หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมในกรุงเทพ ที่เหล่านักทัศนาจร จากทั่วสารทิศต้องแวะมาเช็กอินถ่ายรูปกัน เมื่อมาเยือนเมืองฟ้าอมรแห่งนี้ นอกจากไปวัดพระแก้วแล้ว คงไม่พลาดแคล้ว ที่จะมาทำบุญไหว้ที่วัดไตรมิตรวิทยาราม ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปทองคำแท้องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีนามว่า พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร จัดเป็นหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ ต้องมนต์ดลใจ ต้องมาเห็นด้วยตาตัวเองสักครั้ง และแน่นอนว่าเรื่องราวของพระพุทธรูปทองคำดังกล่าว ก็มีประวัติและที่มาน่าสนใจไม่น้อย วันนี้คุณนายเว่อร์ เธอขอเป็นบ้า ขอนำสาระน่ารู้เล็กน้อยๆ เกี่ยวกับพระพุทธรูปทองคำวัดไตรมิตรมาให้ได้อ่านฆ่าเวลากันค่ะ
ประวัติความเป็นมาและการค้นพบพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร วัดไตรมิตร กรุงเทพมหานคร
สำหรับประวัติความเป็นมาขององค์พระพุทธรูป พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร ว่าสร้างเมื่อใดนั้นยังไม่แน่ชัด เชื่อกันว่าเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของวัดมหาธาตุ สุโขทัย ดังที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกว่า "วัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัย มีพิหาร มีพระพุทธรูปทอง มีพระอัฏฐารส มีพระพุทธรูป มีพระพุทธรูปอันใหญ่ มีพระพุทธรูปอันราม" ซึ่งพิจารณาทั้งตามหลักฐานอื่นและเหตุผลประกอบแล้ว พระพุทธรูปองค์นี้ น่าจะเป็น พระพุทธรูปทอง องค์ดังกล่าว เพราะปริมาณทองคำแท้นี้ รวมถึงขนาดพระพุทธรูปนี้ ย่อมเกินกว่าที่สามัญชนทั่วไปพึงสร้างเป็นสมบัติได้
การค้นพบนั้นแต่เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ถูกพอกปิดด้วยปูนทั่วทั้งองค์ พุทธลักษณะภายนอกไม่งดงามหรือโดดเด่นเท่าใดนัก |
ส่วนการค้นพบนั้นแต่เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ถูกพอกปิดด้วยปูนทั่วทั้งองค์ พุทธลักษณะภายนอกไม่งดงามหรือโดดเด่นเท่าใดนัก จากหลักฐานที่ประกฏพบว่าเคยประดิษฐานเห็นพระประธานในพระอุโบสถวัดโชตินารามหรือวัดพระยาไกร มาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
ต่อมาวัดพระยาไกรขาดคนบูรณปฏิสังขรณ์ จึงตกอยู่ในสภาพรกร้าง ราว พ.ศ. ๒๔๗๔ บริษัทอีสเอเซียติก จำกัด ซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับสัมปทานป่าไม้ ได้ขอเช่าที่จากรัฐบาลเข้าจัดสร้างโรงเลื่อยไม้ขนาดใหญ่ในบริเวณวัดร้างแห่งนี้ มีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ชำรุดทรุดโทรมของวัดพระยาไกรออก จนเหลือแต่พระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่
ในขณะนั้น "วัดสามจีน" ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดไตรมิตรวิทยาราม กำลังอยู่ในระหว่างการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ทั่วทั้งพระอาราม โดยสร้างวิหารสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปเพิ่มเติม สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เจ้าคณะแขวงล่างเห็นว่า จะปล่อยองค์พระพุทธรูปปูนปั้นให้อยู่ที่เดิมต่อไปจะเป็นการไม่สมควร ประกอบกับวัดสามจีนมีสถานที่กว้างขวางเหมาะสมกับการประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ จึงมอยให้คณะกรรมการวัดสามจีน ร่วมกันอันเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ จากวัดพระยาไกรมาประดิษฐานยังวัดสามจีน
ในขณะทำการยกนั้น ปรากฏว่า ลวดสลิงที่ยึดองค์พระเกิดขาด เพราะทานน้ำหนักองค์พระไม่ไหว องค์พระพุทธรูปจึงตกลงกระแทกบนพื้นอย่างแรง |
