Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

ทั่วถิ่นไทยไปให้รู้ดู พระธาตุอานนท์ แห่งวัดมหาธาตุ วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองยศสุนทรแห่งนี้ มีประวัติเล่าขานเป็นมาอย่างไร

เที่ยวเมืองไทยไปให้รู้ แวะไปดู พระธาตุอานนท์ พระธาตุเก่าแก่ในวัดมหาธาตุ วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองยโสธร มีประวัติและตำนานเล่าขานเป็นมาอย่างไร นำมาให้อ่านกันค่ะ



สวัสดีคุณผู้อ่านและเพื่อนๆเหล่านักทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจทุกๆคน ก็ลกลับมาพบทักทาย ซำบายดีอีหลีอยู่บ่ กันอีกครั้งนะคะ กับบทความบล็อกสาระน่ารู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวทั่วแคว้นแดนไทย ที่จะสรรหามาเล่า มาแบ่งปันให้ได้อ่านกัน และในบทความนี้ ขอพาคุณผู้อ่านไปเที่ยวแวะทำบุญไหว้พระที่เมืองยศสุนทร หรือที่รู้จักกันคือ เมืองยโสธร ซึ่งที่เมืองแห่งนี้ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในตัวเมืองที่เหล่าพุทธศาสนิกชน ต้องแวะไปไหว้พระขอพรกัน นั้นก็คือการไปไหว้ องค์พระธาตุอานนท์ ที่วัดมหาธาตุ ซึ่งจัดเป็นหนึ่งในวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองแห่งนี้มายาวนาน มีประวัติเป็นมาและเรื่องเล่าขาน ที่น่าสนใจอย่างไร วันนี้จัดมาให้อ่านกันค่ะ


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ พระธาตุอานนท์ วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร


สาระน่ารู้เกี่ยวกับ พระธาตุอานนท์ วัดมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร 


สำหรับวัดวัดมหาธาตุ จัดได้ว่าเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองยโสธรมาตั้งแต่แรกสร้างเมืองแห่งนี้มาครั้งในอดีต โดยตัววัดนั้น ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมืองยโสธร อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ซึ่งภายในวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง พระพุทธปรูปบูชาประจำเมืองที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศไทย , พระธาตุอานนท์ พระเจดีย์ที่บรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์แห่งเดียวในประเทศไทย และหอไตรกลางน้ำที่มีศิลปะงดงามอย่างยิ่งอีกแห่งของไทยด้วย  


พระธาตุอานนท์แห่งวัดมหาธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร ว่า พระธาตุอานนท์ได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1218 


ประวัติการก่อสร้างเจดีย์องค์ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วัดมหาธาตุ  ซึ่งแต่เดิมนั้นยโสธรเป็นอำเภอหนึ่ง ที่อยู่ในเขตจังหวัดจังหวัดอุบลฯ ที่ชาวยโสธรและอำเภอใกล้เคียงเรียกกันว่า พระธาตุยโสธร หรือว่าพระธาตุอานนท์แห่งนี้นั้น ถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.1218 ณ ที่เจดีย์องค์นี้ประดิษฐานอยูเวลานี้ ในครั้งกระโน้นเป็นป่าใหญ่เรียกกันว่า “ดงผีสิง” อยู่ห่างจากบ้านคนประมาณ 700 ชั่วขาธนู ประมาณ 30 เส้น (1 กิโลเมตรกับ 5 เส้น) ผู้สร้างชื่อเจตตานุวิน และจินดาชานุ ชาวเมืองเวียงจันทน์กับเอียงเวธาเจ้าบ้านซึ่งเป็นขอม ร่วมกันสร้างขึ้น อัฐิธาตุพระอานนท์เถระนั้น เจตตานุวิน กับลูกของน้า ชื่อจินดาชานุ ได้มาจากเทวทหนคร ประเทศอินเดีย 


