Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

มาม๊ะไปรีวิวเที่ยวยโสธร แวะออนซอนดูงานบุญบั้งไฟ มีที่เที่ยวน่าสนใจอะไรบ้าง ตามไปเบิ่งซูมดู ให้จุ๊กกรูกันเลย

แบ่งปันทริปรีวิวไปเที่ยวจังหวัดยโสธร แวะออนซอนดูเทศกาลประเพณีบุญบั้งไฟ ยิ่งใหญ่ทุกปี ในเมืองนี้ มีสถานที่ท่องเที่ยวอะไรให้ไปเช็คอินถ่ายรูปกันบ้าง ตามไปกันเลย


สวัสดีเพื่อนๆสายเที่ยวทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจทุกๆคนค่ะ ก็กลับมาอีกครั้งค่ะกับบทความบล็อกรีวิวเที่ยวทั่วไทย งามวิไลเริ่ดสะแมนแตน ที่จะพาคุณผู้อ่านไปเที่ยวชื่นชมแหล่งท่องเที่ยวอันสวยงามตระการตาของจังหวัดต่างๆ และหนึ่งในจังหวัดที่เดี๊ยนปักหมุดจะเดินทางไปตั้งนานแล้ว อยากจะไปเที่ยวชมงานบุญบั้งไฟที่จังหวัดยโสธรสักครั้ง แต่ก็ไม่ได้ปักสักที วันหยุดในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านนี้ ได้โอกาสเหมาะเลยชวนที่บ้านไปเที่ยวด้วย 


ในการเดินทางทริปนี้เลยไม่ได้ไปเที่ยวลุยเดี่ยว เหมือนทริปที่ผ่านๆมาค่ะ เพราะว่ามีพี่สาวเป็นโชว์เฟอร์เป็นคนขับรถพาคุณพ่อคุณแม่และหลานๆรวมทั้งตัวเดีียนไปเที่ยวยโสธรในครั้งนี้ด้วยค่ะ โดยทริปนี้เราวางแผนการเดินทางไปเที่ยวกัน 2 วัน 1 คืน แต่ยังเป็นทริปีที่กะทันหันมากๆ เพราะวางแผนกันกระชันชิดมากไป  เนื่องจากเป็นช่วงงานเทศกาลบุญบั้่งไฟ ทำให้โรงแรมที่พักต่างๆในตัวเมืองยุโสธร ถูกจองเต็มหมดล่วงหน้าหมดแล้ว เดี๊ยนเลยต้องไปนอนพักโรงแรมต่างอำเภอแทน และก็ได้พากันเดินทางไปเที่ยวเช็คอินถ่ายรูปตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆกันด้วยค่ะ 


แต่ก่อนที่จะไปดูภาพสถานที่ท่องเที่ยวแต่ละแห่ง เรามารู้จักประวัติความเเป็นมาเล็กๆน้อยเกี่ยวกับประเพณีบุญบั้งไฟกันก่อนสักเล็กน้อยนะคะ


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร (Rocket Festival, Yasothon City)


สาระน่ารู้เกี่ยวกับประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร (Rocket Festival, Yasothon City)

 

สำหรับ ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงหรือภาคอีสานของไทย  ตลอดจนประเทศลาว โดยมีที่มาซึ่งทำให้เกิดประเพณีบุญบั้งไฟนั้น มาจากนิทานพื้นบ้านเรื่องพญาคันคาก เรื่องผาแดงนางไอ่ ซึ่งในนิทานพื้นบ้านดังกล่าวได้กล่าวถึง การที่ชาวบ้านได้จัดงานบุญบั้งไฟขึ้นนั้น ก็เพื่อเป็นการบูชาพญาแถน ซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อว่า พญาแถนมีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล และมีความชื่นชอบไฟเป็นอย่างมาก หากหมู่บ้านใดไม่จัดทำการจัดงานบุญบั้งไฟบูชา ฝนก็จะไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล อาจก่อให้เกิดภัยพิบัติกับหมู่บ้านได้  (ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2256 เป็นต้นมา) มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะที่ อำเภอสุวรรณภูมิ ที่มีการจัดงานในทุกวันเสาร์ และวันอาทิตย์ในสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายนในทุกปี ซึ่งเป็นงานที่มีบั้งไฟเอ้สวยงามขนาดใหญ่มากที่สุด (ลายศรีภูมิ หรือ ลายกรรไกรตัด) รวมทั้งขบวนรำสวยงามมากที่สุดของประเทศ 


ซึ่งการจัดงานประเพณีบั้งไฟในอดีต และปัจจุบัน ในพื้นที่จังหวัดยโสธร และจังหวัดร้อยเอ็ด มีความโดดเด่น และเก่าแก่มานาน อายุไม่ต่ำกว่า 300 ปี

และในการจัดงานประเพณีบั้งไฟในอดีต และปัจจุบัน ในพื้นที่จังหวัดยโสธร และจังหวัดร้อยเอ็ด มีความโดดเด่น และเก่าแก่ มานาน อายุไม่ต่ำกว่า 300 ปี


