรอบมีกำแพงแก้วก่ออิฐถือปูนล้อมรอบ

พระมณฑป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระปรางค์ประธานภายนอกกำแพงแก้ว เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนในผังสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบบนฐานเขียงรองรับฐานสิงห์
และพระมณฑป ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของพระปรางค์ประธานภายนอกกำแพงแก้วปัจจุบันอยู่ในเขตสังฆาวาสของวัด เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนในผังสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ยี่สิบบนฐานเขียงรองรับฐานสิงห์ ผนังรอบด้านมีซุ้มหน้าต่างทรงมณฑปด้านละ 1 ซุ้ม เว้นด้านตะวันออกเป็นซุ้มประตูทางเข้ามีบันไดขึ้น- ลง เครื่องหลัวคาของพระมณฑปพังทลายลงหมดแล้ว ภายในพระมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาททำด้วยหินทรายสีแดง ฝาผนังด้านในมีภาพจิตรกรรมเรื่องพุทธประวัติตอนเสด็จโปรดพระพุทธมารดาบนดาวดึงส์ และตอนผจญกองทัพพญามาร ปัจจุบันมีสภาพลบเลือนเกือบหมด เพราะไม่มีหลังคาคลุมทำให้น้ำฝนชะล้างสีจนภาพเลอะเลือน พระมณฑปหลังนี้สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

พระเจดีย์ เป็นเจดีย์รายเรียงเป็นแถวอยู่ด้านหน้าพระมณฑปจำนวน 5 องค์ เป็นพระเจดีย์ทรงระฆังกลมจำนวน 4 องค์
พระเจดีย์ เป็นเจดีย์รายเรียงเป็นแถวอยู่ด้านหน้าพระมณฑปจำนวน 5 องค์ เป็นพระเจดีย์ทรงระฆังกลมจำนวน 4 องค์ และพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองอีก 1 องค์ ทั้งหมดเป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ที่ฐานของพระเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองมีจารึกบนแผ่นหินอ่อนความว่า พ.ศ. 2462 สามเณรเซียะเล็ก พร้อมบุตรทิพ เจริญ ฮกเซ่งพิจารณาเห็นว่า พระเจดีย์เป็นปูชนียวัตถุถาวรจึงได้พร้อมใจกันมีศรัทธาสร้างขึ้นไว้ในพระพุทธศาสนานิพ์พานปัจจ์โยโหตุอนาคตะฯ

นอกจากวัดมหาธาตุยังเป็นวัดเก่าแก่ที่ของราชบุรีแล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ที่มีนักท่องเที่ยวแวะมากราบไหว้สักการะขอพร และชมประติมากรรมอันเก่าแก่ที่วัดแห่งนี้อย่างไม่ขาดสายอีกด้วย

เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดมหาธาตุวรวิหาร_(จังหวัดราชบุรี)

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น