เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พระธาตุก่องข้าวน้อย หรือ พระธาตุตาดทอง ในจังหวัดยโสธร |
สวัสดีเพื่อนๆสายเที่ยวและนักทัศนาจร เว้าวอนดวงหทัย งามวิไลเริ่ดสะแมนแตนทุกๆคน ก็กลับมาพบปะทักทายซำบายดีกันอีกครั้งนะคะ กับบทความบล็อกสาระน่ารู้กับแหล่งท่องเที่ยวทั่วฟ้าเมืองไทย ที่จะสรรหามาให้ได้อ่านกัน และสำหรับเพื่อนๆคนใหนที่เดินทางไปเที่ยวจังหวัดยโสธร แน่นอนว่าต้องไม่พลาดไปชมพระธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ หนึ่งในพระธาตุเก่าแก่ซึ่งมีความผูกพันธ์กับนิทานพื้นบ้าน ลูกฆ่าแม่ อันมีชื่อเสียงโด่งดังซึ่งตั้งอยู่ในเมืองยโสธร อีกทั้งยังมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจไม่น้อย วันนี้เลยนำสาระเล็กๆน้อยมาให้ได้อ่านกันค่ะ
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พระธาตุก่องข้าวน้อย หรือ ธาตุตาดทอง จังหวัดยโสธร
พระธาตุตาดทอง หรือ พระธาตุถาดทอง หรือที่นิยมเรียกกันว่า ธาตุก่องข้าวน้อย พระธาตุตาดทองจากรูปแบบสถาปัตยกรรมสสร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยตัวพระธาตุนั้นตั้งอยู่ในกลางทุ่งนาของบ้านตาดทอง ตำบลตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 (สายยโสธร-อุบลราชธานี) กิโลเมตรที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร
เรียกกันว่า ธาตุก่องข้าวน้อย พระธาตุตาดทองจากรูปแบบสถาปัตยกรรมสสร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย |
สิ่งที่น่าสนใจของพระธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้คือ อาจจะมีความเกี่ยวเนื่องกับนิทานพื้นบ้านเล่าสืบกันมาว่า เมื่อผู้คนในแถบอำเภอรัตนบุรีทราบข่าวการบูรณะพระธาตุพนม จึงพร้อมใจกันรวบรวมวัตถุมงคลสิ่งมีค่าเพื่อนำไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนม แต่เมื่อเดินทางถึงบ้านตาดทองได้พบกับชาวบ้านสะเดา ตำบลตาดทอง ที่ไปช่วยบูรณะพระธาตุเดินทางกลับมาบ้านเพราะการบูรณะพระธาตุพนมได้เสร็จสิ้นแล้ว ผู้คนเหล่านั้นจึงพร้อมใจกันสร้างเจดีย์บรรจุของมีค่าที่ตนนำมา ชาวบ้านสะเดาจึงนำถาดทองที่ใช้อัญเชิญของมีค่านำไปบรรจุในพระธาตุพนม มารองรับของมีค่าที่ชาวอำเภอรัตนบุรีที่จะนำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ที่กำลังสร้าง จึงเรียก พระธาตุตาดทอง หรือ พระธาตุถาดทอง
ในบริเวณบ้านตาดทองยังเป็นชุมชนโบราณตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงสมัยทวาราวดี ตามตำนานอุรังคนิทาน (พระธาตุพนม) |
และในบริเวณบ้านตาดทองยังเป็นชุมชนโบราณตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์มาจนถึงสมัยทวาราวดี ตามตำนานอุรังคนิทาน (พระธาตุพนม) มีข้อความว่า ชาวสะเดาตาดทองได้นำของมาช่วย พบหลักฐานการอยู่อาศัยเป็นแหล่งฝังศพและมีเศษภาชนะแบบที่พบในทุ่งกุลาร้องไห้ มีเนินดินขนาดราว ๕๐๐ X ๖๕๐ เมตรรูปวงรี มีคูน้ำล้อมรอบ แต่ปัจจุบันทางหลวงตัดผ่านกลางเนิน จนแบ่งออกเป็นสองฟากและมีบ้านเรือนตั้งอยู่หนาแน่น