ในภาษาถิ่นอีสานจึงเรียกว่า บั้งไฟ ซึ่งหมายถึงดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง 

ในภาษาถิ่นอีสานจึงเรียกว่า บั้งไฟ ซึ่งหมายถึงดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง มีหางยาวเอาดินประสิวมาคั่วกับถ่านไม้ตำให้เข้ากันจนละเอียดเรียกว่า หมื่อ (ดินปืน) และเอาหมื่อนั้นใส่กระบอกไม้ไผ่ตำให้แน่นเจาะรูตอนท้ายของบั้งไฟ เอาไผ่ท่อนอื่นมัดติดกับกระบอกให้ใส่หมื่อโดยรอบ เอาไม้ไผ่ยาวลำหนึ่งมามัดประกบต่อออกไปเป็นหางยาว สำหรับใช้ถ่วงหัวให้สมดุลกัน เรียกว่า “บั้งไฟ” 



พิธีบูชาแถน หรือพญาแถน ซึ่งเป็นเทพที่ชาวอีสานให้ความเคารพนับถือ  การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน ชาวอีสานจำนวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน 

ประวัติและที่มาของพิธีบูชาแถน หรือพญาแถน ซึ่งเป็นเทพที่ชาวอีสานให้ความเคารพนับถือ  การจุดบั้งไฟก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงความเคารพหรือส่งสัญญาณความภักดีไปยังแถน ชาวอีสานจำนวนมากเชื่อว่าการจุดบั้งไฟเป็นการขอฝนจากพญาแถน และมีนิทานปรัมปราเช่นนี้อยู่ทั่วไป แต่ความเชื่อนี้ยังไม่พบหลักฐานที่แน่นอน นอกจากนี้ในวรรณกรรมอีสานยังมีความเชื่ออย่างหนึ่งคือ เรื่องพญาคันคาก หรือคางคก พญาคันคากได้รบกับพญาแถนจนชนะแล้วให้พญาแถนบันดาลฝนลงมาตกยังโลกมนุษย์


โดยความหมายของคำว่า “บั้งไฟ” ในภาษาถิ่นอีสานมักจะสับสนกับคำว่า “บ้องไฟ” แต่ที่ถูกนั้นควรเรียกว่า”บั้งไฟ”ดังที่ เจริญชัย ชนไพโรจน์ ได้อธิบายความแตกต่างของคำทั้งสองไว้ว่า บั้งหมายถึง สิ่งที่เป็นกระบอก เช่น บั้งทิง สำหรับใส่น้ำดื่ม หรือบั้งข้าวหลาม เป็นต้น


ขบวนรถแห่บุญบั้งไฟที่ประดับตกแต่งเป็นเรือนวิมานพญาแถนอย่างสวยงาม วิจิตรตระการตา


่และส่วนคำว่า บ้อง หมายถึง สิ่งของใด ๆ ก็ได้ที่มี 2 ชิ้น มาสวมหรือประกอบเข้ากันได้ ส่วนนอกเรียกว่า บ้อง ส่วนในหรือสิ่งที่เอาไปสอดใสจะเป็นสิ่งใดก็ได้ เช่น บ้องมีด บ้องขวาน บ้องเสียม บ้องวัว บ้องควาย


 บั้งไฟ คือการนำเอากระบอกไม้ไผ่ เลาเหล็ก ท่อเอสลอน หรือเลาไม้อย่างใดอย่างหนึ่งมาบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ตามอัตราส่วนที่ช่างกำหนดไว้แล้วประกอบท่อนหัวและท่อนหางเป็นรูปต่าง ๆ


ในทัศนะของผู้วิจัย บั้งไฟ คือการนำเอากระบอกไม้ไผ่ เลาเหล็ก ท่อเอสลอน หรือเลาไม้อย่างใดอย่างหนึ่งมาบรรจุหมื่อ (ดินปืน) ตามอัตราส่วนที่ช่างกำหนดไว้แล้วประกอบท่อนหัวและท่อนหางเป็นรูปต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เพื่อนำไปจุดพุ่งขึ้นสู่อากาศ จะมีควันและเสียงดัง บั้งไฟมีหลายประเภท ตามจุดมุ่งหมายของประโยชน์ในการใช้สอย


ปัจจุบันมีการจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟที่มีชื่อเสียงและยิ่งใหญ่ในระดับประเทศมีทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ ประเพณีบุญบั้งไฟยโสธร ,ประเพณีบุญบั้งไฟสุวรรณภูมิ ,ประเพณีบุญบั้งไฟพนมไพร และประเพณีบุญบั้งไฟตะไลล้านกุดหว้า โดยทั้งนี้การจัดงานประเพณีบุญบั้งไฟ ของ จังหวัดยโสธร ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ในการประชาสัมพันธ์งานประเพณี เป็นที่รู้จักแก่ชาวไทย และต่างประเทศ นับแต่ ปี 2523 ซึ่งงานประเพณีบุญบั้งไฟจังหวัดยโสธร จะจัดขึ้นในวันเสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ที่สองของเดือนพฤษภาคมในทุกปี โดยทั้งนี้ ในงานที่จัดของจังหวัดยโสธร ยังมีความโดดเด่น ในวันก่อนแห่มีการประกวดกองเชียร์ จำนวนมาก รวมทั้ง วันแห่บั้งไฟ จะมีขบวนบั้งไฟแบบโบราณ และการรำเซิ้งแบบโบราณ จากทั้ง 9 อำเภอของจังหวัดยโสธร เข้าร่วมด้วย เเละยังมีขบวนแห่สวยงาม จาก 9 คุ้มวัด ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกด้วย


