Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

มีอะไรซ่อนไว้ที่ วัดพุทไธศวรรย์ ตามรอยละครดัง ไปวัดที่สร้างขึ้นตั้งแต่ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา อายุกว่า 670 ปี

เที่ยวเมืองไทย ไม่ไปไม่รู้ แวะไปรู้จัก วัดพุทไธศวรรย์ วัดเก่าแก่ที่สุดอีกแห่ง สร้างตั้งแต่ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี มีประวัติความเป็นมาอย่างไร นำมาให้อ่านกันจ้า


สวัสดีเพื่อนๆสายเที่ยวทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจ งามวิไลเริ่ดสะแมนแตนกันทุกๆคนค่ะ กลับมาอีกครั้งกับบทความน่ารู้เกี่ยวกับโบราณสถาน แหล่งท่องเที่ยวทั่วฟ้าเมืองไทย ที่จะสรรหาสาระเล็กๆน้อย มาให้ได้อ้อยสร้อย อ่านฆ่าเวลากันจ้า ช่วงนี้กระแสออเจ้าจากละครดัง กลับมาทวงบัลลังค์ ปังปุริเยสืบไปอีกครั้ง ทำให้การท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลับมาลั๊ลลาคึกคักอีกครั้ง และหนึ่งในวัดสำคัญโดดเด่นอีกแห่ง ที่ใครไปเที่ยวอยุธยา ไม่พลาดไปกันให้ได้ นั้นก็คือ วัดพุทไธศวรรย์ วัดเก่าแก่มีความสวยงามโดดเด่นติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา และอยู่ในฉากละครของออเจ้า ที่แม่การะเกดมากราบไหว้ด้วย ทำให้ใครก็ต้องปักหมุดไปกัน ซึ่งวัดแห่งนี้ จัดว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญและมีประวัติเป็นมาน่าสนใจไม่น้อย มีอะไรซ่อนไว้ตามอาคารสถานที่ และโบราณสถานด้านในวัด ที่ต้องไปชมด้วยตาตัวเองสักครั้งด้วย  


และเพื่อไม่ให้บทความนี้ร้างไป หลังจากเลิกงานประจำมาวันนี้ คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า เลยขอมาแบ่งปันสาระน่ารู้เกี่ยวกัย วัดพุทไธศวรรย์ มาให้เพื่อนๆเหล่าผู้รักและหลงใหลในประวัติศาสตร์ชาติไทย มาให้ได้อ่านกันจ้า 



สาระน่ารู้เกี่ยวกับ วัดพุทไธศวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (Wat Phutthaisawan Temple, Ayutthaya Historical Park)


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของ วัดพุทไธศวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (Wat Phutthaisawan Temple, Ayutthaya Historical Park)


สำหรับ วัดพุทไธศวรรย์ ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในวัดสำคัญและมีอายุเก่าแก่กว่า 670 ปี ด้วยเป็นวัดที่สร้างขึ้นตั้งแต่ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งตัววัดตั้งอยู่ที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ในตำบลสำเภาล่ม อำเภอพระนครศรีอยุธยา


จัดให้เป็นหนึ่งในวัดสำคัญและมีอายุเก่าแก่กว่า 670 ปี ด้วยเป็นวัดที่สร้างขึ้นตั้งแต่ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

ที่ตรงนี้มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า "ตำบลเวียงเล็ก หรือ เวียงเหล็ก" ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ. 1896 จึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชอนุสรณ์ 


โดยวัดพุทไธศวรรย์เป็นพระอารามหลวงที่ใหญ่โตและมีชื่อเสียงวัดหนึ่ง ปรากฏตามตำนานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างขึ้นในบริเวณที่ซึ่งเป็นที่ตั้งพลับพลาที่ประทับเมื่อทรงอพยพมาตั้งอยู่ก่อนสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ที่ตรงนี้มีชื่อปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า "ตำบลเวียงเล็ก หรือ เวียงเหล็ก" 

และเมื่อเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ. 2310 ไปแล้ว แต่วัดพุทไธศวรรย์เป็นอีกวัดหนึ่งที่มิได้ถูกข้าศึกทำลายเหมือนวัดอื่นๆซึ่งตั้ังอยู่ในเกาะเมือง


