Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ โลหะปราสาทหนึ่งเดียวในโลก ที่ยังคงอยู่ ณ วัดราชนัดดาราม มีประวัติเป็นมาอย่างไร

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโลหะปราสาทเหลืออยู่เพียงองค์เดียวในโลก ที่วัดราชนัดดาราม ที่เหล่านักเดินทางนิยมมาไหว้พระสักการะกันสักครา
ก็ขอสวัสดีคุณผู้อ่านบนโลกออนไลน์ และเหล่าผู้รักการทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจกันทุกๆคน ก็กลับมาพบกันอีกเช่นเดิมนะคะ สำหรับบทความน่ารู้เล็กๆน้อยๆที่จะนำมาเสนอให้อ่านฆ่าเวลากัน หลังจากที่บทความบล็อกก่อนหน้า ได้พาไปลั๊ลลาเที่ยวชมโบราณสถานสมัยอยุธยาแล้ว

วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอพาคุณผู้อ่านมายลตระการท่องกรุงรัตนโกสินทร์ในกรุงเทพมหานคร เมืองฟ้าอมร แวะไปออนซอน ไหว้พระกราบกรานตามวัดวาอารามต่างๆย่านเมืองเก่าสวยงามหลายแห่ง และหนึ่งในวัดเก่าแก่สำคัญอีกแห่งก็คือ วัดราชนัดดารามวรวิหาร เป็นที่ประดิษฐานโลหะปราสาทที่มีประติมากรรมสวยงาม ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติให้มาเยือนอย่างไม่ขาดสาย



เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม (Loha Prasat Wat Ratchanatdaram,Bangkok)


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม (Loha Prasat Wat Ratchanatdaram,Bangkok)


โลหะปราสาท เป็นโลหะปราสาทองค์แรกและองค์เดียวของไทย และถือเป็นองค์ที่ 3 ของโลก  และในปัจจุบันนี้โลหะปราสาทแห่งนี้ เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลก เพราะโลหะปราสาทที่ประเทศอินเดีย และศรีลังกาได้ปรักหักพังไปหมดแล้ว  ตั้งอยู่ภายในวัดราชนัดดาราม และอยู่ในบริเวณลานพลับพลามหาเจษฏาบดินทร ยอดปราสาทประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว


สำหรับวัดราชนัดราม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2389 เป็นวัดที่รัชกาลที่ 3 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี
สำหรับวัดราชนัดราม ตั้งอยู่ที่ถนนมหาไชย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2389 เป็นวัดที่รัชกาลที่ 3 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี โดยในการก่อสร้างครั้งนี้ มีเจ้าพระยายมราชเป็นแม่กองออกแบบ และจัดหาที่เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ เป็นแม่กองสร้างโลหะปราสาท ที่วัดนี้แปลกกว่าวัดอื่น คือโปรดฯ ให้สร้างธรรมเจดีย์ปราสาทแทนการสร้างพระเจดีย์
อาคารของโลหะปราสาท ตั้งอยู่ ณ ด้านตะวันตกของพระอุโบสถ ก่อสร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แทนการสร้างเจดีย์
อาคารของโลหะปราสาท ตั้งอยู่ ณ ด้านตะวันตกของพระอุโบสถ ก่อสร้างขึ้นโดยพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แทนการสร้างเจดีย์ โลหะปราสาทนี้ สร้างขึ้นตามประวัติพระพุทธศาสนา ถือเป็นโลหะปราสาทองค์ที่ 3 ของโลก
โลหะปราสาทหลังแรกนางวิสาขาบุตรีธนัญชัยเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถีสร้างขึ้นในสมัยพุทธกาลโดย เป็นปราสาท 2 ชั้น 1,000 ห้อง
โดยโลหะปราสาทหลังแรกนางวิสาขาบุตรีธนัญชัยเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถีสร้างขึ้นในสมัยพุทธกาลโดย เป็นปราสาท 2 ชั้น 1,000 ห้อง ยอดปราสาททำด้วยทองคำ ที่ชื่อว่า "มิคารมาตุปราสาท"
ส่วนโลหะปราสาทหลังที่ 2 สร้างโดยพระเจ้าทุฏฐคามณี กษัตริย์แห่งกรุงอนุราธปุระลังกา ในราวปีพุทธศักราช 382 เป็นปราสาท 9 ชั้น 1,000 ห้อง มีความกว้างและความสูงแต่ละด้าน 100 ศอก หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง ผนังเป็นไม้ประดับด้วยหินมีค่าและงาช้าง
บันไดทางเดินขึ้นไปยังยอดปราสาทชั้นบน
โลหะปราสาทภายในวัดราชนัดดารามวรวิหาร มีลักษณะศิลปสถาปัตยกรรมไทยเป็นปราสาท 3 ชั้น มียอด 37 ยอด หมายถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
โลหะปราสาทภายในวัดราชนัดดารามวรวิหาร มีลักษณะศิลปสถาปัตยกรรมไทยเป็นปราสาท 3 ชั้น มียอด 37 ยอด หมายถึงโพธิปักขิยธรรม 37 ประการ กลางปราสาทเป็นช่องกลวงจากฐานตลอดยอด มีซุงต้นใหญ่สูงถึงยอดปราสาทเป็นแกนกลาง เจาะลำต้นตอกเป็นบันไดเวียนขึ้น 67 ขั้น เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2394 นับจากปีที่เริ่มก่อสร้างวัดราชนัดดารามได้ 5 ปี แต่ก่อสร้างสำเร็จเป็นเพียงปราสาทโกลน ก็สิ้นรัชกาล
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการก่อสร้างโลหะปราสาท จนมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการก่อสร้างโลหะปราสาท จนมารัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระประสิทธิ์สุตคุณ (แดง เขมทตฺโต) เจ้าอาวาส ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตบูรณะปฏิสังขรณ์หลายครั้งตามแต่กำลังทุนทรัพย์ที่หาได้ โดยบูรณะตั้งแต่ชั้นบนลงมา คือ ทำพื้น ก่อมณฑปโบกปูนสีแดง ยกฉัตร ยอดเจดีย์ที่ชั้นบนสุดและชั้นที่ 2 ทั้งหมด ยังเหลือแต่ชั้นล่างสุดที่ไม่ได้บูรณะ
โลหะปราสาท ได้รับการปรับปรุงหลายครั้ง ภายหลังก่อสร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทั้งนี้โลหะปราสาท ได้รับการปรับปรุงหลายครั้ง ภายหลังก่อสร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ภายหลังพระองค์สวรรคตลง โลหะปราสาทก็มิได้ปรับปรุงแล้วเสร็จ จนกระทั่งได้บูรณะครั้งใหญ่จนแล้วเสร็จในสมัยพระราชปัญญาโสภณ (สุข ปุญญรํสี) ปี พ.ศ. 2506 โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ร่วมกันปรับปรุงแล้วเสร็จ เป็นแบบก่อโบกปูนสีแดง มณฑปทาสีขาว