การจัดงานบุญบั้งไฟอย่างยิ่งใหญ่ เป็นเอกลักษณ์เเละมีความเก่าเเก่เเละต่อเนื่องมาอย่างยาวนานมากที่สุดเเห่งหนึ่งของภาคอีสานเเละของประเทศไทยด้วย


การจัดงานบุญบั้งไฟอย่างยิ่งใหญ่ เป็นเอกลักษณ์เเละมีความเก่าเเก่เเละต่อเนื่องมาอย่างยาวนานมากที่สุดเเห่งหนึ่งของภาคอีสานเเละของประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นงานประเพณีที่ดึงดูดเเละเป็นศูนย์รวมให้ลูกหลานเมืองศรีภูมิหรือเครือข่ายลูกหลานเจ้าเเก้วมงคล (บรรพชนกลุ่มใหญ่ของภาคอีสาน) ที่มีอยู่ทั่วภาคอีสานเเละประเทศไทยให้กลับมาเยี่ยมเยือนถิ่นเก่าของบรรพชน ซึ่งได้ขึ้นชื่อว่าเป็น เมืองบรรพบุรุษของชาวอีสาน 

ภายหลังจะมีการอพยพเเยกกันออกไปสร้างเมืองเเละชุมชนต่างๆมากมายทั่วภาคอีสาน นับได้ว่าเป็นศูนย์รวมทางจิตใจให้เเก่ลูกหลานชาวอีสานได้มากมายเลยทีเดียว

ก่อนที่ภายหลังจะมีการอพยพเเยกกันออกไปสร้างเมืองเเละชุมชนต่างๆมากมายทั่วภาคอีสาน นับได้ว่าเป็นศูนย์รวมทางจิตใจให้เเก่ลูกหลานชาวอีสานได้มากมายเลยทีเดียว อำเภอพนมไพร ที่มีการจัดงานในทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ของทุกปี ตามรูปแบบประเพณีดั้งเดิมตามฮีตสิบสองคองสิบสี่(งานบุญประจำเดือนทุกเดือนในแต่ละปี)โดยมีการจุดบั้งไฟถวายมากที่สุดในประเทศ โดยในแต่ละปีจะมีบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสน บั้งไฟล้าน รวมกันกว่า 1,000 บั้ง ซึ่งในการจัดการแข่งขันบั้งไฟมีขบวนแห่ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารีอีกด้วย


โดยตั้งเเต่ งานประเพณีบุญบั้งไฟสุวรรณภูมิ 2567 เป็นต้นไป จะมีขบวนแห่รำเซิ้งสวยงาม ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะมีการถูกจัดขึ้นเป็นครั้งเเรกในปี พ.ศ. 2567 ให้สมเกียรติกับดินเเดนที่มีการจัดงานบุญบั้งไฟอย่างยิ่งใหญ่ เป็นเอกลักษณ์เเละมีความเก่าเเก่เเละต่อเนื่องมาอย่างยาวนานมากที่สุดเเห่งหนึ่งของภาคอีสานเเละของประเทศไทย


(เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/บุญบั้งไฟ)


สรุปรีวิวโปรแกรมเที่ยวยโสธร 2 วัน 1 คืนแบบกระชันชิด เพื่อไปชมเทศกาลบุญบั้งไฟ มีดังนี้จ้า


--วันที่ 1  (Day 1)--


ออกเดินทางมาถึงงยโสธรตั้งแต่เช้ามืดเลยจ้า 


ทริปนี้พี่สาวเป็นโชว์เฟอร์ขับรถเดินทางมาถึงจังหวัดยโสธรตั้งแต่ตอนเช้าเลยค่ะ 

ทานส้มตำกันหลายๆคนแซ่บอีหลีขนาดเจ้า 

ก่อนจะเดินทางไปเที่ยวก็เติมพลัง หาอะไรทานก่อนคะ่  แวะร้านอาหารขายส้มตำไก่ย่างริมทาง มื้อนี้ทานกันหลายยคน ก็สั่งไก่ย่าง ปลาเผา ส้มตำมาทาน เรียกว่าทานกันหลายๆคนแซ่บอีหลีขนาดเจ้า 



ทานอิ่มแล้วก็ออกเดินทางกันต่อค่ะ หนทางอีกไม่ไกลค่ะ เพราะเข้าเขตจังหวัดยโสธรแล้ว และช่วงที่เดินทางมาเที่ยว ท้องฟ้าดูครึ้มๆ ทำท่าดูฝนจะตกค่ะ 


เดินทางเข้ามาในหมู่บ้านสิงท่าในเมืองยโสธร  เพือวนหาที่จอดรถ ไปถามชาวบ้านใกล้เคียงบอกว่าให้ไปจอดใกล้ๆงานตรงที่ว่าการอำเภอ จะมีที่จอดอยู่