ครั้นเมื่อสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้ว ถึง พ.ศ. 1896 จึงโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นพระราชอนุสรณ์ ณ ตำบลซึ่งพระองค์เสด็จมาตั้งมั่นอยู่แต่เดิม และพระมหากษัตริย์องค์ต่อ ๆ มาก็คงจะได้โปรดให้สร้างถาวรวัตถุ เพิ่มเติมขึ้นอีกหลายอย่าง และเมื่อเสียกรุงฯ ในปี พ.ศ. 2310 ไปแล้ว แต่วัดพุทไธศวรรย์เป็นอีกวัดหนึ่งที่มิได้ถูกข้าศึกทำลายเหมือนวัดอื่นๆซึ่งตั้ังอยู่ในเกาะเมือง ทำให้ทุกวันนี้ สิ่งก่อสร้างโบราณสถานที่สำคัญส่วนใหญ่จึงยังคงสภาพดีอยู่ จะมีชำรุดเสียหายบ้าง ก็ด้วยสาเหตุของการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา

ในรัชสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 วัดพุทไธศวรรย์ เป็นหนึ่งในวัดของกรุงศรีอยุธยาที่พระองค์เสด็จมาพระราชทานพระกฐิน โดยกระบวนพระยุหยาตราทางชลมารค


และหลังจากที่เสียกรุงไปเมื่อปี พ.ศ.2310  ก็ไม่มีพระมหากษัตริย์องค์ใดเสด็จมาวัดพุทไธศวรรย์อีกเลย  จนเข้าสู่ช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 วัดพุทไธศวรรย์ เป็นหนึ่งในวัดของกรุงศรีอยุธยาที่พระองค์เสด็จมาพระราชทานพระกฐิน โดยกระบวนพระยุหยาตราทางชลมารคอีกด้วย



และด้วยเป็นโบราณสถานสำคัญ ทำให้กรมศิลปากร ประกาศขึ้นทะเบียนวัดพุทไธศวรรย์เป็นโบราณสถาน ไว้ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 โดยปัจจุบันวัดได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี 


สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดคือ คือ ปรางค์ประธาน องค์ใหญ่ศิลปะแบบขอม ตั้งอยู่กึ่งกลางอาณาเขตพุทธาวาสบนฐานไพที ซึ่งเปรียบประดุจเขาพระสุเมรุ หรือเขาไกรลาสที่ประทับของเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ในการสร้างปราสาทตามคติเดิมของขอม


โดยสิ่งที่น่าสนใจภายในวัดคือ คือ ปรางค์ประธาน องค์ใหญ่ศิลปะแบบขอม ตั้งอยู่กึ่งกลางอาณาเขตพุทธาวาสบนฐานไพที ซึ่งมีลักษณะย่อเหลี่ยมมีบันไดขึ้น 2 ทาง คือ ทางทิศตะวันออก และทางทิศตะวันตก โดยลักษณะโดยทั่วไปขององค์พระปรางค์ได้รับอิทธิพลรูปแบบของสถาปัตยกรรมมาจาก ปราสาทขอม ซึ่งเปรียบประดุจเขาพระสุเมรุ หรือเขาไกรลาสที่ประทับของเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ในการสร้างปราสาทตามคติเดิมของขอม ได้จำลองตัวอาคารหรือเรีอนธาตุซ้อนกันเป็นชั้นๆ ขึ้นไปตามลำดับ ซึ่งก็คือ วิมานของเทพเจ้า และมีเทพผู้รักษาทิศอยู่ครบทุกด้าน ประจำอยู่ตามทิศต่างๆ

ถอดรองเท้าเดินบันไดขึ้นไปกราบพระบรมธาตุ


ด้านหน้าของห้องพระครรภธาตุมีรอยพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานขนาบทางเข้าอยู่ทั้งสองข้าง

ด้านขวามือประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท มีซุ้มเรือนแก้วที่มีเทวดาแบกอยู่สองข้าง 


พระพุทธบาทจำลองหินแกะสลักขนาบอยู่ด้านซ้ายมือ มีความสวยงามวิจิตรอย่างมาก แม้จะมีร่องรองผุพังไปบ้าง แต่ยังคงศิลปะอยุธยาไว้แบบดั้งเดิมให้ชมมาจนถึงปัจจุบัน

และเมื่อถอดรองเท้าเดินบันไดขึ้นมา ด้านหน้าของห้องพระครรภธาตุมีรอยพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานขนาบทางเข้าอยู่ทั้งสองข้าง ซึ่งรอยพระพุทธบาทจำลองนั้น มีลวดลายที่วิจิตรงดงามมาก และขนาบทั้งสองด้าน ประดิษฐานพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท มีซุ้มเรือนแก้วที่มีเทวดาแบกอยู่สองข้าง เป็นปูนปั้นประดับด้วยกระจกที่คงสถาปัตยกรรมตั้งแต่ก่อสร้างไว้ตั้งแต่ต้นกรุงศรีอยุธยา

