ท่องเที่ยวไปในประเทศไทย ต้องไปให้รู้แวะดู วัดท่าถนน หรือว่าวัด วังเต้าหม้อ วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ มีประวัติความเป็นมาอย่างไร นำมาให้อ่านกันจ้า |
สวัสดีทักทายคุณผู้อ่านและเหล่าเพื่อนๆสายรักทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจ งามไฉไลทุกๆคน กลับมาพบปะกันอีกครั้งนะคะ กับบทความบล็อกสาระน่ารู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเทียวทั่วฟ้าเมืองไทย ที่จะสรรหาข้อมูลดีๆมีสาระเล็กๆน้อยๆมาให้ได้อ่านฆ่าเวลากันหลังจากเลิกงานประจำ และหลังจากที่บทความบล็อกก่อนหน้าได้พาเพื่อนไปรู้จักกับพระพุทธรูปอายุกว่า 1,000 ปี ณ แดนดินสุวรรณภูมิ สมัยทวารดีกันไปแล้ว
ในวันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า หลังจากเลิกงานเสร็จ ขอพาไปเที่ยวรู้จักตำนานประวัติวัดวังเต้าหม้อ หรือว่าวัดท่าถนน อีกหนึ่งวัดสำคัญตั้งอยู่ในย่านใจกลางเมือง ใกล้สถานีรถไฟเมืองอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมือง มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มาให้ได้อ่านกัน
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัดท่าถนน หรือว่าวัดวังเตาหม้อ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ (Wat Tha Thanon, Uttaradit Province) |
สาระน่ารู้เล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับ วัดท่าถนน หรือ "วัดวังเตาหม้อ" อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ (Wat Tha Thanon, Uttaradit Province)
วัดท่าถนน เดิมชื่อ วัดวังเตาหม้อ จัดเป็นวัดเก่าแก่สำคัญและวัดคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ที่ ถนนสำราญรื่น ตำบลท่าอิฐ วัดท่าถนน ซึ่งชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดหลวงพ่อเพ็ชร ชื่อเดิม วัดวังเตาหม้อ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2302 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ 8 กันยายน พ.ศ.2498 ประชาชนร่วมใจกันสร้างวัดนี้ ได้รับพระบรมราชานุญาตให้สร้างวัดตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 เมื่อปี พ.ศ.2430 มีพระบรมราชโองการพระราชทานวิสุงคามสีมา ปี พ.ศ.2498 พื้นที่ตั้งของวัดมีลักษณะตั้งอยู่กลางใจเมือง อยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ และอยู่ติดแม่น้ำน่านและการคมนาคมสะดวก
ภายในวัดท่าถนนคือ ภายในวิหาร ประดิษฐานหลวงพ่อเพ็ชร พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 1 หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ |
สิ่งสำคัญภายในวัดท่าถนนคือ ภายในวิหาร ประดิษฐานหลวงพ่อเพ็ชร พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 1 หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ ในบริเวณวัดมีอาคารศิลปะแบบตะวันตก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2474 เป็นโรงเรียนปริยัติธรรมและภาษาบาลีของพระภิกษุสามเณรในเมือง มีลักษณะสถาปัตยกรรมสวยงาม และอุโบสถซึ่งมีภาพจิตรกรรมฝาผนังซึ่งได้รับยกย่องว่าสวยงามที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์
องค์หลวงพ่อเพ็ชรเป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว สูง 41 นิ้ว |
โดยองค์หลวงพ่อเพ็ชรเป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร ศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว สูง 41 นิ้ว มีพุทธลักษณะงดงามมาก ชาวอุตรดิตถ์นับถือว่า เป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองอุตรดิตถ์ มีงานนมัสการประจำปีในวันกลางเดือนสี่ของทุกปี
ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อเพ็ชร เมื่อปี พ.ศ. 2436 หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ อำเภอบางโพ ได้เดินทางผ่านบริเวณวัดไผ่ล้อม ต.ทุ่งยั้ง ได้พบจอมปลวกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งรูปร่างรูปแหลมผิดกลับจอมปลวกทั่วไป |
ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อเพ็ชร เมื่อปี พ.ศ. 2436 หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหมอนไม้ อำเภอบางโพ ซึ่งเป็นอำเภอเมืองปัจจุบัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เดินทางผ่านบริเวณวัดไผ่ล้อม ต.ทุ่งยั้ง ได้พบจอมปลวกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งรูปร่างรูปแหลมผิดกลับจอมปลวกทั่วไป จึงได้เอาไม้เคาะปลายแหลมที่เป็นยอดของจอมปลวกนั้นจนดินหลุดออก เห็นเกศพระพุทธรูปโผล่ออกมา หลวงพ่อด้วงจึงสั่งให้พระและลูกศิษย์วัดที่ร่วมเดินทางไปด้วยช่วยกันขุดดิน จอมปลวกออก ก็พบพระพุทธรูปขนาดค่อนข้างใหญ่ ฝังอยู่ในจอมปลวกแห่งนั้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นไปไว้ที่วัดหนอนไม้