ผ่านตึกเก่าแก่ย่านการค้าเก่าแก่ในเมืองยโสธร ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านสิงห์ท่า จะเห็็นอาคารสถาปัตยกรรมที่ยังคงถูกอนุรักษ์ไว้อย่างดี


เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาล เลยหาที่จอดยากนิดนึง สรุปแล้วก็ได้จอดรถที่วัดมหาธาตุในเมืองยโสธร มีที่จอดรถว่างอยู่พอดีค่ะ และในวัดแห่งนี้ก็มีพระธาตุอานนท์ ซึ่งเป็นพระธาตุเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองยโสธรเช่นกัน ใหนๆมาถึงก็ไปไหว้สักหน่อยค่ะ 



มาเดินเก็บภาพบรรยากาศขบวนแห่งานบุญบั้งไฟประจำปี 2567 มาให้ชมกันบางส่วนค่ะ เพราะไม่สามารถเดินฝ่าดงผู้คนเข้าไปแสดงด้านในได้ เนื่องจากคนเยอะมาก  เดี๊ยนก็เลยยืนรอเขาเดินแห่ออกมาค่ะ

เก็บตกบรรยากาศขบวนงานบุญบั้งไฟยโสธรประจำปี 2567 เก็บเป็นบันทึกไดอารีไว้เปิดดู ยามหวนคิดถึงคนึงหา ว่าเคยมาเมืองนี้แล้วหนา ช่ะช่ะช่าหัวใจ


เก็บตกบรรยากาศขบวนงานบุญบั้งไฟยโสธรประจำปี 2567 เก็บเป็นบันทึกไดอารีไว้เปิดดู ยามหวนคิดถึงคนึงหา ว่าเคยมาเมืองนี้แล้วหนา ช่ะช่ะช่าหัวใจ

เก็บตกบรรยากาศขบวนงานบุญบั้งไฟยโสธรประจำปี 2567 เก็บเป็นบันทึกไดอารีไว้เปิดดู ยามหวนคิดถึงคนึงหา ว่าเคยมาเมืองนี้แล้วหนา ช่ะช่ะช่าหัวใจ

เก็บตกบรรยากาศขบวนงานบุญบั้งไฟยโสธรประจำปี 2567 เก็บเป็นบันทึกไดอารีไว้เปิดดู ยามหวนคิดถึงคนึงหา ว่าเคยมาเมืองนี้แล้วหนา ช่ะช่ะช่าหัวใจ

เก็บตกบรรยากาศขบวนงานบุญบั้งไฟยโสธรประจำปี 2567 เก็บเป็นบันทึกไดอารีไว้เปิดดู ยามหวนคิดถึงคนึงหา ว่าเคยมาเมืองนี้แล้วหนา ช่ะช่ะช่าหัวใจ

งานบุญบั้งไฟนั้นเป็นงานมงคล นอกจากเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมายาวนานแล้ว ยังเป็นประเพณีที่มีแต่ความสนุกสนาน แบบฉบับชาวอีสานบ้านเฮ้าอีหลีเน้อเจ้า 
งานบุญบั้งไฟนั้นเป็นงานมงคล นอกจากเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมายาวนานแล้ว ยังเป็นประเพณีที่มีแต่ความสนุกสนาน แบบฉบับชาวอีสานบ้านเฮ้าอีหลีเน้อเจ้า 


งานบุญบั้งไฟนั้นเป็นงานมงคล นอกจากเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมายาวนานแล้ว ยังเป็นประเพณีที่มีแต่ความสนุกสนาน แบบฉบับชาวอีสานบ้านเฮ้าอีหลีเน้อเจ้า 


งานบุญบั้งไฟนั้นเป็นงานมงคล นอกจากเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดมายาวนานแล้ว ยังเป็นประเพณีที่มีแต่ความสนุกสนาน แบบฉบับชาวอีสานบ้านเฮ้าอีหลีเน้อเจ้า 


ขบวนแห่บั้งไฟพญานาค ซึ่งจะนำไปจุดขึ้นฟ้าเพื่อขอฝนจากพญาแถน





ขบวนแห่รถแสดงบั้งไฟพญานาค ที่จัดตกแต่งอย่างสวยงามตระการตา มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

ขบวนแห่รถแสดงบั้งไฟพญานาค ที่จัดตกแต่งอย่างสวยงามตระการตา มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

ขบวนแห่รถแสดงบั้งไฟพญานาค ที่จัดตกแต่งอย่างสวยงามตระการตา มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

ขบวนแห่รถแสดงบั้งไฟพญานาค ที่จัดตกแต่งอย่างสวยงามตระการตา มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

ขบวนแห่รถแสดงบั้งไฟพญานาค ที่จัดตกแต่งอย่างสวยงามตระการตา มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์

