รู้เฟื่องเรื่องไทยๆวันนี้ คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอนำเสนอสาระ วัดหน้าพระเมรุ วัดแห่งเดียวในอยุธยา ที่ไม่โดนพม่าเผาทำลาย |
สวัสดีคุณผู้อ่านบนโลกออนไลน์ และเหล่าผู้รักการทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจกันทุกคน ก็กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ กับบทความน่ารู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับความเป็นไทย หลังจากที่บทความก่อนหน้าได้มาบอกเล่า เก้าสิบเกี่ยวกับวัดมหาธาตุ อยุธยากันไปแล้ว บทความวันนี้ ยังคงวนเวียน สิงสถิตอยู่ในเมืองเก่าอยุธยากันต่อค่ะ
และหนึ่งในวัดที่ใครมาอยุธยา คงต้องไปกราบสักการะกัน คงไม่พลาดที่จะไปวัดหน้าพระเมรุกันสักครั้งนะคะ เนื่องจากเป็นวัดแห่งเดียวในอยุธยาที่ไม่โดนพม่าเผาทำลาย
สำหรับวัดหน้าพระเมรุตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี นอกเกาะเมืองอยุธยาด้านทิศเหนือ ตรงข้ามพระราชวังหลวง โดยตามตำนานกล่าวว่า พระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2046 พระราชทานนามว่า "วัดพระเมรุราชการาม" ต่อมาเรียกกันภายหลังว่า "วัดหน้าพระเมรุ" สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตรงที่ถวาย ตรงที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
ด้วยเหตุที่หน้าวัดพระเมรุ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง ดังในช่วงศึกสงคราม วัดนี้จึงใช้เป็นที่ตั้งค่าย หรือที่บัญชาการรบ วัดหน้าพระเมรุเป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก บ้างสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่วัดนี้กับวัดหัสดาวาส (ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้างและยังเหลือสิ่งก่อสร้างที่ไม่ถูกทำลายอยู่บ้าง) พระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาที่หลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา หรือได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในช่วงนั้น เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อสำริดขนาดใหญ่ ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์
ซึ่งสิ่งสำคัญที่ปรากฏภายในวัดนี้ คือ พระอุโบสถและพระพุทธรูปประธานทรงเครื่องใหญ่ ซึ่งอาจจะได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หน้าบันของพระอุโบสถเป็นไม้แกะสลักปิดทองที่แสดงรูปนารายณ์ทรงครุฑยุดนาคประทับราหูแวดล้อมด้วยเหล่าเทวดา (ด้านหน้าพระอุโบสถมีเทวดาแวดล้อม 26 องค์ ด้านหลังพระอุโบสถมีเทวดาแวดล้อม 22 องค์ รวมเทวดา 48 องค์) คติดังกล่าวเป็นที่นิยมในสมัยโบราณที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ คือเป็นพระนารายณ์อวตาร
ดังนั้น หน้าบันของโบสถ์ วิหาร หรือปราสาทราชวังที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือทรงบูรณะก็มักจะทำรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเป็นสำคัญ อันมีความหมายว่าวัดแห่งนี้เป็นพระอารามหลวง ตัวพระอุโบสถไม่มีหน้าต่าง แต่ทำเป็นช่องลูกกรงให้แสงแดดและลมผ่านเข้าไปภายใน ลูกกรงดังกล่าวยังทำเป็นดอกเหลี่ยมหรือที่เรียกว่าผนังลูกกรงมะหวดเหลี่ยม (แบบเดียวกับผนังวิหารหลวง วัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น)
ส่วนพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถซึ่งทรงเครื่องใหญ่ก็สร้างในคติของพระพุทธเจ้าปางโปรดพญามหาชมพู ตามความในมหาชมพูบดีสูตร ซึ่งเป็นรูปแบบของพระพุทธรูปที่นิยมมากในสมัยอยุธยาตอนกลางต่อลงมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระพุทธรูปองค์นี้อาจเปรียบเทียบได้กับพระพุทธรูปทรงเครื่องภายในเมรุทิศเมรุรายของวัดไชยวัฒนาราม ที่สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าปราททองได้เป็นอย่างดี