ในปี พ.ศ. 2539 พล.อ.ต.อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติสาขาสถาปัตยกรรม (ในเวลาต่อมา) ได้ออกแบบวัสดุมุงและเครื่องประดับหลังคาเป็นโลหะและทองแดงรมดำ ทำให้ออกมาเป็นสีดำ และในปี พ.ศ. 2555 กรมศิลปากรได้ร่วมกับทางวัดบูรณะ มณฑปให้เป็นสีทองแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2560
การบูรณะโลหะปราสาทครั้งใหญ่ นปี พ.ศ. 2506 ทั้งนี้ได้พยายามรักษาแบบแผนดั้งเดิมของโลหะปราสาทในสมัยรัชกาลที่ 3 ไว้ให้มากที่สุด นับว่าโลหะปราสาทได้บูรณปฏิสังขรณ์จนเสร็จสมบูรณ์
การบูรณะโลหะปราสาทครั้งใหญ่ ดำเนินการในสมัยพระราชปัญญาโสภณ (สุข ปุญญรํสี) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในปี พ.ศ. 2506 ทั้งนี้ได้พยายามรักษาแบบแผนดั้งเดิมของโลหะปราสาทในสมัยรัชกาลที่ 3 ไว้ให้มากที่สุด นับว่าโลหะปราสาทได้บูรณปฏิสังขรณ์จนเสร็จสมบูรณ์ในครั้งนี้ โดยกรมโยธาเทศบาล เป็นผู้รับผิดชอบในครั้งนี้

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐาน ณ พระเจดีย์บุษบกโลหะปราสาทเป็นพระราชพิธีแรก
เมื่อครั้งที่มีการจัดงานฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2538-2539 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำหนดการพระราชพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐาน ณ พระเจดีย์บุษบกโลหะปราสาทเป็นพระราชพิธีแรก แห่งการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อวันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
ในปี พ.ศ. 2555 กรมศิลปากร ร่วมกับวัดราชนัดดารามวรวิหาร จัดโครงการบูรณะโลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม โดยการปิดทองคำเปลวบนยอดทั้ง 37 ยอด
สืบเนื่องจากโอกาสดังกล่าว โครงการบูรณะโลหะปราสาทครั้งล่าสุดจึงได้เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2539 สาระสำคัญของโครงการนี้ประกอบด้วย งานบูรณปฏิสังขรณ์โลหะปราสาท เริ่มจากยอดมณฑปกลาง เปลี่ยนวัสดุมุงและเครื่องประดับหลังคาเป็นโลหะและทองแดงรมดำ โดยมีนาวาอากาศเอกอาวุธ เงินชูกลิ่น (ยศในขณะนั้น ปัจจุบันเป็นยศ พลอากาศตรี) ศิลปินแห่งชาติ เป็นสถาปนิก นายสุทิน เจริญสวัสดิ์ เป็นวิศวกรโยธา และ นายประพิศ แก้วสุริยาเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง

ในปี พ.ศ. 2555 กรมศิลปากร ร่วมกับวัดราชนัดดารามวรวิหาร จัดโครงการบูรณะโลหะปราสาท วัดราชนัดดาราม โดยการปิดทองคำเปลวบนยอดทั้ง 37 ยอด โดยเริ่มดำเนินการจากชั้นบนสุดลงมาแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2560

ปัจจุบันโลหะปราสาท จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอีกแห่งในกรุงเทพ มีนักเดินทางทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติมาเยือนอย่างไม่ขาดสาย และยังจัดเป็นหนึ่งใน 9 วัดที่เหล่าชาวพุทธศาสนิกชน นิยมมาไหว้พระกันอีกด้วย เนื่องจากอยู่ติดกับวัดสำคัญหลายแห่งไม่ว่าจะเป็นวัดเทพธิดาราม และวัดภูเขาทอง


เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/โลหะปราสาท_วัดราชนัดดารามวรวิหาร 
---------------------------------------------------------------------------


แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น