แต่ละขบวนที่นำมาจัดแสดงก็มีความสวยงามไม่แพ้กันค่ะ



นอกจากบั้่งไฟอันใหญ่ที่จัดอยู่ในรถแห่แล้ว ยังมีบั้งไฟอันเล็กๆที่สามารถจุดเพื่อขอฝนจากพญาแถนได้เช่นกัน มีขายในงานด้วย ราคาไม่แพงค่ะ 

นอกจากบั้่งไฟอันใหญ่ที่จัดอยู่ในรถแห่แล้ว ยังมีบั้งไฟอันเล็กๆที่สามารถจุดเพื่อขอฝนจากพญาแถนได้เช่นกัน มีขายในงานด้วย ราคาไม่แพงค่ะ 


เดินไปเดินไป เห็นแม้ค้าหาบส้มตำขายตามงาน เป็นตาแซ่บอีหลีเด้อ เห็นแล้วเปรี้ยวปากค่ะ 

ใน 1 หาบ ซึ่งมี 2 กระเฌอ หนึ่ง่กระเฌอใส่ครกและเครื่องปรุง อีกหนึ่งกระเฌอก็ใส่ผัก

โดยเฉพาะใน 1 หาบ ซึ่งมี 2 กระเฌอ หนึ่ง่กระเฌอใส่ครกและเครื่องปรุง อีกหนึ่งกระเฌอก็ใส่ผัก ซึงมีเมนูให้ทาน ทั้งตำแตง ตำกะท้อน ตำหมากหุง ราคาถูกๆ ไม่แพงด้วยนะคะ ช่วยอุดหนุนแม่ค้าสักหน่อย 


หลังจากไปเที่ยวชมงานขบวนแห่บั้งไฟแล้ว ก็เดินทางไปเที่ยวชมสถานที่ต่างๆในเมืองยโสธรกันต่อค่ะ 

แนะนำที่เที่ยวยอดนิยมในตัวเมืองยโสธร ที่ต้องเดินทางไปเช็คอินถ่ายรูปกันมีดังนี้ค่ะ

1.วัดมหาธาตุ เมืองยโสธร  ประดิษฐพระธาตุอานนท์ พระธาตุเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองยโสธร

1.วัดมหาธาตุ เมืองยโสธร  ประดิษฐพระธาตุอานนท์ พระธาตุเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองยโสธร

1.วัดมหาธาตุ เมืองยโสธร  ประดิษฐพระธาตุอานนท์ พระธาตุเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองยโสธร

1.วัดมหาธาตุ เมืองยโสธร  ประดิษฐพระธาตุอานนท์ พระธาตุเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองยโสธร 

หอไตรกลางน้ำภายในวัดมหาธาตุ ศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ สร้างด้วยไม้หันหน้าไปทางทิศใต้ในผังสี่เหลี่ยมจัตุรัส





1.วัดมหาธาตุ เมืองยโสธร 

วัดมหาธาตุ ถือเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองยโสธรมาตั้งแต่แรกสร้างเมือง ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมืองยโสธร ซึ่งภายในวัดมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์ หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง พระพุทธปรูปบูชาประจำเมืองที่มีขนาดเล็กที่สุดในประเทศไทย , พระธาตุอานนท์ พระเจดีย์ที่บรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์แห่งเดียวในประเทศไทย และหอไตรกลางน้ำที่มีศิลปะงดงามอย่างยิ่ง  

พระธาตุอานนท์หรือพระธาตุยโสธร ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถ เป็นพระธาตุเก่าแก่ที่สำคัญองค์หนึ่งในภาคอีสาน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1218 ผู้ก่อสร้างคือ เจตตานุวิน และ จินดาชานุ ชาวเวียงจันทน์ กับ เอียงเวธา ชาวขอม เมื่อสร้างเสร็จจึงอัญเชิญพระอัฐิของ พระอานนท์ มาบรรจุไว้ ซึ่งพระอัฐิของพระอานนท์ที่นำมาบรรจุใน พระธาตุอานนท์ นั้น ถูกบรรจุไว้ในผอบ ชั้นนอกเป็นหีบเงิน 3 ชั้น ชั้นถัดไปเป็นหีบทอง 7 ชั้น ถัดจากนั้นเป็นหีบแก้วไพฑูรย์ 2 ชั้น (รวมเป็นหีบ 12 ชั้น) แล้วมีผ้ากะจ๋าคำ(ผ้าลายทอง) ห่อไว้อีก 500 ชั้น ถัดเข้าไปเป็นผ้าสีขาวอ่อนนุ่มเหมือนสำลีห่อพระอัฐิธาตุอยู่


2.ชุมชนเก่าบ้านสิงห์ท่า ชมอาคารสถาปัตยกรรมโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่ให้เห็นถึงปัจจุบัน

2.ชุมชนเก่าบ้านสิงห์ท่า ชมอาคารสถาปัตยกรรมโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่ให้เห็นถึงปัจจุบัน

2.ชุมชนเก่าบ้านสิงห์ท่า ชมอาคารสถาปัตยกรรมโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่ให้เห็นถึงปัจจุบัน

2.ชุมชนเก่าบ้านสิงห์ท่า ชมอาคารสถาปัตยกรรมโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่ให้เห็นถึงปัจจุบัน