ด้วยเหตุนี้ จึงอนุมานได้ว่าพระพุทธรูปประธานภายในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุก็คงจะสร้างขึ้นในช่วงเวลานั้นด้วยเช่นกัน หรือไม่ก็คงได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในคราวนั้น ภายหลังรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์พระราชทานนามว่า พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ (นิยมเรียกย่อว่า พระพุทธนิมิต)
และทางด้านทิศตะวันออกของพระอุโบสถมีวิหารน้อย สร้างขึ้นโดยพระยาชัยวิชิต (เผือก) ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีรูปแบบลอกเลียนมาจากพระอุโบสถ แต่ลดขนาดให้เล็กลงกับทั้งเปลี่ยนหน้าบันให้เป็นลายพรรณษาตามความนิยมของศิลปะในช่วงนั้น ด้านในวิหารน้อยยังมีภาพจิตรกรรมเล่าเรื่องการค้าสำเภาและพุทธชาดกต่าง ๆ และภายในประดิษฐาน พระคันธารราฐ พระพุทธรูปสมัยทวารวดีขนาดใหญ่ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุ อยุธยา
เชื่อกันว่าพระพุทธรูปองค์นี้แต่เดิมคงประดิษฐานอยู่ที่จังหวัดนครปฐมมาก่อน และได้ย้ายมายังวัดมหาธาตุ อยุธยา ราวรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิก็เป็นได้ พระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปศิลาเขียวประทับนั่งห้อยพระบาทที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ไม่กี่องค์ในเมืองไทยเวลานี้ ความเก่าแก่นั้นกล่าวได้ว่าเก่าแก่ก่อนสมัยสุโขทัย ไล่เลี่ยกับยุคสมัยของโบโรบูดูร์ หรือบรมพุทโธ บนเกาะชวาในอินโดนีเซียเมื่อกว่า 1,000 ปีมาแล้ว นับเป็น 1 ใน 6 พระพุทธรูปที่สร้างจากศิลาที่มีอยู่ในโลก เป็น 1 ใน 5 องค์ที่มีอยู่ในประเทศไทย จึงนับเป็นสิ่งที่มีค่ามาก
เจดีย์ราย 3 องค์ ที่มีรากไทรแผ่เข้าครอบคลุม ที่อยู่ด้านหลังพระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุ ได้ปรากฏในภาพวาดกรุงศรีอยุธยาในหนังสือของ อ็องรี มูโอ นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้วัดหน้าพระเมรุ จัดเป็นวัดสำคัญที่ยังคงรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยสมัยอยุธยาไว้อย่างดีเยี่ยม
เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดหน้าพระเมรุ
---------------------------------------------------------------------------
บทความอื่นๆ มีดังนี้
เรื่องการเปิดกรุ วัดมหาธาตุ เมืองเก่าอยุธยา ที่หลายคนอาจไม่รู้มาก่อน คลิ๊กดูรายละเอียดบทความค่ะ>>>
รวมเด็ดสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองประจวบคีรีขันธ์ ต้องมาเช็กอินถ่ายภาพกันสักครา มีที่ใหนบ้างหนา ตามไปช่ะช่ะช่ากันเลย คลิ๊กดูรายละเอียดแนะนำที่เที่ยวค่ะ>>>
และหนึ่งในวัดที่ใครมาอยุธยา คงต้องไปกราบสักการะกัน คงไม่พลาดที่จะไปวัดหน้าพระเมรุกันสักครั้งนะคะ เนื่องจากเป็นวัดแห่งเดียวในอยุธยาที่ไม่โดนพม่าเผาทำลาย
สำหรับวัดหน้าพระเมรุตั้งอยู่ริมแม่น้ำลพบุรี นอกเกาะเมืองอยุธยาด้านทิศเหนือ ตรงข้ามพระราชวังหลวง โดยตามตำนานกล่าวว่า พระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2046 พระราชทานนามว่า "วัดพระเมรุราชการาม" ต่อมาเรียกกันภายหลังว่า "วัดหน้าพระเมรุ" สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตรงที่ถวาย ตรงที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง
ด้วยเหตุที่หน้าวัดพระเมรุ ตั้งอยู่ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง ดังในช่วงศึกสงคราม วัดนี้จึงใช้เป็นที่ตั้งค่าย หรือที่บัญชาการรบ วัดหน้าพระเมรุเป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ถูกพม่าทำลาย และยังคงสภาพที่ดีมาก บ้างสันนิษฐานว่าอาจเป็นเพราะพม่าได้ไปตั้งกองบัญชาการอยู่ที่วัดนี้กับวัดหัสดาวาส (ซึ่งปัจจุบันเป็นวัดร้างและยังเหลือสิ่งก่อสร้างที่ไม่ถูกทำลายอยู่บ้าง) พระอุโบสถของวัดหน้าพระเมรุเป็นแบบอยุธยาซึ่งมีเสาอยู่ภายใน แต่น่าจะมาเพิ่มเสารับชายคาที่หลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระประธานในอุโบสถซึ่งสร้างปลายสมัยอยุธยา หรือได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในช่วงนั้น เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องหล่อสำริดขนาดใหญ่ ด้านหลังพระอุโบสถยังมีอีกองค์หนึ่งแต่เล็กกว่า คือ พระศรีอริยเมตไตรย์
สิ่งสำคัญที่ปรากฏภายในวัดนี้ คือ พระอุโบสถและพระพุทธรูปประธานทรงเครื่องใหญ่ ซึ่งอาจจะได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง |
ซึ่งสิ่งสำคัญที่ปรากฏภายในวัดนี้ คือ พระอุโบสถและพระพุทธรูปประธานทรงเครื่องใหญ่ ซึ่งอาจจะได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง หน้าบันของพระอุโบสถเป็นไม้แกะสลักปิดทองที่แสดงรูปนารายณ์ทรงครุฑยุดนาคประทับราหูแวดล้อมด้วยเหล่าเทวดา (ด้านหน้าพระอุโบสถมีเทวดาแวดล้อม 26 องค์ ด้านหลังพระอุโบสถมีเทวดาแวดล้อม 22 องค์ รวมเทวดา 48 องค์) คติดังกล่าวเป็นที่นิยมในสมัยโบราณที่ถือว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ คือเป็นพระนารายณ์อวตาร
ดังนั้น หน้าบันของโบสถ์ วิหาร หรือปราสาทราชวังที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างหรือทรงบูรณะก็มักจะทำรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเป็นสำคัญ อันมีความหมายว่าวัดแห่งนี้เป็นพระอารามหลวง ตัวพระอุโบสถไม่มีหน้าต่าง แต่ทำเป็นช่องลูกกรงให้แสงแดดและลมผ่านเข้าไปภายใน ลูกกรงดังกล่าวยังทำเป็นดอกเหลี่ยมหรือที่เรียกว่าผนังลูกกรงมะหวดเหลี่ยม (แบบเดียวกับผนังวิหารหลวง วัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นศิลปะอยุธยาตอนต้น)
ส่วนพระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถซึ่งทรงเครื่องใหญ่ก็สร้างในคติของพระพุทธเจ้าปางโปรดพญามหาชมพู ตามความในมหาชมพูบดีสูตร |
ภายหลังรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์พระราชทานนามว่า พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ (นิยมเรียกย่อว่า พระพุทธนิมิต) |
วิหารน้อย พระศิลา มีอายุถึง 1500 ปี |
ทางด้านทิศตะวันออกของพระอุโบสถมีวิหารน้อย ภายในประดิษฐาน พระคันธารราฐ พระพุทธรูปสมัยทวารวดีขนาดใหญ่ซึ่งอัญเชิญมาจากวัดมหาธาตุ อยุธยา |
ไหว้หลวงพ่อขาว พระพุทธรูปปรุเงินทั้งองค์ อายุกว่า 500 ปี |
พระพุทธรูปปรุเงินทั้งองค์ อายุกว่า 500 ปี |
เจดีย์ราย 3 องค์ ที่มีรากไทรแผ่เข้าครอบคลุม ด้ปรากฏในภาพวาดกรุงศรีอยุธยาในหนังสือของ อ็องรี มูโอ |
เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดหน้าพระเมรุ
---------------------------------------------------------------------------
บทความอื่นๆ มีดังนี้
![]() |
น่ารู้กับการเปิดกรุ วัดมหาธาตุ เมืองเก่าอยุธยาในอดีต คลิ๊กดูบทความค่ะ>> |
![]() |
แหล่งท่องเที่ยวในตัวเมืองประจวบฯ ที่ต้องแวะมาเช็กอินกันให้ได้ คลิ๊กดูที่เที่ยวค่ะ>> |
0 ความคิดเห็น