เมื่อทุกอย่างสมบูรณ์พร้อม ท่านเจ้าคุณพระวิสุทธาธิบดี เจ้าอาวาสซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระวีรธรรมมุนี ผู้ดำเนินการสร้างวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นจนแล้วเสร็จ ได้เป็นแม่กองเลื่อนย้ายพระพุทธรูปูนปั้นองค์นี้ เพื่อนำขึ้นประดิษฐานยังพระวิหารซึ่งตรงกับวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2498 การเคลื่อนย้ายเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากองค์พระมีขนาดใหญ่ และหนักมาก ต้องใช้ปั้นจั่นยกอยงค์พระพุทธรูป ในขณะทำการยกนั้น ปรากฏว่า ลวดสลิงที่ยึดองค์พระเกิดขาด เพราะทานน้ำหนักองค์พระไม่ไหว องค์พระพุทธรูปจึงตกลงกระแทกบนพื้นอย่างแรง พอดีกับเวลานั้น เป็นเวลาใกล้ค่ำ และฝนก็บังเอิญตกอย่างหนัก การอัญเชิญพระพุทธรูปในวันนั้น จึงเป็นอันต้องหยุดชะงักลง
ในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ท่านเจ้าอาวาส ได้มาตรวจดูองค์พระ เพื่อหาทางอัญเชิญขึ้นประดิษฐานใหม่ ก็ได้พบเห็นรอยแตกที่พระอุระ และเห็นรักที่ฉาบผิวองค์พระด้านใน เมื่อแกะรักออก ก็ได้พบเนื้อทองคำบริสุทธิ์งามจับตาอยู่ชั้นในสุด ท่านเจ้าอาวาสจึงสั่งการระดมผู้คนช่วยกันกะเทาะปูน และลอกรักออกหมดทั้งองค์ ความงดงามแห่งเนื้อทองบริสุทธิ์ขององค์พระปฏิมาจึงปรากฏให้เห็นพร้อมพุทธลักษณะที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง กลายเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สกุลช่างสุโขทัย ที่งดงามจับตาจับใจผู้พบเห็นยิ่งนัก ท่านเจ้าอาวาสจึงให้ลอกปูนออกทั้งองค์ แล้วนำขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิหารนั้นมาจนถึงปี 2550
เมื่อปลายปี 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างพระมหามณฑป เพื่อประดิษฐานองค์พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร |
และเมื่อปลายปี 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการสร้างพระมหามณฑป เพื่อประดิษฐานองค์พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 แทนพระพระวิหารองค์เดิม ซึ่งคับแคบมากมาจนถึงปัจจุบัน
พระพุทธรูปทองคำที่สุดของไทย และเป็นที่สุดของโลก ประเมินเนื้อทองขององค์พระพุทธรูป ซึ่งเป็นทองคำบริสุทธิ์ เรียกว่าทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา |
พระพุทธรูปทองคำที่สุดของไทย และเป็นที่สุดของโลก
จากการค้นพบพระพุทธรูปทองคำปางมารวิชัยของวัดไตรมิตรวิทยารามในครั้งกระนั้น ได้เป็นข่าวสำคัญอย่างอึกกะทึกครึกโครมไปทั่วทั้งประเทศ หนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ หลายฉบับ ต่างก็พากันประโคมข่าวกันอย่างกว้างขวาง ท่ามกลางความปลื้มปีติยินดีของพุทธศาสนิกชนทั่วหน้ามีการตรวจสอบและประเมินเนื้อทองขององค์พระพุทธรูป ซึ่งเป็นทองคำบริสุทธิ์ เรียกว่าทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา (มาตราทองคำของโบราณ ตั้งไว้ตั้งแต่ทองเนื้อสี่ คือทองหนัก 1 บาท จะมีค่า 4 บาท ทองเนื้อเจ็ดคือทองหนัก 1 บาท จะมีค่า 7 บาท ซึ่งเป็นทองที่มีค่าของเนื้อทองรองจากทองนพคุณ หรือทองเนื้อเก้า ซึ่งทองเนื้อเก้าจะเริ่มพบที่บางตะพานในแผ่นดินพระเจ้าบรมโกศ เรียกกันว่าทองคำบางตะพาน ส่วนคำว่าสองขาหมายถึง 2 สลึง) มีน้ำหนักกว่า 5 ตันคิดเป็นน้ำหนักทองคำ 25,000 ปอนด์ หรือคิดเป็นมูลค่าเฉพาะเนื้อทองคำในขณะนั้น (พ.ศ. 2498) 14 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ294,000,000 บาท (สองร้อยเก้าสิบสี่ล้านบาท) อันเป็นราคาทองคำที่ถูกประเมินในครั้งแรก
เครดิตข้อมูลน่ารู้จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร
http://gba.orgfree.com/history.html
------------------------------------------------------
0 ความคิดเห็น