2.ชุมชนเก่าบ้านสิงห์ท่า ชมอาคารสถาปัตยกรรมโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่ให้เห็นถึงปัจจุบัน



2.ชุมชนเก่าบ้านสิงห์ท่า ชมอาคารสถาปัตยกรรมโบราณที่ยังคงหลงเหลืออยู่ให้เห็นถึงปัจจุบัน

สำหรับ ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า ตั้งอยู่ภายในเขตเทศบาลเมืองยโสธร เป็นย่านการค้าตั้งแต่สมัยโบราณ และได้เจริญขึ้นเมื่อสมัยฝรั่งเศสเข้ามามีอิทธิพลมาก   ช่วงนั้นเองผู้ที่มีฐานะดีได้มีการนำช่างฝีมือจากเวียดนามจำนวนมากเข้ามาสร้างบ้านเรือน ทำให้บ้านเรือนมีรูปแบบศิลปกรรมแบบจีนผสมยุโรปที่งดงาม ปัจจุบันยังคงเหลือให้เห็นสองข้างทางของถนนศรีสุนทร ถนนนครทุม ถนนอุทัยรามฤทธิ์ และถนนวิทยธำรง บางแห่งยังคงความสมบูรณ์อยู่มาก บ่งบอกถึงบรรยากาศของความเป็นอดีต สร้างเสน่ห์ให้บ้านสิงห์ท่าสวยงามเป็นเอกลักษณ์ ปัจจุบันยังคงเหลือให้เห็นบนสองข้างทาง ตึกแถวโบราณที่มีรูปทรงและลวดลายงดงาม และได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี ซึ่งเหมาะแก่การท่องเที่ยว ด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองอีกแห่งหนึ่ง


3.พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก (Phaya Khan Khak Museum, Giant Toad Museum) 

3.พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก (Phaya Khan Khak Museum, Giant Toad Museum) 

3.พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก (Phaya Khan Khak Museum, Giant Toad Museum) 

3.พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก (Phaya Khan Khak Museum, Giant Toad Museum) 

3.พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก (Phaya Khan Khak Museum, Giant Toad Museum) 

3.พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก (Phaya Khan Khak Museum, Giant Toad Museum) 

3.พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก (Phaya Khan Khak Museum, Giant Toad Museum) 

3.พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก (Phaya Khan Khak Museum, Giant Toad Museum) 



3.พิพิธภัณฑ์พญาคันคาก (Phaya Khan Khak Museum, Giant Toad Museum) 

หนึ่งในแลนด์มาร์คอีกแห่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวแวะเยือนเมืองยโสธรอย่างไม่ขาดสาย อาคารรูปทรงคางคกมีความสูงกว่า 19 เมตร หันหน้าไปทางอ่างเก็บน้ำลำทวน มีความโดดเด่น กลายเป็นจุดเช็คอินและสถานที่ท่องเที่ยวของเมืองยโสธร ที่ต้องห้ามพลาดไปกัน  ตั้งอยู่ริมอ่างเก็บน้ำลำทวน บริเวณอุทยานสวรรค์วิมานพญาแถน ลักษณะเป็นอาคารจำลองรูปร่างพญาคันคาก หรือคางคกตัวใหญ่ สูง 19 เมตร

ภายในพิพิธภัณฑ์พญาคันคาก ประกอบด้วยพื้นที่จัดนิทรรศการจำนวน 5 ชั้น ได้แก่ ชั้นที่ 1 แสดงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองยโสธร ชั้นที่ 2 ตำนานพญาแถนและพญาคันคาก ชั้นที่ 3 ตำนานและเรื่องราวของบั้งไฟ ชั้นที่ 4 อัตลักษณ์เมืองยโสธร และชั้นที่ 5 จุดชมวิวเมืองยโสธร เปิดทุกวันพุธ-วันจันทร์ (ปิดวันอังคาร ยกเว้นวันอังคารที่ตรงกับวันนักขัตฤกษ์) วันธรรมดา เวลา 09.00-12.00 น. และ 15.00-18.00 น. วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 09.00-12.00 น. และ 13.00-19.00 น. อัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท

4.พิพิธภัณฑ์พญานาค จัดแสดงนิทรรศการภาพตำนานและความเชื่องูใหญ่ทั่วโลก

4.พิพิธภัณฑ์พญานาค จัดแสดงนิทรรศการภาพตำนานและความเชื่องูใหญ่ทั่วโลก

4.พิพิธภัณฑ์พญานาค จัดแสดงนิทรรศการภาพตำนานและความเชื่องูใหญ่ทั่วโลก

4.พิพิธภัณฑ์พญานาค จัดแสดงนิทรรศการภาพตำนานและความเชื่องูใหญ่ทั่วโลก

4.พิพิธภัณฑ์พญานาค จัดแสดงนิทรรศการภาพตำนานและความเชื่องูใหญ่ทั่วโลก

4.พิพิธภัณฑ์พญานาค จัดแสดงนิทรรศการภาพตำนานและความเชื่องูใหญ่ทั่วโลก

4.พิพิธภัณฑ์พญานาค จัดแสดงนิทรรศการภาพตำนานและความเชื่องูใหญ่ทั่วโลก




4.พิพิธภัณฑ์พญานาค จัดแสดงนิทรรศการภาพตำนานและความเชื่องูใหญ่ทั่วโลก

พิพิธภัณฑ์พญานาค เป็นมากกว่าวังบาดาล แหล่งนิทรรศการภาพ 4 D  ตำนานและความเชื่องูใหญ่ทั่วโลก พิพิธภัณฑ์พญานาค ตั้งอยู่ ณ วิมานพญาแถน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เป็นอาคารรูปทรงพญานาคที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในโลก ขนาดความสูง 29 เมตร ยาว 111.5  เมตร กว้าง 5 เมตร พื้นที่ใช้สอย 560 ตารางเมตร นาคเศียรเดียวพ่นน้ำลงลำน้ำทวน บริเวณภูมิทัศน์รอบตัวพญานาคจำลองเป็นก้อนเมฆสีฟ้าโดยรอบ รวมทั้งลำน้ำทวน

ภายในตัวอาคารพิพิธภัณฑ์พญานาค สื่อสารบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาตำนานพญานาคและงูใหญ่ทั่วโลก และความเชื่อ จารีตประเพณีสำคัญของภาคอีสานกับพญานาค รวมทั้งตำนานงูใหญ่ทั่วโลก ทั้งนี้การจัดแสดงนิทรรศการในรูปแบบ ภาพ 4 มิติ หรือ 4 D โดยแบ่งเป็นโถงๆ 
 โถง 1 - เป็นเรื่องราวกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาค ( ตำนานงูใหญ่ทั่วโลก )   
 โถง 2  -  พญานาคกับพระพุทธศาสนา นาคในคติพราหมณ์ฮินดู และพุทธโถง 
โถง 3  -  ตำนานการเกิดแม่น้ำโขง รับรู้เรื่องราวการกำเนิดแม่น้ำโขงโดยพญานาค 
โถง  4  ความเชื่อ –จารีตประเพณีกับพญานาค
โถง 5 – ชีววิทยาเกี่ยวกับพญานาคในรูปแบบของงูเพื่อให้เข้าใจเรื่องราวของงูแบบรอบด้าน



5. พระธาตุก่องข้าวน้อย 

5. พระธาตุก่องข้าวน้อย 

5. พระธาตุก่องข้าวน้อย 

5. พระธาตุก่องข้าวน้อย 

5. พระธาตุก่องข้าวน้อย 

5. พระธาตุก่องข้าวน้อย 



5. พระธาตุก่องข้าวน้อย 


พระธาตุตาดทอง หรือ พระธาตุถาดทอง หรือที่นิยมเรียกกันว่า ธาตุก่องข้าวน้อย ตั้งอยู่ในกลางทุ่งนาของบ้านตาดทอง ตำบลตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กิโลเมตร พระธาตุตาดทองจากรูปแบบสถาปัตยกรรมสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 24 และอาจจะมีความเกี่ยวเนื่องกับนิทานพื้นบ้านเล่าสืบกันมาว่า เมื่อผู้คนในแถบอำเภอรัตนบุรีทราบข่าวการบูรณะพระธาตุพนม จึงพร้อมใจกันรวบรวมวัตถุมงคลสิ่งมีค่าเพื่อนำไปบรรจุไว้ในพระธาตุพนม แต่เมื่อเดินทางถึงบ้านตาดทองได้พบกับชาวบ้านสะเดา ตำบลตาดทอง ที่ไปช่วยบูรณะพระธาตุเดินทางกลับมาบ้านเพราะการบูรณะพระธาตุพนมได้เสร็จสิ้นแล้ว ผู้คนเหล่านั้นจึงพร้อมใจกันสร้างเจดีย์บรรจุของมีค่าที่ตนนำมา ชาวบ้านสะเดาจึงนำถาดทองที่ใช้อัญเชิญของมีค่านำไปบรรจุในพระธาตุพนม มารองรับของมีค่าที่ชาวอำเภอรัตนบุรีที่จะนำไปบรรจุไว้ในเจดีย์ที่กำลังสร้าง จึงเรียก พระธาตุตาดทอง หรือ พระธาตุถาดทอง


ส่วนของฝากที่ยโสธร ก็โดดเด่นจำพวกเครื่องจักรสาน อาทิเช่น หวด กระติกข้าวเหนียว ก็ถือเป็นของฝากขึ้นชื่อ อีกทั้งราคาก็ไม่ได้แพงด้วย 


หลังจากได้เดินทางไปท่องเที่ยวตามจุดเช็คอินที่เที่ยวต่างๆในเมืองยโสธรแล้ว ในส่วนของที่พัก ทริปนี้เดี๊ยนพาครอบครัวไปนอนพักกันที่โรงแรมโฮมรูม จันทร์หอม ที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว ซึ่งห่างจากตัวเมืองยโสธรประมาณ 30 กิโลเมตร 

เนื่องจากห้องพักในเมืองเต็มหมด เราเลยต้องเดินทางมาพักนอกเมืองกันไกลเลยคะ่ แต่ว่าก็ได้ห้องราคาถูก ประหยัด ไม่แพงด้วยนะคะ 
ราคาห้องพักตกคืนละ 690 บาท สำหรับนอน 3 คน 