องค์พระมหาธาตุ หรือพระปรางค์ประธานองค์นี้ตามภาพที่ทุกท่านเห็นคือจะมีห้องพระครรภธาตุ

ซึ่งองค์พระมหาธาตุ หรือพระปรางค์ประธานองค์นี้ตามภาพที่ทุกท่านเห็นคือจะมีห้องพระครรภธาตุ ภายในมีพระเจดีย์ทรงปราสาทยอด ซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระเจดีย์ทรงปราสาทที่มีลวดลายปูนปั้นประดับอย่างละเอียด วิจิตรตระการตา ยอดของพระเจดีย์นี้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แม้จะดูเก่า แต่ก็คงศิลปะและความงดงามไว้อย่างดี  มีประวัติว่าได้เริ่มสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นเมื่อปี พ.ศ.1896 และมีอายุยืนยาวมาตลอด ร่วมระยะเวลามาถึง 417  ปี ของความเป็นราชธานีกรุงศรีอยุธยา และด้านหลังมีพระนอน (พระพุทธรูปปางไสยาสน์) องค์สีดำประดิษฐานอยู่ด้วย 

ภายในมีพระเจดีย์ทรงปราสาทยอด ซึ่งเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระเจดีย์ทรงปราสาทที่มีลวดลายปูนปั้นประดับอย่างละเอียด วิจิตรตระการตา


จึงเปรียบได้ว่าวัดพุทไธศวรรย์ซึ่งจัดเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งมาตั้งแต่ปฐมกษัตริย์อยุธยา


ดังนั้นจึงเปรียบได้ว่าวัดพุทไธศวรรย์ซึ่งจัดเป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งมาตั้งแต่ปฐมกษัตริย์อยุธยา ย่อมต้องได้รับการทำนุบำรุงองค์อื่นๆ ที่สร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกัน 


บริเวณรอบองค์พระมหาธาตุมีพระระเบียงล้อมรอบผนัง ด้านนอกทึบ ด้านในมีเสารับเครื่องบนหลังคาและชายคาเป็นระยะๆ


และที่่สำคัญคือ บริเวณรอบองค์พระมหาธาตุมีพระระเบียงล้อมรอบผนัง ด้านนอกทึบ ด้านในมีเสารับเครื่องบนหลังคาและชายคาเป็นระยะๆ ทำให้ไม่มีผนังทางด้านใน ที่ริมผนังด้านทึบมีพระพุทธรูปนั่งเรียงอยู่โดยรอบ หลักฐานที่เกี่ยวข้องในพระระเบียงรอบพระปรางค์ประธาน คงเป็นพระพุทธรูปที่นั่งเรียงรายอยู่โดยรอบ บนผนังระเบียงมุมด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จะมีภาพกิจกรรมบนฝาผนังรูปเรือนแก้ว ส่วนที่เป็นรัศมีด้านหลังพระพุทธรูปที่นั่งเรียงอยู่ในพระระเบียง ลักษณะของภาพจิตกรรมเป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งภาพนี้สันนิษฐานน่าจะเขียนขึ้นมาเมื่อครั้งมีการซ่อมปฏิสังขรณ์พระปรางค์ครั้งใหญ่ ในปี พ.ศ. 2441


พระอุโบสถตั้งอยู่อยู่ทางด้านตะวันตกของปรางค์ประธาน เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ยาว 32 เมตร กว้าง 14  เมตร ฐานค่อนข้างตรงไม่แอ่นท้องสำเภาเหมือนอาคารในสมัยอยุธยาตอนปลาย 

ภายในมีพระพุทธรูปสามองค์ขนาดใหญ่ที่บนฐานชุกชี ได้รับการปฏิสังขรณ์ลงรักปิดทองใหม่ทั้งหมด


ส่วนพระอุโบสถตั้งอยู่อยู่ทางด้านตะวันตกของปรางค์ประธาน เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ยาว 32 เมตร กว้าง 14  เมตร ฐานค่อนข้างตรงไม่แอ่นท้องสำเภาเหมือนอาคารในสมัยอยุธยาตอนปลาย ภายในมีพระพุทธรูปสามองค์ขนาดใหญ่ที่บนฐานชุกชี ได้รับการปฏิสังขรณ์ลงรักปิดทองใหม่ทั้งหมด และถึงแม้ว่ารูปแบบของประติมากรรมจะดูไม่ชัดเจน ว่าเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นหรือ  แต่ด้วยลักษณะของฐานพระพุทธรูปที่ทำเป็นบัวคว่ำบัวหงายอยู่บนฐานเขียงไม่สูงนั้น อาจสะท้อนให้เห็นได้ว่าพระพุทธรูปทั้งสามองค์นี้ มีอายุเก่าไปถึงสมัยอยุธยาตอนกลางราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 ก็เป็นได้ 


