Header Ads Widget

ads

Ticker

6/recent/ticker-posts

เที่ยวไทยไปให้รู้ดู ยักษ์ใหญ่ที่วัดพระแก้ว ตำนานประวัติรูปปั้นสุดหน้าเกรงขาม มีที่มาอย่างไร นำมาให้อ่านกันค่ะ

เพื่อไม่ให้เว็ปไซต์ร้างไป วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า ขอนำเสนอเรื่องน่ารู้เล็กๆน้อยเกี่ยวกับ ยักษ์ใหญ่ที่วัดพระแก้ว มาให้ได้อ่านกันอย่างคลาดแคล้วกันค่ะ


สวัสดีนักอ่านบนโลกไซเบอร์ รวมทั้งนักทัศนาจร อรชร อ้อนแอ้น สุดสะแนน แสนโสภา ช่ะช่ะช่าหัวใจทุกๆคนค่ะ กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ กับสาระความรู้เกี่ยวกับสถานที่สำคัญท่องเที่ยวทั่วเมืองไทย ที่จะนำมาให้อ่านกัน หากเอ่ยถึงยักษ์ใหญ่ผู้น่าเกรงขาม ต้องนึกถึง ยักษ์วัดพระแก้ว หรือ ยักษ์วัดโพธิ์ อย่างแน่นอน ซึ่งหลายคนก็คงสงสัยกันอยู่ไม่น้อยว่า มีประวัติและที่มาอย่าไร ทำไมถึงต้องสร้างหุ่นยักษ์ใหญ่ไว้ที่ประตูวัด เพื่อไม่ให้เว็ปไซต์ร้างไป วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอเป็นคนบ้า เลยขอนำสาระนารู้เกี่ยวกับ ยักษ์วัดพระแก้ว ยักษ์ใหญ่ตั้งอยู่หน้าทางเข้าพระอุโบสถของวัด มาให้ได้อ่านกันค่ะ


ข้อมูลสำคัญน่ารู้เกี่ยวกับ ยักษ์วัดพระแก้ว (Big giant emerald buddha temple, ฺBangkok city old town) 



ข้อมูลสำคัญน่ารู้เกี่ยวกับ ยักษ์วัดพระแก้ว (Big giant emerald buddha temple, ฺBangkok city old town) 


สำหรับยักษ์ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ผู้คนส่วนใหญ่เรียกว่า ยักษ์วัดพระแก้ว ปั้นขึ้นในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แต่ไม่ปรากฏชื่อผู้ปั้นว่า ทราบเพียงว่าทศกัณฐ์และสหัสสะเดชะเป็นฝีมือปั้นของหลวงเทพรจนา (กัน) ช่างปั้นมีชื่อสมัยรัชการที่ 3 โดยยักษ์ ปรากฏให้คนไทยรู้จักครั้งแรกในวรรณคดีไทย เรื่องรามเกียรติ์ โดยเฉพาะทศกัณฐ์ ซึ่งเป็นฝ่ายอธรรมที่สู้รบต่อกรกับกองทัพฝ่ายธรรมะของพระรามและพระลักษณ์ 


ยักษ์ตามคติความเชื่อของคนไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในเรื่องของการเป็นผู้พิทักษ์รักษาความดีและปัดป้องความชั่วร้ายไม่ให้ย่างกรายเข้ามาใกล้ 


ส่วนที่มาในการสร้างรูปหล่อยักษ์ก็เพราะว่า ยักษ์ตามคติความเชื่อของคนไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาในเรื่องของการเป็นผู้พิทักษ์รักษาความดีและปัดป้องความชั่วร้ายไม่ให้ย่างกรายเข้ามาใกล้ จึงมีการสร้างรูปหล่อของยักษ์เอาไว้หน้าทางเข้าพระอุโบสถเพื่อปกป้องสิ่งชั่วร้ายๆต่างที่จะเข้ามาภายในบริเวณวัดนั้นเอง 

ยักษ์ ปรากฏให้คนไทยรู้จักครั้งแรกในวรรณคดีไทย เรื่องรามเกียรติ์ โดยเฉพาะทศกัณฐ์ ซึ่งเป็นฝ่ายอธรรมที่สู้รบต่อกรกับกองทัพฝ่ายธรรมะของพระรามและพระลักษณ์ 


และภายในวัดพระแก้วก็มี ยักษ์ถึง 12 ตนด้วยกัน ในวรรณคดีไทย เรื่อง รามเกียรติ์ ที่ยืนเฝ้าประตูหรือทวาร ซึ่งล้วนแต่เป็นยักษ์ชั้นกษัตริย์ และเป็นคู่ต่อสู้ของพระรามทั้งสิ้น ซึ่งยักษ์เหล่านี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 พร้อมกับยักษ์วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) พระยายักษ์ตัวสำคัญจากเรื่องรามเกียรติ์ ทำหน้าที่เป็นทวารบาลยืนเฝ้าซุ้มประตูพระระเบียงคดทางเข้า-ออกพระอุโบสถประตูละคู่ คือ ประตูด้านทิศตะวันออก มี 2 คู่

ยักษ์ทั้ง 12 ตนนี้ เป็นปฏิมากรรมขนาดใหญ่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่มีความงดงาม แต่ละตนมีความสูง 6 เมตร 