ส่วนของกินก็อยู่ไม่ไกลจากที่พักมากนัก เดินข้ามถนนใหญ่ไป ก็จะเป็นตลาดโต้รุ่งเล็กๆค่ะ มีอาหารให้กินให้เลือกทานเช่นกัน และช่วงเย็นฝนตกหนักมาก ก็เลยไปซื้ออาหารตามสั่งง่ายๆมาทานที่ห้องพัก เป็นอันจบทริปหมดไป 1 วันค่ะ


---วันที่ 2 (Day 2)--



ตื่นแต่เช้า เช็คเอาท์ออกจากโรงแรมที่อำเภอคำเขื่อนแก้ว เดินทางไปเที่ยวกันต่อที่จังหวัดร้อยเอ็ดค่ะ  แวะทานอาหารเช้าง่ายๆก่อนค่ะ 


ส่วนมื้อเช้านี้เดี๊ยนทานก๊วยจั๊บญวน ส่วนคนอื่นๆ ทานต้มจืดเลือดหมูกัน


เดินทางจากยโสธรมาที่ร้อยเอ็ด ประมาณ 66 กิโลเมตร 


เพื่อเดินทางเที่ยวชมหอโหวต ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและแลนด์มาร์คแห่งใหม่ของจังหวัดร้อยเอ็ด ที่ต้องไปเช็คอินกัน 

แวะมาเที่ยวชมหอโหวดเมืองร้อยเอ็ด สถานที่ท่องเที่ยวแลนด์มาร์คแห่งใหม่ประจำจังหวัดร้อยเกิน

แวะมาเที่ยวชมหอโหวดเมืองร้อยเอ็ด สถานที่ท่องเที่ยวแลนด์มาร์คแห่งใหม่ประจำจังหวัดร้อยเกิน

หอชมเมืองร้อยเอ็ด หรือ หอโหวด 101

หอชมเมืองร้อยเอ็ด หรือ หอโหวด 101

หอชมเมืองร้อยเอ็ด หรือ หอโหวด 101

จุดชมวิวบนหอชมเมืองร้อยเอ็ด หรือ หอโหวด 101

สามารถมองเห็นทัศนียภาพเมืองร้อยเอ็ดได้อย่างทั่วถึง 

หอชมเมืองร้อยเอ็ด หรือ หอโหวด 101


หอชมเมืองร้อยเอ็ด หรือ หอโหวด 101 เป็นหอคอยอยู่ในจังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งอยู่ภายในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ร้อยเอ็ด บริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดและบึงพลาญชัย เปิดทำการเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2563 มีพื้นที่ใช้สอยจริงจำนวน 12 ชั้น เทียบเท่าความสูงของตึก 35 ชั้น มีความสูง 123 เมตร รวมพื้นที่ทั้งหมด 3,621 ตารางเมตร หอชมเมืองหรือหอโหวด ๑๐๑ ตั้งชื่อตามเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน "โหวด" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำจังหวัดและถูกนำมาออกแบบเป็นรูปทรงของอาคาร และชื่อจังหวัด "๑๐๑" ภายในอาคารประดับตกแต่งโดยสอดแทรกเรื่องราวท้องถิ่นกับความร่วมสมัย เช่น ดอกอินทนิลบก ดอกไม้ประจำจังหวัด ที่ทำจากคริสตัล

ก่อนจะมีหอโหวด ถ้ามาร้อยเอ็ด จุดเด่นที่สูดก็คือ พระสูงใหญ่ที่วัดบูรพาภิรามแห่งนี้ นี่แหล่ะค่ะ

และหลังจากไปเที่ยวชมวิวที่หอโหวดชมเมืองร้อยเอ็ดแล้ว อีกหนึ่งแห่งที่ไม่พลาดไปก็คือไปไหว้พระเจ้าใหญ่  ซึ่งก่อนจะมีหอโหวด ถ้ามาร้อยเอ็ด จุดเด่นที่สูดก็คือ พระสูงใหญ่ที่วัดบูรพาภิรามแห่งนี้ นี่แหล่ะค่ะ ภายในวัดประดิษฐาน พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือพระเจ้าใหญ่ ที่สามารถมองเห็นแต่ไกล


ไหว้พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือพระเจ้าใหญ่ ก่อนจะเดินทางกลับจ้า


และสำหรับเพื่อนๆคนใหนที่วางแผนจะลัดเลาะมาเที่ยวร้อยเอ็ด ก็อย่าลืมแวะมาไหว้พระทำบุญและเช็คอินที่วัดบูรพาภิรามกันนะคะ   สำหรับบทความเดินทางรีวิวเที่ยวงานบุญบั้งไฟกับทริปสั้นๆ 2 วัน 1 คืน  ที่ได้นำเสนอในบทความนี้ น่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อย ขอบพระคุณที่เข้ามาอ่านกันค่ะ จากคุณนายเว่อร์ เทอร์ชอบเที่ยวกินนอน 

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น