จุดเด่นอีกอย่างคือ บริเวณโดยรอบพระอุโบสถทั้ง 8 ทิศ มีใบเสมาหินชนวนขนาดใหญ่


และจุดเด่นอีกอย่างคือ บริเวณโดยรอบพระอุโบสถทั้ง 8 ทิศ มีใบเสมาหินชนวนขนาดใหญ่ และหนา  โดยลักษณะใบเสมามีรูปสามเหลี่ยมที่คอกับท้องเสมา กับรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ตะแคงครงอกเสมาด้วย ที่ฐานเสมาเป็นบัวตื้นๆ สันเสมาหนามากและคม ใบเสมาคงเป็นแบหินยานลังกาเหมือนสมัยสุโขทัยตอนต้น ใบเสมาลักษณะเช่นเดียวกัน สามารถพบที่วัดมหาฐาตุ ราชบูรณะ และวัดพระศรีสรรเพชญ ซึ่งเป็นแบบที่นิยมทำในสมัยอยุธยาตอนต้นทั้งสิ้น


ความสำคัญของใบเสมารอบโบสถ์ คืออะไร สำหรับ ใบเสมา หรือ สีมา เป็นประติมากรรมหินสลัก ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์หรือเพื่อแสดงขอบเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เนื่องในพุทธศาสนา และเป็นตัวแทนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับเคารพบูชา  ทำหน้าที่คล้ายสถูปเจดีย์หรือพระพุทธรูปเพื่อให้ผู้คนได้กราบไหว้บูชา


ซึ่งความสำคัญของใบเสมารอบโบสถ์ คืออะไร สำหรับ ใบเสมา หรือ สีมา เป็นประติมากรรมหินสลัก ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์หรือเพื่อแสดงขอบเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์เนื่องในพุทธศาสนา และเป็นตัวแทนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับเคารพบูชา  ทำหน้าที่คล้ายสถูปเจดีย์หรือพระพุทธรูปเพื่อให้ผู้คนได้กราบไหว้บูชา

การปักหลักเดียว เพื่อแสดงเขตหรือตำแหน่งของบริเวณพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์

ปักเป็นกลุ่ม พบว่ามีการปักล้อมรอบเนินดินหรือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์โดยไม่มีการกำหนดทิศทางแน่นอน

ปักใบเสมาประจำทิศ มีตั้งแต่การปัก 4 ทิศ 8  ทิศ ไปจนถึง 16 ทิศ โดยปักล้อมรอบเนินดินหรือสิ่งก่อสร้างทางศาสนา เพื่อแสดงเขตของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์


ปักใบเสมาประจำทิศ มีตั้งแต่การปัก 4 ทิศ 8  ทิศ ไปจนถึง 16 ทิศ โดยปักล้อมรอบเนินดินหรือสิ่งก่อสร้างทางศาสนา เพื่อแสดงเขตของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น เจดีย์ พระธาตุ อุโบสถ พบว่ามีทั้งการปักใบเสมาเดี่ยว ปักเสมาคู่ หรือปักซ้อนกัน 3 ใบ


หารพระพุทไธศวรรย์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ในเขต พุทธาวาส บนหลังคาของหักพังไปหมดสิ้นแล้ว ทำให้เห็นแค่โครงสร้างก่ออิฐถือปูนโดยรอบเท่านั้น 

ใกล้ๆกับวิหารพระพุทไธศวรรย์ ก็เป็นวิหารพระพุทธไสยาสน์องค์นี้จะได้รับการบูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่ แต่จากพุทธลักษณะหรือพุทธศิลป์เดิมแล้ว และลักษณะรูปแบบของอาคาร อาจกำหนดอายุของพระพุทธไสยาสน์และพระวิหารหลังนี้ อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 22-23