 

ยักษ์ทั้ง 12 ตนนี้ เป็นปฏิมากรรมขนาดใหญ่ในวัดพระศรีรัตนศาสดารามที่มีความงดงาม แต่ละตนมีความสูง 6 เมตร ตัวปั้นด้วยปูนทาสีก่อนจะประดับประดาด้วย กระจกสีต่าง ๆ สร้างขึ้นตามคติความเชื่อเพื่อเฝ้าพระอารามและปกป้องรักษาบริเวณให้ปราศจากอันตรายและการรบกวนจากภูตผีปีศาจ ซึ่งยักษ์ทั้ง 12 ตนที่ประดิษฐานภายในวัดพระแก้วมรกตนี้ ก็มีชื่อดังนี้ 

ยักษ์ใหญ่( Big Giant created from Ramayana literature ) สร้างจากวรรณคดีเรื่องเรื่องรามเกียรติ์ 


สำหรับยักษ์ตนที่ 5 : สุริยาภพ (มีกายสีแดง) เป็นโอรสของท้าวจักรวรรดิ์ สหายรักของทศกัณฐ์ เฝ้าด้านหน้าปราสาทพระเทพบิดร


ยักษ์ตนที่ 1 : ทศกัณฐ์ (กายสีเขียว)  มีสิบหน้า ยี่สิบมือ ครองกรุงลงกา

ยักษ์ตนที่ 2 : สหัสเดชะ (กายสีขาว) ครองเมืองปางตาล

ยักษ์ตนที่ 3 : ไมยราพณ์ (กายสีม่วงอ่อน)  ครองเมืองบาดาล

ยักษ์ตนที่ 4 : วิรุฬจำบัง (กายสีมอหมึกหรือสีขาวเจือดำ) เป็นบุตรพญาทูษณ์ ครองเมืองจารึก

ยักษ์ตนที่ 5 : สุริยาภพ (มีกายสีแดง) เป็นโอรสของท้าวจักรวรรดิ์ สหายรักของทศกัณฐ์ เฝ้าด้านหน้าปราสาทพระเทพบิดร

ยักษ์ตนที่ 6 : อินทรชิต (มีกายสีเขียว) เป็นบุตรทศกัณฐ์กับนางมณโฑ เฝ้าด้านหน้าปราสาทพระเทพบิดร

ยักษ์ตนที่ 7 : มังกรกัณฐ์ (กายสีเขียวอ่อน)  เป็นบุตรพญาขร ครองเมืองโรมคัล อยู่ทางด้านหน้าพระอุโบสถ

ยักษ์ตนที่ 8 : วิรุฬหก (กายสีขาบ หรือน้ำเงินเข้ม) ครองเมือง มหาอันธการนคร อยู่ทางด้านหน้าพระอุโบสถ

ยักษ์ตนที่ 9 :  ทศคีรีธร  (กายสีน้ำตาล) เป็นยักษ์ฝาแฝด ลูกของทศกัณฐ์ กับนางช้าง ยักษ์2ตนนี้จึงมีปลายจมูกเป็นงวงช้างเล็กๆ

ยักษ์ตนที่ 10 : ทศคีรีวัน (กายสีเขียวแก่) เป็นยักษ์ฝาแฝด ลูกของทศกัณฐ์ กับนางช้าง ยักษ์2ตนนี้จึงมีปลายจมูกเป็นงวงช้างเล็กๆ

ยักษ์ตนที่ 11 : จักรวรรดิ (กายสีขาว) เป็นเพื่อนสนิทกับทศกัณฐ์ ครองกรุงมะลิวันอยู่ด้านหน้าทางเข้า

ยักษ์ตนที่ 12 : อัศกรรณมาราสูร (หน้าสีม่วงแก่)  ครองเมืองดุรัม

 ยักษ์ตนที่ 2 : สหัสเดชะ (กายสีขาว) ครองเมืองปางตาล


นอกจากปกป้องสิ่งชั่วร้ายแล้ว ยังกลายเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ได้ชมความน่าเกรงขามและความประณีตวิจิตรบรรจงในการสร้างยักษ์ของคนไทยในอดีตได้ย่างสวยงามอีกด้วย

สำหรับนักเดินทางท่านใด ที่ไปไหว้พระที่วัดพระแก้ว ก็อย่าลืมลองตามหายักษ์วัดพระแก้วทั้ง 12 ตนดูนะคะ เพราะยักษ์แต่ละตนนั้นมีลักษณ์ที่แตกต่างกันทีเดียวล่ะค่ะ ซึ่งยักษ์ที่สร้างไว้ภายบริเวณประตูวัด นอกจากปกป้องสิ่งชั่วร้ายแล้ว ยังกลายเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ได้ชมความน่าเกรงขามและความประณีตวิจิตรบรรจงในการสร้างยักษ์ของคนไทยในอดีตได้ย่างสวยงามอีกด้วย

เครดิตข้อมูลดีๆจาก : https://www.facebook.com/tourismdivision/posts/3650445921672830/

https://www.lib.ru.ac.th/miscell2/?p=2153

---------------------------------------------------------------------------------

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น