สำหรับลักษณะของพระธาตุอานนท์ เจดีย์เป็นทรงสี่เหลี่ยมหรือทรงพรหมสี่หน้า ส่วนฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ยาวด้านละ 81 เมตร ก่ออิฐถือปูนเอวฐานคอดเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย เหนือขึ้นไปเป็นเรือนธาตุ มีซุ้ม 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืน ยอดธาตุมียอดปลีเล็กแซมทั้ง 4 ด้าน ยอดกลางทรงสี่เหลี่ยมสอบ มี 2 ชั้น รูปแบบการก่อสร้างคล้ายกับพระธาตุก่องข้าวน้อยฐาน ทุก ๆ ปีในช่วงเดือนมีนาคมทางวัดจะจัดให้มีงานสมโภชพระธาตุอานนท์ขึ้นเป็นประจำ โดยจัดในวันขึ้น 13 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ เดือน 3 ตามฮีตคลองของชาวอีสาน คือเดือนมีนาคม ในคืนแรกจะจัดพิธีสมโภชองค์ พระธาตุอานนท์ ผู้ที่มาร่วมงานแต่งกายด้วยชุดขาว ทำพิธีตลอดคืน ส่วนในคืนที่สองและคืนที่สามมีมหรสพรื่นเริงสมโภชตลอดคืน


ตำนานเล่าว่า เจตตานุวินกับจินดาชานุ ชาวเมืองเวียงจันทน์ ถือเพศบรรพชิตธุดงค์ไปถึงเมืองเทวทหนคร กินเวลานานถึง 2 ปี 10 เดือน กับ 11 วัน


ในตำนานเล่าว่า เจตตานุวินกับจินดาชานุ ชาวเมืองเวียงจันทน์ ถือเพศบรรพชิตธุดงค์ไปถึงเมืองเทวทหนคร กินเวลานานถึง 2 ปี 10 เดือน กับ 11 วัน จึงถึงเทวหนคร ขณะนั้นชาวเมืองเทวหนคร กำลังสร้างเจดีย์องค์หนึ่งอยู่ เพื่อจะย้ายอัฐิธาตุที่บรรจุอยู่ภายในเจดีย์องค์เก่า ซึ่งตั้งอยู่ในที่ไม่เหมาะสมไปบรรจุในเจดีย์องค์ใหม่ เมื่อก่อสร้างสำเร็จเรียบร้อยแล้ว จึงอัญเชิญอัฐิธาตุไปบรรจุไว้ในผอบหรือหีบที่ใส่อัฐิธาตุนั้น ชั้นนอก 3 ชั้นเป็นหีบเงิน ชั้นถัดเข้าไปเป็นหีบทอง 7 ชั้น ชั้นถัดจากหีบทองเข้าไปเป็นหีบแก้วไพรฑูรย์ 2 ชั้น รวมเป็นหีบหรือผอบ 12 ใบด้วยกัน แล้วมีผ้ากระจ๋าคำ (เข้าใจว่าจะเป็นผ้าดอกคำหรือเป็นผ้าลายทอง) ห่อไว้ 500 ชั้น ถัดเข้าไปห่อด้วยผ้าขาวอ่อนนิ่มดังสำลี เป็นชั้นในสำหรับห่ออัฐิธาตุและฝุ่น (เข้าใจว่าจะเป็นอังคาร) สืบถามชาวเมืองได้ความว่า เป็นอัฐิพระอานนท์เถระ เพราะคราวท่านนิพพานบนอากาศกลางแม่น้ำโรหิณี ได้อธิฐานร่างกายให้แตกเป็น 2 ภาค 


ภาคหนึ่งตกลงทางเมืองกบิลพัสดุ์ ภาคหนึ่งตกลงทางเมืองเทวหนคร เมื่อท่านเจตตานุวินและจินดาชานุทราบเช่นนั้น จึงจัดเครื่องสักการบูชาแล้วอธิฐานจิตขอเห็นอภินิหาร ห่อพระอัฐิธาตุก็ลอยขึ้นสู่อากาศเป็นอัศจรรย์ จึงได้อ้อนวอนขอแบ่งอัฐิธาตุนั้นอยู่หลายวันจึงได้ ได้ผงธุลีประมาณเต็มเปลือกไข่นกกระเรียน กับอัฐิธาตุองค์หนึ่งประมาณเท่าดอกสังวาล (ยังไม่เคยเห็นว่าดอกอะไร) แล้วก็เดินทางกลับเวียงจันทน์ เดินทางมากว่าจะถึงเวียงจันทน์นั้น 1 ปี กับ11  เดือน แล้วได้จัดแจงสร้างเจดีย์บรรจุที่ดอนปู่ปาว ณ เมืองเวียงจันทน์ แต่ชาวเมืองไม่ยินยอมให้สร้าง จึงออกจากเมืองเวียงจันทน์ มาอยู่กับเอียงเวธาซึ่งเป็นขอม 3 ปี เมื่อชักชวนเอียงเวธาเป็นกำลังได้แล้ว ก็สร้างเจดีย์องค์นี้ไว้ซึ่งอยู่ในเขตของเอียงเวธา สิ้นเวลาสร้าง 8 เดือน กับ 25 วันจึงสำเร็จเรียบร้อย