ประวัติของการสร้างธาตุแห่งนี้แตกต่างไปจากธาตุอื่น ๆ ที่มักเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา โดยเป็นนิทานพื้นบ้านเล่าว่า มีชายหนุ่มชาวนา (บ้างว่าชื่อ ทอง) ที่ได้ทำนาทั้งชีวิต วันหนึ่งเขาออกไปไถนา ในเวลาเที่ยงเขาเหนื่อยล้า รู้สึกเกิดอาการร้อนรนและหิวโซ มารดาของหนุ่มชาวนามาส่งข้าว แต่มาช้ากว่าเวลาปกติ ชายหนุ่มเห็นว่าก่องข้าวที่มารดาถือมาให้นั้นก่องเล็กมาก เขาโกรธมารดามาก จึงทำร้ายมารดาด้วยความหิวแลโมโห จึงเอาคันไถนาฟาดไปที่มารดา จนมารดาล้มและเสียชีวิต หลังจากนั้นเขากินข้าวที่มารดานำมาให้ แต่ก็กินเท่าไรข้าวก่องน้อยนั้นก็ไม่หมดก่อง ลูกชายเริ่มได้สติ หันมาเห็นมารดานอนเสียชีวิตบนพื้น จึงรู้สึกเสียใจมากที่ได้ทำผิดไป จึงได้สร้างธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้นมาด้วยมือเพื่อชดใช้บาปกรรม
ด้านหน้าพระธาตุตาดทองมีอูบมุงแบบพื้นถิ่นอีสานในผังเหลี่ยมจัตุรัส ายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยฝีมือช่างพื้นถิ่นอีสาน |
พระธาตุตาดทอง เป็นเจดีย์ทรงมณฑปยอดบัวเหลี่ยมในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส สร้างก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป ส่วนฐานตอนล่างเป็นฐานเขียงรองรับชั้นชุดฐานบัวท้องไม้ลูกแก้วอกไก่ ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์ธาตุมีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ไปเป็นส่วนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากัน ส่วนยอดรอบนอกของธาตุก่องข้าวน้อยมีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5x5 เมตร
ส่วนมณฑปทำย่อเก็จมีซุ้มพระทั้ง 4 ด้าน เดิมคงมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ ยอดซุ้มโค้งแบบซุ้มหน้านางภายในประดับปูนปั้นลายพรรณพฤกษา เสาซุ้มทำลายแสงตาเวน(ตะวัน)ประดับกระจก ส่วนยอดเป็นบัวเหลี่ยมทำย่อเก็จเป็นรูปบัวเหลี่ยมมีเครื่องยอดซ้อนกัน 3 ชั้นยอดแหลม โดยรอบมีใบเสมาสมัยทวารวดี และกลุ่มเจดีย์รายจำลองทรงบัวเหลี่ยม
ด้านหน้าพระธาตุตาดทองมีอูบมุงแบบพื้นถิ่นอีสานในผังเหลี่ยมจัตุรัส ลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมหลังคาโดมเอนลาดสอบเข้าหากัน สันหลังคาประดับปูนปั้นรูปนาค ยอดหลังคาในตอนกลางเป็นเจดีย์ขนาดเล็ก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยฝีมือช่างพื้นถิ่นอีสาน นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานพระธาตุตาดทอง ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 27 กันยายน 2479 |
่และเอกลักษณ์ของพระธาตุตาดทอง คือ การออกแบบรูปทรงเจดีย์ที่สวยงาม และเป็นพระธาตุแห่งหนึ่งที่อาจจะเกี่ยวข้องนิทานเรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ อีกทั้งมีประวัติอ้างอิงเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การสร้างพระธาตุพนม กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานพระธาตุตาดทอง ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 27 กันยายน 2479 และประกาศกำหนดเขตที่ดิน ในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 15 มกราคม 2552 เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 59 ตารางวา โบราณสถานแห่งนี้ได้รับการบูรณะครั้งหลังสุดในปี พ.ศ. 2545
ปัจจุบันพระธาตุก่องข้าวน้อย จัดเป็นโบราณสถานและเป็นแหล่งท่องเที่ยวมีชื่อเสียงของจังหวัดยโสธร เนื่องจากเป็นพระธาตุที่ผูกพันธ์กับเรื่องราวนิทานลูกฆ่าแม่ ทำให้พระธาตุแห่งนี้ ทำให้มีนักท่องเที่ยวแวะมาเยือนพระธาตุแห่งนี้อย่างไม่ขาดสาย
เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/ธาตุก่องข้าวน้อย
0 ความคิดเห็น