หลวงพ่อด้วงเห็นว่า วัดหมอนไม้ไม่มีพระอุโบสถที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับมีประชาชนที่ทราบข่าวพระพุทธรูปองค์นี้ ได้มากราบไหว้บูชาสักการะเป็นจำนวนมาก |
ต่อมาหลวงพ่อด้วงเห็นว่า วัดหมอนไม้ไม่มีพระอุโบสถที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับมีประชาชนที่ทราบข่าวพระพุทธรูปองค์นี้ ได้มากราบไหว้บูชาสักการะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังอาจมีปัญหาเรื่องโจรผู้ร้าย จึงพิจารณาเห็นว่า หากเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐานที่วัดวังเตาหม้อ (คือวัดท่าถนนในปัจจุบัน) ซึ่งมีหลวงพ่อเพ็ชรเป็นเจ้าอาวาสอยู่ วัดแห่งนี้มีพระอุโบสถ และตั้งอยู่ในที่ชุมนุมชน สะดวกแก่การไปนมัสการของประชาชน ท่านจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อ และถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อเพ็ชร
เมื่อปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร ได้มีการรวบรวมพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสวยงาม ที่อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ที่วัดเหล่านี้ |
กระทั่งเมื่อ ปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร ได้มีการรวบรวมพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสวยงาม ที่อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ที่วัดเหล่านี้ พระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร มีพุทธลักษณะงาม ก็ได้รับเลือกสรรให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตร พร้อมกับพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ จากทั่วราชอาณาจักร การที่ต้องนำหลวงพ่อเพ็ชรไปจากวัดลังเต้าหม้อทำให้เจ้าอาวาสเสียใจมาก จึงได้ออกจากวัดธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ สุดท้ายได้มรณภาพบนภูเขาในป่า บ้านนาตารอด ตำบลบ้านด่าน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์
เมื่อปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร กลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อตามคำขอของชาวเมืองอุตรดิตถ์ |
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชร กลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อตามคำขอของชาวเมืองอุตรดิตถ์ ดังข้อความซึ่งปรากฏอยู่ที่ฐานของพระพุทธรูป " หลวงพ่อเพ็ชร " ว่า "พระพุทธรูปองค์นี้ เมื่อ ร.ศ.119 พระจุลจอมเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้อัญเชิญจาก วัดท่าถนนไปไว้ วัดเบญจมบพิตร ครั้น ร.ศ. 129 หลวงนฤบาล ( จะพันยา ) อัญเชิญกลับมาไว้ วัดท่าถนน "
เหตุที่มีรับสั่งให้นำหลวงพ่อเพ็ชรมาคืนชาวอุตรดิตถ์ครั้งนี้มี มีคำบอกเล่ามาว่าเทวดาประจำองค์หลวงพ่อได้ไปเข้าสุบินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า อยากกลับอุตรดิตถ์ พระองค์จึงทรงทำตามพระสุบินนั้น |
ด้วยเหตุที่มีรับสั่งให้นำหลวงพ่อเพ็ชรมาคืนชาวอุตรดิตถ์ครั้งนี้มี มีคำบอกเล่ามาว่าเทวดาประจำองค์หลวงพ่อได้ไปเข้าสุบินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า อยากกลับอุตรดิตถ์ พระองค์จึงทรงทำตามพระสุบินนั้น
เมื่อปี พ.ศ. 2473 พระครูธรรมกิจจาภิบาล (ทองสุก) หรือพระสุธรรมเมธี อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับประชาชนชาวเมืองอุตรดิตถ์ได้ช่วยกันสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ |
เมื่อปี พ.ศ. 2473 พระครูธรรมกิจจาภิบาล (ทองสุก) หรือพระสุธรรมเมธี อดีตเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกับประชาชนชาวเมืองอุตรดิตถ์ได้ช่วยกันสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ และอัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพ็ชรมาประดิษฐานไว้ในพระวิหาร เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาสักการบูชาได้สะดวก
เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://th.wikipedia.org/wiki/วัดท่าถนน_(จังหวัดอุตรดิตถ์)
https://thailandtourismdirectory.go.th/th/attraction/5442
-----------------------------------------------------------------------------------
บทความบล็อกอื่นๆ มีดังนี้ค่ะ
0 ความคิดเห็น