ส่วนวิหารพระพุทไธศวรรย์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ในเขต พุทธาวาส ลักษณะของพระวิหารมีลักษณะแอ่นท้องสำเภาเล็กน้อย ส่วนด้านเครื่องบนหลังคาของหักพังไปหมดสิ้นแล้ว ทำให้เห็นแค่โครงสร้างก่ออิฐถือปูนโดยรอบเท่านั้น โดยองค์พระพุธไสยาสน์นั้นหันพระเศียรไปทางทิศตะวันตก ตรงกับช่องประตูทางเข้าพอดี แม้พระพุทธไสยาสน์องค์นี้จะได้รับการบูรณะซ่อมแซมขึ้นใหม่ แต่จากพุทธลักษณะหรือพุทธศิลป์เดิมแล้ว และลักษณะรูปแบบของอาคาร อาจกำหนดอายุของพระพุทธไสยาสน์และพระวิหารหลังนี้ อยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 22-23 ซึ่งมีความเก่าแก่อยู่ไม่น้อย


ไปชมพระตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งถูกจัดให้เป็น (Unseen Ayutthaya) อันซีนอยุธยา เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทย 2  ชั้น  ภายในอาคารมีภาพจิตกรรมฝาผนังโดยรอบ


และอีกหนึ่งโบราณสถานสำคัญภายในวัด นอกจากไปกราบพระด้านในพระอุโบสถแล้ว ที่ต้องไปคือ ไปชมพระตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ซึ่งถูกจัดให้เป็น (Unseen Ayutthaya) อันซีนอยุธยาก็ว่าได้  โดยพระตำหนักดังกล่าว เป็นที่ตำหนักของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ท่านเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ประจำอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยพระตำหนัก (พระเถระชั้นผู้ใหญ่ สมัยกรุงศรีอยุธยา) 


ด้านข้างของตำหนัก มีบันไดเดินขึ้นไปชมภาพจิตรกรรมฝาผนัง


ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขต พุทธาวาส เป็นอาคารก่ออิฐถือปูนทรงไทย 2  ชั้น  ภายในอาคารมีภาพจิตกรรมฝาผนังโดยรอบ ชั้นล่างของอาคารมีช่องประตูและหน้าต่างเหมือนกับขั้นบน แต่หน้าต่างมีลักษณะเป็นซุ้มโค้งยอดแหลม  ผนังของตําหนักแห่งนี้ มีจิตรกรรมล้ำค่าจากสมัยอยุธยาตอนปลาย คาดว่าตรงกับสมัยสมเด็จพระเพทราชา ราวปี พ.ศ. 2231-2245  ซึ่งน่าจะเป็นภาพที่ชัดเจนที่สุดแล้ว

ผนังของตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์แห่งนี้ มีจิตรกรรมล้ำค่าจากสมัยอยุธยาตอนปลาย คาดว่าตรงกับสมัยสมเด็จพระเพทราชา ราวปี พ.ศ. 2231-2245  ซึ่งน่าจะเป็นภาพที่ชัดเจนที่สุดแล้ว

ตัวอย่างบางส่วนของภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ที่วาดตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา


ตำหนักนี้อยู่ในสภาพค่อนข้างทรุดโทรม แต่ภายในผนังของตำหนักทั้ง 4 ทิศ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหลงเหลือ ซึ่งน่าจะชัดเจนที่สุดแล้ว โดยมีภาพสีเกี่ยวกับเรื่องหมู่เทวดา นักพรต นมัสการพระพุทธบาท ไตรภูมิ ทศชาติชาดก และเรือสำเภาตอนพระพุทธโฆสะไปลังกา ภาพเหล่านี้อยู่ในสภาพไม่ชัดเจนนัก แต่ถูกจัดว่าเป็นศิลปะที่ล้ำค่าและหลงเหลืออยู่ให้เห็นมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าภาพจะลางเลือนไปตามกาลเวลาไปแล้วก็ตาม 


ใกล้กับพระอุโบสถ ก็เป็นวิหารกัจจายานะ 


เป็นอย่างไรบ้างค่ะ สำหรับสาระน่ารู้เล็กน้อยๆ ที่นำมาเสนอแบ่งปันให้ได้อ่านกันเล็กๆน้อยในวันนี้ น่าจะมีประโยชน์อยู่ไม่มากก็น้อยนะคะ และหวังว่าเพื่อนๆคนใหนที่วางแผนไปอยุธยา ก็อย่าลืมปักหมุดไปลั๊ลลาเที่ยวไหว้ที่วัดพุทไธศวรรย์กันเยอะๆนะคะ เศรษฐกิจจะได้คึกคัก


เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดพุทไธศวรรย์

 https://www.putthaijatukam.com/

https://www.finearts.go.th/

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น