เครื่องมือก่อสร้างได้รวมใส่หีบมีลักษณะดังสิงห์ ฝังไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเจดีย์ ห่างประมาณ 107ชั่วขาธนู (ประมาณ 5 เส้น กับ 7 วา) สิ่งของต่าง ๆ ที่เป็นครุภัณฑ์ที่บรรจุไว้ในเจดีย์มีมาก แต่ได้เขียนไว้ในประวัติเล่มใหญ่ (เวลานี้ไม่ทราบว่าอยู่ที่ไหน) อันหนึ่งจารใส่แผ่นทองแดงฝังไว้มุมพระเจดีย์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ (เข้าใจว่าทิศตะวันตกเฉียงใต้ เวลานี้ยังไม่พบเพราะไม่ได้ขุดค้น) อีกอันหนึ่งจารใส่แผ่นทองคำฝังไว้ใต้พื้นพระเจดีย์ (อันนี้ก็ยังไม่พบ) ประวัติพิสดารนั้น เอียงเวธาเก็บรักษาไว้ และในประวัติย่อบอกไว้ว่า ถ้าจะมีการบูรณปฏิสังขรณ์ต่อไป ก็อย่าต่อเติมให้สูงเกินกว่าพระเจดีย์ที่บรรจุพระอุรังคธาตุ (เจดีย์นครพนม หรือ พระธาตุพนม) จะถูกอัสนีบาตรได้ 


โดยพระธาตุอานนท์ถือเป็นพระธาตุสำคัญ และเป็นพระธาตุแห่งเดียวในประเทศไทยที่บรรจุบรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ไว้ ให้เหล่าพุทธศาสนิกชนได้มากราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคลกัน 

หอไตร สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2373  โดยพระครูหลักคำ (กุ) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ รูปที่


และภายในวัดมหาธาตุ ยังมีหอไตรกลางน้ำ ที่สวยงามอีกแห่งด้วย  โดยหอไตร สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2373 โดยพระครูหลักคำ (กุ) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ รูปที่ 3 ตัวอาคารหอไตรสร้างด้วยไม้ตั้งอยู่กลางสระน้ำทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระธาตุอานนท์ เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลาน พร้อมพระไตรปิฏก และตำราต่างๆ ซึ่งพระครูหลักคำ (กุ) เป็นผู้นำมาจากนครเวียงจันทน์ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า 


ทางเดินโดยรอบติดกันใต้ชายคา บริเวณนี้เป็นที่เก็บรักษาตู้พระธรรม หีบพระธรรม 


โดยลักษณะรูปแบบของหอไตร ก็เหมือนกับภาคอีสานทั่วไป มีทางเดินโดยรอบติดกันใต้ชายคา บริเวณนี้เป็นที่เก็บรักษาตู้พระธรรม หีบพระธรรม เสลี่ยงชั้นวางคัมภีร์ซึ่งนำมาจากเวียงจันทน์ ซุ้มประตูและบานประตูไม้สลักลวดลายเครือเถาลงรักปิดทองอย่างสวยงาม การตกแต่งฝาผนังมีลวดลาย ซึ่งเป็นลักษณะผสมแบบภาคกลางสันนิษฐานว่า หอไตรน่าจะสร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 4-5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://www.facebook.com/WatMahathatuyaso/photos/a.490269384401328/490773574350909/?type=3&_rdr

https://yst.onab.go.th/th/content/category/detail/id/110/iid/649

-------------------------------------------------------------------------------------------------

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น